สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เคยลงไ้ว้ที่บ้านแม่เจเจ ก๊อปมาลงให้อีกรอบค่ะ
อัตราส่วน หัวกะทิ : หางกะทิ : น้ำตาลทราย คือ 1 : 2 : 3 ยกตัวอย่างเช่น หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง หางกะทิ 2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวงหรือ 600 กรัม
ส่วนผสม
หัวกะทิ
หางกะทิ
น้ำตาลทราย
เกลือป่นเล็กน้อย (ถ้าใช้เกลือไอโอดีนต้องน้อยมากๆ)
กลิ่นวนิลา : กลิ่นนมแมว : กลิ่นมะลิ ในอัตราส่วน 2:1:1 (อย่าใส่มากนะคะเดี๋ยวจากใส่ให้หอมจะกลายเป็นเหม็น)
วิธีทำ
1. นำหางกะทิใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น คนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟ คนจนกระทั่งน้ำตาลทรายละลายหมด แล้วหยุดคน รอให้เดือด
2. ใส่หัวกะทิ คนพอเข้ากัน (ห้ามคนนาน ตอนนี้ถ้าใครอยากให้สีสวยอาจใส่น้ำใบเตยไปเล็กน้อยให้น้ำกะทิดูเป็นสีเขียวใส แล้วยังหอมใบเตยอีกด้วยค่ะ หรือใส่สีเขียวก็ได้ค่ะ) รอให้เดือดฟู่ ดับไฟ
3. รอจนฟองยุบ เปิดไฟใหม่ให้ฟู่อีก แล้วดับไฟ
4. ทำซ้ำข้อ 3. คือให้ฟู่ 3 ครั้งค่ะ (หลังจากที่คนตอนใส่หัวกะทิแล้ว ห้ามคนอีกนะคะ) เสร็จแล้วยกลง รอให้เย็น (ไม่ควรทำให้เย็นด้วยการนำไปแช่น้ำเย็น เพราะจะทำให้น้ำกะทิตกผลึกค่ะ)
- พอเสร็จแล้ว น้ำกะทิจะดูไม่เหมือนน้ำกะทิเท่าไหร่ ดูเหมือนน้ำเชื่อมขุ่นๆมากกว่า ถ้าใส่น้ำใบเตยก็สีสวยดีค่ะ แต่ถ้าใส่น้ำแข็งแล้วก็จะเหมือนน้ำกะทิค่ะ
** ห้ามปิดฝาตอนร้อนนะคะ เพราะจะทำให้เป็นเหงื่อ น้ำหยด ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน**
** เวลาตัก ต้องใช้ทัพพีที่แห้งสนิทนะคะ**
ที่มาของสูตรนี้ มาจากตอนอบรมวิชาอาหารว่างชาววัง จากวิทยาลัยในวังฯ ค่ะ และตรงกับสูตรที่คุณแม่สอนมาเป๊ะ เรื่องให้กะทิเดือด 3 ครั้ง ใช้เทคนิคนี้กับแกงกะทิได้ด้วยค่ะ
อัตราส่วน หัวกะทิ : หางกะทิ : น้ำตาลทราย คือ 1 : 2 : 3 ยกตัวอย่างเช่น หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง หางกะทิ 2 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวงหรือ 600 กรัม
ส่วนผสม
หัวกะทิ
หางกะทิ
น้ำตาลทราย
เกลือป่นเล็กน้อย (ถ้าใช้เกลือไอโอดีนต้องน้อยมากๆ)
กลิ่นวนิลา : กลิ่นนมแมว : กลิ่นมะลิ ในอัตราส่วน 2:1:1 (อย่าใส่มากนะคะเดี๋ยวจากใส่ให้หอมจะกลายเป็นเหม็น)
วิธีทำ
1. นำหางกะทิใส่น้ำตาลทราย เกลือป่น คนให้เข้ากัน ยกขึ้นตั้งไฟ คนจนกระทั่งน้ำตาลทรายละลายหมด แล้วหยุดคน รอให้เดือด
2. ใส่หัวกะทิ คนพอเข้ากัน (ห้ามคนนาน ตอนนี้ถ้าใครอยากให้สีสวยอาจใส่น้ำใบเตยไปเล็กน้อยให้น้ำกะทิดูเป็นสีเขียวใส แล้วยังหอมใบเตยอีกด้วยค่ะ หรือใส่สีเขียวก็ได้ค่ะ) รอให้เดือดฟู่ ดับไฟ
3. รอจนฟองยุบ เปิดไฟใหม่ให้ฟู่อีก แล้วดับไฟ
4. ทำซ้ำข้อ 3. คือให้ฟู่ 3 ครั้งค่ะ (หลังจากที่คนตอนใส่หัวกะทิแล้ว ห้ามคนอีกนะคะ) เสร็จแล้วยกลง รอให้เย็น (ไม่ควรทำให้เย็นด้วยการนำไปแช่น้ำเย็น เพราะจะทำให้น้ำกะทิตกผลึกค่ะ)
- พอเสร็จแล้ว น้ำกะทิจะดูไม่เหมือนน้ำกะทิเท่าไหร่ ดูเหมือนน้ำเชื่อมขุ่นๆมากกว่า ถ้าใส่น้ำใบเตยก็สีสวยดีค่ะ แต่ถ้าใส่น้ำแข็งแล้วก็จะเหมือนน้ำกะทิค่ะ
** ห้ามปิดฝาตอนร้อนนะคะ เพราะจะทำให้เป็นเหงื่อ น้ำหยด ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน**
** เวลาตัก ต้องใช้ทัพพีที่แห้งสนิทนะคะ**
ที่มาของสูตรนี้ มาจากตอนอบรมวิชาอาหารว่างชาววัง จากวิทยาลัยในวังฯ ค่ะ และตรงกับสูตรที่คุณแม่สอนมาเป๊ะ เรื่องให้กะทิเดือด 3 ครั้ง ใช้เทคนิคนี้กับแกงกะทิได้ด้วยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
"น้ำกะทิสลิ่ม"... ผมทำผิดตรงไหน ? รบกวนแนะนำด้วยครับ
ละลายน้ำตาลทราย เคี่ยวจนเดือด เติมน้ำกะทิ คนจนเดือดอีกครั้งแล้วยกลง รอจนเย็นจึงเริ่มอบควันเทียน
เรื่องรสชาดน้ำกะทิเมื่อเสร็จก็โอเค หอมควันเทียนกำลังดี
ครั้งแรกใช้กะทิสดมาคั้นเอง อบควันเทียนเสร็จยกเข้าตู้เย็น
ครั้งที่สองใช้กะทิกล่อง อบควันเทียนเสร็จตั้งไว้ข้างนอก
ทั้งสองครั้งทำประมาณ 4 โมงเย็น (ทำคนละวันกันครับ)
แต่มันมีปัญหาครับ พอตอนเที่ยงวันรุ่งขึ้น น้ำกะทิมันเริ่มมีรสเปรี้ยวแซมมาจากกะทิที่ลอยหน้า
เป็นทั้ง 2 แบบเลย ทั้งใส่ตู้เย็น และไม่ใส่ตู้เย็น
ผมก็เลยสงสัยว่าผมทำอะไรผิด เช่นไม่ได้ช้อนฟองทิ้ง หรืออะไร ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เปรี้ยวได้
สัดส่วนก็ตามสูตร ผ่านไปคืนเดียว ทำไมมันเป็นอย่างนี้ครับ
รบกวนผู้ชำนาญให้ความกระจ่างทีครับ