เราเคยภูมิใจว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตยางพาราหรือยางธรรมชาติมากที่สุดในโลก
รองลงไปก็เป็นมาเลเซีย ซึ่งเคยเป็นประเทศที่ผลิตยางพารามากที่สุดในโลก แต่เมื่อราคา
ยางพาราตกต่ำและราคานั้นดีดตัวสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 มาเลเซียก็รณรงค์เปลี่ยน
จากการปลูกยางพารามาเป็นการปลูกน้ำมันปาล์มเพราะราคาดีกว่า ไทยจึงครองตำแหน่ง
ผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองลงไปก็เป็นมาเลเซียและอินโดนีเซียตามลำดับ
แต่เมื่อราวๆ 10 กว่าปีที่แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจของจีนร้อนแรงขึ้นพร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ
ที่รวมเรียกกันว่า BRICS อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และ สหภาพแอฟริกาใต้ การที่
เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนมีอัตราการขยายตัว
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือจีดีพี ด้วยตัวเลข 2 หลักเป็นเวลานาน ทำให้
อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
การที่อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในตลาดของ
ประเทศที่กล่าวมา ทำให้ความต้องการยางรถยนต์ซึ่งสามารถผลิตจากยางพาราและยาง
สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียมได้ การที่ความต้องการยางรถยนต์ถีบตัวสูงขึ้นพร้อมๆ กับ
ราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยางเกรดดี
ราคาแพง ทำให้ราคายางพาราถีบตัวสูงขึ้นไปเป็นประวัติศาสตร์ ราคายางพาราในตลาดโลก
เคยถีบตัวสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 150-160 บาท ก็เคยมี จากที่เคยราคาตกต่ำถึงกิโลกรัมละ
17-20 บาท อันเป็นเหตุให้มาเลเซียมั่นใจในการดำเนินการเปลี่ยนจากการปลูกยางพารามา
เป็นปาล์มน้ำมัน
ราคายางพาราถีบตัวแพงขึ้นเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัว
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย
เกิดการโยกย้ายการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ออกจากญี่ปุ่นไปที่จีน อาเซียน และภูมิภาคอื่นๆ
อินเดีย รัสเซีย ต่างก็พัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์กันอย่างแพร่หลาย รถยนต์ซึ่งเคยเป็นสินค้าราคา
แพงและเป็นสินค้าสำหรับคนชั้นสูงและคนร่ำรวย บัดนี้ก็กลายเป็นของจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือนทั่วไป
ราคายางพาราที่แพงขึ้นอย่างมากทำให้ประเทศต่างๆ ที่เคยโค่นต้นยางทิ้งแล้วหันไปปลูกพืช
อย่างอื่นกัน ก็กลับมาปลูกยางพารากันใหม่
เดิมเคยเชื่อกันว่ายางพารานั้นจะปลูกได้ผลก็เฉพาะบริเวณพื้นที่เส้นศูนย์สูตร สูงต่ำไม่เกิน 5 องศา
จากเส้นศูนย์สูตร แต่บัดนี้พิสูจน์ได้แล้วว่าหลังจากการปรับปรุงพันธุ์ ยางพาราสามารถปลูกได้ทั่วไป
ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือของไทย
ในขณะที่การปลูกยางพาราแพร่ขยายไปที่ภาคอีสานและภาคเหนือของไทยแล้ว จีนซึ่งแต่เดิมไม่เคย
ปลูกยางพาราก็สามารถปลูกยางพาราได้ โดยสั่งกล้ายางพาราจากประเทศไทยในช่วงนั้น ธุรกิจ
กล้ายางก็เบ่งบาน เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่จีนสั่งกล้ายางพาราจากประเทศไทยนำเข้าไปปลูกใน
ประเทศจีน กล้ายางของไทยเราถูกนำไปปลูกบริเวณเหนือประเทศไทยขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง ไปจนถึง
สิบสองปันนา ขณะเดียวกันก็นำต้นยางพารามาปลูกในบริเวณที่เช่าระยะยาวทั้งในลาวและพม่าด้วย
ขณะนี้พื้นที่สวนยางของจีนที่อยู่ในจีนเอง ที่อยู่ในที่เช่าระยะยาวในลาวและในพม่า มีเนื้อที่เท่าๆ กับ
เนื้อที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย กล่าวคือ ขณะนี้เนื้อที่ปลูกยางพาราในจีน ลาว และพม่า มีรวมกัน
ถึง 12 ล้านไร่ ในขณะที่เนื้อที่สวนยางของไทยที่ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ มี
ประมาณ 12 ล้านไร่
เมื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มอิ่มตัว จีนก็สามารถผลิตยางพาราได้เท่าๆ กับไทย เพื่อป้อน
โรงงานทำยางรถยนต์แข่งกับการทำยางเทียมหรือยางสังเคราะห์ที่ทำจากน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมัน
ปิโตรเลียมพังทลายลง ราคายางพาราจึงมีอันพังทลายลงมาด้วยกันอย่างไม่มีทางเลือก
ราคาสินค้าโภคภัณท์ ราคาสินค้าเกษตรเกือบทั้งหมด ทุกตัวถูกกำหนดโดยราคาตลาดโลกซึ่งเป็นไป
ตามกลไกตลาด อุปสงค์และอุปทาน หรือความต้องการของตลาดและปริมาณการผลิต ดังนั้นไม่น่าจะ
มีมาตรการหรือวิธีการใดที่จะทำให้ราคายางพาราในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย
มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในประเทศจีนซึ่งมีตลาดยานยนต์และยางรถยนต์ภายในประเทศของ
ตนเองมีราคาสูงกว่าราคาตลาดโลกได้ ซึ่งหากจะทำเช่นนั้น จีนต้องห้ามการนำยางแผ่นเข้าประเทศจีน
ซึ่งจีนก็คงไม่ทำเพราะคงจะผิดกฎขององค์กรการค้าโลก
แต่สำหรับประเทศส่งออกจะทำอะไรเพื่อให้ราคาตลาดภายในประเทศสูงขึ้นจากราคาตลาดโลกหักด้วย
ค่าขนส่งได้ยาก หากจะจัดตั้งมูลภัณฑ์กันชนหรือ buffer stock โดยทางการออกมารับซื้อราคาสูงกว่า
ราคาตลาด ก็จะเท่ากับเป็นการชดเชยผู้ที่มียางอยู่ในสต๊อกซึ่งอาจจะไม่ใช่ชาวสวนยางก็ได้ ส่วนราคา
ตลาดก็ยังอยู่ที่ราคาตลาดโลกอยู่ตามเดิม
เวลาราคาสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา น้ำตาล หรือมันสำปะหลัง เมื่อรัฐบาลจะต้องเข้า
แทรกแซง เพื่อพยุงราคาโดยหวังผลจริงๆ หรือหวังผลทางการเมือง ก็มักจะมีข้อเสนอให้มีการแปรรูป
สินค้าเกษตรนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าเสียก่อนที่จะส่งออก
เช่น ข้าวก็มักจะมีข้อเสนอว่า ควรจะนำข้าวมาแปรรูปเป็นเส้นหมี่หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือแผ่นป่อเปี๊ยะ
หรืออื่นๆ ก่อนส่งออก ถ้าเป็นน้ำตาลราคาตกต่ำ ก็มักจะมีข่าวเสนอให้นำน้ำตาลไปผลิตเป็นลูกอม
ทอฟฟี่ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าก่อนส่งออก เป็นต้น ซึ่งทำไม่ได้ถ้าสินค้านั้นไม่มีตลาดรองรับ
ยางพาราก็เหมือนกัน มักจะมีข้อเสนอทำนองเดียวกันว่า แทนที่จะส่งยางแผ่นออกเป็นวัตถุดิบ ก็ควรจะ
พัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราภายในประเทศเสียก่อนเพื่อเพิ่มมูลค่า หรือไม่ก็หาหนทางอื่นๆ ที่จะใช้
ข้อเสนอเหล่านี้ฟังดูก็ดี ทำให้ชาวสวนยางใจชื้นขึ้นบ้างในยามที่ราคายางตกต่ำ ในความที่บรรยากาศหดหู่
ไม่คึกคัก แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางและอื่นๆ ก็ผลิตกัน
เต็มที่ตามที่ตลาดจะรับได้แล้ว ถ้าต้องผลิตมากเกินกว่านี้ ราคาสินค้าชนิดนั้นก็จะลดลงเพราะจะมีถุงมือยาง
ล้นตลาด เป็นต้น
เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายมีข้อจำกัดทางการเมือง ข้อเสนอจึงมักจะมุ่งไปในทิศทางที่จะหาทางเพิ่มปริมาณ
การขายหรือเพิ่มความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของตนที่จะทำได้ สิ่งที่ทำได้คือนโยบายการ
ผลิตทั้งในระยะปานกลางและระยะยาว
ทางที่ถูกก็ต้องดูในระยะยาวว่าอนาคตของสินค้าเกษตรตัวนั้นจะเป็นอย่างไร ในกรณียางพารานั้นอนาคต
น่าเป็นห่วง เพราะจีนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเรามีนโยบายผลิตยางพาราเองในประเทศเพื่อทดแทน
การนำเข้าจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ การที่เราจะเข้าไปแข่งขันในตลาดจีนก็ต้องผลิตยางพาราที่
สวนของเราให้มีราคาต้นทุนต่ำกว่าจีน ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก
ถ้าเหตุการณ์ข้างหน้าเป็นอย่างนั้น นโยบายที่ถูกต้องก็คือ นโยบายลดจำนวนพื้นที่สวนยางลง ลดการผลิต
ยางพาราลง ซึ่งเป็นนโยบายที่ทำได้ยากในแง่การเมือง
แต่อย่างไรเสีย อนาคตของยางพาราไทยคงไม่สดใสอย่างที่เคยคิดไว้เมื่อ 10 กว่าปีก่อนแล้ว
จะทำอย่างไรก็ต้องตัดสินใจเสียแต่บัดนี้
(ที่มา:มติชนรายวัน 18 ธ.ค.2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418891886
วีรพงษ์ รามางกูร : อนาคตของยางพาราไทย ....มติชนออนไลน์ ..เก็บตกมาฝาก คุณม่วงคันและชาวสวนยาง ../sao..เหลือ..noi
รองลงไปก็เป็นมาเลเซีย ซึ่งเคยเป็นประเทศที่ผลิตยางพารามากที่สุดในโลก แต่เมื่อราคา
ยางพาราตกต่ำและราคานั้นดีดตัวสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1980 มาเลเซียก็รณรงค์เปลี่ยน
จากการปลูกยางพารามาเป็นการปลูกน้ำมันปาล์มเพราะราคาดีกว่า ไทยจึงครองตำแหน่ง
ผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองลงไปก็เป็นมาเลเซียและอินโดนีเซียตามลำดับ
แต่เมื่อราวๆ 10 กว่าปีที่แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจของจีนร้อนแรงขึ้นพร้อมๆ กับประเทศอื่นๆ
ที่รวมเรียกกันว่า BRICS อันได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และ สหภาพแอฟริกาใต้ การที่
เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนมีอัตราการขยายตัว
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือจีดีพี ด้วยตัวเลข 2 หลักเป็นเวลานาน ทำให้
อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด
การที่อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวในอัตราที่สูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในตลาดของ
ประเทศที่กล่าวมา ทำให้ความต้องการยางรถยนต์ซึ่งสามารถผลิตจากยางพาราและยาง
สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียมได้ การที่ความต้องการยางรถยนต์ถีบตัวสูงขึ้นพร้อมๆ กับ
ราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยางเกรดดี
ราคาแพง ทำให้ราคายางพาราถีบตัวสูงขึ้นไปเป็นประวัติศาสตร์ ราคายางพาราในตลาดโลก
เคยถีบตัวสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 150-160 บาท ก็เคยมี จากที่เคยราคาตกต่ำถึงกิโลกรัมละ
17-20 บาท อันเป็นเหตุให้มาเลเซียมั่นใจในการดำเนินการเปลี่ยนจากการปลูกยางพารามา
เป็นปาล์มน้ำมัน
ราคายางพาราถีบตัวแพงขึ้นเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัว
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย
เกิดการโยกย้ายการลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ออกจากญี่ปุ่นไปที่จีน อาเซียน และภูมิภาคอื่นๆ
อินเดีย รัสเซีย ต่างก็พัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์กันอย่างแพร่หลาย รถยนต์ซึ่งเคยเป็นสินค้าราคา
แพงและเป็นสินค้าสำหรับคนชั้นสูงและคนร่ำรวย บัดนี้ก็กลายเป็นของจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือนทั่วไป
ราคายางพาราที่แพงขึ้นอย่างมากทำให้ประเทศต่างๆ ที่เคยโค่นต้นยางทิ้งแล้วหันไปปลูกพืช
อย่างอื่นกัน ก็กลับมาปลูกยางพารากันใหม่
เดิมเคยเชื่อกันว่ายางพารานั้นจะปลูกได้ผลก็เฉพาะบริเวณพื้นที่เส้นศูนย์สูตร สูงต่ำไม่เกิน 5 องศา
จากเส้นศูนย์สูตร แต่บัดนี้พิสูจน์ได้แล้วว่าหลังจากการปรับปรุงพันธุ์ ยางพาราสามารถปลูกได้ทั่วไป
ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือของไทย
ในขณะที่การปลูกยางพาราแพร่ขยายไปที่ภาคอีสานและภาคเหนือของไทยแล้ว จีนซึ่งแต่เดิมไม่เคย
ปลูกยางพาราก็สามารถปลูกยางพาราได้ โดยสั่งกล้ายางพาราจากประเทศไทยในช่วงนั้น ธุรกิจ
กล้ายางก็เบ่งบาน เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่จีนสั่งกล้ายางพาราจากประเทศไทยนำเข้าไปปลูกใน
ประเทศจีน กล้ายางของไทยเราถูกนำไปปลูกบริเวณเหนือประเทศไทยขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง ไปจนถึง
สิบสองปันนา ขณะเดียวกันก็นำต้นยางพารามาปลูกในบริเวณที่เช่าระยะยาวทั้งในลาวและพม่าด้วย
ขณะนี้พื้นที่สวนยางของจีนที่อยู่ในจีนเอง ที่อยู่ในที่เช่าระยะยาวในลาวและในพม่า มีเนื้อที่เท่าๆ กับ
เนื้อที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย กล่าวคือ ขณะนี้เนื้อที่ปลูกยางพาราในจีน ลาว และพม่า มีรวมกัน
ถึง 12 ล้านไร่ ในขณะที่เนื้อที่สวนยางของไทยที่ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคอีสาน และภาคเหนือ มี
ประมาณ 12 ล้านไร่
เมื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มอิ่มตัว จีนก็สามารถผลิตยางพาราได้เท่าๆ กับไทย เพื่อป้อน
โรงงานทำยางรถยนต์แข่งกับการทำยางเทียมหรือยางสังเคราะห์ที่ทำจากน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมัน
ปิโตรเลียมพังทลายลง ราคายางพาราจึงมีอันพังทลายลงมาด้วยกันอย่างไม่มีทางเลือก
ราคาสินค้าโภคภัณท์ ราคาสินค้าเกษตรเกือบทั้งหมด ทุกตัวถูกกำหนดโดยราคาตลาดโลกซึ่งเป็นไป
ตามกลไกตลาด อุปสงค์และอุปทาน หรือความต้องการของตลาดและปริมาณการผลิต ดังนั้นไม่น่าจะ
มีมาตรการหรือวิธีการใดที่จะทำให้ราคายางพาราในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย
มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ในประเทศจีนซึ่งมีตลาดยานยนต์และยางรถยนต์ภายในประเทศของ
ตนเองมีราคาสูงกว่าราคาตลาดโลกได้ ซึ่งหากจะทำเช่นนั้น จีนต้องห้ามการนำยางแผ่นเข้าประเทศจีน
ซึ่งจีนก็คงไม่ทำเพราะคงจะผิดกฎขององค์กรการค้าโลก
แต่สำหรับประเทศส่งออกจะทำอะไรเพื่อให้ราคาตลาดภายในประเทศสูงขึ้นจากราคาตลาดโลกหักด้วย
ค่าขนส่งได้ยาก หากจะจัดตั้งมูลภัณฑ์กันชนหรือ buffer stock โดยทางการออกมารับซื้อราคาสูงกว่า
ราคาตลาด ก็จะเท่ากับเป็นการชดเชยผู้ที่มียางอยู่ในสต๊อกซึ่งอาจจะไม่ใช่ชาวสวนยางก็ได้ ส่วนราคา
ตลาดก็ยังอยู่ที่ราคาตลาดโลกอยู่ตามเดิม
เวลาราคาสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา น้ำตาล หรือมันสำปะหลัง เมื่อรัฐบาลจะต้องเข้า
แทรกแซง เพื่อพยุงราคาโดยหวังผลจริงๆ หรือหวังผลทางการเมือง ก็มักจะมีข้อเสนอให้มีการแปรรูป
สินค้าเกษตรนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าเสียก่อนที่จะส่งออก
เช่น ข้าวก็มักจะมีข้อเสนอว่า ควรจะนำข้าวมาแปรรูปเป็นเส้นหมี่หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว หรือแผ่นป่อเปี๊ยะ
หรืออื่นๆ ก่อนส่งออก ถ้าเป็นน้ำตาลราคาตกต่ำ ก็มักจะมีข่าวเสนอให้นำน้ำตาลไปผลิตเป็นลูกอม
ทอฟฟี่ หรืออื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าก่อนส่งออก เป็นต้น ซึ่งทำไม่ได้ถ้าสินค้านั้นไม่มีตลาดรองรับ
ยางพาราก็เหมือนกัน มักจะมีข้อเสนอทำนองเดียวกันว่า แทนที่จะส่งยางแผ่นออกเป็นวัตถุดิบ ก็ควรจะ
พัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ยางพาราภายในประเทศเสียก่อนเพื่อเพิ่มมูลค่า หรือไม่ก็หาหนทางอื่นๆ ที่จะใช้
ข้อเสนอเหล่านี้ฟังดูก็ดี ทำให้ชาวสวนยางใจชื้นขึ้นบ้างในยามที่ราคายางตกต่ำ ในความที่บรรยากาศหดหู่
ไม่คึกคัก แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยางและอื่นๆ ก็ผลิตกัน
เต็มที่ตามที่ตลาดจะรับได้แล้ว ถ้าต้องผลิตมากเกินกว่านี้ ราคาสินค้าชนิดนั้นก็จะลดลงเพราะจะมีถุงมือยาง
ล้นตลาด เป็นต้น
เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายมีข้อจำกัดทางการเมือง ข้อเสนอจึงมักจะมุ่งไปในทิศทางที่จะหาทางเพิ่มปริมาณ
การขายหรือเพิ่มความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ได้อยู่ในอำนาจของตนที่จะทำได้ สิ่งที่ทำได้คือนโยบายการ
ผลิตทั้งในระยะปานกลางและระยะยาว
ทางที่ถูกก็ต้องดูในระยะยาวว่าอนาคตของสินค้าเกษตรตัวนั้นจะเป็นอย่างไร ในกรณียางพารานั้นอนาคต
น่าเป็นห่วง เพราะจีนซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเรามีนโยบายผลิตยางพาราเองในประเทศเพื่อทดแทน
การนำเข้าจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆ การที่เราจะเข้าไปแข่งขันในตลาดจีนก็ต้องผลิตยางพาราที่
สวนของเราให้มีราคาต้นทุนต่ำกว่าจีน ซึ่งก็คงเป็นไปได้ยาก
ถ้าเหตุการณ์ข้างหน้าเป็นอย่างนั้น นโยบายที่ถูกต้องก็คือ นโยบายลดจำนวนพื้นที่สวนยางลง ลดการผลิต
ยางพาราลง ซึ่งเป็นนโยบายที่ทำได้ยากในแง่การเมือง
แต่อย่างไรเสีย อนาคตของยางพาราไทยคงไม่สดใสอย่างที่เคยคิดไว้เมื่อ 10 กว่าปีก่อนแล้ว
จะทำอย่างไรก็ต้องตัดสินใจเสียแต่บัดนี้
(ที่มา:มติชนรายวัน 18 ธ.ค.2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1418891886