พิพากษาสมยศ'
Thu, 2013-01-24 00:58
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กังวลไทยเสื่อมถอยด้านคุ้มครองสิทธิ สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้คำตัดสินคดี ขยายความรับผิดชอบ บก.ไปถึงเนื้อหาของผู้อื่น องค์กรสิทธิสากล-ไทย ร่วมประณาม เตือนไทยห่างไกล 'การปรองดองแห่งชาติ'
(23 ม.ค.56) ต่อกรณีศาลอาญาพิพากษาให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin มีความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งมีบทความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลงโทษจำคุก 10 ปี จากความผิด 2 กรรม บวกกับโทษเดิมเมื่อปี 2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี
องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรในประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อคำตัดสินในวันนี้ ดังนี้
นางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อคำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเสริมว่า นี่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
"คำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อสมยศส่งสัญญาณที่ผิดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย คำพิพากษาของศาลเป็นตัวชี้วัดล่าสุดของแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอย่างการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง"
"ฉันยินดีและสนับสนุนความพยายามของสมาชิกรัฐสภาและนักวิชาการบางคนที่เสนอการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสื่อถึงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมาย"
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลต่อระยะเวลาที่สมยศถูกควบคุมตัว โดยถูกปฏิเสธการขอประกันตัวถึง 12 ครั้ง โดยระบุว่า "ฉันกังวลใจเมื่อสมยศไม่ได้รับการประกันตัว และหลายครั้งที่ปรากฏตัวในศาลโดยถูกใส่โซ่ตรวน ราวกับเขาเป็นอาชญากรร้ายแรง" เธอบอกว่าและว่า "ผู้ที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกไม่ควรถูกลงโทษตั้งแต่แรกแล้ว"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.55 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ได้สรุปว่า การจับกุมตัวสมยศเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อปล่อยสมยศและชดเชยค่าเสียหายต่อสมยศ เพื่อให้เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน
"นักกิจกรรม นักข่าว และนักวิชาการ มีบทบาทที่มีพลวัตในการสนับสนุนวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย" พิลเลย์กล่าวและว่า "นี่สะท้อนให้เห็นสังคมไทยในเชิงบวก แต่กรณีของคดีสมยศนั้นเสี่ยงต่อการสวนทางกับความก้าวหน้าที่ประเทศไทยสร้างมา"
'ซีป้า' ชี้คำตัดสินคดี ขยายความรับผิดชอบ บก.ไปถึงเนื้อหาของผู้อื่น
ด้านแถลงการณ์ของสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ชี้ว่า คำตัดสินคดีนี้ได้ขยายความรับผิดชอบของบรรณาธิการไปถึงเนื้อหาที่ตีพิมพ์ หากเนื้อหานั้นละเมิดประมวลกฎหมายอาญา
การลงโทษสำหรับความรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่คนอื่นเขียนนี้คล้ายกับคำตัดสินที่จีรนุช เปรมชัยพร ได้รับเมื่อพฤษภาคม 2555 ในความผิดฐาน ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 โดยเธอได้รับโทษรอลงอาญาสองปี จากการนำข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกจากเว็บบอร์ด "ไม่เร็วพอ"
และแม้ทนายของสมยศจะต่อสู้ว่าตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้กำหนดให้บรรณาธิการต้องรับผิดชอบกับบทความที่ผู้อื่นเขียน แต่ศาลก็ชี้ว่าเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เขาพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะที่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้เขียนบทความ ซึ่งสมยศได้ให้การต่อศาลว่าคือจักรภพ เพ็ญแข แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ศาลยังระบุว่า แม้ไม่มีการกล่าวถึงพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบทความ แต่เนื้อหาก็สามารถทำให้เข้าใจได้ว่ากล่าวถึงพระองค์ ซึ่งกรณีนี้ SEAPA ชี้ว่าคล้ายกับคำพิพากษาคดีของยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งถูกตัดสินจำคุกสองปีจากการปราศรัยเมื่อปี 2553 โดยบทความในนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ศาลได้ตัดสินว่า แม้จำเลยจะไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง แต่คำปราศรัยดังกล่าวไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้
กายาทรี เวนกิท สวารัน ผู้อำนวยการสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ระบุว่า โทษที่สมยศได้รับ "ไม่ได้สัดส่วน" ทั้งที่สมยศไม่ได้เป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว
การให้ความรับผิดชอบไปอยู่ที่บรรณาธิการ ขับเน้นให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ ที่มีปัญหา ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่งก็ได้ชี้ให้เห็นแล้ว
องค์กรสิทธิสากล-ไทย ร่วมประณาม ชี้ไทยห่างไกล 'การปรองดองแห่งชาติ'
สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights: FIDH) และองค์การสากลว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (World Organisation Against Torture: OMCT) ภายใต้การทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน (สสส.) ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อคำตัดสินคดีต่อ สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมแรงงาน
"คำตัดสินวันนี้ไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน การคงไว้ซึ่งกฎหมายเผด็จการและใช้กฎหมายนี้อย่างต่อเนื่อง นำประเทศไทยไปไกลจากการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนการเคารพเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าว
"แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศและปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ จากทั้งพลเมืองไทย ภาคประชาสังคม และสหประชาชาติ หลายครั้ง แต่ประเทศไทยก็ตัดสินใจออกห่างจากมาตรฐานระหว่างประเทศในการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น ทำตัวแปลกแยกจากสังคมประชาธิปไตย" ซิวเฮร์ เบลฮัสสัน ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล ระบุ
"การตั้งข้อกล่าวหาทางอาญากับการเสียดสีทางการเมืองก็แย่พอแล้ว แต่การดำเนินคดีกับบรรณาธิการที่ไม่ได้เขียนงานนั้นๆ ทำให้การละเมิดถูกยกระดับขึ้นไปอีก" เจอราด สเตเบอร็อก เลขาธิการองค์การสากลว่าด้วยการต่อต้านการทรมานระบุและว่า "เราเรียกร้องต่อทางการไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ซึ่งพบว่า การควบคุมตัวสมยศ ขัดต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ การกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์และการปล่อยตัวสมยศในทันที จะแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ถึงคำมั่นสัญญาที่ไทยเคยประกาศบ่อยครั้ง เกี่ยวกับหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน"
http://prachatai.com/journal/2013/01/44860
พิพากษาสมยศ'
Thu, 2013-01-24 00:58
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กังวลไทยเสื่อมถอยด้านคุ้มครองสิทธิ สมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้คำตัดสินคดี ขยายความรับผิดชอบ บก.ไปถึงเนื้อหาของผู้อื่น องค์กรสิทธิสากล-ไทย ร่วมประณาม เตือนไทยห่างไกล 'การปรองดองแห่งชาติ'
(23 ม.ค.56) ต่อกรณีศาลอาญาพิพากษาให้สมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin มีความผิดตามมาตรา 112 ด้วยการจัดพิมพ์ จัดจำหน่ายและเผยแพร่นิตยสารเสียงทักษิณ (Voice of Taksin) ซึ่งมีบทความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลงโทษจำคุก 10 ปี จากความผิด 2 กรรม บวกกับโทษเดิมเมื่อปี 2552 คดีหมิ่นประมาท พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ที่รอลงอาญาไว้อีก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 11 ปี
องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงองค์กรในประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเห็นต่อคำตัดสินในวันนี้ ดังนี้
นางนาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อคำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อสมยศ พฤกษาเกษมสุข และเสริมว่า นี่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
"คำตัดสินและการลงโทษที่รุนแรงอย่างที่สุดต่อสมยศส่งสัญญาณที่ผิดต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเทศไทย คำพิพากษาของศาลเป็นตัวชี้วัดล่าสุดของแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงอย่างการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง"
"ฉันยินดีและสนับสนุนความพยายามของสมาชิกรัฐสภาและนักวิชาการบางคนที่เสนอการแก้ไขมาตรา 112 เพื่อสื่อถึงความกังวลต่อการบังคับใช้กฎหมาย"
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลต่อระยะเวลาที่สมยศถูกควบคุมตัว โดยถูกปฏิเสธการขอประกันตัวถึง 12 ครั้ง โดยระบุว่า "ฉันกังวลใจเมื่อสมยศไม่ได้รับการประกันตัว และหลายครั้งที่ปรากฏตัวในศาลโดยถูกใส่โซ่ตรวน ราวกับเขาเป็นอาชญากรร้ายแรง" เธอบอกว่าและว่า "ผู้ที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกไม่ควรถูกลงโทษตั้งแต่แรกแล้ว"
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ส.ค.55 คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ได้สรุปว่า การจับกุมตัวสมยศเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อปล่อยสมยศและชดเชยค่าเสียหายต่อสมยศ เพื่อให้เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน
"นักกิจกรรม นักข่าว และนักวิชาการ มีบทบาทที่มีพลวัตในการสนับสนุนวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย" พิลเลย์กล่าวและว่า "นี่สะท้อนให้เห็นสังคมไทยในเชิงบวก แต่กรณีของคดีสมยศนั้นเสี่ยงต่อการสวนทางกับความก้าวหน้าที่ประเทศไทยสร้างมา"
'ซีป้า' ชี้คำตัดสินคดี ขยายความรับผิดชอบ บก.ไปถึงเนื้อหาของผู้อื่น
ด้านแถลงการณ์ของสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ชี้ว่า คำตัดสินคดีนี้ได้ขยายความรับผิดชอบของบรรณาธิการไปถึงเนื้อหาที่ตีพิมพ์ หากเนื้อหานั้นละเมิดประมวลกฎหมายอาญา
การลงโทษสำหรับความรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่คนอื่นเขียนนี้คล้ายกับคำตัดสินที่จีรนุช เปรมชัยพร ได้รับเมื่อพฤษภาคม 2555 ในความผิดฐาน ฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 โดยเธอได้รับโทษรอลงอาญาสองปี จากการนำข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกจากเว็บบอร์ด "ไม่เร็วพอ"
และแม้ทนายของสมยศจะต่อสู้ว่าตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้กำหนดให้บรรณาธิการต้องรับผิดชอบกับบทความที่ผู้อื่นเขียน แต่ศาลก็ชี้ว่าเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เขาพ้นจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะที่ไม่มีการดำเนินคดีกับผู้เขียนบทความ ซึ่งสมยศได้ให้การต่อศาลว่าคือจักรภพ เพ็ญแข แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ศาลยังระบุว่า แม้ไม่มีการกล่าวถึงพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบทความ แต่เนื้อหาก็สามารถทำให้เข้าใจได้ว่ากล่าวถึงพระองค์ ซึ่งกรณีนี้ SEAPA ชี้ว่าคล้ายกับคำพิพากษาคดีของยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งถูกตัดสินจำคุกสองปีจากการปราศรัยเมื่อปี 2553 โดยบทความในนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า ศาลได้ตัดสินว่า แม้จำเลยจะไม่ได้กล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง แต่คำปราศรัยดังกล่าวไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้
กายาทรี เวนกิท สวารัน ผู้อำนวยการสมาพันธ์ผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ระบุว่า โทษที่สมยศได้รับ "ไม่ได้สัดส่วน" ทั้งที่สมยศไม่ได้เป็นผู้เขียนบทความดังกล่าว
การให้ความรับผิดชอบไปอยู่ที่บรรณาธิการ ขับเน้นให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นฯ ที่มีปัญหา ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่งก็ได้ชี้ให้เห็นแล้ว
องค์กรสิทธิสากล-ไทย ร่วมประณาม ชี้ไทยห่างไกล 'การปรองดองแห่งชาติ'
สหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights: FIDH) และองค์การสากลว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน (World Organisation Against Torture: OMCT) ภายใต้การทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน (สสส.) ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ประณามอย่างรุนแรงต่อคำตัดสินคดีต่อ สมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมแรงงาน
"คำตัดสินวันนี้ไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน การคงไว้ซึ่งกฎหมายเผด็จการและใช้กฎหมายนี้อย่างต่อเนื่อง นำประเทศไทยไปไกลจากการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนการเคารพเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน" แดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน กล่าว
"แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศและปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ จากทั้งพลเมืองไทย ภาคประชาสังคม และสหประชาชาติ หลายครั้ง แต่ประเทศไทยก็ตัดสินใจออกห่างจากมาตรฐานระหว่างประเทศในการปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็น ทำตัวแปลกแยกจากสังคมประชาธิปไตย" ซิวเฮร์ เบลฮัสสัน ประธานสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล ระบุ
"การตั้งข้อกล่าวหาทางอาญากับการเสียดสีทางการเมืองก็แย่พอแล้ว แต่การดำเนินคดีกับบรรณาธิการที่ไม่ได้เขียนงานนั้นๆ ทำให้การละเมิดถูกยกระดับขึ้นไปอีก" เจอราด สเตเบอร็อก เลขาธิการองค์การสากลว่าด้วยการต่อต้านการทรมานระบุและว่า "เราเรียกร้องต่อทางการไทยปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ ซึ่งพบว่า การควบคุมตัวสมยศ ขัดต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวสมยศ การกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์และการปล่อยตัวสมยศในทันที จะแสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ถึงคำมั่นสัญญาที่ไทยเคยประกาศบ่อยครั้ง เกี่ยวกับหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน"
http://prachatai.com/journal/2013/01/44860