คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12 โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร มติชน 20 มกราคม 2556
เมื่อ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ,น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร,นายภูมิธรรม เวชยชัย
ประสานเสียง "ยุทธศาสตร์" "ไร้รอยต่อระหว่างรัฐบาลกับกทม."
ถ้าเปรียบเป็นผ้า ก็เป็นผ้า "ไร้ตะเข็บ"
ด้วยเหตุผลว่า
"ถ้าผู้ว่าฯกทม.ไม่ใช่นักประสานสิบทิศ ไม่สามารถเชื่อมตรงกับรัฐบาลได้ดี
ก็จะทำงานได้ยากลำบาก"
"ถ้าหาก กทม.และรัฐบาลกลางพูดคนละเพลง ร้องเพลงไปคนละทาง
ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นมาก ไม่สามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้คน กทม.ได้"
จะเห็นว่า "ยุทธศาสตร์ไร้รอยต่อระหว่างพงศพัศ-
ยิ่งลักษณ์" นอกจากจะเป็นจุดแข็ง ที่เพื่อไทยหยิบมาขายแล้ว
ยังถือเป็นการ "ขยายจุดอ่อน" ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไปพร้อมๆ กันด้วย
เพราะที่ผ่านมา สังคมจับต้องได้ถึงความไม่ราบรื่นในการทำงานของรัฐบาล
กับ กทม. ค่อนข้างชัดเจน หลายกรณี
ทำให้มีคนไม่น้อย "ขานรับ" จุดขายนี้
จึงไม่แปลกที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
จะต้องรีบออกมาหักล้าง
หักล้างด้วยการบอกว่า "...ถ้าจะเอาผู้ว่าฯกทม. ที่เชื่อฟังรัฐบาลอย่างเดียว
รัฐบาลสั่งซ้ายหันขวาหัน ไม่มีรอยต่อนั้น คิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์กับคน
กรุงเทพฯ แนวคิดของพรรคเพื่อไทย ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงคือ เลือก
พงศพัศ ทำงานไร้รอยต่อนั้น ผมนึกถึงรอยต่อตอนน้ำท่วม ถ้าเกิดตอนนั้น
ไร้รอยต่อ กรุงเทพฯชั้นในคงจมน้ำเหมือนข้างนอก"
และว่า
"เป็นความพยายามที่จะให้คนมองข้าม หรือไขว้เขวทำนองว่าการทำงาน
ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นทีมเดียวกัน ความจริงแล้วถ้าฉุกคิดว่า ถ้า
เป็นอย่างนั้นคงไม่ให้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ให้รัฐบาลแต่งตั้งไปเลย"
แม้จะมีลีลาแบบโต้วาทีตามที่ถนัดมากไปนิด
แต่ถือว่าอยู่ในกรอบพอรับได้
เพราะถือเป็นการเสนอให้คน กทม.เลือกว่าจะเอาอย่างไรกับผู้ว่าฯแบบ
"ไร้รอยต่อ" หรือ มีรอยต่อเพื่อคอยถ่วงดุล
ซึ่งว่าที่จริงแล้ว ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้ ยังอยากเห็นพรรคเพื่อไทย กับ
พรรคประชาธิปัตย์ สู้กันในเรื่องนโยบายให้ถึงพริกถึงขิงด้วย
เพื่อคนกรุงเทพฯจะได้ "ชั่งตวงน้ำหนัก" แห่งเหตุและผลว่าจะเลือกใคร
ที่ขับเน้นเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะไม่ค่อยสบายใจกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
หลังผู้สมัครทั้งสองฝ่ายเปิดตัวลงสมัคร
พล.ต.อ.พงศพัศ ถูกเตะตัดขา ด้วยข้อหา ขโมยวิทยุ เปลี่ยนชื่อ และบิ๊กขี้หลี
ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว ที่เจ้าตัวฉับไวด้วยการยื่นเอกสารปฏิเสธอย่าง
เป็นทางการ ให้กรรมการการเลือกตั้ง กทม.ตรวจสอบ
ทำให้ได้เกราะคุ้มกันจากมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นด้วย
ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ถูกเตะตัดขา จากกลไกของรัฐบาลคือดีเอสไอ
นอกจากเรื่องการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว ยังมีการตั้งแท่นข้อ
หาใหม่เรื่องบริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกต้อง พร้อมกับ
44 ส.ส.ประชาธิปัตย์
แม้ดีเอสไอจะบอกว่าทำตามหน้าที่ปกติ
แต่ก็ดู "ทะ
ๆ"
จึงดีแล้วที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ สั่งให้เลื่อนเรื่องนี้ออกไป
จนกว่าการเลือกตั้ง กทม.จะเสร็จสิ้น
เพราะหากยังเดินหน้าต่อไป ถูกมองว่า มีเบื้องหลังแน่ๆ
ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยแน่นอน
สรุปว่า ไม่ว่าใครจะเตะตัดขาใครก็ไม่ดีทั้งนั้น
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม ศึกชิงผู้ว่าฯกทม.จะเข้าโหมด "ทางการ" แล้ว
สู้กันทางนโยบายดีสุด ส่วนเรื่องตุกติกอื่น เพลาลงดีกว่า
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358689229&grpid=&catid=02&subcatid=0200
บทความแบบนี้ จะเป็น "มติชน" ของเพื่อน หรือ "มติชิน"
ของคุณร้อนหนาว และมิตรสหาย ของคุณเธอ
สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร : มีรอยต่อ หรือไร้รอยต่อ ......มติชนออนไลน์
เมื่อ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ,น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร,นายภูมิธรรม เวชยชัย
ประสานเสียง "ยุทธศาสตร์" "ไร้รอยต่อระหว่างรัฐบาลกับกทม."
ถ้าเปรียบเป็นผ้า ก็เป็นผ้า "ไร้ตะเข็บ"
ด้วยเหตุผลว่า
"ถ้าผู้ว่าฯกทม.ไม่ใช่นักประสานสิบทิศ ไม่สามารถเชื่อมตรงกับรัฐบาลได้ดี
ก็จะทำงานได้ยากลำบาก"
"ถ้าหาก กทม.และรัฐบาลกลางพูดคนละเพลง ร้องเพลงไปคนละทาง
ปัญหาต่างๆ จะเกิดขึ้นมาก ไม่สามารถอำนวยประโยชน์สูงสุดให้คน กทม.ได้"
จะเห็นว่า "ยุทธศาสตร์ไร้รอยต่อระหว่างพงศพัศ-
ยิ่งลักษณ์" นอกจากจะเป็นจุดแข็ง ที่เพื่อไทยหยิบมาขายแล้ว
ยังถือเป็นการ "ขยายจุดอ่อน" ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ไปพร้อมๆ กันด้วย
เพราะที่ผ่านมา สังคมจับต้องได้ถึงความไม่ราบรื่นในการทำงานของรัฐบาล
กับ กทม. ค่อนข้างชัดเจน หลายกรณี
ทำให้มีคนไม่น้อย "ขานรับ" จุดขายนี้
จึงไม่แปลกที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
จะต้องรีบออกมาหักล้าง
หักล้างด้วยการบอกว่า "...ถ้าจะเอาผู้ว่าฯกทม. ที่เชื่อฟังรัฐบาลอย่างเดียว
รัฐบาลสั่งซ้ายหันขวาหัน ไม่มีรอยต่อนั้น คิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์กับคน
กรุงเทพฯ แนวคิดของพรรคเพื่อไทย ที่ใช้ในการรณรงค์หาเสียงคือ เลือก
พงศพัศ ทำงานไร้รอยต่อนั้น ผมนึกถึงรอยต่อตอนน้ำท่วม ถ้าเกิดตอนนั้น
ไร้รอยต่อ กรุงเทพฯชั้นในคงจมน้ำเหมือนข้างนอก"
และว่า
"เป็นความพยายามที่จะให้คนมองข้าม หรือไขว้เขวทำนองว่าการทำงาน
ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ต้องเป็นทีมเดียวกัน ความจริงแล้วถ้าฉุกคิดว่า ถ้า
เป็นอย่างนั้นคงไม่ให้เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ให้รัฐบาลแต่งตั้งไปเลย"
แม้จะมีลีลาแบบโต้วาทีตามที่ถนัดมากไปนิด
แต่ถือว่าอยู่ในกรอบพอรับได้
เพราะถือเป็นการเสนอให้คน กทม.เลือกว่าจะเอาอย่างไรกับผู้ว่าฯแบบ
"ไร้รอยต่อ" หรือ มีรอยต่อเพื่อคอยถ่วงดุล
ซึ่งว่าที่จริงแล้ว ไม่ใช่เฉพาะเรื่องนี้ ยังอยากเห็นพรรคเพื่อไทย กับ
พรรคประชาธิปัตย์ สู้กันในเรื่องนโยบายให้ถึงพริกถึงขิงด้วย
เพื่อคนกรุงเทพฯจะได้ "ชั่งตวงน้ำหนัก" แห่งเหตุและผลว่าจะเลือกใคร
ที่ขับเน้นเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะไม่ค่อยสบายใจกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
หลังผู้สมัครทั้งสองฝ่ายเปิดตัวลงสมัคร
พล.ต.อ.พงศพัศ ถูกเตะตัดขา ด้วยข้อหา ขโมยวิทยุ เปลี่ยนชื่อ และบิ๊กขี้หลี
ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว ที่เจ้าตัวฉับไวด้วยการยื่นเอกสารปฏิเสธอย่าง
เป็นทางการ ให้กรรมการการเลือกตั้ง กทม.ตรวจสอบ
ทำให้ได้เกราะคุ้มกันจากมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นด้วย
ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ถูกเตะตัดขา จากกลไกของรัฐบาลคือดีเอสไอ
นอกจากเรื่องการต่อสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสแล้ว ยังมีการตั้งแท่นข้อ
หาใหม่เรื่องบริจาคเงินเข้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกต้อง พร้อมกับ
44 ส.ส.ประชาธิปัตย์
แม้ดีเอสไอจะบอกว่าทำตามหน้าที่ปกติ
แต่ก็ดู "ทะๆ"
จึงดีแล้วที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ สั่งให้เลื่อนเรื่องนี้ออกไป
จนกว่าการเลือกตั้ง กทม.จะเสร็จสิ้น
เพราะหากยังเดินหน้าต่อไป ถูกมองว่า มีเบื้องหลังแน่ๆ
ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยแน่นอน
สรุปว่า ไม่ว่าใครจะเตะตัดขาใครก็ไม่ดีทั้งนั้น
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม ศึกชิงผู้ว่าฯกทม.จะเข้าโหมด "ทางการ" แล้ว
สู้กันทางนโยบายดีสุด ส่วนเรื่องตุกติกอื่น เพลาลงดีกว่า
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358689229&grpid=&catid=02&subcatid=0200
บทความแบบนี้ จะเป็น "มติชน" ของเพื่อน หรือ "มติชิน"
ของคุณร้อนหนาว และมิตรสหาย ของคุณเธอ