http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000021493
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 19 กุมภาพันธ์ 2556 21:44 น
ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉีดStem Cells…แทนที่จะเสริมความงามอาจกลับกลายเป็น“มะเร็ง”
สเต็มเซลล์ เป็นชื่อสร้างปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ให้ความหวังว่าจะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันเป็นชื่อของสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคใหม่ ไม่แปลกที่ไม่นานต่อมา สเต็มเซลล์จะกลายเป็นเชื่อของสิ่งวิเศษที่สามารถเสริมความงาม กระชากวัย จนมีข่าวว่าดาราหลายคนบินรัดฟ้าไปฉีดสเต็มเซลล์ที่ดึงเอาความเยาว์วัยกลับมากันหลายคน
แม้แต่นักธุรกิจ นักการเมือง สเต็มเซลล์ก็เป็นชื่อของความปรารถนาที่จะทำให้ชีวิตยืนยาว ไม่ต่างจากการพูดถึงตำนานน้ำพุแห่งความเยาว์วัย หรือจอกศักดิ์สิทธิ์ที่ใครได้ดื่มน้ำจากจอกนั้นจะมีชีวิตเป็นอมตะ
แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากสิ่งที่ได้แทนที่จะเป็นความหนุ่มสาวกลับกลายเป็น“มะเร็ง”
การไขว่คว้าการมีชีวิตอันยืนยาว หรือการยืดความหนุ่มสาวของมนุษย์นั้นเป็นไปได้จริงๆ หรือ? สเต็มเซลล์มหัศจรรย์วิทยาศาสตร์ของโลกยุคใหม่สามารถตอบโจทย์ความฝันของมนุษยชาติได้จริงๆ หรือเป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อที่เอาภาพลวงความยิ่งใหญ่ของสเต็มเซลล์มาเป็นชื่อหลอกขายกันแน่
สเต็มเซลล์ในปัจจุบัน
สเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดเป็นชื่อที่สั่นสะท้านวงการแพทย์ ด้วยความหวังที่ว่ามนุษย์จะนำไปรักษาโรคที่รักษาไม่ได้หลายชนิด เพราะโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่รักษาไม่ได้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เซลล์ของเนื้อเยื่อมนุษย์บางชนิดเมื่อตายไปแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างใหม่ได้ เช่น สมอง หัวใจ ดังนั้นการค้นพบสเต็มเซลล์จึงเป็นเสมือนการค้นพบแหล่งสร้างเซลล์ชนิดที่ต้องการเพื่อนำไปพัฒนาเป็นการรักษาต่อไป
ในช่วง10 ปีที่ผ่านมางานวิจัยทางด้านสเต็มเซลล์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก ทำให้เกิดความหวังกับนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะหาแนวทางรักษาโรคที่ในอดีตคิดกันว่า ไม่มีทางรักษาได้แน่นอน
ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เห็นถึงความเป็นไปได้ของความฝันที่จะมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวางในอนาคต แต่อย่างไรก็ดียังมีสิ่งที่บุคคลทั่วไปเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ปัจจุบันโรคที่ใช้สเต็มเซลล์รักษาได้จริงยังมีจำกัดไม่กี่โรค ถึงนำไปสร้างเซลล์ที่ต้องการได้ในหลอดทดลองก็ไม่ใช่ว่าฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดประโยชน์ในทางตรงข้ามกันการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดอันตรายได้ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่ยังต้องศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์จริงและลดอันตรายต่อผู้ป่วย ที่แน่ๆคือยังก้าวไม่ถึงจุดที่จะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรคตามที่หลายคนในสังคมเข้าใจด้วยเพราะสเต็มเซลล์นั้นจริงๆแล้วมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน นำไปใช้สร้างเซลล์ของเนื้อเยื่อคนละชนิด มีประโยชน์และโทษแตกต่างกันเมื่อนำไปปลูกถ่ายตัวอย่างง่ายๆคือ สเต็มเซลล์ของเลือดก็สร้างเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง สเต็มเซลล์ของสมองก็สร้างเฉพาะเซลล์ประสาท และเซลล์เยื่อหุ้มประสาทเป็นต้น ส่วนสเต็มเซลล์ที่สร้างเซลล์ร่างกายได้ทุกชนิดมีเพียงสเต็มเซลล์ตัวอ่อน (human embryonic stem cells) ซึ่งยังต้องวิจัยพัฒนาอีก 5-10 ปี ก่อนคนไข้ทั่วไปจะมีโอกาสได้ใช้
โดยในปัจจุบัน หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด เผยว่าการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคอย่างมีมาตรฐานนั้นในประเทศไทยนับเพียงสเต็มเซลล์เลือด(จากไขกระดูก หรือสายสะดือทารก)สำหรับโรคเลือดเท่านั้น ในต่างประเทศบางแห่งการเพาะและปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ผิวหนัง และกระจกตา เป็นการรักษามาตรฐาน แต่เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก ทำให้ในทางปฏิบัติมีการใช้ในยุโรปบางประเทศเท่านั้น โรงเรียนแพทย์ของไทยมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าวแต่ยังเป็นโครงการวิจัยไม่ใช่การรักษามาตรฐาน
“การนำสเต็มเซลล์ของอวัยวะใดๆนำไปรักษาอวัยวะนั้นๆ มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือ ไม่ใช่ว่าเราแค่เอาเซลล์ไปปลูกเฉยๆ เราต้องการเซลล์ที่ไปปลูกแล้วมันสร้างเซลล์ใหม่ได้เรื่อยๆ เราไม่ได้ต้องการให้สร้างเซลล์เลือดของวันนั้น เราต้องการให้หลังจากปลูกถ่ายไปแล้วเซลล์นั้นสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้เราใช้ไปได้ตลอดชั่วชีวิตเรา ถ้าไม่ใช่สเต็มเซลล์ของอวัยวะเดียวกัน ก็จะสร้างเซลล์ผิดชนิดได้ เช่นกลายเป็นกระดูกในหัวใจหรือสมองเป็นต้น”
ความก้าวหน้าในการวิจัยสเต็มเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ล่าสุดกับงานวิจัยที่คว้ารางวัลโนเบลของศ.ชินยะ ยามานากะ ค้นพบวิธีการการนำเซลล์ชนิดใดก็ได้ในร่างกายมนุษย์มาทำให้กลายเป็นเซลล์ไอพีเอส (induced pluripotent stem cell)ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสเต็มเซลล์ตัวอ่อน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ใดก็ได้ในร่างกายเนื่องจากเป็นเซลล์ของตัวผู้ป่วยเองจึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาการรักษาใหม่
ตัวอย่างเช่น หากเป็นโรคทางพันธุกรรมเลือดในทางทฤษฎีสามารถนำเซลล์ผิวหนังของคนไข้ออกมาทำเป็นเซลล์ไอพีเอสแล้วแก้ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำกลับเป็นสเต็มเซลล์เลือดที่ไม่มีอาการป่วย เพื่อนำกลับไปปลูกถ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยได้
นอกจากนี้เซลล์ไอพีเอสยังมีประโยชน์ในด้านของการทดลอง โดยเอานำเซลล์ไอพีเอสไปสร้างเป็นเซลล์จำลองที่เกิดโรคเพื่อเรียนรู้กลไกการเกิดโรคและการใช้ยารักษา ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยในโรคนั้นๆ ได้โดยใช้ยาที่เป็นผลมาจากการทดลองกับเซลล์ไอพีเอส
ทั้งนี้ การใช้สเต็มเซลล์ในทางที่ผิดนั้น ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ แสดงความเป็นห่วงว่ามีอยู่หลายกรณี
“การใช้สเต็มเซลล์กับผิวหนังนั้น เราพูดถึงกรณีถูกไฟไหม้ ไม่ได้ช่วยให้ผิวสวยงามอย่างที่เข้าใจกันในประเทศไทย อันนั้นยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ”
สเต็มเซลล์ กระชากเหี่ยวหรือเสี่ยงมะเร็ง? ดารา นักการเมือง นักธุรกิจ คลั่งฉีด!!
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 19 กุมภาพันธ์ 2556 21:44 น
ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา
หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฉีดStem Cells…แทนที่จะเสริมความงามอาจกลับกลายเป็น“มะเร็ง”
สเต็มเซลล์ เป็นชื่อสร้างปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ให้ความหวังว่าจะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันเป็นชื่อของสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคใหม่ ไม่แปลกที่ไม่นานต่อมา สเต็มเซลล์จะกลายเป็นเชื่อของสิ่งวิเศษที่สามารถเสริมความงาม กระชากวัย จนมีข่าวว่าดาราหลายคนบินรัดฟ้าไปฉีดสเต็มเซลล์ที่ดึงเอาความเยาว์วัยกลับมากันหลายคน
แม้แต่นักธุรกิจ นักการเมือง สเต็มเซลล์ก็เป็นชื่อของความปรารถนาที่จะทำให้ชีวิตยืนยาว ไม่ต่างจากการพูดถึงตำนานน้ำพุแห่งความเยาว์วัย หรือจอกศักดิ์สิทธิ์ที่ใครได้ดื่มน้ำจากจอกนั้นจะมีชีวิตเป็นอมตะ
แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากสิ่งที่ได้แทนที่จะเป็นความหนุ่มสาวกลับกลายเป็น“มะเร็ง”
การไขว่คว้าการมีชีวิตอันยืนยาว หรือการยืดความหนุ่มสาวของมนุษย์นั้นเป็นไปได้จริงๆ หรือ? สเต็มเซลล์มหัศจรรย์วิทยาศาสตร์ของโลกยุคใหม่สามารถตอบโจทย์ความฝันของมนุษยชาติได้จริงๆ หรือเป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อที่เอาภาพลวงความยิ่งใหญ่ของสเต็มเซลล์มาเป็นชื่อหลอกขายกันแน่
สเต็มเซลล์ในปัจจุบัน
สเต็มเซลล์หรือเซลล์ต้นกำเนิดเป็นชื่อที่สั่นสะท้านวงการแพทย์ ด้วยความหวังที่ว่ามนุษย์จะนำไปรักษาโรคที่รักษาไม่ได้หลายชนิด เพราะโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่รักษาไม่ได้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เซลล์ของเนื้อเยื่อมนุษย์บางชนิดเมื่อตายไปแล้วร่างกายไม่สามารถสร้างใหม่ได้ เช่น สมอง หัวใจ ดังนั้นการค้นพบสเต็มเซลล์จึงเป็นเสมือนการค้นพบแหล่งสร้างเซลล์ชนิดที่ต้องการเพื่อนำไปพัฒนาเป็นการรักษาต่อไป
ในช่วง10 ปีที่ผ่านมางานวิจัยทางด้านสเต็มเซลล์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก ทำให้เกิดความหวังกับนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่จะหาแนวทางรักษาโรคที่ในอดีตคิดกันว่า ไม่มีทางรักษาได้แน่นอน
ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็เห็นถึงความเป็นไปได้ของความฝันที่จะมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวางในอนาคต แต่อย่างไรก็ดียังมีสิ่งที่บุคคลทั่วไปเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ปัจจุบันโรคที่ใช้สเต็มเซลล์รักษาได้จริงยังมีจำกัดไม่กี่โรค ถึงนำไปสร้างเซลล์ที่ต้องการได้ในหลอดทดลองก็ไม่ใช่ว่าฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดประโยชน์ในทางตรงข้ามกันการนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมก็ทำให้เกิดอันตรายได้ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่ยังต้องศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์จริงและลดอันตรายต่อผู้ป่วย ที่แน่ๆคือยังก้าวไม่ถึงจุดที่จะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรคตามที่หลายคนในสังคมเข้าใจด้วยเพราะสเต็มเซลล์นั้นจริงๆแล้วมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน นำไปใช้สร้างเซลล์ของเนื้อเยื่อคนละชนิด มีประโยชน์และโทษแตกต่างกันเมื่อนำไปปลูกถ่ายตัวอย่างง่ายๆคือ สเต็มเซลล์ของเลือดก็สร้างเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง สเต็มเซลล์ของสมองก็สร้างเฉพาะเซลล์ประสาท และเซลล์เยื่อหุ้มประสาทเป็นต้น ส่วนสเต็มเซลล์ที่สร้างเซลล์ร่างกายได้ทุกชนิดมีเพียงสเต็มเซลล์ตัวอ่อน (human embryonic stem cells) ซึ่งยังต้องวิจัยพัฒนาอีก 5-10 ปี ก่อนคนไข้ทั่วไปจะมีโอกาสได้ใช้
โดยในปัจจุบัน หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และเซลล์บำบัด เผยว่าการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคอย่างมีมาตรฐานนั้นในประเทศไทยนับเพียงสเต็มเซลล์เลือด(จากไขกระดูก หรือสายสะดือทารก)สำหรับโรคเลือดเท่านั้น ในต่างประเทศบางแห่งการเพาะและปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ผิวหนัง และกระจกตา เป็นการรักษามาตรฐาน แต่เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก ทำให้ในทางปฏิบัติมีการใช้ในยุโรปบางประเทศเท่านั้น โรงเรียนแพทย์ของไทยมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าวแต่ยังเป็นโครงการวิจัยไม่ใช่การรักษามาตรฐาน
“การนำสเต็มเซลล์ของอวัยวะใดๆนำไปรักษาอวัยวะนั้นๆ มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือ ไม่ใช่ว่าเราแค่เอาเซลล์ไปปลูกเฉยๆ เราต้องการเซลล์ที่ไปปลูกแล้วมันสร้างเซลล์ใหม่ได้เรื่อยๆ เราไม่ได้ต้องการให้สร้างเซลล์เลือดของวันนั้น เราต้องการให้หลังจากปลูกถ่ายไปแล้วเซลล์นั้นสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดให้เราใช้ไปได้ตลอดชั่วชีวิตเรา ถ้าไม่ใช่สเต็มเซลล์ของอวัยวะเดียวกัน ก็จะสร้างเซลล์ผิดชนิดได้ เช่นกลายเป็นกระดูกในหัวใจหรือสมองเป็นต้น”
ความก้าวหน้าในการวิจัยสเต็มเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ล่าสุดกับงานวิจัยที่คว้ารางวัลโนเบลของศ.ชินยะ ยามานากะ ค้นพบวิธีการการนำเซลล์ชนิดใดก็ได้ในร่างกายมนุษย์มาทำให้กลายเป็นเซลล์ไอพีเอส (induced pluripotent stem cell)ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสเต็มเซลล์ตัวอ่อน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ใดก็ได้ในร่างกายเนื่องจากเป็นเซลล์ของตัวผู้ป่วยเองจึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาการรักษาใหม่
ตัวอย่างเช่น หากเป็นโรคทางพันธุกรรมเลือดในทางทฤษฎีสามารถนำเซลล์ผิวหนังของคนไข้ออกมาทำเป็นเซลล์ไอพีเอสแล้วแก้ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำกลับเป็นสเต็มเซลล์เลือดที่ไม่มีอาการป่วย เพื่อนำกลับไปปลูกถ่ายเพื่อรักษาผู้ป่วยได้
นอกจากนี้เซลล์ไอพีเอสยังมีประโยชน์ในด้านของการทดลอง โดยเอานำเซลล์ไอพีเอสไปสร้างเป็นเซลล์จำลองที่เกิดโรคเพื่อเรียนรู้กลไกการเกิดโรคและการใช้ยารักษา ทำให้สามารถรักษาผู้ป่วยในโรคนั้นๆ ได้โดยใช้ยาที่เป็นผลมาจากการทดลองกับเซลล์ไอพีเอส
ทั้งนี้ การใช้สเต็มเซลล์ในทางที่ผิดนั้น ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ แสดงความเป็นห่วงว่ามีอยู่หลายกรณี
“การใช้สเต็มเซลล์กับผิวหนังนั้น เราพูดถึงกรณีถูกไฟไหม้ ไม่ได้ช่วยให้ผิวสวยงามอย่างที่เข้าใจกันในประเทศไทย อันนั้นยังไม่มีหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ”