พันธกรณีที่ควรกฎหนดความชัดเจน ในแผนพัฒนากรุงเทพฯ




พันธกรณีของผู้ว่าฯ สำคัญยิ่งกว่าคำสัญญา

คอลัมน์ เลาะรั้ว
นายช่าง


เมื่อ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับเลือกจากประชาชนชาวกรุงเทพฯ ให้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ต่อไปอีก 4 ปี จึงมีเรื่องสำคัญ 2 ประการที่ประชาชนคาดหวังและติดตามให้ทำ

เรื่องแรกคือ คำมั่นสัญญา ซึ่งท่านเริ่มเปรยถึงความยากลำบาก ซึ่งถึงที่สุดแล้วคำมั่นสัญญาไม่มีผลบังคับจริง เท่ากับเรื่องที่สอง "พันธกรณี"

พันธกรณีเป็นกฎเป็นข้อบังคับตามกฎหมายหรือตามพระราชบัญญัติการบริหารจัดการกรุงเทพมหานครที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ "ต้องปฏิบัติต้องดำเนินการ" ให้เป็นไปได้จริง

เชื่อว่า คงรู้ชัด รู้แจ้งว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจ หน้าที่ ตามกฎหมายอยู่ 7 ประการ โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ตามข้อ 1 และ ข้อ 4 ในมาตรา 49 ที่ให้อำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ไว้ว่า

1.กำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย (ซึ่งหมายถึง อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครที่จะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้ดำเนินการไป 27 หัวข้อ) โดยเฉพาะที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือเรื่องของ "การผังเมือง" รวมทั้งเรื่อง "การควบคุมอาคาร การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย" ซึ่งไม่มีอยู่ในคำมั่นสัญญาหรือนโยบายของการหาเสียงของผู้ว่าฯแต่อย่างใด

แต่เป็นพันธกรณีที่ต้องทำให้เป็นไปตามแนวทางของการผังเมือง ซึ่งประกาศใช้เป็นกฎหมายระดับกฎกระทรวง

พันธกรณีดังกล่าวนี้ ปรากฏอยู่ในร่างผังเมืองรวมของกรุงเทพ มหานครว่า ท่านผู้ว่าฯ ต้องดำเนินการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับร่างผังเมืองรวม (ถึงแม้ตัวข้อกำหนดหรือตัวแผนผังเมืองรวมจะไม่มีรายละเอียดชัดเจนที่ประชาชนชาวกรุงเทพฯทั่วไปจะสนใจและเข้าใจได้ง่าย) และยังไม่เห็นแนวทางที่ผู้ว่าฯ จะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างใด

เรื่องเล็กๆ ที่กำหนดไว้ในแผนผังเมืองรวมอีกเรื่องหนึ่งก็คือ แผนที่แสดงการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียที่ปรากฏในร่างผังเมืองรวมไว้เป็นสีชมพู มีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่ของกรุงเทพมหานคร

พร้อมกับคำมั่นสัญญาในการหาเสียงก็คือ จะสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสีย 5 แห่ง พร้อมวางแผนบำบัดน้ำเสียครบวงจร ซึ่งเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียนั้นเนื่องจากมีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงในผังเมืองรวมแล้ว เรื่องนี้ต้องทำอย่างแน่นอน

ประเด็นข้อสงสัยก็คือ ที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้นกำหนดไว้กว้างๆ เพราะฉะนั้น ต้องมีรายละเอียด รูปแบบ ประมาณการ งบประมาณ ที่ชัดเจน ครบถ้วน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดดังกล่าว จะจัดทำดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 4 ปี ทั้งตามอายุของกฎกระทรวงผังเมืองรวมและระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าฯ เป็นเรื่องยากมาก

ถ้าดำเนินการไม่ได้ ไม่ใช่แค่ผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ท่าน ผู้ว่าฯ ยังผิดต่อพันธกรณีในทางกฎหมายอีกด้วย

ขณะเดียวกันเรื่องระบบขนส่งมวลชนขนาดเบา 5 เส้นทาง ซึ่งควรจะปรากฏแนวทางอยู่ในร่างผังเมืองรวม ก็ไม่ปรากฏในร่างผังเมืองรวมให้เห็นแม้แต่น้อย แล้วจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ???

เส้นทางอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำอีก 5-6 แห่ง ซึ่งเป็นคำมั่นสัญญาในการหาเสียงนั้นก็ไม่ปรากฏอยู่ในร่างผังเมือง ???

ฉะนั้นเรื่องที่ทางผู้ว่าฯ กทม. คิดจะรักษาคำมั่นสัญญา ต้องไปจัดทำเรื่องคำมั่นสัญญาให้เป็นพันธกรณีที่ต้องทำให้เป็นกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดให้มีรายละเอียด เส้นทาง แนวทาง ชนิดประเภท อุปกรณ์ งบประมาณ ที่ชัดเจนกว่านี้ โดยให้ปรากฏชัดเจนอยู่ในกฎกระทรวงผังเมืองรวม

คำถามคือท่านผู้ว่าฯ และเหล่าทีมงานได้คิดเรื่องนี้ไว้ หรือยัง

ขอย้ำว่าต้องกำหนดแนวนโยบายและแผนการเหล่านี้โดยละเอียด ลงให้ชัดเจนในกฎกระทรวงผังเมืองรวมกรุงเทพฯ


http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk1qYzJORGN4TWc9PQ==&sectionid=


พรรคนี้เขาถนัดเรื่องนำแผนเดิมที่มีอยู่ในแผนพัฒนามาใช้
แต่เรื่องรายละเอียดที่จะดำเนินการหามีไม่ ไม่เคยชี้แจงให้ประชาชนได้รับรู้
แต่ก็มีคนจำนวน 1,200,000 เสียงเลือก เลือกเพราะความกลัว เลือกเพราะความเกลียดชัง
เลือกเพราะกลัวทักษิณจะยึดเมือง ยึดประเทศ คนเหล่านี้เหมือนบัวใต้น้ำ อยู่ระดับไหนดีหนอ

หรืออาจจะเป็นแบบนี้คนนี้เขากล่าวไว้ เมืองกรุงจะไม่ได้พัฒนาเพราะพวกบัวใต้ตรม

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่