พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือคำสอนระดับสูงเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านี้ จะไม่สอนให้เชื่อก่อน แต่จะสอนให้เกิดปัญญาก่อน เมื่อมีปัญญาแล้วความเชื่อก็จะเกิดตามมาทีหลังได้เอง ซึ่งหลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า หลักกาลามสูตร (พระสูตรที่สอนแก่ชาวกาลามะของอินเดีย) ซึ่งสรุปได้ว่า
๑. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ได้ยินได้ฟังมา
๒. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ กำลังล่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ มีการบันทึกไว้ในตำรา
๕. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดเดาตามสามัญสำนึก
๖. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม
๗. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ตรึกตรองตามหลักเหตุผล
๘. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เข้ากันได้กับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนั้นดูภายนอกมีความน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนี้คือครูอาจารย์ที่เรานับถือ
เมื่อเราได้เรียนรู้คำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางติเตียน ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ไม่มีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางไม่ติเตียน ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติเต็มมาตรฐานแล้ว ความทุกข์ไม่ดับลงหรือลดลงจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้วบังเกิดผลเป็นความดับลงหรือลดลงของความทุกข์จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
สรุปว่า หลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้านั้นสอนว่า อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง แต่ก่อนอื่นให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ก็ให้ลองนำเอามาปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าลองปฏิบัติดูแล้วได้ผลจริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และนำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป แต่ในปัจจุบันได้มีการตีความหลักกาลามสูตรให้ลดความสำคัญลง คือเป็นแค่ "ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนแล้วก็เชื่อได้" ไปเสียแล้ว เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับความเชื่อที่งมงายที่ยึดถือกันอยู่อย่างเช่นในปัจจุบัน
ปัจจุบันหลักกาลามสูตร ได้ถูกตีความให้ลดความสำคัญลงเป็นแค่ "ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนแล้วก็เชื่อได้" ไปเสียแล้ว
๑. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ได้ยินได้ฟังมา
๒. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ กำลังล่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ มีการบันทึกไว้ในตำรา
๕. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดเดาตามสามัญสำนึก
๖. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม
๗. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ตรึกตรองตามหลักเหตุผล
๘. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เข้ากันได้กับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนั้นดูภายนอกมีความน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนี้คือครูอาจารย์ที่เรานับถือ
เมื่อเราได้เรียนรู้คำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางติเตียน ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ไม่มีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางไม่ติเตียน ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติเต็มมาตรฐานแล้ว ความทุกข์ไม่ดับลงหรือลดลงจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้วบังเกิดผลเป็นความดับลงหรือลดลงของความทุกข์จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
สรุปว่า หลักกาลามสูตรของพระพุทธเจ้านั้นสอนว่า อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง แต่ก่อนอื่นให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ก็ให้ลองนำเอามาปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าลองปฏิบัติดูแล้วได้ผลจริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และนำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป แต่ในปัจจุบันได้มีการตีความหลักกาลามสูตรให้ลดความสำคัญลง คือเป็นแค่ "ให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองก่อนแล้วก็เชื่อได้" ไปเสียแล้ว เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกับความเชื่อที่งมงายที่ยึดถือกันอยู่อย่างเช่นในปัจจุบัน