ที่บางคนบอกว่า "อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา" นั้น มันจะหมายถึง อย่ารีบเชื่อ คือมันจะดูว่ามีความหมายไปในทางที่จะเชื่ออย่างแน่นอนอยู่แล้ว (คือไม่มีความคิดว่าจะไม่เชื่อเลย) แต่ว่ายังไม่รีบเชื่อ ซึ่งมันก็มีความหมายเหมือนกับว่าเชื่อไปแล้วนั่นเอง เหมือนกับว่าเราบอกเด็กว่า "อย่าเพิ่งไปเที่ยว" ซึ่งในความหมายมันก็บอกว่าให้ไปเที่ยวอย่างแน่นอนอยู่แล้ว เพียงยังไม่ให้ไปตอนนี้เท่านั้น ซึ่งการใช้คำเช่นนี้จึงมีความหมายไม่ค่อยตรงกับหลักกาลามสูตรที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
แต่ถ้าบอกว่า "อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่ามีตำราอ้างอิง" มันจะหมายถึง เพียงแค่มีตำรามาอ้างเราก็ยังเชื่อไม่ได้ (คือมันมีความหมายว่าในภายหลังอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้) ซึ่งสาเหตุที่สอนว่าอย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่ามีตำราอ้างอิงนั้นก็เพราะตำราทั้งหลายมันอาจผิดเพี้ยนมาก่อนถึงเราได้ คือให้พิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ ไม่มีประโยชน์ ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษและมีประโยชน์ ก็ให้ทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อได้ผลจริงจึงค่อยปลงใจเชื่อ แต่ถ้าไม่ได้ผลก็อย่าเชื่อ ซึ่งการใช้คำเช่นนี้จึงจะตรงกับหลักกาลามสูตรที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า
คำว่า "อย่าเพิ่งเชื่อโดย.. " กับ "อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่า.." มีความหมายต่างกัน
แต่ถ้าบอกว่า "อย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่ามีตำราอ้างอิง" มันจะหมายถึง เพียงแค่มีตำรามาอ้างเราก็ยังเชื่อไม่ได้ (คือมันมีความหมายว่าในภายหลังอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้) ซึ่งสาเหตุที่สอนว่าอย่าเชื่อเพียงเพราะเหตุว่ามีตำราอ้างอิงนั้นก็เพราะตำราทั้งหลายมันอาจผิดเพี้ยนมาก่อนถึงเราได้ คือให้พิจารณาดูก่อนว่ามีโทษหรือมีประโยชน์ ถ้าเห็นว่ามีโทษ ไม่มีประโยชน์ ก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษและมีประโยชน์ ก็ให้ทดลองปฏิบัติดูก่อน เมื่อได้ผลจริงจึงค่อยปลงใจเชื่อ แต่ถ้าไม่ได้ผลก็อย่าเชื่อ ซึ่งการใช้คำเช่นนี้จึงจะตรงกับหลักกาลามสูตรที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า