" น้ำพริก " เป็นอาหารคู่ครัวไทยมานาน หลากหลายชนิดตามประเภทของเครื่องปรุง และวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น
การโขลกน้ำพริกยังสะท้อน "เสน่ห์ปลายจวัก" ของ "กุลสตรีไทย" ยุคสมัยก่อน ที่ผูกใจหนุ่ม ๆ เรียกว่าเป็น KPI ตัว
ชี้วัดในการตัดสินใจเลือกแม่ศรีเรือน ที่มีคุณสมบัติ ทำบ้านให้น่าอยู่ ทำครัวให้น่าหลงไหล
ความที่น้ำพริก เป็นกับข้าวพื้นฐานของคนไทย เป็นกับข้าวที่อยู่ตรงกลางของสำรับ เรียกว่า กับข้าวยืนพื้น ไม่มีอะไร
ก็ขอให้มีน้ำพริกไว้ก่อน ส่วนกับข้าวอื่น ๆ อีกหลายนั้นจัดเป็นของคู่สำรับ
"คนตำน้ำพริก" ท่านอาจารย์ ม.ร.ว คึกฤทธ์ ปราโมช ท่านเขียนไว้ว่าต้องรู้จัก น้ำพริกเบสิค น้ำพริกพื้นฐาน นั่นคือ
น้ำพริกกะปิ ถ้าใครทำน้ำพริกกะปิได้อร่อยลิ้น ก็เรียกว่า สอบผ่าน KPI มีความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ พริกกับเกลือ
พริกคือ รสเผ็ด และรสเค็ม จากเกลือ เป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นภาคกลางมักนิยมเพิ่มรสเปรี้ยวและหวานลงไปด้วย
น้ำพริกทุกถ้วย จะมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน นั่นคือ มีพริกที่ให้ความเผ็ด กะปิเป็นตัวสร้างเนื้อของน้ำพริก กระเทียม มะอึก
หรือพืชผักโขลก เป็นตัวประสานองค์ประกอบต่าง ๆ ของน้ำพริกให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตัวสร้างรสชาด คือ เกลือ น้ำปลา
มะนาว น้ำตาลปี๊ป อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องกลมกล่อม ไม่โดด ไปรสใดรสหนึ่ง
น้ำพริกยังเป็นวัฒนธรรมไทยที่คนไทย ต้องรู้จักเลือกสรรว่า น้ำพริกคลุกข้าว ต่างจากน้ำพริกผักจิ้ม น้ำพริกคลุกข้าวควรจะมี
ลักษณะเนื้อน้ำพริกค่อนข้างเหลว น้ำพริกเครื่องจิ้ม ควรมีเนื้อน้ำพริกข้น เพื่อสะดวกในการจ้วงจิ้ม แล้วต้องตะหนักว่าน้ำพริก
ชนิดใดควรจะรับประทานกับผักชนิดใด เช่น น้ำพริกมะขามสด ซึ่งมะขามเป็นไม้พื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคย เนื่องจากมีประโยชน์
มากและยังเป็นไม้มงคล โดยเฉพาะการนำมะขามอ่อน (ฟัก) มาทำน้ำพริกนั้น คนภาคกลางนิยมรับประทานร่วมกับผักสด เช่น
แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เป็นต้น ซึ่งสำหรับคนไทยแล้ว น้ำพริกเป็นสิ่งที่ช่วยให้รับประทานผัก
ได้มากขึ้น จึงนับว่ามีประโยชน์ยิ่งนัก อย่างน้ำพริกแมงดา ไม่ควรจิ้มกับผักชนิดใด ๆ เลย ควรคลุกกับข้าวสวยร้อนๆ แนมหมู
หวาน หรือกากหมู อร่อยกว่าอย่างอื่น นอกจากนั้น น้ำพริกขั้นสูงว่าน้ำพริกเบสิค ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกเผา น้ำพริกผัด ก็ล้วนมา
จากการรู้จักถนอมอาหารตามแบบแผนวิถีไทย
น้ำพริก นอกจากจะเป็นอาหารประจำสำรับแล้ว ยังต้องเหมาะสมกับการเดินทาง อย่างในสมัยอยุธยา มีการตำพริกกะเกลือ
ใส่กระบอกไม้ไผ่ ใช้เวลาเดินทางรอนแรมในป่า เวลาออกศึกสงคราม ระหว่างทาง เจอผัก เจอเนื้อ ก็ใช้พริกกะเกลือเป็นเครือง
ปรุงรสชาดอาหารกลางทาง ให้ได้รส เค็ม เผ็ด ไว้ก่อน
เมื่อเวลาผันผ่าน ผู้คนมีใช้ยานพาหาะ โดยเฉพาะการสัญจรทางน้ำ สะดวกและดีกว่า การเดินป่า อาหารการกินก็ปรับเปลี่ยนให้
รับประทานได้นานและสะดวกขึ้นอย่างข้าวห่อใบบัว น้ำพริกลงเรือ ผักเครื่องจิ้มพอหาหักมาทานได้ แต่อาหารประเภทเนื้อคงหา
ได้ลำบากกว่า คนไทยให้ความสำคัญต่อโภชนาการ ต้องครบห้าหมู่ จึงคิดค้นน้ำพริกลงเรือ สำหรับการเดินทางทางเรือ
น้ำพริกลงเรือนี้ ท่านอาจารย์หม่อมฯ ท่านเขียนเล่าในหนังสือ น้ำพริก ไว้ว่า มีหลายสูตร หลายตำรับ จนหาผู้คิดค้นแท้จริง
ไม่ได้
VIDEO
ถ้าทางตำรับชาววัง เล่าไว้ว่า มีต้นกำเนิดจาก "กำแพงแดง" ในตำหนักพระวิมาดาเธอฯ เจ้านายรัชกาลที่ ๕ เข้าไปอยู่สวนสุนันทา
สมัยแรก ๆ ได้มีการขุดดินขึ้นมาถมที่ เพื่อทำตำหนัก การขุดดินทำให้เกิดสระกว้างใหญ่ เจ้านายฝ่ายในต่างองค์ต่างมีเรือพายเล่น
วันหนึ่งตอนค่ำคิดจะลงเรือกัน สมเด็จอาหญิงน้อย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
พระราชธิดาพระองค์น้อยในพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดดา) ทรงชวนว่าให้ไปกินข้าวในเรือกันเถอะ
แล้วมีรับสั่งว่า
'สดับไปดูซิในครัวมีอะไรกินบ้าง'
VIDEO
แม้ว่าปัจจุบัน "หญิงยุคใหม่" จะไม่ใส่ใจตำน้ำพริกกินเองแล้ว เครื่องปรุงยังแทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอะไรบ้าง วันไหนอยากกินน้ำพริก
ก็เดินเข้าห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ หรือตามตลาดนัด ที่ครัวสำเร็จรูปสำหรัยคนยุคสมัยใหม่ เป็นคำตอบสุดท้าย ที่ไม่ต้อง
คำนึงถึงความอร่อย ความใส่ใจใส่รักลงในการโขลกตำ เนื่องจากประหยัดเวลาไม่ต้องเสียเวลาสับโขกให้เหมื่อยมือ
เย็นนี้คงต้อง กินข้าวกับน้ำพริก (ถ้วยเก่า)
เพราะ ปลาที่จับไว้ทั้งสองมือ หลุดไปหมดแล้ว
VIDEO
ที่มา : สารคดีน้ำพริกสร้างจากหนังสือน้ำพริกของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช Youtube
ขอบคุณคุณ Thai Traditional dress Boran and Thai food and Thai traditional music. by tonnum53
ขอขอบคุณ ภาพประกอบ จาก ไทยวิกีพีเดีย
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่เข้าชมกระทู้นี้ด้วยนะคะ
~o~o~O~o~o~......... รสก ........ เสน่ห์ปลายจวัก ........ รสก ........~o~o~O~o~o~
การโขลกน้ำพริกยังสะท้อน "เสน่ห์ปลายจวัก" ของ "กุลสตรีไทย" ยุคสมัยก่อน ที่ผูกใจหนุ่ม ๆ เรียกว่าเป็น KPI ตัว
ชี้วัดในการตัดสินใจเลือกแม่ศรีเรือน ที่มีคุณสมบัติ ทำบ้านให้น่าอยู่ ทำครัวให้น่าหลงไหล
ความที่น้ำพริก เป็นกับข้าวพื้นฐานของคนไทย เป็นกับข้าวที่อยู่ตรงกลางของสำรับ เรียกว่า กับข้าวยืนพื้น ไม่มีอะไร
ก็ขอให้มีน้ำพริกไว้ก่อน ส่วนกับข้าวอื่น ๆ อีกหลายนั้นจัดเป็นของคู่สำรับ
"คนตำน้ำพริก" ท่านอาจารย์ ม.ร.ว คึกฤทธ์ ปราโมช ท่านเขียนไว้ว่าต้องรู้จัก น้ำพริกเบสิค น้ำพริกพื้นฐาน นั่นคือ
น้ำพริกกะปิ ถ้าใครทำน้ำพริกกะปิได้อร่อยลิ้น ก็เรียกว่า สอบผ่าน KPI มีความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ พริกกับเกลือ
พริกคือ รสเผ็ด และรสเค็ม จากเกลือ เป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นภาคกลางมักนิยมเพิ่มรสเปรี้ยวและหวานลงไปด้วย
น้ำพริกทุกถ้วย จะมีที่มาจากแหล่งเดียวกัน นั่นคือ มีพริกที่ให้ความเผ็ด กะปิเป็นตัวสร้างเนื้อของน้ำพริก กระเทียม มะอึก
หรือพืชผักโขลก เป็นตัวประสานองค์ประกอบต่าง ๆ ของน้ำพริกให้เป็นเนื้อเดียวกัน ตัวสร้างรสชาด คือ เกลือ น้ำปลา
มะนาว น้ำตาลปี๊ป อันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องกลมกล่อม ไม่โดด ไปรสใดรสหนึ่ง
น้ำพริกยังเป็นวัฒนธรรมไทยที่คนไทย ต้องรู้จักเลือกสรรว่า น้ำพริกคลุกข้าว ต่างจากน้ำพริกผักจิ้ม น้ำพริกคลุกข้าวควรจะมี
ลักษณะเนื้อน้ำพริกค่อนข้างเหลว น้ำพริกเครื่องจิ้ม ควรมีเนื้อน้ำพริกข้น เพื่อสะดวกในการจ้วงจิ้ม แล้วต้องตะหนักว่าน้ำพริก
ชนิดใดควรจะรับประทานกับผักชนิดใด เช่น น้ำพริกมะขามสด ซึ่งมะขามเป็นไม้พื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคย เนื่องจากมีประโยชน์
มากและยังเป็นไม้มงคล โดยเฉพาะการนำมะขามอ่อน (ฟัก) มาทำน้ำพริกนั้น คนภาคกลางนิยมรับประทานร่วมกับผักสด เช่น
แตงกวา มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เป็นต้น ซึ่งสำหรับคนไทยแล้ว น้ำพริกเป็นสิ่งที่ช่วยให้รับประทานผัก
ได้มากขึ้น จึงนับว่ามีประโยชน์ยิ่งนัก อย่างน้ำพริกแมงดา ไม่ควรจิ้มกับผักชนิดใด ๆ เลย ควรคลุกกับข้าวสวยร้อนๆ แนมหมู
หวาน หรือกากหมู อร่อยกว่าอย่างอื่น นอกจากนั้น น้ำพริกขั้นสูงว่าน้ำพริกเบสิค ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกเผา น้ำพริกผัด ก็ล้วนมา
จากการรู้จักถนอมอาหารตามแบบแผนวิถีไทย
น้ำพริก นอกจากจะเป็นอาหารประจำสำรับแล้ว ยังต้องเหมาะสมกับการเดินทาง อย่างในสมัยอยุธยา มีการตำพริกกะเกลือ
ใส่กระบอกไม้ไผ่ ใช้เวลาเดินทางรอนแรมในป่า เวลาออกศึกสงคราม ระหว่างทาง เจอผัก เจอเนื้อ ก็ใช้พริกกะเกลือเป็นเครือง
ปรุงรสชาดอาหารกลางทาง ให้ได้รส เค็ม เผ็ด ไว้ก่อน
เมื่อเวลาผันผ่าน ผู้คนมีใช้ยานพาหาะ โดยเฉพาะการสัญจรทางน้ำ สะดวกและดีกว่า การเดินป่า อาหารการกินก็ปรับเปลี่ยนให้
รับประทานได้นานและสะดวกขึ้นอย่างข้าวห่อใบบัว น้ำพริกลงเรือ ผักเครื่องจิ้มพอหาหักมาทานได้ แต่อาหารประเภทเนื้อคงหา
ได้ลำบากกว่า คนไทยให้ความสำคัญต่อโภชนาการ ต้องครบห้าหมู่ จึงคิดค้นน้ำพริกลงเรือ สำหรับการเดินทางทางเรือ
น้ำพริกลงเรือนี้ ท่านอาจารย์หม่อมฯ ท่านเขียนเล่าในหนังสือ น้ำพริก ไว้ว่า มีหลายสูตร หลายตำรับ จนหาผู้คิดค้นแท้จริง
ไม่ได้
ถ้าทางตำรับชาววัง เล่าไว้ว่า มีต้นกำเนิดจาก "กำแพงแดง" ในตำหนักพระวิมาดาเธอฯ เจ้านายรัชกาลที่ ๕ เข้าไปอยู่สวนสุนันทา
สมัยแรก ๆ ได้มีการขุดดินขึ้นมาถมที่ เพื่อทำตำหนัก การขุดดินทำให้เกิดสระกว้างใหญ่ เจ้านายฝ่ายในต่างองค์ต่างมีเรือพายเล่น
วันหนึ่งตอนค่ำคิดจะลงเรือกัน สมเด็จอาหญิงน้อย (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดลกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
พระราชธิดาพระองค์น้อยในพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดดา) ทรงชวนว่าให้ไปกินข้าวในเรือกันเถอะ
แล้วมีรับสั่งว่า
'สดับไปดูซิในครัวมีอะไรกินบ้าง'
แม้ว่าปัจจุบัน "หญิงยุคใหม่" จะไม่ใส่ใจตำน้ำพริกกินเองแล้ว เครื่องปรุงยังแทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอะไรบ้าง วันไหนอยากกินน้ำพริก
ก็เดินเข้าห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ หรือตามตลาดนัด ที่ครัวสำเร็จรูปสำหรัยคนยุคสมัยใหม่ เป็นคำตอบสุดท้าย ที่ไม่ต้อง
คำนึงถึงความอร่อย ความใส่ใจใส่รักลงในการโขลกตำ เนื่องจากประหยัดเวลาไม่ต้องเสียเวลาสับโขกให้เหมื่อยมือ
เย็นนี้คงต้อง กินข้าวกับน้ำพริก (ถ้วยเก่า)
เพราะ ปลาที่จับไว้ทั้งสองมือ หลุดไปหมดแล้ว
ที่มา : สารคดีน้ำพริกสร้างจากหนังสือน้ำพริกของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช Youtube
ขอบคุณคุณ Thai Traditional dress Boran and Thai food and Thai traditional music. by tonnum53
ขอขอบคุณ ภาพประกอบ จาก ไทยวิกีพีเดีย
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่เข้าชมกระทู้นี้ด้วยนะคะ