นักการเมืองเลวๆคืออุปสรรคของระบอบประชาธิปไตยและการพัฒนาของประเทศไทย เพราะไม่สามารถแก้สันดานโกงของพวกมันได้ ต้องจัดหนัก! ไม่ได้เจาะจงที่ตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง นักการเมืองทุกคนได้สิทธิ์เท่าเทียมกันแน่นอน
ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 131 และเพิ่มโทษ "เพื่อกำจัดนักการเมืองเลวๆ" มีดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกการคุ้มครองสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับชั้น
(มาตรา 131 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติว่า
"ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิก สภาผู้ แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด
ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก อาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้
ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แต่การพิจารณาคดีต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา
การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใด สภาหนึ่ง ย่อมเป็นอันใช้ได้
ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา อยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้องสั่งปล่อยทันที ถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ
คำสั่งปล่อยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อยจนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม")
2. ในฐานะของชนชั้นปกครอง นักการเมืองจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างทางสังคม โดยเพิ่มบทลงโทษมากกว่าประชาชนทั่วไป หากกระทำผิดต่อกฏหมายทั้งทางแพ่งละอาญา
3. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องเข้าร่วมประชุมสภา มากกว่า 80% ของเวลาประชุมสภาทั้งหมด ตำแหน่งฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี ร้อยละ 90 ของกระทู้ที่ยื่นของจำนวนเวลาที่มีประชุมสภาและต้องตอบคำถามเองทุกข้อ
3.1 สามารถยื่นใบลาป่วยได้ ลากิจต้องลาล่วงหน้า15วัน และต้องขออนุญาต ประธานสภาทุกครั้ง
3.2 ถ้าเวลาประชุมสภาน้อยกว่าที่กำหนด ให้ตัดเงินเดือน เป็นเวลา 6 เดือนโดย ทันที หรือ ถ้าเวลาประชุมน้อยกว่า ร้อยละ70 จะต้องโดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง เพราะไม่มีความสามารถในการรักษาเวลา แสดงให้เห็นความสามารถในการ บริหารประเทศ
4. ตัดสิทธิ์ผู้สมัครในการเสียบบัตรแทนโดยทันที
5. ห้ามคนในครอบครัวดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับชั้น
6. ห้ามนักการเมืองพูดจาหยาบคาย หรือแสดงท่าทางที่กร้าวร้าวโดยเด็ดขาด บทลงโทษ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง เพราะเราไม่ต้องการอันธพาลมาปกครองประเทศอันเป็นที่รักของประชาชนทุกคน
7. ความผิดใดๆของนักการเมืองไม่มีอายุความและไม่สามารถอภัยโทษได้
8. นักการเมืองคนใดที่พิสูจน์ได้ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อจลาจล ให้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดและต้องโทษตลอดชีวิต
9.ผู้ที่ขณะดำรงตำแหน่งการเมืองอยู่ไม่สามารถลาออกเพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งการเมืองระดับอื่นได้
10. การออก พรบ. พรก. หากมีส่วนที่ขัดต่อกฎหมาย หรือ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นเจตนาที่ต้องการการล่วงละเมิดกฎหมายข้อนั้น ให้ต้องโทษแก่ผู้ร่วมออกกฎหมายโดนทันที
11. ห้ามนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัว มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ หรือใด้รับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนกับ สื่อมวลชนประเภท MASS MEDIA อาทิเช่น โทศทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ โดยเด็ดขาด (ยกเว้น สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น Social network)
12. ห้ามนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัว ประชาสัมพันธ์ตัวเอง โดยการเอาชื่อ รูป ชื่อพรรค หรือ สัญลักษณ์ที่ส่อเจตนาโยงไปถึงตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง ไปประชาสัมพันธ์ ผลงานต่างๆและ สิ่งของต่างๆ ที่จัดทำขึ้นโดยรัฐ ในทุกกรณี และมิให้นำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัวในทุกกรณี
13. พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 122 จากบทลงโทษ ระวางโทษไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ให้เปลี่ยนเป็น "ยึดทรัพย์ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดิน"
ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 131 และเพิ่มโทษนักการเมืองเลวๆ
ขอเสนอให้ยกเลิกมาตรา 131 และเพิ่มโทษ "เพื่อกำจัดนักการเมืองเลวๆ" มีดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกการคุ้มครองสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับชั้น
(มาตรา 131 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งบัญญัติว่า
"ในระหว่างสมัยประชุม ห้ามมิให้จับ คุมขัง หรือหมายเรียกตัวสมาชิก สภาผู้ แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ไปทำการสอบสวนในฐานะที่สมาชิกผู้นั้นเป็นผู้ ต้องหาในคดีอาญา เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด
ในกรณีที่มีการจับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะกระทำความผิด ให้รายงานไปยังประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกโดยพลัน และประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก อาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้
ในกรณีที่มีการฟ้องสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในคดีอาญา ไม่ว่าจะได้ ฟ้องนอกหรือในสมัยประชุม ศาลจะพิจารณาคดีนั้นในระหว่างสมัยประชุมมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือเป็นคดีอันเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง แต่การพิจารณาคดีต้องไม่เป็นการขัดขวางต่อการที่สมาชิกผู้นั้นจะมาประชุมสภา
การพิจารณาพิพากษาคดีที่ศาลได้กระทำก่อนมีคำอ้างว่าจำเลยเป็นสมาชิกของสภาใด สภาหนึ่ง ย่อมเป็นอันใช้ได้
ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาถูกคุมขังในระหว่างสอบสวนหรือพิจารณา อยู่ก่อนสมัยประชุม เมื่อถึงสมัยประชุม พนักงานสอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณี ต้องสั่งปล่อยทันที ถ้าประธานแห่งสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกได้ร้องขอ
คำสั่งปล่อยให้มีผลบังคับตั้งแต่วันสั่งปล่อยจนถึงวันสุดท้ายแห่งสมัยประชุม")
2. ในฐานะของชนชั้นปกครอง นักการเมืองจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างทางสังคม โดยเพิ่มบทลงโทษมากกว่าประชาชนทั่วไป หากกระทำผิดต่อกฏหมายทั้งทางแพ่งละอาญา
3. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องเข้าร่วมประชุมสภา มากกว่า 80% ของเวลาประชุมสภาทั้งหมด ตำแหน่งฝ่ายบริหาร โดยเฉพาะ นายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรี ร้อยละ 90 ของกระทู้ที่ยื่นของจำนวนเวลาที่มีประชุมสภาและต้องตอบคำถามเองทุกข้อ
3.1 สามารถยื่นใบลาป่วยได้ ลากิจต้องลาล่วงหน้า15วัน และต้องขออนุญาต ประธานสภาทุกครั้ง
3.2 ถ้าเวลาประชุมสภาน้อยกว่าที่กำหนด ให้ตัดเงินเดือน เป็นเวลา 6 เดือนโดย ทันที หรือ ถ้าเวลาประชุมน้อยกว่า ร้อยละ70 จะต้องโดนตัดสิทธิ์ทางการเมือง เพราะไม่มีความสามารถในการรักษาเวลา แสดงให้เห็นความสามารถในการ บริหารประเทศ
4. ตัดสิทธิ์ผู้สมัครในการเสียบบัตรแทนโดยทันที
5. ห้ามคนในครอบครัวดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับชั้น
6. ห้ามนักการเมืองพูดจาหยาบคาย หรือแสดงท่าทางที่กร้าวร้าวโดยเด็ดขาด บทลงโทษ ตัดสิทธิ์ทางการเมือง เพราะเราไม่ต้องการอันธพาลมาปกครองประเทศอันเป็นที่รักของประชาชนทุกคน
7. ความผิดใดๆของนักการเมืองไม่มีอายุความและไม่สามารถอภัยโทษได้
8. นักการเมืองคนใดที่พิสูจน์ได้ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อจลาจล ให้ยึดทรัพย์สินทั้งหมดและต้องโทษตลอดชีวิต
9.ผู้ที่ขณะดำรงตำแหน่งการเมืองอยู่ไม่สามารถลาออกเพื่อไปสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งการเมืองระดับอื่นได้
10. การออก พรบ. พรก. หากมีส่วนที่ขัดต่อกฎหมาย หรือ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นเจตนาที่ต้องการการล่วงละเมิดกฎหมายข้อนั้น ให้ต้องโทษแก่ผู้ร่วมออกกฎหมายโดนทันที
11. ห้ามนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัว มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ หรือใด้รับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนกับ สื่อมวลชนประเภท MASS MEDIA อาทิเช่น โทศทัศน์ วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ โดยเด็ดขาด (ยกเว้น สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น Social network)
12. ห้ามนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัว ประชาสัมพันธ์ตัวเอง โดยการเอาชื่อ รูป ชื่อพรรค หรือ สัญลักษณ์ที่ส่อเจตนาโยงไปถึงตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง ไปประชาสัมพันธ์ ผลงานต่างๆและ สิ่งของต่างๆ ที่จัดทำขึ้นโดยรัฐ ในทุกกรณี และมิให้นำเงินภาษีของประชาชนไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ให้กับนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่และครอบครัวในทุกกรณี
13. พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 122 จากบทลงโทษ ระวางโทษไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท ให้เปลี่ยนเป็น "ยึดทรัพย์ทั้งหมดตกเป็นของแผ่นดิน"