คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
คุณเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ เอกชน ที่ถูกส่งเข้าไปทำงานกับหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ว่าจ้าง
ดังนั้น เมื่อคุณเป็นลูกจ้างของเอกชน ก็ต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การใดที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
รวมถึงการใดที่แตกต่างจาก พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 ด้วยเช่นกัน
ประเด็นการลา
กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้าง (ทุกประเภท) มีสิทธิลา 6 ประเภท ตามมาตรา 32 - 36, 41 ซึ่งกำหนดจำนวนวันที่ลาได้ กับมาตรา 57 - 59 ที่กำหนดการจ่ายเงินในวันลาแต่ละประเภท
อย่างเช่น การลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ที่ลูกจ้างมีสิทธิลาได้ไม่น้อยกว่าปีละสามวันทำงาน แต่ต้องนายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นไม่เกินปีละสามวันทำงาน
ดังนั้น ถ้านายจ้างกำหนดว่าจะไม่จ่ายเงินเลย ก็ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อย
รวมถึงการกำหนดว่าในแต่ละเดือนลูกจ้างมีสิทธิลาได้กี่วัน ก็เป็นการแตกต่างจากกฎหมายความสงบเรียบร้อย ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างเช่น ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง จะกี่วันก็ได้ถ้าป่วยจริง นายจ้างจะมากำหนดให้ลาป่วยไม่เกินเดือนละ 5 วัน ไม่ได้
ประเด็นเบี้ยขยัน
เบี้ยขยันไม่ใช่เงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ดังนั้น นายจ้างจะตั้งเงื่อนไขการจ่ายอย่างไรก็ได้
ซึ่งจะเอาสถิติการลางานมาประกอบการพิจารณาก็ได้ แต่ควรใช้สถิติที่ลาเกินจากที่กฎหมายกำหนด ถ้าลูกจ้างยังมีจำนวนวันลาอยู่ในกรอบของกฎหมาย ก็ไม่น่าจะเอามาคิด
ประเด็นสัญญาจ้าง
สัญญาจ้าง ตามกฎหมายแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายแรงงานก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมอบคู่สัญญา
แค่มีพยานสภาพแวดล้อม ก็เชื่อได้ว่ามีการจ้างงานกันจริง เช่น สลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชีธนาคารที่ใช้รับค่าจ้าง ประวัติการส่งประกันสังคม
ดังนั้น เมื่อคุณเป็นลูกจ้างของเอกชน ก็ต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่า เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การใดที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
รวมถึงการใดที่แตกต่างจาก พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 ด้วยเช่นกัน
ประเด็นการลา
กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้าง (ทุกประเภท) มีสิทธิลา 6 ประเภท ตามมาตรา 32 - 36, 41 ซึ่งกำหนดจำนวนวันที่ลาได้ กับมาตรา 57 - 59 ที่กำหนดการจ่ายเงินในวันลาแต่ละประเภท
อย่างเช่น การลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็น ที่ลูกจ้างมีสิทธิลาได้ไม่น้อยกว่าปีละสามวันทำงาน แต่ต้องนายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลากิจเพื่อกิจธุระอันจำเป็นไม่เกินปีละสามวันทำงาน
ดังนั้น ถ้านายจ้างกำหนดว่าจะไม่จ่ายเงินเลย ก็ถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อย
รวมถึงการกำหนดว่าในแต่ละเดือนลูกจ้างมีสิทธิลาได้กี่วัน ก็เป็นการแตกต่างจากกฎหมายความสงบเรียบร้อย ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างเช่น ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง จะกี่วันก็ได้ถ้าป่วยจริง นายจ้างจะมากำหนดให้ลาป่วยไม่เกินเดือนละ 5 วัน ไม่ได้
ประเด็นเบี้ยขยัน
เบี้ยขยันไม่ใช่เงินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ดังนั้น นายจ้างจะตั้งเงื่อนไขการจ่ายอย่างไรก็ได้
ซึ่งจะเอาสถิติการลางานมาประกอบการพิจารณาก็ได้ แต่ควรใช้สถิติที่ลาเกินจากที่กฎหมายกำหนด ถ้าลูกจ้างยังมีจำนวนวันลาอยู่ในกรอบของกฎหมาย ก็ไม่น่าจะเอามาคิด
ประเด็นสัญญาจ้าง
สัญญาจ้าง ตามกฎหมายแรงงานไม่จำเป็นต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร และกฎหมายแรงงานก็ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมอบคู่สัญญา
แค่มีพยานสภาพแวดล้อม ก็เชื่อได้ว่ามีการจ้างงานกันจริง เช่น สลิปเงินเดือน รายการเดินบัญชีธนาคารที่ใช้รับค่าจ้าง ประวัติการส่งประกันสังคม
แสดงความคิดเห็น
ข้อสงสัยกฏหมาย outsource
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยนะคะว่าเราไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานสักเท่าไหร่ รู้แต่กฎหมายแรงเบื้องต้น เช่น ลาพักร้อน/ลากิจ ได้กี่วันต่อปี อันนี้เป็นกฎหมายแรงงานพนักงานทั่วไป
แต่กับพนักงาน outsource เรามีข้อสงสัยมากๆเกี่ยวกับวันลาค่ะ
ตัวเราเป็นพนักงาน outsource ซึ่งหน่วยงานราชการเป็นผู้จ้าง
เงินเดือนเราจะได้ 15,000 บาท ทุกเดือน แต่แยกย่อยเป็น ฐานเงินเดือน 13,000 บาท / เบี้ยขยัน 1,000 บาท / ค่าตำแหน่ง 1,000 บาท (รวม 15,000 บาท)
สิ่งที่เราสงสัย
1. บริษัทแจ้งว่า "ลากิจ" ทุกประเภท พนักงานจะต้องโดนหักเงินตามจำนวนวันที่ลากิจ ยกเว้นพ่อ-แม่ เสียชีวิตที่ต้องลากิจจัดงานศพ จะไม่โดนหักเงินลากิจ อยากทราบว่าอันนี้เป็นกฎหมาย outsource ใช่มั้ยคะ
2. สมมุติว่าในบริษัทมีพนักงาน 10 คน และมีพนักงานลาป่วย/ลากิจรวมกัน 5 วัน เกินที่บริษัทกำหนด (สมมุติบริษัทกำหนดห้ามลาเกิน 3 วัน/เดือน) บริษัทจะหักค่าเบี้ยขยัน 1,000 บาท กับคนที่ใช้วันลาเยอะที่สุดในรอบเดือนนั้น ซึ่งในสัญญาไม่ได้ระบุไว้ อยากทราบว่าบริษัทสามารถหักค่าเบี้ยขยันในส่วนนั้นได้หรือไม่ เพราะบริษัทได้หักเงินตามจำนวนวันที่ลากิจไปแล้วและยังหักค่าเบี้ยขยันอีก
3. บริษัทได้ทำสัญญาจ้างระหว่างพนักงาน แต่พนักงานไม่ได้สัญญาฉบับสำเนาคืน ทางบริษัทแจ้งว่าสัญญาชุดจริงอยู่กับบริษัท และชุดสำเนาอยู่กับทางหน่วยงานราชการ ซึ่งบริษัทอ้างว่าหน่วยราชการจะต้องเก็บประวัติพนักงานไว้ อยากทราบว่าเราสามารถไปขอสัญญาคืนกับทางบริษัทได้หรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบตามกฎหมายทั่วไป หลังทำสัญญาพนักงานจะต้องได้สำเนาเก็บไว้ค่ะ