อยู่ดีๆ บริษัทคงเห็นว่าพนักงานลากิจ ลาป่วย หรือลาอะไรก็เเล้วแต่กันบ่อยมั้งคะ เลยออกกฏมาใหม่
คือปกติตามกฏเนี่ย ภายในหนึ่งเดือนถ้าลาอะไรก็แล้วแต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง จะได้รับเบี้ยขยัน 800 บาทค่ะ
แล้วคราวนี้ก็เลยออกกฏมาใหม่ว่า
1.การลากิจ
- การลากิจเกิน 1 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ครึ่งวัน แต่ยังได้รับเบี้ยครึ่งหนึ่งคือ 400 บาท
- การลากิจ 1 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 1 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 2 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 2 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 3 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 3 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 4 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ของเดือนนั้นทั้งเดือน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
2.การลาป่วย
- การลาป่วยครึ่งวัน (4 ชั่วโมง) ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ครึ่งวัน แต่ยังได้รับเบี้ยขยัน 800 บาท
- การลาป่วย 1 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 1 วัน แต่ยังได้รับเบี้ยขยันครึ่งหนึ่งคือ 400 บาท
- การลาป่วย 2 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 2 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลาป่วย 3 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 3 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลาป่วย 4 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ของเดือนนั้นทั้งเดือน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
3.เบี้ยขยัน
หากในเดือนนั้นๆ พนักงานไม่ได้มีการลากิจหรือลาป่วยใดๆ ทั้งสิ้น จะได้รับเบี้ยขยัน 800 บาท และเงินพิเศษเพิ่มเติมอีก 300 บาท รวมเป็น 1100 บาท
คือพนักงานของบริษัททุกคนเป็นพนักงานรายเดือนค่ะ วันอาทิตย์ที่ไม่ได้ทำงานก็จะได้ค่าแรงอยู่แล้ว และทางกฏหมายก็มีกำหนดว่า
"นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย โดยหน้าที่ของนายจ้างกฎหมายกำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกิน 30 วันต่อปี"
แต่ทีนี้ความหมายของบริษัทอาจจะประมานว่า ในวันที่พนักงานลาป่วยบริษัทไม่ได้หักเงินจริงตามกฏหมาย แต่ไปหักเงินวันอาทิตย์ที่พนักงานไม่ได้มาทำงานแทน อย่างนี้จะถือว่าผิดกฏหมายหรือไม่คะ และการที่จะคิดว่าลาป่วยนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้น ถ้าเป็นคลินิคจะไม่ถือว่าเป็นการลาป่วยค่ะ
เพราะถ้าหักเงินในวันอาทิตย์ที่พนักงานไม่ได้มาทำงาน ก็เท่ากับเหมือนกับว่าเป็นพนักงานรายวันหรือเปล่าคะ ในเมื่อเป็นพนักงานรายเดือนวันอาทิตย์ไม่ได้มาทำงานก็ได้ค่าแรงอยู่แล้ว
รบกวนผู้รู้กฏหมายช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ
ปล. อ่านเเล้วจะงงกันมั้ยเอ่ย?
เมื่อบริษัทออกกฏมาว่า ลาป่วย ไม่จ่ายเงินในวันอาทิตย์ อย่างนี้ผิดกฏหมายหรือเปล่าคะ?
คือปกติตามกฏเนี่ย ภายในหนึ่งเดือนถ้าลาอะไรก็แล้วแต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง จะได้รับเบี้ยขยัน 800 บาทค่ะ
แล้วคราวนี้ก็เลยออกกฏมาใหม่ว่า
1.การลากิจ
- การลากิจเกิน 1 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ครึ่งวัน แต่ยังได้รับเบี้ยครึ่งหนึ่งคือ 400 บาท
- การลากิจ 1 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 1 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 2 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 2 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 3 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 3 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลากิจ 4 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ของเดือนนั้นทั้งเดือน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
2.การลาป่วย
- การลาป่วยครึ่งวัน (4 ชั่วโมง) ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ครึ่งวัน แต่ยังได้รับเบี้ยขยัน 800 บาท
- การลาป่วย 1 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 1 วัน แต่ยังได้รับเบี้ยขยันครึ่งหนึ่งคือ 400 บาท
- การลาป่วย 2 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 2 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลาป่วย 3 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ 3 วัน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
- การลาป่วย 4 วัน ไม่จ่ายค่าแรงในวันอาทิตย์ของเดือนนั้นทั้งเดือน และไม่ได้รับเบี้ยขยัน
3.เบี้ยขยัน
หากในเดือนนั้นๆ พนักงานไม่ได้มีการลากิจหรือลาป่วยใดๆ ทั้งสิ้น จะได้รับเบี้ยขยัน 800 บาท และเงินพิเศษเพิ่มเติมอีก 300 บาท รวมเป็น 1100 บาท
คือพนักงานของบริษัททุกคนเป็นพนักงานรายเดือนค่ะ วันอาทิตย์ที่ไม่ได้ทำงานก็จะได้ค่าแรงอยู่แล้ว และทางกฏหมายก็มีกำหนดว่า
"นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย โดยหน้าที่ของนายจ้างกฎหมายกำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกิน 30 วันต่อปี"
แต่ทีนี้ความหมายของบริษัทอาจจะประมานว่า ในวันที่พนักงานลาป่วยบริษัทไม่ได้หักเงินจริงตามกฏหมาย แต่ไปหักเงินวันอาทิตย์ที่พนักงานไม่ได้มาทำงานแทน อย่างนี้จะถือว่าผิดกฏหมายหรือไม่คะ และการที่จะคิดว่าลาป่วยนั้นจะต้องมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลเท่านั้น ถ้าเป็นคลินิคจะไม่ถือว่าเป็นการลาป่วยค่ะ
เพราะถ้าหักเงินในวันอาทิตย์ที่พนักงานไม่ได้มาทำงาน ก็เท่ากับเหมือนกับว่าเป็นพนักงานรายวันหรือเปล่าคะ ในเมื่อเป็นพนักงานรายเดือนวันอาทิตย์ไม่ได้มาทำงานก็ได้ค่าแรงอยู่แล้ว
รบกวนผู้รู้กฏหมายช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยนะคะ
ขอบคุณมากค่ะ
ปล. อ่านเเล้วจะงงกันมั้ยเอ่ย?