ตอนแรก หลังดู "คู่กรรม" ปี 2013 จบ ..ความรู้สึกของผมก็คือ เกือบจะเป็น เวรกรรม ได้เลย ถ้าไม่มี ณเดชน์
แต่พอกลับมาคิดๆกับตัวเอง และอ่านบทวิเคราะห์ วิจารณ์ จากหลายๆที่ เป็นตัวเสริม แล้วก็เริ่มรู้สึกว่า บางที สิ่งที่พี่เรียว กิตติกร ทำกับ คู่กรรม ครั้งนี้ มันก็อาจไม่ใช่ความหละหลวม หรือแค่ทำส่งเดช เพราะเมียสั่ง ก็เท่านั้น
โดยส่วนตัวแล้ว ที่ไม่ได้ดู คู่กรรม ทุกๆครั้งที่มีการสร้าง รู้จักแค่ในฐานะเป็นละครที่ พี่เบิร์ด ธงไชย เคยเล่นเป็น "โกโบริ" และมีใครๆบอกว่า นี่เ็ป็นละครไทยไม่กี่เรื่อง ที่สร้างปรากฎการณ์ ถนนโล่ง ตอนสองทุ่ม เพราะรีบกลับมาดูตอนจบที่มีฉากๆเดียว ก็ดันล่อทำเป็นเรื่องยาวๆเล่าได้สองสามวันซะงั้น.. จึงไม่ได้ รับรู้อะไรมากไปกว่าพลอตเรื่องโดยย่อ แล้วอย่าได้ถามรายละเอียดโดยรวมของเรื่องเลย (ยังนึกไม่ออกเลยว่าเคยได้ดู คู่กรรม เวอร์ชั่นพี่เบิร์ด มาบ้างหรือเปล่า ทั้งๆที่เราก็ถือว่าเกิดทันแล้วตอนนั้น)
ฉะนั้นแล้ว การจะดู คู่กรรม ของ พี่เรียว กิตติกร จึงไม่ได้ติดเอาความรู้สึกเคยชื่นชอบ คู่กรรม ฉบับไหนเป็นพิเศษ เข้ามาดูด้วย ..แค่พอจะจับอารมณ์หนังในแต่ละห้วงได้ ตามที่เรื่องย่อมันบอกเอาไว้ และอยากได้ก็แค่ ให้หนังมันตอบสนองทางอารมณ์ที่เราจิ้นเอาไว้ได้เป็นพอ
ซึ่งผลลัพธ์ เมื่อตอนออกโรงมา แรกๆนั้น ก็ยอมรับเลยว่า ทีเด็ดทีขาดของหนังเรื่องนี้ มันคือ "ณเดชน์" ที่สวมความเป็น โกโบริ ได้แบบเพอร์เฟกต์.. เป็นการตอกย้ำว่านี่คือ ซูเปอร์สตาร์ที่พร้อมแล้ว จะขึ้นไปสู่ำทำเนียบดาราคุณภาพอีกคนของวงการบันเทิงไทย
แต่นอกเหนือจากนั้น ค่อนข้างจะเฉยๆ แต่ที่ค่อนไปทางไม่ชอบ คือ "ริชชี่" ที่เป็น อังศุมาลิน ด้วยความไ่ม่พร้อมในด้านชั่วโมงบินของการเป็นนักแสดง และด้วยความยากของการตีโจทย์ตัวละครให้ครบทุกมิติ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เธอไปไม่ถึงจุดที่น่าประทับใจ
ส่วนเรื่องหนึ่ง ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นจุดอ่อนของหนังอันใหญ่ และผมก็ไม่เถียง เพราะผมก็รู้สึกอย่างนั้นเช่นกัน.. มันคือ งานบท และการกำกับ ของพี่เรียว นั่นเอง
แรกดูจบ ผมค่อนข้างปักใจเชื่อว่า พี่เรียว ไม่ได้อยากทำหนังเรื่องนี้จริงๆ มันอาจจะแค่ความอยากลอง ทำหนังตามใจเมียสักครั้ง (เพราะพี่แกบอกเองเลยตอนสัมภาษณ์ทางวิทยุครั้งหนึ่ง ก่อนหนังฉาย ว่า นี่คือ โปรเจกต์เมียสั่งลุย ไม่ไหวจะปฏิเสธ!) ก็เท่านั้น ไม่ได้มีความอยาก หรือท้าทายที่ดูจะใหญ่เป็นพิเศษ
แต่เมื่อลองกลับมาคิดๆดู ก็เหมือนว่าตัวผมที่ดูหนังจบ แต่อารมณ์ไม่จบ ยิ่งเจอบทความหลายๆคนที่สะท้อนภาพของ คู่กรรม ผ่านแนวทางความรู้สึกของตัวเองมาให้เห็นกันแทบทุกวันแล้ว.. ผมก็เริ่มจะมองเห็นอะไรบางอย่างที่เป็นเจตนาของ พี่เรียว และมันก็เป็นเจตนาที่น่าสนใจ
เจตนาที่ผมรู้สึกได้ กล่าวคือ..
1) องก์แรกของหนัง ก่อนจะแต่งงาน ดูไม่ค่อยมีเนื้อหนังอะไรมาก เพราะมันก็แค่การจีบกันของเด็กวัยรุ่น เท่านั้น.. ตรงส่วนนี้ มันเหมือนเป็นการละลายพฤติกรรมของคนที่ดู คู่กรรม ฉบับก่อนๆมา ถ้าใครไม่คิดอะไรมาก ก็คงจะพอชิลๆ เพลินๆไป แต่ถ้าใครรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ ช่วงเวลาที่เหลือของการดูหนัง คงจะไม่ได้อยากเก็ทอะไรอีกต่อไป หรือพูดง่ายๆ เปอร์เซ็นต์จะไม่ชอบหนังทั้งเรื่องจึงสูงมาก
แต่ก็ด้วยเสน่ห์ของพ่อดอกมะลิ คูกิมิยะ ซึ่งดูแพรวพราวมากกับ ความโรแมนติกคอมเมดี้เบาๆ (ถนัดมาจากการเล่นละครนี่นะ) ผมจึงเำำพลินๆกับหนังได้อยู่ หลุดจากกรณีหลังไปได้ไกล
2) เมื่อหนังจะเข้าสู่องก์ที่สอง ซึ่งทางการญี่ปุ่น จะขอผูกสัมพันธไมตรีกับไทย ผ่านการจัดงานแต่งงานข้ามชาติ หนังก็เริ่มเข้าสู่ห้วงดรามาแบบเบาๆ ..จุดนี้้ หนังทำให้เห็นความจริงจัีงกับความรักของ โกโบริ ด้วยพลอตที่ แม่อัง ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปอยู่กับพวกเสรีไทย แต่โกโบริ ก็เหมือนจะเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว เขาจะต้องจัดการขั้นเด็ดขาด หากรู้ว่าใครเข้าร่วมกับเสรีไทย แต่ก็ด้วยความที่นับถือ ความรัก มากกว่า เหตุผล อื่นใด โกโบริ จึงยอมจะเสียทีให้ แม่อัง ทำอะไรก็ได้ ขอแค่ให้เขาได้ใจเธอไปก็เพียงพอ... เรื่องในห้วงนี้ เหมือนอยากจะบอกกับคนดูว่า โกโบริ ไม่ได้ใส่ใจกับสงคราม หรือความเป็นไปของประเทศชาติ (ถึงขั้นประกาศด้วยคำพูดประมาณว่า ผมไม่ได้เป็นทหารที่อยากมาทำสงครามกับใคร ผมอยากจะผูกสัมพันธ์กับคนอื่นๆมากกว่า) ฉะนั้นก็เป็นการบอกกับคนดูอ้อมๆเช่นกันว่า คู่กรรม ฉบับนี้ จะไม่ค่อยแตะต้องประเด็นการเมืองอย่างลงลึุก มีบางๆก็แค่ให้เป็นบรรยากาศ ตามช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อคงความสมจริงจากตัวนิยายไว้ซะมากกว่า
แต่สุดท้าย การบอกอ้อมๆนั้น ก็เหมือนจะไม่มี.. หรือบางที เราก็หาไม่เจอ เพราะหนังเลือกจะซ่อนมันเป็นนัยยะ หรือเชิงสัญลักษณ์ ซะเลย
เพียงแต่ ถ้าเราเอาใจไปจดจ่อกับ ความต้องการของพี่เรียว ที่จะให้ คู่กรรม ของเขา พูดถึงพลังของความรักระหว่างหนุ่มสาวต่างสัญชาติ.. มันก็จะทำให้เรารู้สึกว่า สงคราม มันเป็นเรื่องที่ไกลห่างจากความรักของคนคู่นี้ไปแล้ว
โดยส่วนตัว มองว่า ความต้องการครั้งนี้ โดยลึกๆ มัันอาจคือ การทำ คู่กรรม แบบแตกต่าง.. ต่างจากที่มักจะมีคนพูดถึง เรื่องรักในสงครามโลก จนก็อาจแยกไม่ออกว่าจะเป็นหนังคนรักกัน หรือหนังคนรักชาติ.. หากลองว่าหนังไม่แตะสงคราม ไม่กระทบเรื่องเงื่อนไขระหว่างประเทศที่เปราะบาง (จนถ้ามากไป เดี๋ยวจะกระทบกับความสัมพันธ์ทางการทูต หรือยังไง? กระมัง) และกันผลกระทบทางการเมืองออกไปอย่างชัดเจน.. ความท้าทายของมัน คือ จะทำ คู่กรรม ให้เป็นหนังรักของวัยรุ่นที่จบเป็นโศกนาฎกรรมแบบ Romeo & Juliet ได้อย่างไร?
ก็ไม่รู้หรอกว่า พี่เขาจะคิดถึง Romeo & Juliet หรือไม่? แต่ถ้าคิด มันก็คงจะเป็นเจตนาที่่ อยากให้เห็นพลังของความรัก ที่อยู่เหนือสิ่งต้องห้าม อย่าง การเมือง สงคราม และความต่างของชาติพันธุ์ฺ มันจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน
แต่ก็น่าเสียดายตรงที่.. ความท้าทายนี้ มันมีบททดสอบที่หนักอึ้งเลยทีเดียว คือ การที่หนังจะสร้างพลังความรักให้บังเกิดขึ้นได้ มันต้องมีเคมีของคู่พระนาง ที่ลงตัวที่สุด รับส่งได้อย่างน่าดูชม และเข้าถึงในคาแรกเตอร์ของตัวเองแบบแตกกระจาย
ฝ่าย ณเดชน์ ผ่านบททดสอบนี้ได้ด้วยคะแนนสูงโด่ง ในแง่ของการเข้าถึงคาแรกเตอร์ และถ้าดูที่การรับส่งแล้วจะเห็นว่า พ่อดอกมะลิ พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะประคองอารมณ์ความเชื่อในความรัก เวลาอยู่่ร่วมจอกับนางเอกของเขา ..แต่ประเด็นมันอยู่ที่ นางเอกของเขา ไม่ตอบรับกลับไปถึง พระเอกของเธอ ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
3) ถึงจุดนี้ ผมยังคงตั้งมั่นว่า การตีความของผู้กำกับและเขียนบท ที่มีต่อ อังศุมาลิน ในเวอร์ชั่นนี้ ไม่่ใช่ความผิดที่ร้ายแรงเลย.. เพราะเงื่อนไขที่หนังมีให้กับ อังศุมาลิน มันคือ คาแรกเตอร์ของคนที่อยู่ผิดที่ผิดเวลา รู้ว่าเขารัก และเราก็รู้สึกยินดี แต่เราก็รักเขาไม่ได้ เพราะมันมีอะไรบางอย่างที่ควบคุมเราไว้ และสิ่งนั้นมันก็คือ คำสัญญา กับคนรักเก่า
คือ หนังอาจมองว่ามันเป็น Conflict สุดอมตะ และหนังเวอร์ชั่นนี้ก็ให้พื้นฐานของ อังศุมาลิน เป็นผู้หญิงที่ไม่เก่งการแสดงออก รู้แต่ไม่บอก พอให้บอกก็ทำเป็นไม่รู้.. แต่ที่ลงลึกไปกว่านั้น คือ การที่หนังไม่ได้ให้ อังศุมาลิน เป็นตัวแทนที่แท้จริงของหญิงไทย
ครั้งนี้ กับคนนี้ ความอ่อนหวานหาไม่มี (นิสัยออกจะทะโมน ห้าวเป้ง ด้วยซ้ำ) ฉากที่จะเล่นขิมก็ไม่เห็น (หนังแอบหยอกความเป็น คู่กรรม เวอร์ชั่นก่อนๆนิดๆ ตรงที่ กล้องแพนไปเจอ ขิม แต่ก็แค่เจอ ไม่มีการทำอะไรกับมัน หลังจากนั้นอีกเลย.. ซึ่งก็ถือว่าเ็ป็นมุขหนึ่งที่แสดงออกเชิงประกาศ ว่าทำตัวไม่เหมือน คู่กรรม ฉบับก่อนๆ) หรือกระทั่งบทของเธอ ก็ไม่ได้แสดงความเห็นทางการเมือง เชิงรักชาติ เป็นแค่ส่วนช่วยเหลือเบาๆ ก็เท่านั้น (ยิ่งตอกย้ำว่า หนังจะไม่ไปแตะสถานการณ์ตึงเครียด หากไม่มีความจำเป็น)
มันจึงเป็นจุดที่ทำให้ผมเห็นแล้วว่า อังศุมาลิน ครานี้ คือ คนที่ไม่ได้เข้าไปเป็นตรงกลางระหว่างความเป็นความตายของชาติบ้านเกิด ขณะเดียวกัน มันก็เหมือนจะบ่งบอกความเ็ป็นวัยรุ่นที่ไม่ได้มีความเ็ป็นไทยสูง สามารถจะเปลี่ยนตัวเองไปอยู่กับขนบแบบไหนของชาติือื่นๆก็ได้.. หนังจึงให้เห็นความแก่นเซี้ยวของแม่อัง ที่ดู(เกือบจะ)เป็นวัยรุ่นสมัยปัจจุบัน ผ่านฉากที่เธอทำเ็ป็นเล่น มีอารมณ์ขบขันกับโกโบริ เช่น ฉากว่ายน้ำคลอง หรือ พยายามย่ะ!
แต่ประเด็นที่อ่อนไหว คือ ริชชี่ เป็นวัยรุ่น ที่ดูเหมาะกับวัยของอังศุมาลินในหนังฉบับนี้ และความเป็นวัยรุ่นของเธอก็ดูจะสอดคล้องในแง่ของการทำตัวมีอารมณ์ขันเบาๆ ซึ่งมันก็ทำให้เธอดูน่ารักสมวัยดี... เพียงแต่ เมื่อเข้าโหมดดรามาแล้ว ความหนักของการใช้พลังการแสดงกับบทที่ต้องการศักยภาพจากเธออย่างสูง มันมากเกินไป จนเธอเอาไม่อยู่ รับไม่ไหว และต้องกลายเป็นการเล่นที่เจ็บตัว ซึ่งไม่เป็นผลดีกับการสร้างชื่อเสียงจะเป็นดาวรุ่งให้เธอเลย
หนังต้องการความนิ่งเฉยของผู้หญิงที่ไม่เก่งการแสดงออกก็จริง แต่การจัดการทางอารมณ์ของริชชี่ ยังเป็นปัญหา เพราะริชชี่ ไม่อาจรู้ได้ว่า ระดับการแสดงแค่ไหนที่เป็นการให้เห็นความนิ่งเฉยบนใบหน้า แต่ลึกข้างใน ของมันก็คุกรุ่นในใจ และกำลังขัดแย้งอย่างรุนแรง
ไม่อยากเปรียบเทียบกันเลย เพราะเป็นหนังคนละแนว แต่ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกัน และการแสดงที่ต้องใช้พลังทางลึกเหมือนๆกัน ผมจึงต้อง เปรียบเชิงมวย น้องริชชี่ กับ แม่นาค ในแบบฉบับ "ดาวิกา โฮร์เน่"
ตัวของแม่นาค ฉบับนี้ มีความนิ่งเฉย แต่ดูครุ่นคิดตลอดเวลา มีความสงบ แต่ในใจก็เจ็บปวด ที่ถูกแสดงออกมา ผ่าน 'ดวงตา' ของน้องใหม่ ซึ่งเป็นอาวุธที่เฉียบคม และรุนแรง สำหรับ แ่ม่นาค ซึ่งทำให้เราจะกลัวก็ได้ หรือจะเห็นใจก็ได้ ในเวลาเดียวกัน
ความขัดแย้งของแม่นาค อาจจะเป็นคนละเรื่องกับ อังศุมาิลิน ก็จริง.. แต่ถ้าอังศุมาลิน สามารถแสดงความขัดแย้งในใจกับการกระทำของตัวเองได้ ผ่านการแสดงทางแววตา ได้อย่างดีแล้ว ผมจะไม่มีอะไรให้ต้องพะวง และผมเชื่อว่า มันน่าจะสร้างพลังแห่งความรักที่รุนแรงได้ เมื่อหนังใกล้จะจบ
น้องริชชี่ ไม่สามารถพาตัวเองไปสู่ ความเป็นอังศุมาลิน ที่ขัดแย้ง ได้อย่างสมบูรณ์แบบ.. เพราะไม่มีอาวุธ ไม้ตายอะไรที่แสดงออกว่า ฉันดูนิ่ง แต่ใจจริงๆ ฉันอยากจะบอกอะไรออกไปมาก
แล้วหนังก็ยิ่งจะให้เธอทำหน้าที่ โชว์ความขัดแย้งของตัวเอง ผ่านการโคลสอัพใบหน้า ที่อยากให้ฉายแววตาส่งมาที่กล้องก็บ่อยอยู่.. นั่นยิ่งทำให้ พลังของความรัก ที่ส่งมาถึงคนดู ก็น้อยลงไปด้วย เพราะในแววตาคู่ไหน เราไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนจากใจของ ฮิเดโกะ ที่มีต่อ โกโบริ
ประเด็นนี้ ที่ผมจะสื่อ คือ หนังมีเจตนาอยากจะให้อังศุมาลินฉบับใหม่ แสดงน้อย แต่ให้ได้มาก ..หากมันไม่สามารถมากตามต้องการได้ เพราะน้องริชชี่ คือ นักแสดงมือใหม่สดๆซิงๆ ที่ไม่เคยผ่านงานแขนงนี้(บันเทิง)มาก่อน และเธอต้องมาแสดงน้อย โดยที่ไม่รู้ว่าการเล่นน้อย แต่ให้มาก มันเป็นอย่างไร
ความน่าจะเป็น ที่จะทำให้ อังศุมาลิน แบบที่หนังต้องการเกิดขึ้นได้ โดยส่วนตัว คือ การอยากให้ การคัดเลือกนักแสดง เลือกคนที่เคยเป็นการแสดงมาพอสมควร ชั่วโมงบินต้องมากกว่านี้สักหน่อย การจะเข้าใจถึง การเล่นน้อยแต่ให้มาก ย่อมจะมีมากกว่าแน่ เพราะผ่านการเรียนรู้จากงานเก่าๆที่ทำมาแล้ว.. หรือถ้าจะยังปักใจ ให้น้องริชชี่ เล่น ก็ต้องยินยอมจะรอให้น้องไปมีผลงานในวงการบันเทิงเสียก่อน ให้น้องเรียนรู้การแสดงขั้นพื้นฐานให้มากที่สุด จากงานอื่นๆ แล้วจึงค่อยๆมาปรับมาสอนเพิ่ม เมื่อถึงเวลาที่เธอต้องมาเป็น อังศุมาลิน แบบนี้ น่าจะทำให้การตีความตัวละครของเธอ เป็นงานที่ดูยาก แต่เห็นความเป็นไปได้
การเลือก นักแสดงหน้าใหม่ มาเล่นหนัง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่คงต้องดูที่องค์ประกอบด้านความยากของหนัง ด้วยว่าต้องการศาสตร์อะไรบ้าง ถึงจะเข้าถึงบทนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ..ถ้าให้น้อง ริชชี่ ไปเล่นหนังอารมณ์ประมาณ Scream คงไม่ยาก เพราะไม่มีอะไรนอกจากวิ่งหนีความตาย แล้วก็ร้องกรี๊ดๆ (สังเกตได้ว่า ดาราดังๆหลายคน มักจะเริ่มด้วยหนังทางนี้) หรือหนังตลกโรแมนซ์ ที่ให้เห็นความใสๆแบบวัยรุ่น มันก็จะดูเข้าถึงง่ายกว่า ..แต่นี่คือ หนังดรามา ท่ายากสูง และระดับการตั้งความต้องการของผู้กำกับก็สูงตามไปด้วย
เหตุฉะนี้ ริชชี่ ถึงได้ทำคะแนนไม่ถึง จุดที่จะเรียกว่า สอบผ่าน การเป็นอังศุมาลิน แบบ เรียว กิตติกร
(มีต่อ)
ผมชอบการตีความแบบ เรียว กิตติกร ของ "คู่กรรม" ..แต่ก็รู้สึกว่า มันน่าจะตีได้แตกมากกว่านี้
แต่พอกลับมาคิดๆกับตัวเอง และอ่านบทวิเคราะห์ วิจารณ์ จากหลายๆที่ เป็นตัวเสริม แล้วก็เริ่มรู้สึกว่า บางที สิ่งที่พี่เรียว กิตติกร ทำกับ คู่กรรม ครั้งนี้ มันก็อาจไม่ใช่ความหละหลวม หรือแค่ทำส่งเดช เพราะเมียสั่ง ก็เท่านั้น
โดยส่วนตัวแล้ว ที่ไม่ได้ดู คู่กรรม ทุกๆครั้งที่มีการสร้าง รู้จักแค่ในฐานะเป็นละครที่ พี่เบิร์ด ธงไชย เคยเล่นเป็น "โกโบริ" และมีใครๆบอกว่า นี่เ็ป็นละครไทยไม่กี่เรื่อง ที่สร้างปรากฎการณ์ ถนนโล่ง ตอนสองทุ่ม เพราะรีบกลับมาดูตอนจบที่มีฉากๆเดียว ก็ดันล่อทำเป็นเรื่องยาวๆเล่าได้สองสามวันซะงั้น.. จึงไม่ได้ รับรู้อะไรมากไปกว่าพลอตเรื่องโดยย่อ แล้วอย่าได้ถามรายละเอียดโดยรวมของเรื่องเลย (ยังนึกไม่ออกเลยว่าเคยได้ดู คู่กรรม เวอร์ชั่นพี่เบิร์ด มาบ้างหรือเปล่า ทั้งๆที่เราก็ถือว่าเกิดทันแล้วตอนนั้น)
ฉะนั้นแล้ว การจะดู คู่กรรม ของ พี่เรียว กิตติกร จึงไม่ได้ติดเอาความรู้สึกเคยชื่นชอบ คู่กรรม ฉบับไหนเป็นพิเศษ เข้ามาดูด้วย ..แค่พอจะจับอารมณ์หนังในแต่ละห้วงได้ ตามที่เรื่องย่อมันบอกเอาไว้ และอยากได้ก็แค่ ให้หนังมันตอบสนองทางอารมณ์ที่เราจิ้นเอาไว้ได้เป็นพอ
ซึ่งผลลัพธ์ เมื่อตอนออกโรงมา แรกๆนั้น ก็ยอมรับเลยว่า ทีเด็ดทีขาดของหนังเรื่องนี้ มันคือ "ณเดชน์" ที่สวมความเป็น โกโบริ ได้แบบเพอร์เฟกต์.. เป็นการตอกย้ำว่านี่คือ ซูเปอร์สตาร์ที่พร้อมแล้ว จะขึ้นไปสู่ำทำเนียบดาราคุณภาพอีกคนของวงการบันเทิงไทย
แต่นอกเหนือจากนั้น ค่อนข้างจะเฉยๆ แต่ที่ค่อนไปทางไม่ชอบ คือ "ริชชี่" ที่เป็น อังศุมาลิน ด้วยความไ่ม่พร้อมในด้านชั่วโมงบินของการเป็นนักแสดง และด้วยความยากของการตีโจทย์ตัวละครให้ครบทุกมิติ ก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เธอไปไม่ถึงจุดที่น่าประทับใจ
ส่วนเรื่องหนึ่ง ที่หลายคนอาจมองว่าเป็นจุดอ่อนของหนังอันใหญ่ และผมก็ไม่เถียง เพราะผมก็รู้สึกอย่างนั้นเช่นกัน.. มันคือ งานบท และการกำกับ ของพี่เรียว นั่นเอง
แรกดูจบ ผมค่อนข้างปักใจเชื่อว่า พี่เรียว ไม่ได้อยากทำหนังเรื่องนี้จริงๆ มันอาจจะแค่ความอยากลอง ทำหนังตามใจเมียสักครั้ง (เพราะพี่แกบอกเองเลยตอนสัมภาษณ์ทางวิทยุครั้งหนึ่ง ก่อนหนังฉาย ว่า นี่คือ โปรเจกต์เมียสั่งลุย ไม่ไหวจะปฏิเสธ!) ก็เท่านั้น ไม่ได้มีความอยาก หรือท้าทายที่ดูจะใหญ่เป็นพิเศษ
แต่เมื่อลองกลับมาคิดๆดู ก็เหมือนว่าตัวผมที่ดูหนังจบ แต่อารมณ์ไม่จบ ยิ่งเจอบทความหลายๆคนที่สะท้อนภาพของ คู่กรรม ผ่านแนวทางความรู้สึกของตัวเองมาให้เห็นกันแทบทุกวันแล้ว.. ผมก็เริ่มจะมองเห็นอะไรบางอย่างที่เป็นเจตนาของ พี่เรียว และมันก็เป็นเจตนาที่น่าสนใจ
เจตนาที่ผมรู้สึกได้ กล่าวคือ..
1) องก์แรกของหนัง ก่อนจะแต่งงาน ดูไม่ค่อยมีเนื้อหนังอะไรมาก เพราะมันก็แค่การจีบกันของเด็กวัยรุ่น เท่านั้น.. ตรงส่วนนี้ มันเหมือนเป็นการละลายพฤติกรรมของคนที่ดู คู่กรรม ฉบับก่อนๆมา ถ้าใครไม่คิดอะไรมาก ก็คงจะพอชิลๆ เพลินๆไป แต่ถ้าใครรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ ช่วงเวลาที่เหลือของการดูหนัง คงจะไม่ได้อยากเก็ทอะไรอีกต่อไป หรือพูดง่ายๆ เปอร์เซ็นต์จะไม่ชอบหนังทั้งเรื่องจึงสูงมาก
แต่ก็ด้วยเสน่ห์ของพ่อดอกมะลิ คูกิมิยะ ซึ่งดูแพรวพราวมากกับ ความโรแมนติกคอมเมดี้เบาๆ (ถนัดมาจากการเล่นละครนี่นะ) ผมจึงเำำพลินๆกับหนังได้อยู่ หลุดจากกรณีหลังไปได้ไกล
2) เมื่อหนังจะเข้าสู่องก์ที่สอง ซึ่งทางการญี่ปุ่น จะขอผูกสัมพันธไมตรีกับไทย ผ่านการจัดงานแต่งงานข้ามชาติ หนังก็เริ่มเข้าสู่ห้วงดรามาแบบเบาๆ ..จุดนี้้ หนังทำให้เห็นความจริงจัีงกับความรักของ โกโบริ ด้วยพลอตที่ แม่อัง ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปอยู่กับพวกเสรีไทย แต่โกโบริ ก็เหมือนจะเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว เขาจะต้องจัดการขั้นเด็ดขาด หากรู้ว่าใครเข้าร่วมกับเสรีไทย แต่ก็ด้วยความที่นับถือ ความรัก มากกว่า เหตุผล อื่นใด โกโบริ จึงยอมจะเสียทีให้ แม่อัง ทำอะไรก็ได้ ขอแค่ให้เขาได้ใจเธอไปก็เพียงพอ... เรื่องในห้วงนี้ เหมือนอยากจะบอกกับคนดูว่า โกโบริ ไม่ได้ใส่ใจกับสงคราม หรือความเป็นไปของประเทศชาติ (ถึงขั้นประกาศด้วยคำพูดประมาณว่า ผมไม่ได้เป็นทหารที่อยากมาทำสงครามกับใคร ผมอยากจะผูกสัมพันธ์กับคนอื่นๆมากกว่า) ฉะนั้นก็เป็นการบอกกับคนดูอ้อมๆเช่นกันว่า คู่กรรม ฉบับนี้ จะไม่ค่อยแตะต้องประเด็นการเมืองอย่างลงลึุก มีบางๆก็แค่ให้เป็นบรรยากาศ ตามช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อคงความสมจริงจากตัวนิยายไว้ซะมากกว่า
แต่สุดท้าย การบอกอ้อมๆนั้น ก็เหมือนจะไม่มี.. หรือบางที เราก็หาไม่เจอ เพราะหนังเลือกจะซ่อนมันเป็นนัยยะ หรือเชิงสัญลักษณ์ ซะเลย
เพียงแต่ ถ้าเราเอาใจไปจดจ่อกับ ความต้องการของพี่เรียว ที่จะให้ คู่กรรม ของเขา พูดถึงพลังของความรักระหว่างหนุ่มสาวต่างสัญชาติ.. มันก็จะทำให้เรารู้สึกว่า สงคราม มันเป็นเรื่องที่ไกลห่างจากความรักของคนคู่นี้ไปแล้ว
โดยส่วนตัว มองว่า ความต้องการครั้งนี้ โดยลึกๆ มัันอาจคือ การทำ คู่กรรม แบบแตกต่าง.. ต่างจากที่มักจะมีคนพูดถึง เรื่องรักในสงครามโลก จนก็อาจแยกไม่ออกว่าจะเป็นหนังคนรักกัน หรือหนังคนรักชาติ.. หากลองว่าหนังไม่แตะสงคราม ไม่กระทบเรื่องเงื่อนไขระหว่างประเทศที่เปราะบาง (จนถ้ามากไป เดี๋ยวจะกระทบกับความสัมพันธ์ทางการทูต หรือยังไง? กระมัง) และกันผลกระทบทางการเมืองออกไปอย่างชัดเจน.. ความท้าทายของมัน คือ จะทำ คู่กรรม ให้เป็นหนังรักของวัยรุ่นที่จบเป็นโศกนาฎกรรมแบบ Romeo & Juliet ได้อย่างไร?
ก็ไม่รู้หรอกว่า พี่เขาจะคิดถึง Romeo & Juliet หรือไม่? แต่ถ้าคิด มันก็คงจะเป็นเจตนาที่่ อยากให้เห็นพลังของความรัก ที่อยู่เหนือสิ่งต้องห้าม อย่าง การเมือง สงคราม และความต่างของชาติพันธุ์ฺ มันจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ขนาดไหน
แต่ก็น่าเสียดายตรงที่.. ความท้าทายนี้ มันมีบททดสอบที่หนักอึ้งเลยทีเดียว คือ การที่หนังจะสร้างพลังความรักให้บังเกิดขึ้นได้ มันต้องมีเคมีของคู่พระนาง ที่ลงตัวที่สุด รับส่งได้อย่างน่าดูชม และเข้าถึงในคาแรกเตอร์ของตัวเองแบบแตกกระจาย
ฝ่าย ณเดชน์ ผ่านบททดสอบนี้ได้ด้วยคะแนนสูงโด่ง ในแง่ของการเข้าถึงคาแรกเตอร์ และถ้าดูที่การรับส่งแล้วจะเห็นว่า พ่อดอกมะลิ พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะประคองอารมณ์ความเชื่อในความรัก เวลาอยู่่ร่วมจอกับนางเอกของเขา ..แต่ประเด็นมันอยู่ที่ นางเอกของเขา ไม่ตอบรับกลับไปถึง พระเอกของเธอ ได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ
3) ถึงจุดนี้ ผมยังคงตั้งมั่นว่า การตีความของผู้กำกับและเขียนบท ที่มีต่อ อังศุมาลิน ในเวอร์ชั่นนี้ ไม่่ใช่ความผิดที่ร้ายแรงเลย.. เพราะเงื่อนไขที่หนังมีให้กับ อังศุมาลิน มันคือ คาแรกเตอร์ของคนที่อยู่ผิดที่ผิดเวลา รู้ว่าเขารัก และเราก็รู้สึกยินดี แต่เราก็รักเขาไม่ได้ เพราะมันมีอะไรบางอย่างที่ควบคุมเราไว้ และสิ่งนั้นมันก็คือ คำสัญญา กับคนรักเก่า
คือ หนังอาจมองว่ามันเป็น Conflict สุดอมตะ และหนังเวอร์ชั่นนี้ก็ให้พื้นฐานของ อังศุมาลิน เป็นผู้หญิงที่ไม่เก่งการแสดงออก รู้แต่ไม่บอก พอให้บอกก็ทำเป็นไม่รู้.. แต่ที่ลงลึกไปกว่านั้น คือ การที่หนังไม่ได้ให้ อังศุมาลิน เป็นตัวแทนที่แท้จริงของหญิงไทย
ครั้งนี้ กับคนนี้ ความอ่อนหวานหาไม่มี (นิสัยออกจะทะโมน ห้าวเป้ง ด้วยซ้ำ) ฉากที่จะเล่นขิมก็ไม่เห็น (หนังแอบหยอกความเป็น คู่กรรม เวอร์ชั่นก่อนๆนิดๆ ตรงที่ กล้องแพนไปเจอ ขิม แต่ก็แค่เจอ ไม่มีการทำอะไรกับมัน หลังจากนั้นอีกเลย.. ซึ่งก็ถือว่าเ็ป็นมุขหนึ่งที่แสดงออกเชิงประกาศ ว่าทำตัวไม่เหมือน คู่กรรม ฉบับก่อนๆ) หรือกระทั่งบทของเธอ ก็ไม่ได้แสดงความเห็นทางการเมือง เชิงรักชาติ เป็นแค่ส่วนช่วยเหลือเบาๆ ก็เท่านั้น (ยิ่งตอกย้ำว่า หนังจะไม่ไปแตะสถานการณ์ตึงเครียด หากไม่มีความจำเป็น)
มันจึงเป็นจุดที่ทำให้ผมเห็นแล้วว่า อังศุมาลิน ครานี้ คือ คนที่ไม่ได้เข้าไปเป็นตรงกลางระหว่างความเป็นความตายของชาติบ้านเกิด ขณะเดียวกัน มันก็เหมือนจะบ่งบอกความเ็ป็นวัยรุ่นที่ไม่ได้มีความเ็ป็นไทยสูง สามารถจะเปลี่ยนตัวเองไปอยู่กับขนบแบบไหนของชาติือื่นๆก็ได้.. หนังจึงให้เห็นความแก่นเซี้ยวของแม่อัง ที่ดู(เกือบจะ)เป็นวัยรุ่นสมัยปัจจุบัน ผ่านฉากที่เธอทำเ็ป็นเล่น มีอารมณ์ขบขันกับโกโบริ เช่น ฉากว่ายน้ำคลอง หรือ พยายามย่ะ!
แต่ประเด็นที่อ่อนไหว คือ ริชชี่ เป็นวัยรุ่น ที่ดูเหมาะกับวัยของอังศุมาลินในหนังฉบับนี้ และความเป็นวัยรุ่นของเธอก็ดูจะสอดคล้องในแง่ของการทำตัวมีอารมณ์ขันเบาๆ ซึ่งมันก็ทำให้เธอดูน่ารักสมวัยดี... เพียงแต่ เมื่อเข้าโหมดดรามาแล้ว ความหนักของการใช้พลังการแสดงกับบทที่ต้องการศักยภาพจากเธออย่างสูง มันมากเกินไป จนเธอเอาไม่อยู่ รับไม่ไหว และต้องกลายเป็นการเล่นที่เจ็บตัว ซึ่งไม่เป็นผลดีกับการสร้างชื่อเสียงจะเป็นดาวรุ่งให้เธอเลย
หนังต้องการความนิ่งเฉยของผู้หญิงที่ไม่เก่งการแสดงออกก็จริง แต่การจัดการทางอารมณ์ของริชชี่ ยังเป็นปัญหา เพราะริชชี่ ไม่อาจรู้ได้ว่า ระดับการแสดงแค่ไหนที่เป็นการให้เห็นความนิ่งเฉยบนใบหน้า แต่ลึกข้างใน ของมันก็คุกรุ่นในใจ และกำลังขัดแย้งอย่างรุนแรง
ไม่อยากเปรียบเทียบกันเลย เพราะเป็นหนังคนละแนว แต่ด้วยวัยที่ใกล้เคียงกัน และการแสดงที่ต้องใช้พลังทางลึกเหมือนๆกัน ผมจึงต้อง เปรียบเชิงมวย น้องริชชี่ กับ แม่นาค ในแบบฉบับ "ดาวิกา โฮร์เน่"
ตัวของแม่นาค ฉบับนี้ มีความนิ่งเฉย แต่ดูครุ่นคิดตลอดเวลา มีความสงบ แต่ในใจก็เจ็บปวด ที่ถูกแสดงออกมา ผ่าน 'ดวงตา' ของน้องใหม่ ซึ่งเป็นอาวุธที่เฉียบคม และรุนแรง สำหรับ แ่ม่นาค ซึ่งทำให้เราจะกลัวก็ได้ หรือจะเห็นใจก็ได้ ในเวลาเดียวกัน
ความขัดแย้งของแม่นาค อาจจะเป็นคนละเรื่องกับ อังศุมาิลิน ก็จริง.. แต่ถ้าอังศุมาลิน สามารถแสดงความขัดแย้งในใจกับการกระทำของตัวเองได้ ผ่านการแสดงทางแววตา ได้อย่างดีแล้ว ผมจะไม่มีอะไรให้ต้องพะวง และผมเชื่อว่า มันน่าจะสร้างพลังแห่งความรักที่รุนแรงได้ เมื่อหนังใกล้จะจบ
น้องริชชี่ ไม่สามารถพาตัวเองไปสู่ ความเป็นอังศุมาลิน ที่ขัดแย้ง ได้อย่างสมบูรณ์แบบ.. เพราะไม่มีอาวุธ ไม้ตายอะไรที่แสดงออกว่า ฉันดูนิ่ง แต่ใจจริงๆ ฉันอยากจะบอกอะไรออกไปมาก
แล้วหนังก็ยิ่งจะให้เธอทำหน้าที่ โชว์ความขัดแย้งของตัวเอง ผ่านการโคลสอัพใบหน้า ที่อยากให้ฉายแววตาส่งมาที่กล้องก็บ่อยอยู่.. นั่นยิ่งทำให้ พลังของความรัก ที่ส่งมาถึงคนดู ก็น้อยลงไปด้วย เพราะในแววตาคู่ไหน เราไม่เห็นอะไรที่ชัดเจนจากใจของ ฮิเดโกะ ที่มีต่อ โกโบริ
ประเด็นนี้ ที่ผมจะสื่อ คือ หนังมีเจตนาอยากจะให้อังศุมาลินฉบับใหม่ แสดงน้อย แต่ให้ได้มาก ..หากมันไม่สามารถมากตามต้องการได้ เพราะน้องริชชี่ คือ นักแสดงมือใหม่สดๆซิงๆ ที่ไม่เคยผ่านงานแขนงนี้(บันเทิง)มาก่อน และเธอต้องมาแสดงน้อย โดยที่ไม่รู้ว่าการเล่นน้อย แต่ให้มาก มันเป็นอย่างไร
ความน่าจะเป็น ที่จะทำให้ อังศุมาลิน แบบที่หนังต้องการเกิดขึ้นได้ โดยส่วนตัว คือ การอยากให้ การคัดเลือกนักแสดง เลือกคนที่เคยเป็นการแสดงมาพอสมควร ชั่วโมงบินต้องมากกว่านี้สักหน่อย การจะเข้าใจถึง การเล่นน้อยแต่ให้มาก ย่อมจะมีมากกว่าแน่ เพราะผ่านการเรียนรู้จากงานเก่าๆที่ทำมาแล้ว.. หรือถ้าจะยังปักใจ ให้น้องริชชี่ เล่น ก็ต้องยินยอมจะรอให้น้องไปมีผลงานในวงการบันเทิงเสียก่อน ให้น้องเรียนรู้การแสดงขั้นพื้นฐานให้มากที่สุด จากงานอื่นๆ แล้วจึงค่อยๆมาปรับมาสอนเพิ่ม เมื่อถึงเวลาที่เธอต้องมาเป็น อังศุมาลิน แบบนี้ น่าจะทำให้การตีความตัวละครของเธอ เป็นงานที่ดูยาก แต่เห็นความเป็นไปได้
การเลือก นักแสดงหน้าใหม่ มาเล่นหนัง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่คงต้องดูที่องค์ประกอบด้านความยากของหนัง ด้วยว่าต้องการศาสตร์อะไรบ้าง ถึงจะเข้าถึงบทนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน ..ถ้าให้น้อง ริชชี่ ไปเล่นหนังอารมณ์ประมาณ Scream คงไม่ยาก เพราะไม่มีอะไรนอกจากวิ่งหนีความตาย แล้วก็ร้องกรี๊ดๆ (สังเกตได้ว่า ดาราดังๆหลายคน มักจะเริ่มด้วยหนังทางนี้) หรือหนังตลกโรแมนซ์ ที่ให้เห็นความใสๆแบบวัยรุ่น มันก็จะดูเข้าถึงง่ายกว่า ..แต่นี่คือ หนังดรามา ท่ายากสูง และระดับการตั้งความต้องการของผู้กำกับก็สูงตามไปด้วย
เหตุฉะนี้ ริชชี่ ถึงได้ทำคะแนนไม่ถึง จุดที่จะเรียกว่า สอบผ่าน การเป็นอังศุมาลิน แบบ เรียว กิตติกร
(มีต่อ)