03 เม.ย 2556 เวลา 13:41:08 น.
โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์
คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ
www.facebook.com/18thanwa
หากติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จะพบว่ามี "ความผันผวน" อย่างมาก หลังจาก SET ปิด ณ วันที่ 15 มีนาคมที่ 1,598 จุด ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ และปิดที่ระดับ 1,478 จุด ลดลงถึง 120 จุด หรือ 8% แม้จะมีความผันผวนอย่างมากระหว่างสัปดาห์ต่อมา แต่ ณ วันสิ้นสุดไตรมาสแรกของปี 2556 (29 มีนาคม) ดัชนีสามารถปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 83 จุด หรือ 5.6% โดยปิดที่ 1,561 จุด สำหรับตลาด mai นั้น ราคาหุ้นมีความผันผวนสูงกว่า SET อีกด้วย
แม้ความผันผวนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับตลาดหุ้นเสมอ แต่ควรถามตนเองว่า เราได้เรียนรู้จากความผันผวนนี้อย่างไรบ้าง
หากย้อนคิดไปถึงวันที่ 22 มีนาคมซึ่งตลาดหุ้นตกลงกว่า 50 จุด และทำสถิติมูลค่าซื้อขายสูงสุดกว่า 1 แสนล้านบาท แน่นอนว่า จะต้องมีนักลงทุนที่ถือหุ้นจำนวนหนึ่งถูกโน้มน้าวทางอารมณ์ หรือตกใจจากสภาวะ "การปรับตัวลงอย่างแรง"
ของตลาด จึงตัดสินใจขายหุ้นออกมาก่อน เพราะคาดว่าตลาดหุ้นจะปรับลดลงอีกอย่างแน่นอน แล้วจึงเข้าช้อนซื้อเมื่อราคาตกต่ำกว่าที่ราคาขายอีกครั้งหนึ่ง
การ ใช้กลยุทธ์ "เล่นรอบ" โดยการใช้ Market Timing เพื่อขายและซื้อกลับเพื่อหวังส่วนต่างกำไรในระยะสั้นนั้น เหมาะกับนักลงทุนที่ติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เปี่ยมด้วยประสบการณ์ เก่งในจิตวิทยาการลงทุนและการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาจำกัด เพราะหากปฏิบัติตามการคาดการณ์ที่ถูกต้องจะสามารถทำกำไรได้อย่างงาม อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครล่วงรู้ได้อย่างแม่นยำว่า หุ้นจะขึ้นสูงสุดหรือลงต่ำสุดที่ราคาใด ดังนั้นนักลงทุนที่ตัดสินใจขายหุ้นออกมา (ซึ่งมักจะไม่สามารถขายได้ในราคาสูงสุด) จะตกอยู่ในสองสถานการณ์ต่อไปนี้
กรณีที่หนึ่ง ซื้อหุ้นกลับคืนเร็วเกินไป เพราะคาดว่าเป็นการ "ตกใจขายหุ้น" ชั่วคราวเท่านั้น การซื้อกลับคืนเร็วอาจทำกำไรส่วนต่างประมาณ 2-5% ข้อดีคือ หากหุ้นปรับตัวกลับขึ้นเร็วอย่างที่คาด นักลงทุนได้กำไรส่วนต่าง ราคาและยังมีหุ้นที่ต้องการลงทุนจำนวนเท่าเดิม ข้อเสียคือหากซื้อกลับไม่ทันและต้องยอมซื้อกลับในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขาย ไป นักลงทุนจะต้องขาดทุน หากนักลงทุน "ทำใจไม่ได้" ที่จะต้องซื้อกลับในราคาสูงขึ้น นี่คือ
การ สูญเสียโอกาสการเป็นเจ้าของกิจการชั้นเยี่ยมที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมาอย่างดี เพราะราคาหุ้นอาจจะไม่ปรับลดต่ำกว่าราคาที่ขาย หรือราคาปรับลงมาในจุดที่เราคิดว่ามี Margin of Safety อีกเลย
หาก หุ้นยังปรับตัวลงต่อเนื่องต่อไปอีกนาน ธุรกรรมครั้งนี้จะเป็นเพียงการประหยัดการขาดทุน (ของกำไรหากต้นทุนต่ำกว่าราคาขาย) เพียง 2-5% เท่านั้น นักลงทุนจึงต้องคิดว่า การนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาใช้ในกรณีนี้เหมาะกับตนหรือไม่ อย่างไร
กรณีที่สอง รอเวลาหรือราคาที่เหมาะสมแล้วจึงซื้อกลับคืน หากไม่ใช่นักลงทุนแนวเทคนิคแล้ว จังหวะซื้อหุ้นกลับคืน
นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของนักลงทุนแต่ละคน
นัก ลงทุนต้องไม่ลืมว่า หากพบกิจการอื่นที่มีคุณภาพเยี่ยม เสนอขายในราคาที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากตลาดปรับตัวลง นี่คือการนำกลยุทธ์ Switching มาใช้เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
การขายหุ้นในแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะกระทำก็ต่อเมื่อ หนึ่ง ปัจจัยพื้นฐานของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
สอง เมื่อซื้อหุ้นผิดจากการคาดการณ์หรือความเข้าใจผิด และสาม ราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก จะเห็นได้ว่า
การ ขายหุ้นนั้น ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความผันผวนของตลาดเลย อีกนัยหนึ่งคือ หากต้องการขายหุ้นที่อยู่ในข่ายดังกล่าว นักลงทุนไม่จำเป็นต้องรอให้ตลาดผันผวนแล้วจึงตัดสินใจขายหุ้นนั่นเอง
คำ ถามต่อมาคือ เป้าหมายการลงทุนของตนคืออะไร หากเป้าหมายคือ การมีอิสรภาพทางการเงิน ความมั่งคั่งและมั่นคงในชีวิต ความสบายใจ กินอิ่มนอนหลับจากการลงทุน ผลตอบแทนระดับ 12-15% ต่อปี หรือเหมาะกับความสามารถ นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด
มี คำกล่าวว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการลงทุนคือ "การอยู่เฉย ๆ" แม้เป็นคำพูดที่ง่ายแต่แฝงด้วยแง่คิด กล่าวคือ หากถือหุ้นที่ยอดเยี่ยมผ่านการคัดเลือกและไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ควรอดทนและให้เวลากิจการเพื่อสร้างความเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ นี่คือ
การ นำกลยุทธ์ "Buy & Hold" มาใช้ ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถทำนายราคาหุ้นว่าจะขึ้นหรือลงในระยะสั้นได้ แต่เราคาดการณ์ผลประกอบการ ดังนั้น VI พันธุ์แท้จึงต้องมี "วินัย" และ "ใช้สติ" ในการตัดสินลงทุนเสมอ
บทเรียนจากความผันผวน
โดย ธันวา เลาหศิริวงศ์
คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ
www.facebook.com/18thanwa
หากติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จะพบว่ามี "ความผันผวน" อย่างมาก หลังจาก SET ปิด ณ วันที่ 15 มีนาคมที่ 1,598 จุด ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ และปิดที่ระดับ 1,478 จุด ลดลงถึง 120 จุด หรือ 8% แม้จะมีความผันผวนอย่างมากระหว่างสัปดาห์ต่อมา แต่ ณ วันสิ้นสุดไตรมาสแรกของปี 2556 (29 มีนาคม) ดัชนีสามารถปรับขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 83 จุด หรือ 5.6% โดยปิดที่ 1,561 จุด สำหรับตลาด mai นั้น ราคาหุ้นมีความผันผวนสูงกว่า SET อีกด้วย
แม้ความผันผวนเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับตลาดหุ้นเสมอ แต่ควรถามตนเองว่า เราได้เรียนรู้จากความผันผวนนี้อย่างไรบ้าง
หากย้อนคิดไปถึงวันที่ 22 มีนาคมซึ่งตลาดหุ้นตกลงกว่า 50 จุด และทำสถิติมูลค่าซื้อขายสูงสุดกว่า 1 แสนล้านบาท แน่นอนว่า จะต้องมีนักลงทุนที่ถือหุ้นจำนวนหนึ่งถูกโน้มน้าวทางอารมณ์ หรือตกใจจากสภาวะ "การปรับตัวลงอย่างแรง"
ของตลาด จึงตัดสินใจขายหุ้นออกมาก่อน เพราะคาดว่าตลาดหุ้นจะปรับลดลงอีกอย่างแน่นอน แล้วจึงเข้าช้อนซื้อเมื่อราคาตกต่ำกว่าที่ราคาขายอีกครั้งหนึ่ง
การ ใช้กลยุทธ์ "เล่นรอบ" โดยการใช้ Market Timing เพื่อขายและซื้อกลับเพื่อหวังส่วนต่างกำไรในระยะสั้นนั้น เหมาะกับนักลงทุนที่ติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เปี่ยมด้วยประสบการณ์ เก่งในจิตวิทยาการลงทุนและการตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดในเวลาจำกัด เพราะหากปฏิบัติตามการคาดการณ์ที่ถูกต้องจะสามารถทำกำไรได้อย่างงาม อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครล่วงรู้ได้อย่างแม่นยำว่า หุ้นจะขึ้นสูงสุดหรือลงต่ำสุดที่ราคาใด ดังนั้นนักลงทุนที่ตัดสินใจขายหุ้นออกมา (ซึ่งมักจะไม่สามารถขายได้ในราคาสูงสุด) จะตกอยู่ในสองสถานการณ์ต่อไปนี้
กรณีที่หนึ่ง ซื้อหุ้นกลับคืนเร็วเกินไป เพราะคาดว่าเป็นการ "ตกใจขายหุ้น" ชั่วคราวเท่านั้น การซื้อกลับคืนเร็วอาจทำกำไรส่วนต่างประมาณ 2-5% ข้อดีคือ หากหุ้นปรับตัวกลับขึ้นเร็วอย่างที่คาด นักลงทุนได้กำไรส่วนต่าง ราคาและยังมีหุ้นที่ต้องการลงทุนจำนวนเท่าเดิม ข้อเสียคือหากซื้อกลับไม่ทันและต้องยอมซื้อกลับในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขาย ไป นักลงทุนจะต้องขาดทุน หากนักลงทุน "ทำใจไม่ได้" ที่จะต้องซื้อกลับในราคาสูงขึ้น นี่คือ
การ สูญเสียโอกาสการเป็นเจ้าของกิจการชั้นเยี่ยมที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกมาอย่างดี เพราะราคาหุ้นอาจจะไม่ปรับลดต่ำกว่าราคาที่ขาย หรือราคาปรับลงมาในจุดที่เราคิดว่ามี Margin of Safety อีกเลย
หาก หุ้นยังปรับตัวลงต่อเนื่องต่อไปอีกนาน ธุรกรรมครั้งนี้จะเป็นเพียงการประหยัดการขาดทุน (ของกำไรหากต้นทุนต่ำกว่าราคาขาย) เพียง 2-5% เท่านั้น นักลงทุนจึงต้องคิดว่า การนำกลยุทธ์ดังกล่าวมาใช้ในกรณีนี้เหมาะกับตนหรือไม่ อย่างไร
กรณีที่สอง รอเวลาหรือราคาที่เหมาะสมแล้วจึงซื้อกลับคืน หากไม่ใช่นักลงทุนแนวเทคนิคแล้ว จังหวะซื้อหุ้นกลับคืน
นั้นคงต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้สึกของนักลงทุนแต่ละคน
นัก ลงทุนต้องไม่ลืมว่า หากพบกิจการอื่นที่มีคุณภาพเยี่ยม เสนอขายในราคาที่เหมาะสมกว่า เนื่องจากตลาดปรับตัวลง นี่คือการนำกลยุทธ์ Switching มาใช้เพื่อผลตอบแทนที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
การขายหุ้นในแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่านั้น จะกระทำก็ต่อเมื่อ หนึ่ง ปัจจัยพื้นฐานของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง
สอง เมื่อซื้อหุ้นผิดจากการคาดการณ์หรือความเข้าใจผิด และสาม ราคาหุ้นสูงเกินปัจจัยพื้นฐานอย่างมาก จะเห็นได้ว่า
การ ขายหุ้นนั้น ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความผันผวนของตลาดเลย อีกนัยหนึ่งคือ หากต้องการขายหุ้นที่อยู่ในข่ายดังกล่าว นักลงทุนไม่จำเป็นต้องรอให้ตลาดผันผวนแล้วจึงตัดสินใจขายหุ้นนั่นเอง
คำ ถามต่อมาคือ เป้าหมายการลงทุนของตนคืออะไร หากเป้าหมายคือ การมีอิสรภาพทางการเงิน ความมั่งคั่งและมั่นคงในชีวิต ความสบายใจ กินอิ่มนอนหลับจากการลงทุน ผลตอบแทนระดับ 12-15% ต่อปี หรือเหมาะกับความสามารถ นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด
มี คำกล่าวว่า สิ่งที่ยากที่สุดของการลงทุนคือ "การอยู่เฉย ๆ" แม้เป็นคำพูดที่ง่ายแต่แฝงด้วยแง่คิด กล่าวคือ หากถือหุ้นที่ยอดเยี่ยมผ่านการคัดเลือกและไตร่ตรองอย่างดีแล้ว ควรอดทนและให้เวลากิจการเพื่อสร้างความเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ นี่คือ
การ นำกลยุทธ์ "Buy & Hold" มาใช้ ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถทำนายราคาหุ้นว่าจะขึ้นหรือลงในระยะสั้นได้ แต่เราคาดการณ์ผลประกอบการ ดังนั้น VI พันธุ์แท้จึงต้องมี "วินัย" และ "ใช้สติ" ในการตัดสินลงทุนเสมอ