นายชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โพสต์ข้อความทางเฟซบุค หัวข้อ "จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา" เรียกร้องให้ศาลระงับการรื้อถอนอาคาร จนกว่าจะเกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ รวมถึงเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากร ชี้แจงข้อเท็จจริง ประเด็นที่ยังขัดแย้งกันระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร
นอกจากนั้น เนื้อหาในจดหมาย ระบุขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5 ประเด็น กับโฆษกศาลยุติธรรมและอธิบดีกรมศิลปากร กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา โดยมีเนื้อหาดังนี้
"เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร
ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้
1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร
กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง ความชอบธรรม เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด.
หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่?
โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย
2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น โบราณสถาน ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปาก>
อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้
2.1 อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร?
2.2 หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร
2.3 หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น โบราณสถาน (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่?
3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา
ในการชี้แจงของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง.
แต่จากงานวิจัย โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด.
อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง
ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ
5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน.
จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร
สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน
ด้วยความนับถือ
ชาตรี ประกิตนนทการ
21 ธันวาคม พ.ศ. 2555"
ที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356077506&grpid=00&catid=&subcatid=โปรดติดตามว่าท่านโฆษกจะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างไร
เมื่อศาลยุติธรรมกำลังถูกทดสอบ
นอกจากนั้น เนื้อหาในจดหมาย ระบุขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5 ประเด็น กับโฆษกศาลยุติธรรมและอธิบดีกรมศิลปากร กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา โดยมีเนื้อหาดังนี้
"เรียน โฆษกศาลยุติธรรม และ อธิบดีกรมศิลปากร
ตามที่ได้รับฟังคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรตามสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และคำชี้แจงของโฆษกศาลยุติธรรม เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ต่อกรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังดำเนินการอยู่ ณ ปัจจุบัน ผมมีประเด็นที่อยากสอบถามและแลกเปลี่ยนความเห็นใน 5 ข้อดังต่อไปนี้
1. ความชอบธรรมทางกฏหมาย: กรณีความสูงอาคาร 32 เมตร
กฏหมายเรื่องความสูงอาคารที่บังคับใช้ในพื้นที่นี้ ห้ามสร้างอาคารใหม่ที่มีความสูงเกิน 16 เมตรโดยเด็ดขาด กฏหมายนี้ประกาศใช้มาเกือบ 30 ปี และยังคงถูกบังคับใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน. อาคารหน่วยราชการทุกแห่งปฏิบัติตามข้อกฏหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเสมอมา. แต่กลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่กลับได้รับอนุมัติเป็นกรณีพิเศษให้สามารถสร้างได้ถึง 32 เมตร ด้วยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ พ.ศ. 2531. ดังนั้น แม้จะไม่ผิดกฏหมาย (เพราะได้รับอนุมัติพิเศษ) แต่ย่อมเป็นการปฏิบัติที่ขาดซึ่ง ความชอบธรรม เป็นอย่างยิ่ง และที่น่าเสียดายที่สุด คือ เป็นการขอละเว้นกฏหมาย โดยหน่วยงานที่ควรจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัดที่สุด.
หากปล่อยให้มีการสร้างจริง กฏหมายข้อนี้จะยังคงเหลือความศักดิ์สิทธิ์หรือชอบธรรมในการบังคับใช้ต่อไปในอนาคตได้หรือไม่?
โฆษกศาลที่ได้กล่าวถึงความสูง 32 เมตร ที่มาจากการคำนวณความสูงโดยเฉลี่ยของกลุ่มอาคารภายในพระบรมมหาราชวังนั้น อยากเรียนว่า มิใช่ประเด็นที่จะนำมาเป็นเหตุผลในการละเมิดกฏหมายเรื่องความสูงอาคารในพื้นที่ได้. เพราะหากยอมรับในเหตุผลนี้ หน่วยราชการใดจะอ้างอิงบรรทัดฐานจากคำชี้แจงของศาลดังกล่าว ไปใช้ในการก่อสร้างอาคารสูง 32 เมตรในพื้นที่นี้ก็ย่อมทำได้ ใช่หรือไม่? และหากเป็นเช่นนั้นจริง กฏหมายกำหนดความสูง 16 เมตรก็ควรถูกยกเลิกไปเสีย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการบังคับใช้กฏหมาย
2. ความเป็นโบราณสถานของกลุ่มอาคารศาลฎีกา
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกามิได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร. ซึ่งเป็นการชี้แจงที่ถูกต้อง เพราะยังไม่มีอาคารหลังใดในพื้นที่ศาลฎีกาได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถาน. แต่โฆษกศาลมิได้กล่าวถึง จดหมายด่วนที่สุด ที่ วธ. 0403/3323 เรื่อง การก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกาหลังใหม่ ลงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ที่ลงนามโดยอธิบดีกรมศิลปากร และส่งไปถึงประธานศาลฎีกา ณ ขณะนั้น ทีมีใจความสำคัญว่า อาคารส่วนที่ 1 (หลังอนุสาวรีย์) และ อาคารส่วนที่ 2 ฝั่งด้านคลองคูเมืองเดิม (ซึ่งกำลังโดนรื้อถอนอยู่ในขณะนี้) มีลักษณะเป็น โบราณสถาน ตามที่กำหนดในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ดังนั้น ห้ามมีการรื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมศิลปาก>
อีกทั้ง จากคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ตามสื่อต่างๆ อธิบดีก็ยังยืนยันเหมือนข้อความที่ปรากฏในจดหมายที่ส่งไปยังศาลฎีกาเมื่อ พ.ศ. 2552. แต่จากการชี้แจงของโฆษกศาลในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลับยืนยันว่า การรื้อถอนครั้งนี้ได้รับความยินยอมแล้วจากกรมศิลปากร
ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่อยากเรียนถามและร้องขอ จึงมีดังต่อไปนี้
2.1 อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องออกมาชี้แจงให้สาธารณะได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ว่า สรุปแล้วกลุ่มอาคารศาลฎีกาที่กำลังรื้ออยู่ ณ ตอนนี้ เข้าข่ายเป็นโบราณสถานหรือไม่ อย่างไร?
2.2 หากโฆษกศาลยืนยันว่าได้รับความเห็นชอบจากกรมศิลปากรแล้ว อยากเรียกร้องให้ศาลได้เผยแพร่จดหมายอนุญาตจากกรมศิลปากรต่อสาธารณะ เนื่องจาก การอนุญาตจะต้องมีการส่งอย่างเป็นทางการและเป็นลายลักษณ์อักษร
2.3 หาก จดหมายด่วนที่สุด จากอธิบดีกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2552 มิได้มีผลบังคับใช้ตามกฏหมายจริง แสดงว่า นับตั้งแต่นี้ หากในอนาคต อธิบดีกรมศิลปากรทำจดหมายในลักษณะดังกล่าวส่งไปยังหน่วยงานอื่นๆ ที่กำลังรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่กรมศิลปากรถือว่าเป็น โบราณสถาน (แต่ยังมิได้ทำการขึ้นทะเบียน) ก็ย่อมสามารถถือปฏิบัติได้ในแบบเดียวกับที่ศาลกำลังปฏิบัติอยู่ ใช่หรือไม่?
3. ปัญหาว่าด้วยความเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา
ในการชี้แจงของโฆษกศาล ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายที่สนับสนุนการรื้อ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นสำคัญประการหนึ่ง คือ การเสื่อมสภาพของกลุ่มอาคารศาลฎีกา ในระดับที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และจะเป็นอันตรายในระดับที่อาจจะมีการพังถล่มลงมาได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง.
แต่จากงานวิจัย โครงการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาอาคารศาลฎีกาและอาคารบริเวณรอบศาลฎีกา ที่ทำโดย ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ทำขึ้นเมื่อก่อนการอนุมัติรื้อเมื่อปี พ.ศ. 2550 ไม่นาน และเป็นงานวิจัยที่ทางศาลได้เป็นผู้ว่าจ้างด้วยตนเองด้วยนั้น หากอ่านในส่วนที่ว่าด้วยการสำรวจและวิเคราะห์สภาพอาคาร แม้งานวิจัยจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเสื่อมสภาพของอาคารอันเนื่องมาจากอายุการใช้งาน แต่งานวิจัยก็ไม่ได้สรุปไปในทิศทางที่แสดงให้เห็นเลยว่า กลุ่มอาคารศาลฎีกาเสื่อมสภาพในระดับที่อาจจะพังถล่มโดยเร็ว และเกินกว่าการบูรณะซ่อมแซมแต่อย่างใด.
อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้ อยากเรียกร้องให้มีการเข้าไปสำรวจสภาพอาคารโดยผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าว
4. ประเด็นว่าด้วยรูปแบบทางสถาปัตยกรรม
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า การออกแบบอาคารศาลฎีกาใหม่ ทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถาปัตยกรรมไทยมากมายหลายท่าน ถูกระเบียบแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไทย และสอดรับกับความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง
ผมอยากเรียนชี้แจงว่า ประเด็นสำคัญในกรณีนี้มิได้อยู่ที่ว่า หน้าตาอาคารเป็นไทยดีแล้ว ออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญดีแล้ว และส่งเสริมความสง่างามของพระบรมมหาราชวัง แต่อย่างใด. เพราะประเด็นสำคัญคือ การได้มาซึ่งอาคารใหม่นั้น ทำลายอาคารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ลง และ มีความสูงเกินกว่าที่กฏมายกำหนด (แต่ถูกกฏมายเพราะได้รับสิทธิพิเศษ) ดังนั้น ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออกแบบและหน้าตาอาคารจะสวยงามแค่ไหน ย่อมไม่ใช่สาระสำคัญ
5. อาคารใดบ้างที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในเรื่องการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล
โฆษกศาลได้ชี้แจงว่า ตามแบบที่จะสร้างใหม่ ได้ตกลงเก็บอาคารด้านหลังอนุสาวรีย์เอาไว้เพียงหลังเดียว เพราะอาคารดังกล่าวคืออาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการได้มาซึ่งเอกราชสมบูรณ์ทางการศาล เมื่อ พ.ศ. 2481. แต่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งได้มาจากเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนเมื่อแรกสร้างว่า อาคารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเอกราชทางการศาลนั้น มิใช่มีเพียงหลังเดียวที่อยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงอาคารด้านที่ติดคลองคูเมือง (ซึ่งกำลังถูกรื้อถอนอยู่ในปัจจุบัน) ด้วย ฉะนั้น การอนุรักษ์เพียงอาคารเดียว จึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในเชิงประวัติศาสตร์
อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาไว้ ย่อมมิได้หมายถึงการรักษาในลักษณะแช่แข็ง ห้ามทำอะไรเลย ก็หาไม่. ความก้าวหน้าในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ และหลักการด้านการอนุรักษ์ที่ก้าวหน้าขึ้นมากมายในโลกปัจจุบัน สามารถที่จะทำการอนุรักษ์อาคารเก่าโดยที่สามารถตอบสนองการใช้สอยสมัยใหม่ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การรื้อถอนและสร้างใหม่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้สามารถใช้สอยพื้นที่ได้ดีกว่านั้น จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้องอีกแล้วในโลกปัจจุบัน.
จากเหตุผลที่กล่าวมา อยากเรียกร้องให้ศาลพิจารณาระงับการรื้อถอนอาคารออกไปก่อน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ และอยากเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากรออกมาให้ความกระจ่างในประเด็นต่างๆ ที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรมศิลปากร
สุดท้ายนี้ หวังว่า กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา จะนำมาสู่การศึกษาเรื่องคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (Modern Architecture) ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในโลกสากล และคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์ของงานสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ที่ถูกนำเข้ามาใช้ในสังคมไทยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร เพื่อสะท้อนถึงอุดมคติอย่างใหม่ในระบอบประชาธิปไตย ในระดับที่สูงมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การก้าวพ้นเพดานความคิดในเชิงประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ที่คับแคบของสังคมไทยในปัจจุบัน
ด้วยความนับถือ
ชาตรี ประกิตนนทการ
21 ธันวาคม พ.ศ. 2555"
ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356077506&grpid=00&catid=&subcatid=
โปรดติดตามว่าท่านโฆษกจะออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างไร