ผู้สนใจคำสั่งศาลอาญา คดีนายพัน คำกอง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง ลองศึกษาดูครับ
[ เครดิต : ดร.วิษณุ วรัญญู ]
โดย นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม
ข้อความหรือถ้อยคำทั้งหมดเป็นเนื้อหาในคำสั่งย่อของศาลอาญาโดยมิได้แต่งเติม เพียงแต่ให้ตัวอักษรตัวเอนเพื่อเน้นถ้อยคำบางตอนและมีการตัดข้อความส่วนน้อยบางส่วนออก เพื่อความเหมาะสมของบทความในหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์
คำสั่งศาลอาญา ลงวันที่ 17 กันยายน 2555 คดีหมายเลขดำที่ อช. 2/2555 หมายเลขแดงที่ อช. 7/2555 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ผู้ร้อง และนางหนูชิต คำกอง ภริยาผู้ตาย ผู้ร้องร่วม ยื่นคำร้องขอให้ศาลชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ชาวจังหวัดยโสธร อาชีพขับรถแท็กซี่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ระหว่างเหตุการณ์ทหารกระชับพื้นที่ราชประสงค์ สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตามคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 มีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่ม นปช. ให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภา ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและสี่แยกราชประสงค์ ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่มีความร้ายแรงเพื่อควบคุมผู้ชุมนุมและตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และแต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯเป็นผู้อำนวยการ
ต่อมามีการประกาศห้ามใช้ถนนราชปรารภตั้งแต่สี่แยกประตูน้ำถึงสี่แยกมักกะสัน โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมพื้นที่ พร้อมติดป้ายเขตใช้กระสุนจริง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 นายสมร ไหมทอง ขับรถยนต์ตู้กลับบ้านพักผ่านถนนราชปรารภ เจ้าหน้าที่ทหารประกาศให้หยุดรถ แต่นายสมร ขับรถไปต่อถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ถูกเจ้าหน้าทหารใช้อาวุธยิงหลายนัด อันเป็นการปฏิบัติหน้าทำให้นายสมรถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่ลำตัวด้านหลัง และนายพัน คำกอง ถูกกระสุนยิงตายหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียม ไอดีโอ อันเป็นการตายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานที่อ้างว่าปฏิบัติหน้าที่
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ใด ตายเมื่อไร สาเหตุและพฤติการณ์ตายเกิดจากอะไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาอยู่ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ระหว่างมีการชุมนุมนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ชุมนุม มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แล้วแต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ลงวันที่ 7 เมษายน 2553 และวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ต่อมาศูนย์อำนวยการดังกล่าว ประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือใช้ยานพาหนะใดๆ เข้าออกในเส้นทางที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่บริเวณถนนราชปรารภตั้งแต่สี่แยกประตูน้ำถึงสี่แยกมักกะสัน โดยมีเจ้าพนักงานทหารจากทหารปืนใหญ่ที่ 31 และกองพันทหารราบที่ 3 ไปปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคมในบริเวณดังกล่าวมีการปิดแผ่นป้ายข้อความว่า "เขตใช้กระสุนจริง"
จากพยานหลักฐานของผู้ร้องและของผู้ร้องร่วม อันประกอบด้วยประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี เจ้าพนักงานทหาร ผู้^^วชาญที่เกี่ยวข้องต่างๆ และพนักงานสอบสวน รวมถึงภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ ได้ความว่า พันโทวรการ ฮุ่นตระกูล ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ เบิกความว่า หลังเวลา 20 นาฬิกาของวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายยิงลูกระเบิดแบบเอ็ม 79 เข้าไปบริเวณที่ พันโทวรการ รับผิดชอบและมีวิทยุเครือข่ายทหารแจ้งว่า ให้ระวังรถยนต์ตู้สีขาวอาจมีการทำคาร์บอมบ์หรือขนอาวุธสงครามใช้ทำร้ายทหาร
ร้อยเอกเสริมศักดิ์ คำละมูล ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ เบิกความว่า ได้รับแจ้งจากผู้บังคับบัญชาว่าให้สังเกตรถยนต์ตู้จะมีการขนอาวุธ และในวันเกิดเหตุเวลาเที่ยงคืนมีรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุขับไปจอดที่หน้าปากซอยราชปรารภ 8 (ซอยวัฒนวงศ์) ร้อยเอกเสริมศักดิ์จึงสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) ประกาศให้รถยนต์ตู้แล่นกลับไปในทิศทางเดิมหรือเลี้ยวซ้ายไปทางประตูน้ำ และต่อจากนั้นได้ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บนรถประชาสัมพันธ์ประกาศให้ทราบอีกครั้ง รวมเวลาที่รถยนต์ตู้จอดอยู่ประมาณ 30 นาที
นายคมสันติ ทองมาก ผู้สื่อข่าวสำนักเนชั่นทีวีเบิกความว่า ได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารและได้ยินเสียงปืนดัง จึงใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตัดต่อ นอกจากนี้นายอเนก ชาติโกฎิ พนักงานรักษาความปลอดภัยของคอนโดมิเนียม ไอดีโอ เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ นายพัน คำกอง ผู้ตายมาขอพักที่สำนักงานขายคอนโดมิเนียม ต่อมาได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารหลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงปืนดังทีละนัด
เห็นว่า ช่วงระยะเวลาที่ ร้อยเอกเสริมศักดิ์ เบิกความว่าเห็นรถยนต์ตู้จอดอยู่เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นเวลานานพอสมควรที่เจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมสถานการณ์ขณะนั้น สามารถดำเนินการบางอย่างเพื่อให้ทราบว่ารถยนต์ตู้ดังกล่าวมีพฤติการณ์ดังที่ ร้อยเอกเสริมศักดิ์ และพันโทวรการ ได้ข้อมูลหรือไม่ แต่เจ้าพนักงานทหารก็มิได้ดำเนินการอะไร กลับปล่อยให้รถยนต์ตู้แล่นเลี้ยวขวาไปทางสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ควบคุม โดยมีคอนโดมิเนียม ไอดีโอ ตั้งอยู่ริมถนนด้านขวาของรถยนต์ตู้ ตามแผนที่สังเขปเอกสารหมาย ร.25 ร้อยเอกเสริมศักดิ์ สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก หรือผาสุข สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุกลับยืนยันว่าขณะที่การระดมยิงรถตู้ ไม่มีใครเห็นและไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิง ทั้งไม่ปรากฏในสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเอกสารหมาย ร.84 ถึง ร. 86 มีรายงานข่าวว่า ในวันเกิดเหตุจะมีการทำคาร์บอมบ์หรือขนอาวุธ
จึงเห็นว่าพยานดังกล่าวเบิกความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงและเหตุผล
ร้อยตำรวจเอกสากล คำยิ่งยง สิบเอกชิตณรงค์ รวมทั้งนายคมสันติ ต่างยืนยันทำนองเดียวกันว่า ช่วงที่เจ้าพนักงานทหารเข้าควบคุมพื้นที่ การเข้าออกต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทหารก่อน แม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่สามารถเข้าออกได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ขณะเกิดเหตุบริเวณดังกล่าวไม่มีประชาชนผู้ชุมนุม ไม่มีผู้ใดเห็นชายชุดดำที่มีอาวุธปืน มีเพียงผู้สื่อข่าวจากสำนักพิมพ์ต่างๆ และเจ้าพนักงานเท่านั้น
นอกจากนี้ ร้อยเอกเกริกเกียรติ เบิกความว่าบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีชายชุดดำ และช่วงเกิดเหตุไม่มีใครกล้าเข้ามา
นายอเนกเบิกความว่าเวลาประมาณ 24 นาฬิกาขณะนายอเนกนั่งเล่นหมากฮอสกับผู้ตายอยู่ในสำนักงานขยายคอนโดมิเนียม ได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารให้รถยนต์หยุดแล่นเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุม ถ้าไม่หยุดจะยิงต่อมามีเสียงปืนดังทีละนัด ผู้ตายวิ่งออกไปดูเหตุการณ์ที่หน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียมดังกล่าว จากนั้นมีเสียงอาวุธปืนดังแบบการยิงอัตโนมัติติดๆ กัน ผู้ตายวิ่งกลับเข้าไปบอกนายอเนกว่าถูกยิงแล้วล้มลง และนายคมสันติ ผู้บันทึกภาพเคลื่อนไหวก็ได้ยินเสียงประกาศเตือนของเจ้าพนักงานทหารให้รถยนต์ตู้หยุดก่อน แล้วได้ยินเสียงปืนทีละนัด หลังจากนั้นจึงได้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ก็มีเสียงปืนยิงแบบอัตโนมัติ
นายอเนกและนายคมสันติ พยานทั้งสองเป็นประจักษ์พยาน ไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับฝ่ายใดมาก่อน เชื่อว่า พยานทั้งสองเบิกความตามความจริง ว่ามีการประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนแล้วจึงยิงปืนทีละนัด หลังจากนั้นจึงระดมยิงแบบอัตโนมัติ จากการประกาศแจ้งเตือนและการยิงปืนดังกล่าวทำให้ผู้ตายวิ่งไปหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียมเพื่อยืนดูเหตุการณ์ จนทำให้ถูกลูกกระสุนปืนที่บริเวณหน้าอกซ้ายใต้ราวนมแฉลบทะลุไปถูกต้นแขนซ้ายและเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาดเสียเลือดมากถึงแก่ความตาย
โดยพลอากาศตรีนายแพทย์วิชาญ เปี้ยวนิ่ม ผู้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายและผ่าชันสูตรศพพบลูกกระสุนปืนรูปร่างปลายแหลมหุ้มทองเหลืองที่ต้นแขนซ้ายเป็นสาเหตุแห่งการตาย ส่วนพันตำรวยโทธนงศักดิ์ บุญมาก ผู้ตรวจลูกกระสุนปืนที่ได้จากศพเบิกความว่า ลูกกระสุนปืนจากศพเป็นลูกกระสุนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มม.) และว่าที่พันตำรวจเอกสุพจน์ เผ่าถนอม ผู้^^วชาญด้านอาวุธปืนยืนยันว่า ลูกกระสุนปืนที่พบจากศพเป็นส่วนประกอบของกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มม.) ซึ่งเป็นกระสุนปืนที่ใช้กับปืนความเร็วสูงชนิดเอ็ม 16 รุ่น เอ 2 แต่อาจนำไปใช้กับปืนเอ็ม 16 รุ่น เอ 1 ได้ เป็นอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ากระสุนปืนแกนเหล็กหุ้มตะกั่ว
เมื่อดูภาพถ่ายรถยนต์ตู้พบว่าบริเวณตัวถังรถยนต์ตู้ด้านหน้าด้านซ้ายและด้านขวา มีร่องรอยถูกลูกกระสุนปืนจำนวนหลายแห่งหลายชนิดแตกต่างกัน แสดงว่ามีผู้ร่วมยิงหลายคนใช้อาวุธปืนยิงจากอาวุธปืนหลายกระบอกและใช้กระสุนปืนต่างชนิดกัน ปรากฏว่าในภาพเคลื่อนไหวมีภาพเจ้าพนักงานทหารบางส่วนกำลังนั่งเล็งอาวุธปืนไปที่รถยนต์ตู้พร้อมจะยิง เพื่อช่วยเหลือสนับสนุน
เชื่อว่า ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีการยิงต่อสู้ระหว่างคนร้ายที่โจมตีด่านจุดตรวจหรือมีการปะทะกับเจ้าพนักงานทหารดังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับรายงาน เพราะถ้ามีการโจมตีจริงก็น่าจะปรากฏอยู่ในสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว เอกสารหมาย ร.84 ถึง ร.86
และเชื่อว่า ถ้ามีเหตุการณ์ต่อสู้ดังที่อ้างจริง พันเอกพงศกร อาจสัญจร พันโทวรการ และนายทหารอื่นคงไม่นิ่งเฉยปล่อยให้มีคนร้ายโจมตีโดยไม่สั่งการให้ผู้ใตับังคับบัญชาตอบโต้ หลังเหตุการณ์สงบลงมีเจ้าพนักงานทหารหลายนายถืออาวุธปืนเอ็ม 16 เดินไปดูที่รถยนต์ตู้ ไม่มีลักษณะของความเกรงกลัวหรือระวังตัวว่าจะถูกคนร้ายลอบยิงหรือทำร้าย ทั้งๆ ที่ฝ่ายเจ้าพนักงานทหารอ้างว่ามีการถูกระดมยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่ก่อนเกิดเหตุ
นอกจากนี้ พันตำรวจโทสิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ เบิกความยืนยันว่าในบริเวณที่กั้นลวดหนามเจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถเข้าไปได้ หากจะเข้าไปต้องถูกตรวจค้น ในช่วงดึกตนคอยบอกประชาชนว่าอย่าเข้าไปในถนนราชปรารภเพราะอาจถูกทหารยิง
จึงเชื่อได้ว่าในที่เกิดเหตุมีเพียงเจ้าพนักงานทหารที่สามารถถืออาวุธปืนได้เท่านั้น โอกาสที่จะมีคนร้ายหลายคนพร้อมอาวุธปืนผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมดังกล่าวย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจยังไม่สามารถเข้าไปได้
จึงเป็นการยากยิ่งที่จะมีคนร้ายหลายคนเล็ดลอดเข้าไปใช้อาวุธปืนจำนวนหลายกระบอกระดมยิงใส่รถตู้ได้ แม้แต่รถพยาบาลและรถมูลนิธิต่างๆ ยังถูกคำสั่งให้ถูกตรวจค้นอย่างเคร่งครัด ทั้งมีการปิดประกาศของเจ้าพนักงานทหารประกาศแจ้งโดยชัดเจนว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเขตใช้กระสุนจริงปรากฏตามภาพถ่ายหมาย ร.18 และจากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าวิถีลูกกระสุนปืนยิงในระนาบเดียวกับพื้นถนน มิได้มีแนวยิงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และวิถีลูกกระสุนที่รถยนต์ตู้ก็มีวิถีลูกกระสุนไปในแนวลักษณะเดียวกัน พันตำรวจโทสมิต เห็นว่ารถยนต์ตู้ที่ถูกยิงแล่นไปในแนวเดียวกับบังเกอร์ของทหารที่เชื่อมโยงไปถึงจุดที่ผู้ตายถูกยิง แนววิถีกระสุนปรากฏตามแผนที่สังเขปเอกสารหมาย ร.25
จากพฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าว เชื่อว่า วันเกิดเหตุกลุ่มที่ร่วมระดมยิงอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงครามใส่รถยนต์ตู้คันเกิดเหตุนั้นเป็นเจ้าพนักงานทหาร แม้ไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าผู้ตายถูกลูกกระสุนปืนของผู้ใด แต่บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมของเจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งถนนของที่เกิดเหตุ สภาพรถยนต์ตู้ก็ถูกยิงจากด้านหน้าด้านซ้ายและด้านขวาของตัวถังรถยนต์ ในช่วงเกิดเหตุไม่มีคนร้ายเข้าไปในที่เกิดเหตุในลักษณะเข้าไปยิงปะทะต่อสู้กับเจ้าพนักงานทหารตามที่วินิจฉัยข้างต้น คงมีเพียงเจ้าพนักงานทหารที่สามารถใช้อาวุธปืนยิงรถตู้เพราะฝ่าฝืนคำสั่งที่ประกาศเตือนไม่ให้แล่นเข้าไปในพื้นที่ควบคุม ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับผู้ตายวิ่งออกไปดูเหตุการณ์ บริเวณหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียม ไอดีโอ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าลูกกระสุนปืนที่พบในศพผู้ตายกับในตัวของนายสมร คนขับรถยนต์ตู้เป็นกระสุนขนาด .223 (5.56 มม.) เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบวิถีกระสุนจากศพผู้ตายกับวิถีกระสุนของรถยนต์ตู้อยู่ในแนวเดียวกันกับตำแหน่งเจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมพื้นที่
จึงเชื่อว่า การตายของผู้ตายเกิดจากถูกลูกกระสุนปืนจากการยิงของเจ้าพนักงานทหาร ยิงใส่รถยนต์ตู้ที่แล่นเข้าไปในพื้นที่ควบคุมภายหลังเจ้าพนักงานทหารเตือนให้หยุดเล่น
จึงมีคำสั่งว่า******* ผู้ตายชื่อนายพัน คำกอง ตายที่หน้าที่สำนักงานขายคอนโดมิเนียมชื่อ ไอดีโอคอนโด ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเกิดจากการถูกลูกกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จากอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม ที่เจ้าพนักงานทหารร่วมกันยิงไปที่รถยนต์ตู้หมายเลยทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนายสมร ไหมทอง เป็นผู้ขับ แล้วลูกกระสุนปืนไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ในขณะเจ้าพนักงานทหารกำลังปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบปิดล้อมพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
เมื่อท่านอ่านตลอดแล้วจะเห็นได้ว่า คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีนี้ ศาลท่านสรุปข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณีและพยานผู้^^วชาญซึ่งมีรายละเอียดแต่ละปาก รวมทั้งพยานเอกสาร ยานวัตถุหลายรายการ ภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ ฯลฯ แล้วนำมาวิเคราะห์ชั่งน้ำหนักพยานปรับเข้ากับข้อกฎหมาย จากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นคำสั่งออกมาอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
และที่สำคัญยิ่งก็คือศาลท่านได้หยิบยกเอาข้อเท็จจริงหรือความจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานทั้งปวงมาตีแผ่ ประกอบเหตุผลแสดงให้เห็นโดยลำดับเหตุการณ์ทุกขั้นตอนอย่างแจ้งชัด เรียกได้ว่าปิดประตูมิให้ผู้ใดมากล่าวอ้างโต้แย้งหักล้างได้
คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาลอาญาฉบับนี้สะท้อนให้เห็นและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนจริงๆ
(****ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรค 10 บัญญัติไว้ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ถึงที่สุด แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องร้อง และการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหากพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นได้ฟ้องหรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการตายนั้น" และวรรค 11 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลได้มีคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการ เพื่อส่งให้แก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป")
http://www.facebook.com/suteekul/posts/434350569953534
น่าศึกษา คำวินิจฉัยคดีนายพัน คำกอง
[ เครดิต : ดร.วิษณุ วรัญญู ]
โดย นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม
ข้อความหรือถ้อยคำทั้งหมดเป็นเนื้อหาในคำสั่งย่อของศาลอาญาโดยมิได้แต่งเติม เพียงแต่ให้ตัวอักษรตัวเอนเพื่อเน้นถ้อยคำบางตอนและมีการตัดข้อความส่วนน้อยบางส่วนออก เพื่อความเหมาะสมของบทความในหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์
คำสั่งศาลอาญา ลงวันที่ 17 กันยายน 2555 คดีหมายเลขดำที่ อช. 2/2555 หมายเลขแดงที่ อช. 7/2555 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 9 ผู้ร้อง และนางหนูชิต คำกอง ภริยาผู้ตาย ผู้ร้องร่วม ยื่นคำร้องขอให้ศาลชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ชาวจังหวัดยโสธร อาชีพขับรถแท็กซี่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่เสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ถนนราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ระหว่างเหตุการณ์ทหารกระชับพื้นที่ราชประสงค์ สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตามคำร้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 มีการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยของกลุ่ม นปช. ให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศยุบสภา ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและสี่แยกราชประสงค์ ต่อมานายกรัฐมนตรีได้ออกประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ที่มีความร้ายแรงเพื่อควบคุมผู้ชุมนุมและตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และแต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯเป็นผู้อำนวยการ
ต่อมามีการประกาศห้ามใช้ถนนราชปรารภตั้งแต่สี่แยกประตูน้ำถึงสี่แยกมักกะสัน โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมพื้นที่ พร้อมติดป้ายเขตใช้กระสุนจริง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 นายสมร ไหมทอง ขับรถยนต์ตู้กลับบ้านพักผ่านถนนราชปรารภ เจ้าหน้าที่ทหารประกาศให้หยุดรถ แต่นายสมร ขับรถไปต่อถึงบริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ถูกเจ้าหน้าทหารใช้อาวุธยิงหลายนัด อันเป็นการปฏิบัติหน้าทำให้นายสมรถูกยิงได้รับบาดเจ็บที่ลำตัวด้านหลัง และนายพัน คำกอง ถูกกระสุนยิงตายหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียม ไอดีโอ อันเป็นการตายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานที่อ้างว่าปฏิบัติหน้าที่
ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายที่ใด ตายเมื่อไร สาเหตุและพฤติการณ์ตายเกิดจากอะไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150
พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังยุติว่า ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 มีการชุมนุมทางการเมืองของประชาชนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ใช้ชื่อว่า "กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาอยู่ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศและบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ระหว่างมีการชุมนุมนายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพื่อควบคุมสถานการณ์ชุมนุม มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แล้วแต่งตั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ลงวันที่ 7 เมษายน 2553 และวันที่ 13 พฤษภาคม 2553 ต่อมาศูนย์อำนวยการดังกล่าว ประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือใช้ยานพาหนะใดๆ เข้าออกในเส้นทางที่กำหนด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่บริเวณถนนราชปรารภตั้งแต่สี่แยกประตูน้ำถึงสี่แยกมักกะสัน โดยมีเจ้าพนักงานทหารจากทหารปืนใหญ่ที่ 31 และกองพันทหารราบที่ 3 ไปปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการใช้เส้นทางคมนาคมในบริเวณดังกล่าวมีการปิดแผ่นป้ายข้อความว่า "เขตใช้กระสุนจริง"
จากพยานหลักฐานของผู้ร้องและของผู้ร้องร่วม อันประกอบด้วยประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณี เจ้าพนักงานทหาร ผู้^^วชาญที่เกี่ยวข้องต่างๆ และพนักงานสอบสวน รวมถึงภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ ได้ความว่า พันโทวรการ ฮุ่นตระกูล ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ เบิกความว่า หลังเวลา 20 นาฬิกาของวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 มีคนร้ายยิงลูกระเบิดแบบเอ็ม 79 เข้าไปบริเวณที่ พันโทวรการ รับผิดชอบและมีวิทยุเครือข่ายทหารแจ้งว่า ให้ระวังรถยนต์ตู้สีขาวอาจมีการทำคาร์บอมบ์หรือขนอาวุธสงครามใช้ทำร้ายทหาร
ร้อยเอกเสริมศักดิ์ คำละมูล ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ที่ 31 รักษาพระองค์ เบิกความว่า ได้รับแจ้งจากผู้บังคับบัญชาว่าให้สังเกตรถยนต์ตู้จะมีการขนอาวุธ และในวันเกิดเหตุเวลาเที่ยงคืนมีรถยนต์ตู้คันเกิดเหตุขับไปจอดที่หน้าปากซอยราชปรารภ 8 (ซอยวัฒนวงศ์) ร้อยเอกเสริมศักดิ์จึงสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เครื่องขยายเสียง (โทรโข่ง) ประกาศให้รถยนต์ตู้แล่นกลับไปในทิศทางเดิมหรือเลี้ยวซ้ายไปทางประตูน้ำ และต่อจากนั้นได้ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บนรถประชาสัมพันธ์ประกาศให้ทราบอีกครั้ง รวมเวลาที่รถยนต์ตู้จอดอยู่ประมาณ 30 นาที
นายคมสันติ ทองมาก ผู้สื่อข่าวสำนักเนชั่นทีวีเบิกความว่า ได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารและได้ยินเสียงปืนดัง จึงใช้กล้องถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตัดต่อ นอกจากนี้นายอเนก ชาติโกฎิ พนักงานรักษาความปลอดภัยของคอนโดมิเนียม ไอดีโอ เบิกความว่า ก่อนเกิดเหตุ นายพัน คำกอง ผู้ตายมาขอพักที่สำนักงานขายคอนโดมิเนียม ต่อมาได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารหลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงปืนดังทีละนัด
เห็นว่า ช่วงระยะเวลาที่ ร้อยเอกเสริมศักดิ์ เบิกความว่าเห็นรถยนต์ตู้จอดอยู่เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งเป็นเวลานานพอสมควรที่เจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมสถานการณ์ขณะนั้น สามารถดำเนินการบางอย่างเพื่อให้ทราบว่ารถยนต์ตู้ดังกล่าวมีพฤติการณ์ดังที่ ร้อยเอกเสริมศักดิ์ และพันโทวรการ ได้ข้อมูลหรือไม่ แต่เจ้าพนักงานทหารก็มิได้ดำเนินการอะไร กลับปล่อยให้รถยนต์ตู้แล่นเลี้ยวขวาไปทางสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งก์ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ควบคุม โดยมีคอนโดมิเนียม ไอดีโอ ตั้งอยู่ริมถนนด้านขวาของรถยนต์ตู้ ตามแผนที่สังเขปเอกสารหมาย ร.25 ร้อยเอกเสริมศักดิ์ สิบเอกวรากรณ์ ผาสุก หรือผาสุข สิบเอกชิตณรงค์ สุดชัย ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุกลับยืนยันว่าขณะที่การระดมยิงรถตู้ ไม่มีใครเห็นและไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิง ทั้งไม่ปรากฏในสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเอกสารหมาย ร.84 ถึง ร. 86 มีรายงานข่าวว่า ในวันเกิดเหตุจะมีการทำคาร์บอมบ์หรือขนอาวุธ
จึงเห็นว่าพยานดังกล่าวเบิกความขัดแย้งกับข้อเท็จจริงและเหตุผล
ร้อยตำรวจเอกสากล คำยิ่งยง สิบเอกชิตณรงค์ รวมทั้งนายคมสันติ ต่างยืนยันทำนองเดียวกันว่า ช่วงที่เจ้าพนักงานทหารเข้าควบคุมพื้นที่ การเข้าออกต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทหารก่อน แม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่สามารถเข้าออกได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ขณะเกิดเหตุบริเวณดังกล่าวไม่มีประชาชนผู้ชุมนุม ไม่มีผู้ใดเห็นชายชุดดำที่มีอาวุธปืน มีเพียงผู้สื่อข่าวจากสำนักพิมพ์ต่างๆ และเจ้าพนักงานเท่านั้น
นอกจากนี้ ร้อยเอกเกริกเกียรติ เบิกความว่าบริเวณที่เกิดเหตุไม่มีชายชุดดำ และช่วงเกิดเหตุไม่มีใครกล้าเข้ามา
นายอเนกเบิกความว่าเวลาประมาณ 24 นาฬิกาขณะนายอเนกนั่งเล่นหมากฮอสกับผู้ตายอยู่ในสำนักงานขยายคอนโดมิเนียม ได้ยินเสียงประกาศของเจ้าพนักงานทหารให้รถยนต์หยุดแล่นเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุม ถ้าไม่หยุดจะยิงต่อมามีเสียงปืนดังทีละนัด ผู้ตายวิ่งออกไปดูเหตุการณ์ที่หน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียมดังกล่าว จากนั้นมีเสียงอาวุธปืนดังแบบการยิงอัตโนมัติติดๆ กัน ผู้ตายวิ่งกลับเข้าไปบอกนายอเนกว่าถูกยิงแล้วล้มลง และนายคมสันติ ผู้บันทึกภาพเคลื่อนไหวก็ได้ยินเสียงประกาศเตือนของเจ้าพนักงานทหารให้รถยนต์ตู้หยุดก่อน แล้วได้ยินเสียงปืนทีละนัด หลังจากนั้นจึงได้บันทึกภาพเคลื่อนไหว ก็มีเสียงปืนยิงแบบอัตโนมัติ
นายอเนกและนายคมสันติ พยานทั้งสองเป็นประจักษ์พยาน ไม่มีส่วนได้เสียและไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับฝ่ายใดมาก่อน เชื่อว่า พยานทั้งสองเบิกความตามความจริง ว่ามีการประกาศแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนแล้วจึงยิงปืนทีละนัด หลังจากนั้นจึงระดมยิงแบบอัตโนมัติ จากการประกาศแจ้งเตือนและการยิงปืนดังกล่าวทำให้ผู้ตายวิ่งไปหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียมเพื่อยืนดูเหตุการณ์ จนทำให้ถูกลูกกระสุนปืนที่บริเวณหน้าอกซ้ายใต้ราวนมแฉลบทะลุไปถูกต้นแขนซ้ายและเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาดเสียเลือดมากถึงแก่ความตาย
โดยพลอากาศตรีนายแพทย์วิชาญ เปี้ยวนิ่ม ผู้ชันสูตรพลิกศพผู้ตายและผ่าชันสูตรศพพบลูกกระสุนปืนรูปร่างปลายแหลมหุ้มทองเหลืองที่ต้นแขนซ้ายเป็นสาเหตุแห่งการตาย ส่วนพันตำรวยโทธนงศักดิ์ บุญมาก ผู้ตรวจลูกกระสุนปืนที่ได้จากศพเบิกความว่า ลูกกระสุนปืนจากศพเป็นลูกกระสุนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มม.) และว่าที่พันตำรวจเอกสุพจน์ เผ่าถนอม ผู้^^วชาญด้านอาวุธปืนยืนยันว่า ลูกกระสุนปืนที่พบจากศพเป็นส่วนประกอบของกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มม.) ซึ่งเป็นกระสุนปืนที่ใช้กับปืนความเร็วสูงชนิดเอ็ม 16 รุ่น เอ 2 แต่อาจนำไปใช้กับปืนเอ็ม 16 รุ่น เอ 1 ได้ เป็นอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ากระสุนปืนแกนเหล็กหุ้มตะกั่ว
เมื่อดูภาพถ่ายรถยนต์ตู้พบว่าบริเวณตัวถังรถยนต์ตู้ด้านหน้าด้านซ้ายและด้านขวา มีร่องรอยถูกลูกกระสุนปืนจำนวนหลายแห่งหลายชนิดแตกต่างกัน แสดงว่ามีผู้ร่วมยิงหลายคนใช้อาวุธปืนยิงจากอาวุธปืนหลายกระบอกและใช้กระสุนปืนต่างชนิดกัน ปรากฏว่าในภาพเคลื่อนไหวมีภาพเจ้าพนักงานทหารบางส่วนกำลังนั่งเล็งอาวุธปืนไปที่รถยนต์ตู้พร้อมจะยิง เพื่อช่วยเหลือสนับสนุน
เชื่อว่า ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีการยิงต่อสู้ระหว่างคนร้ายที่โจมตีด่านจุดตรวจหรือมีการปะทะกับเจ้าพนักงานทหารดังที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับรายงาน เพราะถ้ามีการโจมตีจริงก็น่าจะปรากฏอยู่ในสรุปสถานการณ์ความเคลื่อนไหว เอกสารหมาย ร.84 ถึง ร.86
และเชื่อว่า ถ้ามีเหตุการณ์ต่อสู้ดังที่อ้างจริง พันเอกพงศกร อาจสัญจร พันโทวรการ และนายทหารอื่นคงไม่นิ่งเฉยปล่อยให้มีคนร้ายโจมตีโดยไม่สั่งการให้ผู้ใตับังคับบัญชาตอบโต้ หลังเหตุการณ์สงบลงมีเจ้าพนักงานทหารหลายนายถืออาวุธปืนเอ็ม 16 เดินไปดูที่รถยนต์ตู้ ไม่มีลักษณะของความเกรงกลัวหรือระวังตัวว่าจะถูกคนร้ายลอบยิงหรือทำร้าย ทั้งๆ ที่ฝ่ายเจ้าพนักงานทหารอ้างว่ามีการถูกระดมยิงระเบิดเอ็ม 79 ใส่ก่อนเกิดเหตุ
นอกจากนี้ พันตำรวจโทสิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ เบิกความยืนยันว่าในบริเวณที่กั้นลวดหนามเจ้าพนักงานตำรวจไม่สามารถเข้าไปได้ หากจะเข้าไปต้องถูกตรวจค้น ในช่วงดึกตนคอยบอกประชาชนว่าอย่าเข้าไปในถนนราชปรารภเพราะอาจถูกทหารยิง
จึงเชื่อได้ว่าในที่เกิดเหตุมีเพียงเจ้าพนักงานทหารที่สามารถถืออาวุธปืนได้เท่านั้น โอกาสที่จะมีคนร้ายหลายคนพร้อมอาวุธปืนผ่านเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมดังกล่าวย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้แต่เจ้าพนักงานตำรวจยังไม่สามารถเข้าไปได้
จึงเป็นการยากยิ่งที่จะมีคนร้ายหลายคนเล็ดลอดเข้าไปใช้อาวุธปืนจำนวนหลายกระบอกระดมยิงใส่รถตู้ได้ แม้แต่รถพยาบาลและรถมูลนิธิต่างๆ ยังถูกคำสั่งให้ถูกตรวจค้นอย่างเคร่งครัด ทั้งมีการปิดประกาศของเจ้าพนักงานทหารประกาศแจ้งโดยชัดเจนว่า บริเวณดังกล่าวเป็นเขตใช้กระสุนจริงปรากฏตามภาพถ่ายหมาย ร.18 และจากการตรวจที่เกิดเหตุพบว่าวิถีลูกกระสุนปืนยิงในระนาบเดียวกับพื้นถนน มิได้มีแนวยิงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และวิถีลูกกระสุนที่รถยนต์ตู้ก็มีวิถีลูกกระสุนไปในแนวลักษณะเดียวกัน พันตำรวจโทสมิต เห็นว่ารถยนต์ตู้ที่ถูกยิงแล่นไปในแนวเดียวกับบังเกอร์ของทหารที่เชื่อมโยงไปถึงจุดที่ผู้ตายถูกยิง แนววิถีกระสุนปรากฏตามแผนที่สังเขปเอกสารหมาย ร.25
จากพฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าว เชื่อว่า วันเกิดเหตุกลุ่มที่ร่วมระดมยิงอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงครามใส่รถยนต์ตู้คันเกิดเหตุนั้นเป็นเจ้าพนักงานทหาร แม้ไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าผู้ตายถูกลูกกระสุนปืนของผู้ใด แต่บริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมของเจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมพื้นที่ทั้งสองฝั่งถนนของที่เกิดเหตุ สภาพรถยนต์ตู้ก็ถูกยิงจากด้านหน้าด้านซ้ายและด้านขวาของตัวถังรถยนต์ ในช่วงเกิดเหตุไม่มีคนร้ายเข้าไปในที่เกิดเหตุในลักษณะเข้าไปยิงปะทะต่อสู้กับเจ้าพนักงานทหารตามที่วินิจฉัยข้างต้น คงมีเพียงเจ้าพนักงานทหารที่สามารถใช้อาวุธปืนยิงรถตู้เพราะฝ่าฝืนคำสั่งที่ประกาศเตือนไม่ให้แล่นเข้าไปในพื้นที่ควบคุม ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับผู้ตายวิ่งออกไปดูเหตุการณ์ บริเวณหน้าสำนักงานขายคอนโดมิเนียม ไอดีโอ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าลูกกระสุนปืนที่พบในศพผู้ตายกับในตัวของนายสมร คนขับรถยนต์ตู้เป็นกระสุนขนาด .223 (5.56 มม.) เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบวิถีกระสุนจากศพผู้ตายกับวิถีกระสุนของรถยนต์ตู้อยู่ในแนวเดียวกันกับตำแหน่งเจ้าพนักงานทหารที่ควบคุมพื้นที่
จึงเชื่อว่า การตายของผู้ตายเกิดจากถูกลูกกระสุนปืนจากการยิงของเจ้าพนักงานทหาร ยิงใส่รถยนต์ตู้ที่แล่นเข้าไปในพื้นที่ควบคุมภายหลังเจ้าพนักงานทหารเตือนให้หยุดเล่น
จึงมีคำสั่งว่า******* ผู้ตายชื่อนายพัน คำกอง ตายที่หน้าที่สำนักงานขายคอนโดมิเนียมชื่อ ไอดีโอคอนโด ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เหตุและพฤติการณ์ที่ตายเกิดจากการถูกลูกกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จากอาวุธปืนที่ใช้ในราชการสงคราม ที่เจ้าพนักงานทหารร่วมกันยิงไปที่รถยนต์ตู้หมายเลยทะเบียน ฮค 8561 กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนายสมร ไหมทอง เป็นผู้ขับ แล้วลูกกระสุนปืนไปถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย ในขณะเจ้าพนักงานทหารกำลังปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบปิดล้อมพื้นที่ควบคุมตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
เมื่อท่านอ่านตลอดแล้วจะเห็นได้ว่า คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีนี้ ศาลท่านสรุปข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของประจักษ์พยาน พยานแวดล้อมกรณีและพยานผู้^^วชาญซึ่งมีรายละเอียดแต่ละปาก รวมทั้งพยานเอกสาร ยานวัตถุหลายรายการ ภาพถ่ายทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเหตุการณ์ ฯลฯ แล้วนำมาวิเคราะห์ชั่งน้ำหนักพยานปรับเข้ากับข้อกฎหมาย จากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นคำสั่งออกมาอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน
และที่สำคัญยิ่งก็คือศาลท่านได้หยิบยกเอาข้อเท็จจริงหรือความจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานทั้งปวงมาตีแผ่ ประกอบเหตุผลแสดงให้เห็นโดยลำดับเหตุการณ์ทุกขั้นตอนอย่างแจ้งชัด เรียกได้ว่าปิดประตูมิให้ผู้ใดมากล่าวอ้างโต้แย้งหักล้างได้
คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาลอาญาฉบับนี้สะท้อนให้เห็นและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนจริงๆ
(****ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 วรรค 10 บัญญัติไว้ว่า "คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ถึงที่สุด แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องร้อง และการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหากพนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นได้ฟ้องหรือจะฟ้องคดีเกี่ยวกับการตายนั้น" และวรรค 11 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลได้มีคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการ เพื่อส่งให้แก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป")
http://www.facebook.com/suteekul/posts/434350569953534