*** ขัชชนิยสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน *** พระสูตรที่ท่าน F=9b นำเสนอ และ ท่าน เฉลิมศักดิ์ ค้นหามาให้

กระทู้สนทนา
พระสูตรที่ท่าน  F=9b  นำเสนอ และ ท่าน เฉลิมศักดิ์ ค้นหาพระสูตรเต็ม มาให้ศึกษา  ทำให้ได้อ่านพระสูตร และทำความเข้าใจ


                          

  พระสูตรทรงแสดง การระลึกชาติ และ  การไม่ควรยึดถือสิ่งที่ระลึกนั้น  ทำให้เกิดความเ้ข้าใจอย่างชัดเจน



******************************************************************************************************************
                        
                        ขอกราบนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นพระบรมศาสดา  พระองค์นั้น
                        ขอกราบนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นพระบรมศาสดา  พระองค์นั้น
                        ขอกราบนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ผู้เป็นพระบรมศาสดา  พระองค์นั้น

******************************************************************************************************************

ความคิดเห็นที่ 4
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค



๗. ขัชชนิยสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน
              [๑๕๘] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่ง เมื่อตามระลึก ย่อมตามระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งปวงนั้น
ก็ย่อมตามระลึกถึงอุปาทานขันธ์ ๕ หรือกองใดกองหนึ่ง
. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ ย่อม
ตามระลึกถึงรูปดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงเวทนาดังนี้ว่า ใน
อดีตกาล เราเป็นผู้มีเวทนาอย่างนี้. ย่อมตามระลึกถึงสัญญาดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มี
สัญญาอย่างนี้.  ย่อมตามระลึกถึงสังขารดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีสังขารอย่างนี้. ย่อมตาม
ระลึกถึงวิญญาณดังนี้ว่า ในอดีตกาล เราเป็นผู้มีวิญญาณอย่างนี้.
              [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป เพราะสลายไป จึงเรียกว่า รูป
สลายไปเพราะอะไร สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะกระหายบ้าง
เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ
อะไร จึงเรียกว่า เวทนา เพราะเสวย จึงเรียกว่า เวทนา เสวยอะไร เสวยอารมณ์สุขบ้าง เสวย
อารมณ์ทุกข์บ้าง เสวยอารมณ์ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไร จึงเรียก
ว่า สัญญา เพราะจำได้หมายรู้ จึงเรียกว่า สัญญา จำได้หมายรู้อะไร จำได้หมายรู้สีเขียวบ้าง
สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะ
ปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูป
โดยความเป็นรูป ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา ปรุงแต่งสังขตธรรม
คือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียก
ว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง จึงเรียกว่า วิญญาณ รู้แจ้งอะไร รู้แจ้งรสเปรี้ยวบ้าง รสขมบ้าง
รสเผ็ดบ้าง รสหวานบ้าง รสขื่นบ้าง รสไม่ขื่นบ้าง รสเค็มบ้าง รสไม่เค็มบ้าง.
              [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
บัดนี้เราถูกรูปกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกรูปกินแล้ว เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้
ก็เรานี้แล พึงชื่นชมรูปอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึงถูกรูปกิน เหมือนกับที่ถูกรูปปัจจุบัน
กินอยู่ในบัดนี้. เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมไม่มีความอาลัยในรูปอดีต ย่อมไม่ชื่นชมรูปอนาคต
ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับรูปในปัจจุบัน. อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราถูกเวทนากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสัญญากินอยู่ ... บัดนี้เราถูกสังขาร
กินอยู่ ... บัดนี้เราถูกวิญญาณกินอยู่ แม้ในอดีตกาล เราก็ถูกวิญญาณกินแล้ว เหมือนกับที่ถูก
วิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. ก็เรานี้แล พึงชื่นชมวิญญาณอนาคต แม้ในอนาคตกาล เราก็พึง
ถูกวิญญาณกินอยู่เหมือนกับที่ถูกวิญญาณปัจจุบันกินอยู่ในบัดนี้. เธอพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อม
ไม่มีความอาลัยในวิญญาณ แม้ที่เป็นอดีต ย่อมไม่ชื่นชมวิญญาณอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับวิญญาณปัจจุบัน.
              [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง?
              ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
              พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
              ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
              พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
              ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
              พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
              ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
              พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
              ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
              พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
              ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
              [๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือ
มั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.

        เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๑๙๕๕ - ๒๐๔๑.  หน้าที่  ๘๖ - ๘๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1955&Z=2041&pagebreak=0
              ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=158
ตอบกลับ
0 0  
เฉลิมศักดิ์1  
เมื่อวานนี้ เวลา 08:27 น.
*****************************************************************************************************************

------- ขอบคุณทั้ง 2 ท่าน ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่