ขันธ์ 5 ได้แ่ก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือการปรุงแต่งของ สังขตธรรม

ขันธ์ 5 ได้แ่ก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือการปรุงแต่งของ สังขตธรรม

จากพระไตรปิฏกเล่มที่ 17 ใน ๗. ขัชชนิยสูตร
--------------------
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย

      เพราะอะไรจึงเรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งสังขตธรรม จึงเรียกว่า สังขาร

      ปรุงแต่งสังขตธรรมอะไร

      ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ รูปโดยความเป็นรูป
      ปรุงแต่ง สังขตธรรม คือ เวทนา โดยความเป็นเวทนา
      ปรุงแต่งสังขตธรรมคือ สัญญา โดยความเป็นสัญญา
      ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ สังขาร โดยความเป็นสังขาร
      ปรุงแต่งสังขตธรรม คือ วิญญาณ โดยความเป็นวิญญาณ.
--------------------

      อธิบาย >>> สังขตธรรม คือธรรมที่ปรุงแต่งนั้นเอง  ซึ่ง สังขตธรรม และ อสังขตธรรม ที่เป็นพุทธพจน์ ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 20 ดังนี้.

--------------------
                            สังขตสูตร
        [๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ประการ ๓ ประการเป็น
ไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
                           อสังขตสูตร
         [๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
---------------------

     ผู้ปฏิบัติพึง กำหนดภาวนา พิจารณาอย่างไร กับ ขันธ์  5   ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสสั่งสอนการพิจารณา(กำหนดภาวนา) ดังนี้.

--------------------
        [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่
เที่ยง?
        ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.
        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
        ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
        พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
        ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
        [๑๖๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้
รูปทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่
ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอัน
ชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า ย่อมทำให้พินาศ ย่อมไม่ก่อ ย่อมละทิ้ง ย่อมไม่ถือ
มั่น ย่อมเรี่ยราย ย่อมไม่รวบรวมเข้าไว้ ย่อมทำให้มอด ไม่ก่อให้ลุกโพลงขึ้น.
----------------------------

       อธิบาย >>> สรุป คือพิจารณาขันธ์ 5 (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ทั้งหมดนั้น ว่า....

       นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

       หรือพิจารณาเช่นนี้ว่า ....

        สิ่งใดไม่เที่ยง  สิ่งนั้นเป็นทุกข์
        สิ่งใดเป็นทุกข์  สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
        พึงพิจารณาเนื่องๆ ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

     หมายเหตุ นี้เ็ป็นธรรมบรรยาย ที่เจริญได้ใน สุตมยปัญญา และ จินตมยปัญญา  แต่เมื่อปฏิบัติธรรมจริง ย่อมปรากฏชัดตามความเป็นจริงยิ่งใน ภาวนามยปัญญา คือแจ้งชัดด้วย ไตรลักษณ์ คือปรากฏแจ้งชัดในสภาวะธรรมที่ อนิจจัง จริงๆ  ทุกขังจริงๆ อนัตตาจริงๆ ตามวิปัสสนาญาณที่เจริญขึ้นตามลำดับ นั้นเอง.

      ส่วนท่านใด เสนอข้อมูล หรือร่วมสนทนาก็เชิญครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่