เปรียบเทียบหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญกับหุ่นยนต์

หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
1. เป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ทำตัวใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ
2. ทำหน้าที่วินิจฉัยว่า กฎหมาย(พรบ. พรก,พระราชกฤษฎีกา,กฎกระทรวง,ระเบียบ,คำสั่งฯลฯ) ที่ตราใช้บังคับขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ไม่อนุญาตให้ทำนอกเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนด
3. ไม่มีหน้าที่วินิจฉัยว่าควรหรือไม่ควรแก้รัฐธรรมนูญ
4. ไม่มีหน้าที่วินิจฉัยว่าควรแก้รัฐธรรมนูญมาตราใดได้บ้าง แม้แต่มาตราที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
5.  ต้องยอมรับว่า ฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้นที่มีอำนาจตรา แก้ไข กฎหมายใดๆ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ

       หากเปรียบเทียบระหว่างประชาชน(ฝ่ายนิติบัญญัติ) ศาลรัฐธรรมนูญ คล้ายๆกับว่า ฝ่ายนิติบัญญัติกำลังออกแบบสร้างหุ่นยนต์ตัวหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ปกป้องประชาชน หุ่นยนต์ตัวนี้จะมีแขนขาเยอะแยะอันเป็นกลไกไว้คอยป้องกันประชาชน เช่น แขนข้างซ้าย 1 (ปปช.) แขนซ้าย 2(กกต.) แขนข้างขวา 1(ศาลรัฐธรรมนูญ) แขนข้างขวา 2 (ศาลยุติธรรม) และแขนอื่นๆอีกหลายข้าง(นั่นก็คือองค์กรอิสระต่างๆที่ไม่ได้เอ่ยถึง) ซึ่งแต่ละแขนก็มีอาวุธของตนเองทั้งนั้น
        วันหนึ่ง ประชาชนบอกกับ ฝ่ายนิติบัญญัติ(ทำหน้าที่คล้ายวิศวกร) ว่า แขนบางข้างดูไม่ดี หูสองข้างน่าจะขยับสักนิด ดวงตาน่าจะเพิ่มอีกหนึ่งดวง ฯลฯ  พูดง่ายๆว่า น่าจะปรับแบบใหม่เสียบ้าง โดยยังคงเป็นหุ่นยนต์ไว้คอยปกป้องประชาชนเหมือนเดิม
         คำถามจึงมีเพียงแค่ถามว่า จะทำได้มั๊ย ถ้าทำไม่ได้เป็นอำนาจของใครที่จะมาห้ามได้ และถ้าแขนข้างขวาหนึ่งมาบอกว่า ห้ามแตะต้อง ห้ามแก้ไขนะ ไม่งั้นตรูจะฟันคนสร้างให้ขาดสองท่อน ท่านคิดว่าถูกต้องมั๊ย
         เป็นการเปรียบเทียบคลายเครียดเล่นๆที่น่าสนใจดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่