ด้วยความที่ประทับใจหนังเรื่องคู่กรรมมากๆ ทำให้ตัดสินใจไปดูรอบสอง ...
การดูคู่กรรมในรอบที่สอง ทำให้ได้เห็นอะไรที่ต่างออกไปจากครั้งแรก
ที่น่าแปลกใจคือคิดไว้ว่าจะไปจับผิดภาพต่างๆ แต่กลับตรงกันข้าม ความบกพร่อง ประดักประเดิดที่เราเห็นในการดูครั้งแรกมันหายไปแทบหมดสิ้น เช่น
การแสดงของตัวประกอบ อย่างบทคุณลุงคนหนึ่งที่ขอยาแก้มาลาเรีย ตอนดูครั้งแรกรู้สึกว่าเล่นแข็งและโดดมาก แต่ครั้งนี้รู้สึกคุณลุงแสดงได้จริงเหลือเกิน ท่าทางคนแก่ที่งกๆเงิ่น เอื้อมมือไปจับแขนโกโบริ (จำไม่ค่อยได้ น่าจะเป็นโกโบรินะ) ทำให้ฉันรู้สึกสะท้อนใจอย่างมาก นึกถึงผู้สูงอายุที่ฉันเห็นในชีวิตจริง / พ่อนางเอก (คุณเบิร์ธ) ที่ครั้งแรกก็ดูโดดๆ แต่พอดูครั้งที่สองก็เป็นการแสดงที่ดู"จริง"
การแสดงของนางเอก ริชชี่ อรเณศ... แววตาเลื่อนลอย ไร้ความหมายที่ฉันรู้สึกในครั้งแรก ฉันกลับพบความละเอียดในการแสดงของเธอ ท่าทาง สายตา มันไม่ได้ไร้ความหมายทีเดียว มีความรู้สึกมากมายอยู่ในนั้น...ถ่ายทอดให้เรารับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดภายใน สับสน อ้างว้าง
ฉันชอบฉากหลังสะพานพุทธระเบิด แววตาของเธอเศร้ามาก ดั่งคนที่หลงทาง ไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิต ในภาวะสงครามเช่นนี้...
ในส่วนคุณยายของอังศุมาลินที่มีคนออกความเห็นเชิงขำขันว่า เป็นใบ้เหรอ ไม่พูดสักคำ ใส่มาทำไม... แต่ฉันกลับสะเทือนใจกับคุณยายที่ไม่พูดไม่จามาก คุณยายเป็นเพียงคนแก่ที่อ่อนล้า ไม่มีปากมีเสียง ต้องการที่พึ่งพิง คนแก่จะมีความหมายอะไรเมื่อเทียบกับสงครามระดับโลก แล้วฉันก็ย้อนไปคิดถึงคุณลุงที่มาขอยาในตอนต้นเรื่อง ท่าทางคุณลุงก็เหมือนต้องการที่พึ่งพิงเช่นกัน...
ฉันรักฉากในหลุมหลบภัยมาก มันสวยงาม เศร้า และอบอุ่นในคราวเดียวกัน ครั้งแรกอังศุมาลินกอดแม่กับยาย "ไม่ต้องกลัวนะคะ" ครั้งต่อมามีโกโบริอยู่ในหลุมหลบภัยด้วย โกโบรินั่งแนบชิดกุมมืออังศุมาลิน เธอก้มหัวลงซบไหล่ แม่และยายหันมามองกันแล้วยิ้ม บางทีอังศุมาลินอาจโหยหาพ่อ ครอบครัวเธออยู่กันลำพังแต่เพียงผู้หญิง เมื่อมีโกโบริเข้ามา เขาเป็นดั่งชายที่เข้ามาคุ้มภัย หนังใช้ฉากหลุมหลบภัยสั้นๆ บอกความสัมพันธ์ของตัวละครได้ลึกซึ้งโดยไม่ต้องปูที่มาใดๆเลย การที่ต้องตัดความสำคัญในตัวละครแม่-ยายออกไป แต่ฉากนี้ฉากเดียวก็รู้สึกได้ถึงความรักที่ทุกคนมีให้กัน และเมื่อมีโกโบริอีกคน เหมือนดั่งครอบครัวที่สมบูรณ์
ส่วนฉากจบ บางคนบอกว่าทำไมฉากจบไม่ขยี้ใจให้มากกว่านี้ ก็โกโบริเองไม่ใช่หรือที่บอกว่าชอบรอยยิ้มอังศุมาลิน "นายชอบเรายิ้มเหรอ" "ผมชอบทุกอย่างที่เป็นคุณ" จากนั้น เราได้เห็นอังศุมาลินยิ้มสดใสพูดคุยกับโกโบริแม้มีน้ำตา เธออยากใช้เวลาที่เหลืออยู่ทำเพื่อเขา ยิ้มให้เขา เก็บกลั้นความเศร้าเจ็บปวดดั่งที่เธอเคยทำเสมอมา คู่กรรมครั้งนี้นอกเหนือความเศร้า มันจึงช่างให้ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติก ได้อย่างมากมายเหลือเกิน "เรารักนาย" .... แต่แท้จริงอังศุมาลินจะเศร้าเพียงใด และจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร ....
เมื่อดูครั้งที่สอง ฉันพบว่าหนังถูกสร้างขึ้นอย่างประณีต ทุกฉากทุกตอน มีความหมาย มีความต่อเนื่อง บางตอนที่เหมือนตัดฉับไปฉับมากลับซ่อนเร้นเป็นปริศนาเหมือนหนังลึกลับ น้ำหนักบทในเรื่องความรู้สึกระหว่างพระเอกนางเอกถูกจัดวางอย่างเหมาะเจาะคล้องจอง รายละเอียดต่างๆในเรื่องความสัมพันธ์ของโกโบริ-อังศุมาลิน ลึกซึ้งโรแมนติกมากโดยไม่ต้องแสดงออกชัดเจนแบบที่หนังรักส่วนใหญ่ทำ ใช้ฉากเล็กๆสื่อความหมายได้ยิ่งใหญ่ หนังแสดงออกแบบ "น้อยแต่ได้มาก" รูปแบบของหนังก็ดูกลมกล่อมไม่แปลกแยกอย่างที่รู้สึกตอนดูครั้งแรก
ไม่ได้ "รู้สึก" มานานแล้วกับหนังรักของไทย คู่กรรมเป็นหนังรักที่ทำได้อย่างละเอียดอ่อน ซาบซึ้ง ซึมลึก เหมือนอย่างหนังเกาหลีหรือญี่ปุ่น
เป็นทั้งหนังรักชั้นเยี่ยม และ หนังต่อต้านสงครามเรื่องเยี่ยม
ฉันขอให้กาลเวลาพิสูจน์ความดีของหนังเรื่องนี้...
(ขอโอกาส) คู่กรรม รอบสอง : ความซาบซึ้งที่มากขึ้น : หนังรักประณีต ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง งดงาม
การดูคู่กรรมในรอบที่สอง ทำให้ได้เห็นอะไรที่ต่างออกไปจากครั้งแรก
ที่น่าแปลกใจคือคิดไว้ว่าจะไปจับผิดภาพต่างๆ แต่กลับตรงกันข้าม ความบกพร่อง ประดักประเดิดที่เราเห็นในการดูครั้งแรกมันหายไปแทบหมดสิ้น เช่น
การแสดงของตัวประกอบ อย่างบทคุณลุงคนหนึ่งที่ขอยาแก้มาลาเรีย ตอนดูครั้งแรกรู้สึกว่าเล่นแข็งและโดดมาก แต่ครั้งนี้รู้สึกคุณลุงแสดงได้จริงเหลือเกิน ท่าทางคนแก่ที่งกๆเงิ่น เอื้อมมือไปจับแขนโกโบริ (จำไม่ค่อยได้ น่าจะเป็นโกโบรินะ) ทำให้ฉันรู้สึกสะท้อนใจอย่างมาก นึกถึงผู้สูงอายุที่ฉันเห็นในชีวิตจริง / พ่อนางเอก (คุณเบิร์ธ) ที่ครั้งแรกก็ดูโดดๆ แต่พอดูครั้งที่สองก็เป็นการแสดงที่ดู"จริง"
การแสดงของนางเอก ริชชี่ อรเณศ... แววตาเลื่อนลอย ไร้ความหมายที่ฉันรู้สึกในครั้งแรก ฉันกลับพบความละเอียดในการแสดงของเธอ ท่าทาง สายตา มันไม่ได้ไร้ความหมายทีเดียว มีความรู้สึกมากมายอยู่ในนั้น...ถ่ายทอดให้เรารับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดภายใน สับสน อ้างว้าง
ฉันชอบฉากหลังสะพานพุทธระเบิด แววตาของเธอเศร้ามาก ดั่งคนที่หลงทาง ไม่รู้จะทำยังไงกับชีวิต ในภาวะสงครามเช่นนี้...
ในส่วนคุณยายของอังศุมาลินที่มีคนออกความเห็นเชิงขำขันว่า เป็นใบ้เหรอ ไม่พูดสักคำ ใส่มาทำไม... แต่ฉันกลับสะเทือนใจกับคุณยายที่ไม่พูดไม่จามาก คุณยายเป็นเพียงคนแก่ที่อ่อนล้า ไม่มีปากมีเสียง ต้องการที่พึ่งพิง คนแก่จะมีความหมายอะไรเมื่อเทียบกับสงครามระดับโลก แล้วฉันก็ย้อนไปคิดถึงคุณลุงที่มาขอยาในตอนต้นเรื่อง ท่าทางคุณลุงก็เหมือนต้องการที่พึ่งพิงเช่นกัน...
ฉันรักฉากในหลุมหลบภัยมาก มันสวยงาม เศร้า และอบอุ่นในคราวเดียวกัน ครั้งแรกอังศุมาลินกอดแม่กับยาย "ไม่ต้องกลัวนะคะ" ครั้งต่อมามีโกโบริอยู่ในหลุมหลบภัยด้วย โกโบรินั่งแนบชิดกุมมืออังศุมาลิน เธอก้มหัวลงซบไหล่ แม่และยายหันมามองกันแล้วยิ้ม บางทีอังศุมาลินอาจโหยหาพ่อ ครอบครัวเธออยู่กันลำพังแต่เพียงผู้หญิง เมื่อมีโกโบริเข้ามา เขาเป็นดั่งชายที่เข้ามาคุ้มภัย หนังใช้ฉากหลุมหลบภัยสั้นๆ บอกความสัมพันธ์ของตัวละครได้ลึกซึ้งโดยไม่ต้องปูที่มาใดๆเลย การที่ต้องตัดความสำคัญในตัวละครแม่-ยายออกไป แต่ฉากนี้ฉากเดียวก็รู้สึกได้ถึงความรักที่ทุกคนมีให้กัน และเมื่อมีโกโบริอีกคน เหมือนดั่งครอบครัวที่สมบูรณ์
ส่วนฉากจบ บางคนบอกว่าทำไมฉากจบไม่ขยี้ใจให้มากกว่านี้ ก็โกโบริเองไม่ใช่หรือที่บอกว่าชอบรอยยิ้มอังศุมาลิน "นายชอบเรายิ้มเหรอ" "ผมชอบทุกอย่างที่เป็นคุณ" จากนั้น เราได้เห็นอังศุมาลินยิ้มสดใสพูดคุยกับโกโบริแม้มีน้ำตา เธออยากใช้เวลาที่เหลืออยู่ทำเพื่อเขา ยิ้มให้เขา เก็บกลั้นความเศร้าเจ็บปวดดั่งที่เธอเคยทำเสมอมา คู่กรรมครั้งนี้นอกเหนือความเศร้า มันจึงช่างให้ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติก ได้อย่างมากมายเหลือเกิน "เรารักนาย" .... แต่แท้จริงอังศุมาลินจะเศร้าเพียงใด และจะมีชีวิตต่อไปอย่างไร ....
เมื่อดูครั้งที่สอง ฉันพบว่าหนังถูกสร้างขึ้นอย่างประณีต ทุกฉากทุกตอน มีความหมาย มีความต่อเนื่อง บางตอนที่เหมือนตัดฉับไปฉับมากลับซ่อนเร้นเป็นปริศนาเหมือนหนังลึกลับ น้ำหนักบทในเรื่องความรู้สึกระหว่างพระเอกนางเอกถูกจัดวางอย่างเหมาะเจาะคล้องจอง รายละเอียดต่างๆในเรื่องความสัมพันธ์ของโกโบริ-อังศุมาลิน ลึกซึ้งโรแมนติกมากโดยไม่ต้องแสดงออกชัดเจนแบบที่หนังรักส่วนใหญ่ทำ ใช้ฉากเล็กๆสื่อความหมายได้ยิ่งใหญ่ หนังแสดงออกแบบ "น้อยแต่ได้มาก" รูปแบบของหนังก็ดูกลมกล่อมไม่แปลกแยกอย่างที่รู้สึกตอนดูครั้งแรก
ไม่ได้ "รู้สึก" มานานแล้วกับหนังรักของไทย คู่กรรมเป็นหนังรักที่ทำได้อย่างละเอียดอ่อน ซาบซึ้ง ซึมลึก เหมือนอย่างหนังเกาหลีหรือญี่ปุ่น
เป็นทั้งหนังรักชั้นเยี่ยม และ หนังต่อต้านสงครามเรื่องเยี่ยม
ฉันขอให้กาลเวลาพิสูจน์ความดีของหนังเรื่องนี้...