วันที่ 18 ธ.ค. นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้ร่วมสนทนาในรายการ คนเคาะข่าว ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ถึงประเด็นการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
นายคมสันกล่าวว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคือการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับควรทำประชามติ แต่เงื่อนไขการทำประชามติครั้งนี้ไม่ได้เปิดช่องให้ทำประชามติได้ เพราะโดยหลักการคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ที่ศาลได้วินิจฉัยออกมา 4 ประเด็น โดยประเด็นที่ 2 บอกว่า การแก้มาตรา 291 ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ถูกต้องคือควรไปทำประชามติ หรือแก้เป็นรายมาตรา
จะพบว่าศาลวินิจฉัยตามมาตรา 216 ฉะนั้นเป็นคำวินิจฉัยไม่ใช่แค่คำแนะนำอย่างที่อ้างกัน จึงมีผลผูกพันทุกองค์กร และทำให้การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 2 มาแล้ว ที่ศาลบอกว่ามีสาระทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทังฉบับ ขัดรัฐธรรมนูญ แสดงว่า วาระ 1 และ 2 ตกไปแล้ว ไม่ต้องพิจารณาต่อวาระ 3 เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะไม่บอกว่ากฎหมายตกหรือไม่ตก ดังนั้น การไปทำประชามติซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะนำไปสู่การลงมติวาระ 3 ซึ่งถือว่าการลงประชามตินั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะกำลังออกเสียงประชามติประกอบกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งทำไม่ได้
นายคมสันกล่าวต่อว่า ที่นี้กลับไปดูมาตรา 165 วรรค 4 บอกว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้ หมายความว่า ศาลชี้แล้วว่ากระบวนการที่ทำมามันขัดเจตนารมณ์มาตรา 291 ฉะนั้นเอาเรื่องมติเห็นชอบไม่เห็นชอบไปลงประชามติมันก็ทำด้อีก
สรุปคือ ประชามติทำไม่ได้เนื่องจากขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และขัดมาตรา 165 ด้วย ฉะนั้น จริงๆ แล้วคือเขาจะจัดลงประชามติในเรื่องของการล้มหรือเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรา 291 และข้อเท็จจริงทางกฎหมายวาระ 3 ก็ลงไม่ได้ด้วยเพราะมันตกไปแล้วตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายคมสันระบุ
นายคมสันกล่าวอีกว่า สำคัญตรงที่ว่า โดยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เรื่องที่จะมาลงประชามติได้ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลวินิจฉัยแล้วว่าลงวาระ 3 ทำให้เป็นการยกเลิกทั้งฉบับจะทำไม่ได้ อีกทั้งมาตรา 165 ไม่มีการให้ทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำประชามติในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทำงานของฝ่ายบริหาร ดังนั้นมันก็ถูกเงื่อนไขหลายล็อกเลย
และปัญหาอยู่ที่ว่า ก่อนนี้ศาลยังไม่ชี้ว่าเข้าข่ายมาตรา 168 หรือไม่ แต่ตอนนี้ในเมื่อบอกว่าขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแล้วยังทำอีก ฉะนั้นจะถือว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แล้วครั้งนี้มีการกระทำแล้ว ความผิดสมบูรณ์แล้ว
ด้านนายไพบูลย์กล่าวว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลเลย คือ การยกร่างใหม่ทั้งฉบับนั้นไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา 291 แสดงว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ที่รัฐบาลจำเป็นดำเนินต่อเพราะตอนนี้กลับหลังไม่ได้แล้ว เขาเลยลองเสี่ยงดูโดยไม่ใช้เงินตัวเองด้วยแต่ใช้เงินของประเทศ 2,000 ล้านบาท และยังเป็นโอกาสที่จะได้พูดจากับมวลชนด้วย เขาคาดว่าเสียงที่จะยอมรับประชามติไม่ถึง 23 ล้านเสียง แต่หวังจะไปอ้างว่าคนเห็นด้วยเยอะกว่าคนต้าน
มาตรา 6 วรรคท้ายของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ... ระบุว่า ถ้ามีผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เ็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ หรือตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญสามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด รัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าจะแพ้แต่ก็ยังเดินต่อ
ทั้งนี้ การทำประชามติจะมี 3 ขั้นตอนที่ต้องผ่านด่าน คือ หลังประกาศราชกิจจานุเบกษาไปแล้วก็จะมีเรื่องการฟ้องร้องไม่ว่าจะฟ้องไปยังศาลปกครองสูงสุดหรือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ลงประชามติได้หรือไม่ได้ ถ้าผ่านไปได้ก็ต้องผ่านขั้นตอนที่ 2 คือ เสียงข้างมากในการเห็นชอบ กฎหมายเขียนไว้ว่า ต้องมีเสียงผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง แล้วก็ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง เราก็ถือว่าหน้าที่ทำประชามติเพื่อให้เห็นชอบเป็นเรื่องของฝ่ายเห็นชอบที่จะระดมคนออกมาให้ได้ 23 ล้านเสียง ส่วนที่ไม่เห็นด้วย จะมากากบาทว่าไม่เห็นด้วย หรืออยู่ที่บ้านไม่ต้องออกมาก็ได้ โดยตนเลือกวิธีที่ 2 เพราะถือว่าไม่เห็นด้วยอย่างมาก แล้วคิดว่าคนที่ไม่ออกมาใช้สิทธิจะมีเยอะมากด้วย แล้วถ้าลงประชามติแล้วบังเอิญชนะได้ถึง 23 ล้านเสียงก็ยังเจอด่านว่าไม่สามารถเอาผลประชามตินี้ไปใช้กับการลงวาระ 3 ของการแก้รัฐธรรมนูญที่ยังค้างอยู่ เพราะร่างนี้มันเน่าไปแล้ว
ฟังอ.คมสัน โพธิ์คงให้ข้อคิดในการแก้ รัฐธรรมนูญถ้าแบบคมสันบอก แสดงว่า ปู้นๆ
นายคมสันกล่าวว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคือการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับควรทำประชามติ แต่เงื่อนไขการทำประชามติครั้งนี้ไม่ได้เปิดช่องให้ทำประชามติได้ เพราะโดยหลักการคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ที่ศาลได้วินิจฉัยออกมา 4 ประเด็น โดยประเด็นที่ 2 บอกว่า การแก้มาตรา 291 ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ถูกต้องคือควรไปทำประชามติ หรือแก้เป็นรายมาตรา
จะพบว่าศาลวินิจฉัยตามมาตรา 216 ฉะนั้นเป็นคำวินิจฉัยไม่ใช่แค่คำแนะนำอย่างที่อ้างกัน จึงมีผลผูกพันทุกองค์กร และทำให้การดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ 2 มาแล้ว ที่ศาลบอกว่ามีสาระทำให้เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทังฉบับ ขัดรัฐธรรมนูญ แสดงว่า วาระ 1 และ 2 ตกไปแล้ว ไม่ต้องพิจารณาต่อวาระ 3 เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะไม่บอกว่ากฎหมายตกหรือไม่ตก ดังนั้น การไปทำประชามติซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะนำไปสู่การลงมติวาระ 3 ซึ่งถือว่าการลงประชามตินั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะกำลังออกเสียงประชามติประกอบกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งทำไม่ได้
นายคมสันกล่าวต่อว่า ที่นี้กลับไปดูมาตรา 165 วรรค 4 บอกว่า การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้ หมายความว่า ศาลชี้แล้วว่ากระบวนการที่ทำมามันขัดเจตนารมณ์มาตรา 291 ฉะนั้นเอาเรื่องมติเห็นชอบไม่เห็นชอบไปลงประชามติมันก็ทำด้อีก
สรุปคือ ประชามติทำไม่ได้เนื่องจากขัดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และขัดมาตรา 165 ด้วย ฉะนั้น จริงๆ แล้วคือเขาจะจัดลงประชามติในเรื่องของการล้มหรือเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งไม่สอดคล้องกับมาตรา 291 และข้อเท็จจริงทางกฎหมายวาระ 3 ก็ลงไม่ได้ด้วยเพราะมันตกไปแล้วตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายคมสันระบุ
นายคมสันกล่าวอีกว่า สำคัญตรงที่ว่า โดยเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญมาตรา 165 เรื่องที่จะมาลงประชามติได้ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลวินิจฉัยแล้วว่าลงวาระ 3 ทำให้เป็นการยกเลิกทั้งฉบับจะทำไม่ได้ อีกทั้งมาตรา 165 ไม่มีการให้ทำประชามติเรื่องรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการทำประชามติในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับทำงานของฝ่ายบริหาร ดังนั้นมันก็ถูกเงื่อนไขหลายล็อกเลย
และปัญหาอยู่ที่ว่า ก่อนนี้ศาลยังไม่ชี้ว่าเข้าข่ายมาตรา 168 หรือไม่ แต่ตอนนี้ในเมื่อบอกว่าขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแล้วยังทำอีก ฉะนั้นจะถือว่ามีเจตนาล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แล้วครั้งนี้มีการกระทำแล้ว ความผิดสมบูรณ์แล้ว
ด้านนายไพบูลย์กล่าวว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีผลเลย คือ การยกร่างใหม่ทั้งฉบับนั้นไม่สอดคล้องต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา 291 แสดงว่าขัดรัฐธรรมนูญ แต่ที่รัฐบาลจำเป็นดำเนินต่อเพราะตอนนี้กลับหลังไม่ได้แล้ว เขาเลยลองเสี่ยงดูโดยไม่ใช้เงินตัวเองด้วยแต่ใช้เงินของประเทศ 2,000 ล้านบาท และยังเป็นโอกาสที่จะได้พูดจากับมวลชนด้วย เขาคาดว่าเสียงที่จะยอมรับประชามติไม่ถึง 23 ล้านเสียง แต่หวังจะไปอ้างว่าคนเห็นด้วยเยอะกว่าคนต้าน
มาตรา 6 วรรคท้ายของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ... ระบุว่า ถ้ามีผู้มีสิทธิออกเสียงเห็นว่าการให้มีการออกเสียงนั้นไม่เ็นไปตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมายที่บัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ หรือตามเจตนารมณ์ของมาตรา 165 ของรัฐธรรมนูญสามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด รัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าจะแพ้แต่ก็ยังเดินต่อ
ทั้งนี้ การทำประชามติจะมี 3 ขั้นตอนที่ต้องผ่านด่าน คือ หลังประกาศราชกิจจานุเบกษาไปแล้วก็จะมีเรื่องการฟ้องร้องไม่ว่าจะฟ้องไปยังศาลปกครองสูงสุดหรือศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ลงประชามติได้หรือไม่ได้ ถ้าผ่านไปได้ก็ต้องผ่านขั้นตอนที่ 2 คือ เสียงข้างมากในการเห็นชอบ กฎหมายเขียนไว้ว่า ต้องมีเสียงผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง แล้วก็ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาออกเสียง เราก็ถือว่าหน้าที่ทำประชามติเพื่อให้เห็นชอบเป็นเรื่องของฝ่ายเห็นชอบที่จะระดมคนออกมาให้ได้ 23 ล้านเสียง ส่วนที่ไม่เห็นด้วย จะมากากบาทว่าไม่เห็นด้วย หรืออยู่ที่บ้านไม่ต้องออกมาก็ได้ โดยตนเลือกวิธีที่ 2 เพราะถือว่าไม่เห็นด้วยอย่างมาก แล้วคิดว่าคนที่ไม่ออกมาใช้สิทธิจะมีเยอะมากด้วย แล้วถ้าลงประชามติแล้วบังเอิญชนะได้ถึง 23 ล้านเสียงก็ยังเจอด่านว่าไม่สามารถเอาผลประชามตินี้ไปใช้กับการลงวาระ 3 ของการแก้รัฐธรรมนูญที่ยังค้างอยู่ เพราะร่างนี้มันเน่าไปแล้ว