วิทยาศาสตร์จะมีหลักสำคัญคือ ไม่เชื่ออะไรที่งมงาย แต่จะเชื่อก็ต่อเมื่อได้พิสูจน์จนเห็นผลอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น ซึ่งก็ตรงกับหลักกาลามสูตรที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ โดยหลักกาลามสูตรนั้นมีใจความโดยสรุปดังนี้....
หลักความเชื่อของพุทธศาสนา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือคำสอนระดับสูงเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านี้ จะไม่สอนให้เชื่อก่อน แต่จะสอนให้เกิดปัญญาก่อน เมื่อมีปัญญาแล้วความเชื่อก็จะเกิดตามมาทีหลังได้เอง ซึ่งหลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า หลักกาลามสูตร (พระสูตรที่สอนแก่ชาวกาลามะของอินเดีย) ซึ่งสรุปได้ว่า
๑. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ได้ยินได้ฟังมา
๒. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ กำลังล่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ มีการบันทึกไว้ในตำรา
๕. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดเดาตามสามัญสำนึก
๖. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม
๗. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ตรึกตรองตามหลักเหตุผล
๘. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เข้ากันได้กับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนั้นดูภายนอกมีความน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนี้คือครูอาจารย์ที่เรานับถือ
เมื่อเราได้เรียนรู้คำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางติเตียน ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ไม่มีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางไม่ติเตียน ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติเต็มมาตรฐานแล้ว ความทุกข์ไม่ดับลงหรือลดลงจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้วบังเกิดผลเป็นความดับลงหรือลดลงของความทุกข์จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่าเชื่อจากทั้ง ๑๐ ข้อนั้น ก็เพราะความรู้ที่เราฟังมาจากคนอื่นนั้น เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นความจริงหรือไม่, ส่วนคำล่ำลือนั้นเป็นการกระทำของคนโง่, ส่วนตำรานั้นก็อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนก่อนที่จะมาถึงเราได้, แม้แต่เหตุผลก็อาจผิดได้ เพราะถ้าเหตุของมันผิด ผลมันก็จะผิดตามไปด้วย, ส่วนสามัญสำนึกของเรา ที่เป็นเพียงความรู้สึกธรรมดาๆที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มันก็อาจหลอกเราได้
ส่วนความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้วนั้น ถ้ามันเป็นความเห็นที่ผิดอยู่ก่อน โดยเราเองก็ไม่รู้ตัว เมื่อมีคนมาพูดตรงกับความเห็นของเรา ก็จะทำให้เราก็เชื่อว่าความเห็นของเรานั้นถูกต้อง ซึ่งก็จะทำให้เรามีความเห็นผิดอยู่ต่อไปเหมือนเดิม, แม้แต่คนที่เราดูภายนอกว่าน่าเชื่อถือนั้น ถ้าเขาเองก็มีความเห็นผิดอยู่ก่อนแล้วโดยเขาเองก็ไม่รู้ตัว แล้วเราก็เชื่อเขา ก็จะทำให้เราพลอยมีความเห็นผิดตามเขาไปด้วยทันที, ส่วนครูอาจารย์ของเราเองก็เหมือนกัน ถ้าท่านมีความเห็นผิดอยู่ก่อนแล้วโดยที่ท่านเองก็ไม่รู้ตัว แล้วเราก็เชื่อท่าน เราก็จะพลอยมีความเห็นผิดตามท่านไปด้วย
หลักความเชื่อนี้เป็นหลักที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้เราค้นพบว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า และคำสอนใดไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นหลักที่จะช่วยให้เราเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสทางสติปัญญาของใคร แม้แต่ของพระพุทธเจ้าเองก็ตาม ดังนั้นเราจะต้องนำเอาหลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เราจึงจะค้นพบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ แต่ถ้าเราละเลยไม่นำหลักความเชื่อนี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เราก็จะไม่พบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้
สรุปได้ว่า หลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้จะสอนว่า “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเราเอง แต่ให้พิสูจน์หรือทดลองทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อได้รับผลแน่ชัดจึงค่อยเชื่อ” ซึ่งหลักความเชื่อนี้ก็เหมือนกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สอนให้เชื่ออะไรล่วงหน้า แต่ให้พิสูจน์หรือทดลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผลเป็นที่แน่ชัดก่อนจึงค่อยเชื่อ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบทฤษฎีทั้งหลายขึ้นมาก็ล้วนใช้หลักการนี้ทั้งสิ้น
หลักความเชื่อของพุทธศาสนาที่เป็นวิทยาศาสตร์
หลักความเชื่อของพุทธศาสนา
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือคำสอนระดับสูงเรื่องการดับทุกข์ของพระพุทธเจ้านี้ จะไม่สอนให้เชื่อก่อน แต่จะสอนให้เกิดปัญญาก่อน เมื่อมีปัญญาแล้วความเชื่อก็จะเกิดตามมาทีหลังได้เอง ซึ่งหลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า หลักกาลามสูตร (พระสูตรที่สอนแก่ชาวกาลามะของอินเดีย) ซึ่งสรุปได้ว่า
๑. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ได้ยินได้ฟังมา
๒. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ
๓. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ กำลังล่ำลือกันอยู่อย่างกระฉ่อน
๔. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ มีการบันทึกไว้ในตำรา
๕. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดเดาตามสามัญสำนึก
๖. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ คาดคะเนตามเหตุที่แวดล้อม
๗. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ตรึกตรองตามหลักเหตุผล
๘. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ เข้ากันได้กับความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้ว
๙. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนั้นดูภายนอกมีความน่าเชื่อถือ
๑๐. อย่าเชื่อว่าเป็นความจริงเพียงเพราะ ผู้พูดนี้คือครูอาจารย์ที่เรานับถือ
เมื่อเราได้เรียนรู้คำสอนใดมา ก่อนอื่นก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางติเตียน ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ไม่มีโทษ รวมทั้งผู้มีปัญญาและมีใจเป็นกลางไม่ติเตียน ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าทดลองปฏิบัติเต็มมาตรฐานแล้ว ความทุกข์ไม่ดับลงหรือลดลงจริง ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าทดลองปฏิบัติดูแล้วบังเกิดผลเป็นความดับลงหรือลดลงของความทุกข์จริง จึงค่อยปลงใจเชื่อ และปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่าเชื่อจากทั้ง ๑๐ ข้อนั้น ก็เพราะความรู้ที่เราฟังมาจากคนอื่นนั้น เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นความจริงหรือไม่, ส่วนคำล่ำลือนั้นเป็นการกระทำของคนโง่, ส่วนตำรานั้นก็อาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ผิดเพี้ยนก่อนที่จะมาถึงเราได้, แม้แต่เหตุผลก็อาจผิดได้ เพราะถ้าเหตุของมันผิด ผลมันก็จะผิดตามไปด้วย, ส่วนสามัญสำนึกของเรา ที่เป็นเพียงความรู้สึกธรรมดาๆที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มันก็อาจหลอกเราได้
ส่วนความเห็นที่เรามีอยู่ก่อนแล้วนั้น ถ้ามันเป็นความเห็นที่ผิดอยู่ก่อน โดยเราเองก็ไม่รู้ตัว เมื่อมีคนมาพูดตรงกับความเห็นของเรา ก็จะทำให้เราก็เชื่อว่าความเห็นของเรานั้นถูกต้อง ซึ่งก็จะทำให้เรามีความเห็นผิดอยู่ต่อไปเหมือนเดิม, แม้แต่คนที่เราดูภายนอกว่าน่าเชื่อถือนั้น ถ้าเขาเองก็มีความเห็นผิดอยู่ก่อนแล้วโดยเขาเองก็ไม่รู้ตัว แล้วเราก็เชื่อเขา ก็จะทำให้เราพลอยมีความเห็นผิดตามเขาไปด้วยทันที, ส่วนครูอาจารย์ของเราเองก็เหมือนกัน ถ้าท่านมีความเห็นผิดอยู่ก่อนแล้วโดยที่ท่านเองก็ไม่รู้ตัว แล้วเราก็เชื่อท่าน เราก็จะพลอยมีความเห็นผิดตามท่านไปด้วย
หลักความเชื่อนี้เป็นหลักที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้เราค้นพบว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า และคำสอนใดไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นหลักที่จะช่วยให้เราเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสทางสติปัญญาของใคร แม้แต่ของพระพุทธเจ้าเองก็ตาม ดังนั้นเราจะต้องนำเอาหลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เราจึงจะค้นพบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้ แต่ถ้าเราละเลยไม่นำหลักความเชื่อนี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เราก็จะไม่พบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าได้
สรุปได้ว่า หลักความเชื่อของพระพุทธเจ้านี้จะสอนว่า “อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเราเอง แต่ให้พิสูจน์หรือทดลองทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อได้รับผลแน่ชัดจึงค่อยเชื่อ” ซึ่งหลักความเชื่อนี้ก็เหมือนกับหลักวิทยาศาสตร์ ที่ไม่สอนให้เชื่ออะไรล่วงหน้า แต่ให้พิสูจน์หรือทดลองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ผลเป็นที่แน่ชัดก่อนจึงค่อยเชื่อ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบทฤษฎีทั้งหลายขึ้นมาก็ล้วนใช้หลักการนี้ทั้งสิ้น