หมอมะเร็งอยากบอก ตอน เป็นมะเร็งแต่อยากมีลูก

หมอมะเร็งอยากบอก ตอน เป็นมะเร็งแต่อยากมีลูก

แม้การเป็นโรคมะเร็งจะทำให้หลายต่อหลายคนไม่กล้าจะคิดถึงอนาคตข้างหน้าไกลๆ โดยเฉพาะเรื่องการมีลูก แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยอายุน้อยๆจำนวนหนึ่งมีผลการรักษาที่ดีจนความคิดจะกลับมามีลูกอีกครั้งเกิดขึ้นมาได้ แต่ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายแสงบริเวณท้องน้อยอาจมีผลต่อความสามารถในการมีลูกอีกครั้ง หากคุณคิดว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่จะต้องการมีลุกอีกหลังการรักษาโปรดอย่าลังเลที่จะปรึกษากับหมอของท่านเพื่อการวางแผนที่จะรักษาความสามารถในการเจริญพันธุ์ไว้ ยิ่งเร็วและก่อนการรักษาหากเป็นไปได้ยิ่งมีโอกาสมากที่คุณจะประสบความสำเร็จในการมีลูก

สิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอ
- หากปัญหามีความสามารถในการมีลูกคือสิ่งที่คุณกังวลหรืออาจจะกังวลในอนาคต คุณควรปรึกษากับหมอของคุณว่าเป็นไปได้หรือไม่สำหรับการรักษานั้น อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกการรักษาจะส่งผลต่อความสามารถในการมีลูก
- คุณควรปรึกษาให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพราะการเก็บรักษาความสามารถในการมีลูก บางครั้งอาจต้องใช้เวลาพอสมควร
- แม้ข้อมูลจะมีไม่มากนัก แต่การรักษาความสามารถในการมีลูกไม่พบว่าเพิ่มโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำแม้กระทั่งในมะเร็งที่ตอบสนองกับฮอร์โมนเช่นมะเร็งเต้านม
- การที่เคยเป็นมะเร็งไม่ได้หมายความว่ามะเร็งนั้นจะถ่ายทอดไปสู่ลูกเสมอไปหรือจะเสี่ยงต่อความพิการสูงกว่าปกติเสมอไป หมอของคุณจะช่วยประเมินตรงนี้ได้

ตัวอย่างทางเลือกในการรักษาความสามารถในการมีลูก - ควรปรึกษากับหมอของคุณถึงความเป็นไปได้
#ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยเพศชาย
- ปกป้องอัณฑะจากการฉายรังสี หากการฉายรังสีต้องกระทำในส่วนเชิงกราน อาจจะเป็นไปได้ที่จะสามารถใช้วัสดุปกป้องังสีไม่ให้กระทบต่ออัณฑะได้

- เก็บรักษาอสุจิ เป็นวิธีการเก็บแช่แข็งน้ำเชื้อไว้เพื่อใช้สำหรับการผสมเทียมในอนาคต วิธีนี้สามารถใช้ได้กับผู้ชายทุกคนที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว

- เก็บรักษาอัณฑะ มีงานวิจัยที่พบว่าสามารถเก็บรักษาเนื้อเยื่ออัณฑะไว้และกลับมาฝังใหม่ได้ แม้ว่ายังไม่ได้นำมาใช้ในคนจริงๆแต่การเก็บรักษาไว้รอวิธีการที่เหมาะสมก็อาจเป้นอีกหนึ่งทางเลือกโดยเฉพาะในเด็กที่ยังไม่มีการผลิตน้ำเชื้ออกมา

#ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยเพศหญิง
- ปกป้องรังไข่จากการฉายแสง สำหรับผู้หญิงที่ต้องฉายแสงบริเวณเชิงกรานหากจะต้องฉายแสงและโดนรังไข่ทั้งสองข้างอาจไม่สามารถมีลูกได้อีก ทางเลือกหนึ่งคือผ่าตัดย้ายที่รังไข่ให้พ้นแนวฉายแสงและย้ายกลับที่เดิมหลังสิ้นสุดการรักษา อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจได้ผลราวๆครึ่งเดียว

- การแช่แข็งรักษาตัวอ่อน เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการรักษาความสามารถในการมีลูก ขั้นตอนก็จะเหมือนกับการทำ IVF โดยใช้เวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในการเก็บไข่และเก็บตัวอ่อนที่ผสมแล้วไว้เพื่อรอการฝังตัวเมื่อผู้ป่วยพร้อมจะตั้งครรภ์ ในขั้นตอนกระตุ้นไข่ตกนั้นอาจทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้นอย่างไรก็ตามก็ยังเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วยแม้ในมะเร็งที่กระตุ้นได้ด้วยฮอร์โมนเช่นในมะเร็งเต้านมโดยการใช้ยาต้านฮอร์โมนช่วย

- การแช่แข็งรักษาไข่ เป็นวิธีคล้ายๆเก็บตัวอ่อนแต่จะเก็บไข่โดยที่ยังไม่ได้ผสม โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์อาจต่ำกว่าการเก็บตัวอ่อน แต่เหมาะกับผู้ป่วยที่ยังไม่มีคู่หรืออาจเก็บไว้เพื่ออนาคต


บทความสั้นๆตอนนี้เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับบ้านเราแต่หากคุณมีความต้องการที่อาจจะอยากมีลูกในอนาคตควรปรึกษากับหมอที่ดูแลถึงความเป็นไปได้และทางเลือกที่เหมาะสมครับ ส่วนตัวเองยังไม่เคยได้ตัดสินใจเรื่องพวกนี้แต่ได้แรงบันดาลใจจากเคสของเพื่อนคนหนึ่งครับจึงเอามาฝากกัน

ตอนเก่าๆ
http://ppantip.com/topic/30300600
http://ppantip.com/topic/30260174
http://ppantip.com/topic/30259559
http://ppantip.com/topic/30232170
http://ppantip.com/topic/30231737
http://ppantip.com/topic/30218427
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่