'ศรีตรัง'เปิดรง.ยางอุดรแห่งที่4ภาคอีสาน

กระทู้ข่าว
บอกก่อนว่า "ผมไม่ได้ถือหุ้นตัวนี้อยู่นะครับ" แต่เห็นมีข่าว (ที่ไม่ใช่จาก ข่าวหุ้น หรือ ทันหุ้น หรือ ปั่นหุ้น ใด" เลยเอามาฝากกันเท่านั้น

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 19:00 น.

"ศรีตรัง"รุกขยายโรงงานครอบคลุมอีสาน ชี้คุณภาพยางดีเช่นเดียวกับภาคใต้ แต่ยังด้อยเรื่องวันกรีดและสิ่งเจือปน

นายไชยยศ สินเจริญกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 ที่ จ.ตรัง ประกอบการธุรกิจยางพาราครบวงจร และได้มีการขยายกิจการออกไปในหลายจังหวัดในภาคใต้ จนปี พ.ศ.2552 บริษัทฯ ได้ขยายมาตั้งโรงงานลงทุนเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน ที่ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย(ในขณะนั้น) ในนามของบริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักซ์ จำกัด และมีการขยายการตั้งโรงงานไปที่จ.บุรีรัมย์ มุกดาหาร และอุดรธานี ซึ่งเป็นสาขาที่ 4 ของภาคอีสาน

โดยทางบริษัทฯ มีแผนการในอีก 4 ปีข้างหน้า จะมีการตั้งโรงงานอีก 10 แห่ง ใน 10จังหวัด ทั้งภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคอีสาน คือที่จันทบุรี ชัยภูมิ , ศรีสะเกษ , อุบลราชธานี , พิษณุโลก , แพร่ , เชียงราย , กาฬสินธุ์ , สุราษฎร์ธานี และสระแก้ว

สำหรับโรงงานที่อุดรธานี ตั้งอยู่ที่ บ้านจำปา ต.หนองนาคำ อ.เมือง โดยใช้งบลงทุนเกือบ 800 ล้านบาท แบ่งเป็นงบลงทุนก่อสร้างเครื่องจักร 450 ล้านบาท และค่าที่ดิน 168 ไร่อีก 300 ล้านบาท มีกำลังผลิตปีละ 6 หมื่นตันต่อปี ใช้แรงงานในท้องถิ่นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ยกเว้นแรงงานในระดับผู้บริหาร และผู้ชำนาญการที่ยังต้องใช้แรงงานจากภาคใต้
ปัจจุบัน บริษัทฯ มีเครือข่ายรวมทั้งสิ้น 27 บริษัท และมีโรงงาน 30 โรงงาน โดยมีโรงงานอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย 2 แห่ง มีสินทรัพย์มูลค่ากว่า 35,000 ล้านบาท มีแรงงานมากกว่า 11,000 คน มีกำลังผลิตรวมปีละ 1,100,000 ตันต่อปี ซึ่งสามารถระบุได้ว่าโรงงานของบริษัทมีกำลังผลิตยางพาราสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งของโลก

นายไชยยศ กล่าวว่า ผลผลิตของยางพาราภาคอีสานมีคุณภาพดีไม่แตกต่างจากยางภาคใต้ และมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง แต่เพื่อความเหมาะสมทางวิชาการ ขอให้เกษตรกรเข้าปรึกษาเพื่อศึกษาพื้นที่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดย เฉพาะองค์การสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย. ก่อนที่จะลงทุนปลูก เพราะก็มีบางพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา แต่ข้อได้เปรียบของภาคใต้ก็คือ อาจจะมีวันกรีดยางมากกว่าภาคอีสาน ส่วนคุณภาพของยางพาราทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ ก็ไม่ได้ต่างจากภาคใต้ และอาจจะดีกว่าด้วย หากยางพาราภาคอีสานจะไม่มีสิ่งเจือปน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่