ก้าวล่วงศาลทหารไทย! UN ประณามคำพิพากษาระวางโทษหนักผู้ต้องหาหมิ่นสถาบัน

กระทู้สนทนา


รอยเตอร์/เอเอฟพี - สหประชาชาติในวันอังคาร (11 ส.ค.) ประณามคำพิพากษาระวางโทษยาวนานอย่างน่าตกใจของศาลทหารไทยที่กำหนดต่อผู้ถูกตัดสิน ว่า มีความผิดฐานหมิ่นสถาบัน พร้อมเรียกร้องทางการปรับแก้กฎหมายและปล่อยตัวผู้ต้องโทษเหล่านั้น
       
       เมื่อวันศุกร์ (7 ส.ค.) ศาลทหารไทยสั่งลงโทษจำคุกผู้ต้องหา 2 คน ในฐานความผิดล่วงละเมิดสถาบันพระมหากษัตริย์ คนหนึ่ง 30 ปี และอีกคน 28 ปี ถือเป็นการลงระวางโทษหนักหน่วงที่สุดสำหรับข้อหานี้ในประวัติศาสตร์ของประเทศ รอยเตอร์อ้างคำกล่าวของเหล่าทนายความและกลุ่มเฝ้าระวังทางกฎหมาย
       
       สหประชาชาติระบุว่า นายพงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง อายุ 48 ปี ถูกพิพากษาจำคุก 60 ปี ในฐานความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 6 กรรม จากการโพสต์เฟซบุ๊คระหว่างปี 2013 ถึง 2014 แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี ส่วน นางศศิวิมล ปฐมวงษ์ฟ้างาม อายุ 34 ปี ถูกพิพากษาจำคุก 56 ปี แต่ศาลลดโทษให้ครึ่งหนึ่ง หลังรับสารภาพโพสต์เฟซบุ๊คดูหมิ่นสถาบัน 7 กรรม
       
       ราวินา แชมดาซานิ โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แถลงว่า “เราตกใจต่อคำพิพากษาระวางโทษจำคุกที่น่าช็อกและไม่สมเหตุสมผลต่อคดีล่วงละเมิดสถาบันในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา”
       
       “นี่เป็นบทลงโทษหนักหน่วงที่สุดที่เราเคยบันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2006 ครั้งที่เราเริ่มบักทึกคดีของบุคคลต่างๆที่ถูกดำเนินคดีฐานล่วงละเมิดสถาบัน จากการใช้สิทธิในการแสดงออก” โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุ
       
       โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประณามด้วยว่าศาลทหารล้มเหลวในการดำเนินการตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในนั้นรวมถึงสิทธิในการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม” เธอกล่าว พร้อมระบุว่า การพิจารณาคดีโดยทั่วไปไม่ได้ใกล้เคียงกับการพินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดเลย
       
       แชมดาซานิ บอกว่า มีการดำเนินคดีตามข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสถาบันเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะหลัง โดยมากกว่า 40 คดีเกิดขึ้นนับตั้งแต่ทหารเข้ายึดอำนาจจากการรัฐประหารในเดือนพฤษภาคม 2014 “คดีส่วนใหญ่ พวกเขามักถูกปฏิเสธประกันตัว ดังนั้น พวกเขาจึงถูกควบคุมตัวยาวนานขึ้น และแน่นอนว่ามีแรงกดดันมหาศาลให้พวกเขาต้องยอมรับสารภาพ”
       
       เธอบอกต่อว่า “เมื่อพวกเขายอมรับสารภาพ ก็จะทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ หากคุณยอมรับสารภาพ ถูกพิพากษาว่ามีความผิดและลงโทษ คุณก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้อีก” โฆษกรายนี้ระบุ
       
       “ทางเลือกเดียวคือขอพระราชทานอภัยโทษจากกษัตริย์ ดังนั้น ในข้อเท็จจริงนี้ เราเรียกร้องให้พวกเขาได้รับการอภัยโทษ และสำหรับประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการที่พวกเขาใช้สิทธิ์แสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพควรได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข” โฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าว “รัฐบาลควรแก้ไขกฎหมายละเมิดสถาบันที่คลุมเครือและกว้างเกินไป ทำมันให้อยู่ในกรอบมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ”

ที่มา http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000091092

อยากเรียนถามท่านผู้รู้ทางกฎหมายในห้องศาลาฯทั้งหลาย ว่าปกติแล้ว UN มีสิทธิเข้ามาแสดงความคิดเห็น หรือประณามกฎหมายของชาติสมาชิกด้วยหรือ

บางประเทศผู้หญิงที่ถูกข่มขืนต้องถูกรุมปาหินจนตาย บางประเทศลักเล็กขโมยน้อยต้องโดนตัดมือ บางประเทศถ้าพูดนินทาผู้นำต้องถูกประหารหรือส่งเข้าค่ายกักกันทั้งตระกูล บางประเทศโพสเฟสบุ๊กต้องถูกจำคุก แล้ว UN จะมีสิทธิ์มายุ่งอะไรด้วย ในเมื่อแต่ละประเทศก็มีธรรมเนียมปฏิบัติ และความจำเป็นต่างกันไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่