หลักคำสอนที่ชาวต่างชาติที่เจริญ(ทางวัตถุ)แล้วชอบมากที่สุด ก็คือหลักกาลามสูตร ที่สอนเรื่องการสร้างความเชื่อที่ถูกต้อง ซึ่งหลักนี้จัดเป็นหัวใจของนักวิทยาศาสตร์ ถ้านักวิทยาศาสตร์ขาดหลักการนี้ ก็จะไม่เป็นนักวิทยาศาสตร์จริง ซึ่งหลักความเชื่อนี้ก็สรุปเอาไว้ว่า
๑. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีการบอกต่อๆกันมา
๒. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า เห็นเขาทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีการเล่าลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีตำราอ้างอิง
๕. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีเหตุผลตรงๆมารองรับ (ตรรกะ)
๖. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ (นัยยะ)
๗. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า สามัญสำนึกของเรามันยอมรับ (การคาดเดา)
๘. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า ผู้บอกหรือผู้สอนนี้ดูภายนอกแล้วน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า ผู้บอกหรือผู้สอนนี้คือครูอาจารย์ของเราเอง
เมื่อเราได้ศึกษาหลักคำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์และไม่มีโทษ ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่เห็นผลจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วเกิดผลจริงจึงค่อยปลงใจเชื่อและรับเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป.
สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้เชื่อ แต่สอนให้เรามีอิสระในการศึกษาและทดลองปฏิบัติ ต่อเมื่อได้รับผลจริงก่อนจึงค่อยปลงใจเชื่อ แต่ถ้าไม่ได้รับผลจริงก็อย่าเชื่อ ซึ่งนี่คือหลักพื้นฐานในการสร้างปัญญาระดับสูงของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติตามหลักนี้อย่างเคร่งครัดแล้ว เราก็จะค้นพบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้โดยไม่ยาก แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามหลักการนี้อย่างเคร่งครัด เราก็จะไม่พบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ แม้จะศึกษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาอย่างมากมายแล้วก็ตาม
หลักกาลามสูตรนี้ มีบางมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเขาเอาหลักนี้ไปเป็นหลักสูตรให้นักศึกษาเรียน แต่ในประเทศไทยกลับไม่มี นั่นเป็นเพราะเขามองเห็นว่าหลักนี้เป็นหลักในการสร้างให้คนมีปัญญา ไม่เชื่ออะไรงมงายอย่างในประเทศไทยส่วนใหญ่ ถ้าชาวพุทธจะนำหลักกาลามสูตรนี้มาศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง จะทำให้คนไทยมีสติปัญญามากขึ้น และจะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมากเลยทีเดียว
หลักความเชื่อที่พระพุทธเจ้าสอนซึ่งเป็นหัวใจของนักวิทยาศาสตร์
๑. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีการบอกต่อๆกันมา
๒. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า เห็นเขาทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีการเล่าลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีตำราอ้างอิง
๕. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีเหตุผลตรงๆมารองรับ (ตรรกะ)
๖. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ (นัยยะ)
๗. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า สามัญสำนึกของเรามันยอมรับ (การคาดเดา)
๘. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า มันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า ผู้บอกหรือผู้สอนนี้ดูภายนอกแล้วน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า ผู้บอกหรือผู้สอนนี้คือครูอาจารย์ของเราเอง
เมื่อเราได้ศึกษาหลักคำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์และไม่มีโทษ ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่เห็นผลจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วเกิดผลจริงจึงค่อยปลงใจเชื่อและรับเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป.
สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้เชื่อ แต่สอนให้เรามีอิสระในการศึกษาและทดลองปฏิบัติ ต่อเมื่อได้รับผลจริงก่อนจึงค่อยปลงใจเชื่อ แต่ถ้าไม่ได้รับผลจริงก็อย่าเชื่อ ซึ่งนี่คือหลักพื้นฐานในการสร้างปัญญาระดับสูงของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติตามหลักนี้อย่างเคร่งครัดแล้ว เราก็จะค้นพบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้โดยไม่ยาก แต่ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามหลักการนี้อย่างเคร่งครัด เราก็จะไม่พบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ แม้จะศึกษาคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาอย่างมากมายแล้วก็ตาม
หลักกาลามสูตรนี้ มีบางมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเขาเอาหลักนี้ไปเป็นหลักสูตรให้นักศึกษาเรียน แต่ในประเทศไทยกลับไม่มี นั่นเป็นเพราะเขามองเห็นว่าหลักนี้เป็นหลักในการสร้างให้คนมีปัญญา ไม่เชื่ออะไรงมงายอย่างในประเทศไทยส่วนใหญ่ ถ้าชาวพุทธจะนำหลักกาลามสูตรนี้มาศึกษาและปฏิบัติอย่างจริงจัง จะทำให้คนไทยมีสติปัญญามากขึ้น และจะช่วยแก้ปัญหาสังคมได้อย่างมากเลยทีเดียว