วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 23 ฉบับที่ 8291 ข่าวสดรายวัน
คำสั่งศาล"12ศพ" จาก"พัน คำกอง" ถึง6ศพวัดปทมฯ ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ
คอลัมน์ แฟ้มคดี
ท่ามกลางบรรยากาศถกเถียงเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มีผลทั้งการเมืองในสภาและนอกสภา รวมถึงการยกเหตุและผลในการคัดค้านหรือสนับสนุน
แต่สิ่งที่ได้เห็นและได้ยินมาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับจากเหตุสลายการชุมนุมนปช.หรือคนเสื้อแดง โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน และบาดเจ็บอีกหลายพันคนช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพพูดเหมือนกันทุกครั้งว่าม็อบเสื้อแดงเป็น กลุ่มผู้ก่อการร้าย เป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง จึงต้องใช้ความเด็ดขาด
กรณีพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็ไม่ต่างกัน ทั้ง 2 หัวแถวของพรรคประชาธิปัตย์ ตอกย้ำว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อช่วยผู้ก่อการร้าย ช่วยคนเผาบ้านเผาเมือง
ขณะเดียวกัน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำนปช. ลุกขึ้นอภิปรายตอบโต้ว่าเกือบ 100 ศพที่ถูกยิงตายไม่มีใครพกอาวุธเลย ขณะที่การกล่าวหาผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้ายก็ไม่มีหลักฐานใดๆ มายืนยัน
ที่น่าสนใจคือก่อนการอภิปรายในสภาเพียงวันเดียว ศาลอาญามี คำสั่งในคดีฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมวนาราม เมื่อค่ำวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นการฆ่าหมู่ที่ได้รับความสนใจที่สุด
เพราะเหยื่อแต่ละรายแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่ อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นพยาบาลอาสา หรือหน่วยกู้ภัย
บวกกับหลักฐานภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวที่จับภาพเจ้าหน้าที่บนรางรถไฟฟ้ากระหน่ำยิงลงไปในวัด และคำให้การของพยานนับพันคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ
เหตุการณ์แทบไม่ต่างจากกระทำฝ่ายเดียวโดยที่เหยื่อไม่มีโอกาสต่อสู้ หรือไม่ได้ต่อสู้ด้วยซ้ำ
ศาลมีคำสั่งว่าทั้ง 6 ศพเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ภายใต้คำสั่งศอฉ.
โดยที่ผ่านมาศาลมีคำสั่งลักษณะเดียวกันนี้กับผู้เสียชีวิต 6 รายไปก่อนแล้ว
ผู้เสียชีวิตรวม 12 ศพดังกล่าว เป็นคดีที่นายอภสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะผู้สั่งการต้องรับผิดชอบ
พลิก 6 คดีเหยื่อปืน จนท.
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 จนถึงกลางปี 2556 ศาลอาญามีคำสั่งในคดีเกี่ยวกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 ซึ่งระบุว่าเสียชีวิตจากการ กระทำของเจ้าหน้าที่ไปแล้ว 6 ราย
เริ่มจากเหยื่อรายแรกที่ศาลสั่งคดีว่าตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐคือนายพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่จากจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกยิงเสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีราชปรารภ เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
วันที่ 17 กันยายน 2555 ศาลอาญา รัชดาฯ มีคำสั่งว่าตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
ถัดมาเป็นราย นายชาญณรงค์ พลศรีลา หรือผู้ก่อการร้ายหนังสติ๊ก ที่อาวุธในมือมีเพียงหนังสติ๊กแต่ถูกกระสุนจริงยิงใส่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
พยานปากสำคัญคือนายนิก นอสติทซ์ ช่างภาพชาวเยอรมันที่บันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่นายชาญณรงค์ยังมีชีวิตและให้สัมภาษณ์ ก่อนเห็นนายชาญณรงค์ถูกยิงและถูกทหารลากออกไปต่อหน้าต่อตา ก่อนกลายเป็นศพในเวลาต่อมา
ศาลอาญามีคำสั่งคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
รายที่ 3 นายชาติชาย ชาเหลา อาชีพรับจ้างและขับแท็กซี่ ถูกยิงตายขณะบันทึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณ ถ.พระราม 4
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ตายจากกระสุนฝั่งเจ้าหน้าที่
ถัดมาศพที่ 4 ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรืออีซา อายุ 14 ปี ซึ่งออกมาดูเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์โอเอ ถ.ราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ตั้งด่านอยู่สาดกระสุนยิงใส่รถตู้ที่แล่นเข้ามาใกล้
กระสุนนัดหนึ่งเจาะเข้าร่างด.ช.คุณากร ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
ศาลอาญา มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
เหยื่อกระสุนรายที่ 5 คือ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ หน่วยเคลื่อนที่เร็วของฝ่ายศอฉ. ถูกยิงตายคาถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 ขณะขี่รถจักรยานยนต์กับพวกมาเสริมกำลังแนวทหารที่ขวางถนนวิภาวดี ช่วงหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไม่ให้ม็อบนปช.เคลื่อนผ่าน
ถูกยิงเพราะเข้าใจผิด เพราะทหารที่ตั้งด่านขวางอยู่คิดว่าเป็นม็อบจะขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าเข้ามา
ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
และรายที่ 6 คือ นายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 บริเวณถนนราชดำริ
นายฟาบิโอถูกกระสุนจากแนวทหารยิงใส่ขณะเข้าไปทำข่าวเหตุการณ์ชุมนุมนปช. โดยทหารเคลื่อนกำลังเข้ากระชับพื้นที่ และใช้ความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ชุมนุมและผู้สื่อข่าววิ่งหลบหนี
นายฟาบิโอวิ่งหลบหนีจากแยกราชดำริไปยังแยกราชประสงค์ ก่อนถูกยิงบริเวณเกาะกลางถนนหน้าบริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งคดี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ว่าเสียชีวิตจากกระสุนฝั่งเจ้าหน้าที่
คำสั่งคดี 6 ศพวัดปทุม
ล่วงเข้าวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งไต่สวนชันสูตรคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ประกอบด้วย 1.นายสุวัน ศรีรักษา 2.นายอัฐชัย ชุมจันทร์ 3.นายมงคล เข็มทอง 4.นายรพ สุขสถิต 5.น.ส. กมนเกด อัคฮาด และ 6.นายอัครเดช ขันแก้ว
ทั้ง 6 ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ในคำสั่งศาลระบุว่า พยานหลายปากและ ผู้เชี่ยวชาญเบิกความสอดคล้องกันว่าได้ยินเสียงปืนดังมาจากทิศทางบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
จากการตรวจสถานที่พบรอยกระสุนมีทิศทางยิงจากหน้าวัดเข้าไปด้านใน บนถนนหน้าวัด ประตูทางเข้า-ทางออกวัด
ด้านหลังรางรถไฟฟ้ามีอาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห่างประมาณ 100 เมตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ยิงผ่านรางรถไฟฟ้าเข้าไปในวัด
จากการไต่สวนพยานซึ่งเป็นตำรวจ 3 นาย เบิกความว่า พยานอยู่บนอาคารสำนักงานตำรวจฯ เห็นไฟไหม้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และได้ยินเสียงปืนมาจากหน้าวัด ทั้ง 3 คนใช้กล้องวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ เห็นเจ้าพนักงานทหารเล็งปืนเข้าไปในวัด
แต่ไม่มีท่าทีหลบกระสุนจากการยิงต่อสู้!??
จากการไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจเศษกระสุนที่พบในศพผู้ตายพบเป็น กระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. ที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 ทุกรูปแบบ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม ผู้ที่สามารถใช้ได้คือเจ้าพนักงานทหารและตำรวจ
จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายที่ 1 และที่ 3-6 ถึงแก่ความตายด้วยอาวุธปืนความเร็วสูงขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
จากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนาราม
ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายของผู้ตายที่ 2 ไต่สวนพยานได้ยินเสียงปืนดังมาจากทางแยกเฉลิมเผ่า
ขณะนั้นมีทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ นำโดยพ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ และร.ท.พิษณุ ทัศแก้ว
เคลื่อนกำลังพล 500 นายจากแยกปทุมวัน โดยมีปืนเล็กยาวทาโวร์ บรรจุกระสุนขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. เป็นอาวุธประจำกาย
ในช่วงเกิดเหตุบริเวณ ถ.พระราม 1 ทั้งสองฝั่งถนน เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพื้นที่ไว้หมดแล้ว สอดคล้องกับคำเบิกความของผู้ชุมนุมที่ระบุว่าหลังแกนนำนปช.ประกาศยุติชุมนุมเวลา 13.00 น. ระหว่างพยานอยู่บริเวณแยกราชประสงค์จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. เห็นทหารเข้าล้อมพื้นที่การชุมนุมไว้หมดแล้ว
จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยอาวุธปืนความเร็วสูงขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
จากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการอยู่บริเวณ ถ.พระราม 1
ไม่พบเขม่าดินปืนบนมือศพ
สำหรับการตรวจพิสูจน์เขม่าดินปืนนั้น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไปยังวัดปทุมวนารามเวลา 08.00 น. เพื่อตรวจหาอนุภาคที่มาจากการยิงปืน ผลตรวจไม่พบผู้ตายทั้ง 6 มีอนุภาคที่มาจากการยิงปืน
ส่วนอาวุธที่ตรวจยึดได้หลังเหตุการณ์ (หลังเกิดเหตุสลายม็อบ ศอฉ.อ้างว่าพบอาวุธปืนและระเบิดจำนวนมากซุกซ่อนในวัดปทุมฯ) ไม่มีการนำไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการนำไปใช้หรือไม่ และไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับอาวุธที่ตรวจพบ
ประกอบกับคำเบิกความของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุว่า เมื่อ 26 เมษายน 2553 ศอฉ.มีคำสั่งให้ตั้งจุดตรวจสกัดแข็งแรง 6 จุด เป็นถนนรอบพื้นที่ราชประสงค์
ต่อมา 9 พฤษภาคม มีคำสั่งตั้งด่านตรวจแข็งแรงอีก 4 จุด จุดสกัดอีก 13 จุด ปิดการสัญจรทางรถไฟฟ้า 4 สถานี ได้แก่ ราชดำริ สยาม ชิดลม และเพลินจิต
13 พฤษภาคม ประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหลายแห่ง พร้อมปิดการสัญจรทางน้ำ
จึงเชื่อได้ว่าไม่มีผู้ใดนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทหารก่อน
ในวันเกิดเหตุ 19 พฤษภาคม 2553 ขณะนั้นเป็นเวลากลางวัน มี ผู้สื่อข่าวชาวไทยและต่างประเทศจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏหลักฐานภาพถ่าย และจากคำเบิกความ
ไม่มีผู้ใดพบเห็นชายชุดดำ
จึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายทั้ง 6 ถึงแก่ความตายในวัดปทุมวนาราม เมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวัน
เหตุและพฤติการณ์ที่ตายสืบเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
วิถีกระสุนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนาราม และบริเวณ ถ.พระราม 1 ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่ตามคำสั่ง ศอฉ.
หน้า 2
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEV4TURnMU5nPT0%3D§ionid=TURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdPQzB4TVE9PQ%3D%3D
คำสั่งศาล"12 ศพ" จาก "พัน คำกอง" ถึง 6 ศพวัดปทมฯ ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ
คำสั่งศาล"12ศพ" จาก"พัน คำกอง" ถึง6ศพวัดปทมฯ ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ
คอลัมน์ แฟ้มคดี
ท่ามกลางบรรยากาศถกเถียงเรื่องพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มีผลทั้งการเมืองในสภาและนอกสภา รวมถึงการยกเหตุและผลในการคัดค้านหรือสนับสนุน
แต่สิ่งที่ได้เห็นและได้ยินมาตลอดช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับจากเหตุสลายการชุมนุมนปช.หรือคนเสื้อแดง โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันมีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และผอ.ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) จนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน และบาดเจ็บอีกหลายพันคนช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพพูดเหมือนกันทุกครั้งว่าม็อบเสื้อแดงเป็น กลุ่มผู้ก่อการร้าย เป็นพวกเผาบ้านเผาเมือง จึงต้องใช้ความเด็ดขาด
กรณีพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ก็ไม่ต่างกัน ทั้ง 2 หัวแถวของพรรคประชาธิปัตย์ ตอกย้ำว่าพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อช่วยผู้ก่อการร้าย ช่วยคนเผาบ้านเผาเมือง
ขณะเดียวกัน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ หนึ่งในแกนนำนปช. ลุกขึ้นอภิปรายตอบโต้ว่าเกือบ 100 ศพที่ถูกยิงตายไม่มีใครพกอาวุธเลย ขณะที่การกล่าวหาผู้ชุมนุมเป็นผู้ก่อการร้ายก็ไม่มีหลักฐานใดๆ มายืนยัน
ที่น่าสนใจคือก่อนการอภิปรายในสภาเพียงวันเดียว ศาลอาญามี คำสั่งในคดีฆ่าหมู่ 6 ศพวัดปทุมวนาราม เมื่อค่ำวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นการฆ่าหมู่ที่ได้รับความสนใจที่สุด
เพราะเหยื่อแต่ละรายแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการชุมนุมแต่ อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นพยาบาลอาสา หรือหน่วยกู้ภัย
บวกกับหลักฐานภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวที่จับภาพเจ้าหน้าที่บนรางรถไฟฟ้ากระหน่ำยิงลงไปในวัด และคำให้การของพยานนับพันคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุ
เหตุการณ์แทบไม่ต่างจากกระทำฝ่ายเดียวโดยที่เหยื่อไม่มีโอกาสต่อสู้ หรือไม่ได้ต่อสู้ด้วยซ้ำ
ศาลมีคำสั่งว่าทั้ง 6 ศพเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ ภายใต้คำสั่งศอฉ.
โดยที่ผ่านมาศาลมีคำสั่งลักษณะเดียวกันนี้กับผู้เสียชีวิต 6 รายไปก่อนแล้ว
ผู้เสียชีวิตรวม 12 ศพดังกล่าว เป็นคดีที่นายอภสิทธิ์และนายสุเทพในฐานะผู้สั่งการต้องรับผิดชอบ
พลิก 6 คดีเหยื่อปืน จนท.
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2555 จนถึงกลางปี 2556 ศาลอาญามีคำสั่งในคดีเกี่ยวกับการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมเมื่อปี 2553 ซึ่งระบุว่าเสียชีวิตจากการ กระทำของเจ้าหน้าที่ไปแล้ว 6 ราย
เริ่มจากเหยื่อรายแรกที่ศาลสั่งคดีว่าตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐคือนายพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่จากจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกยิงเสียชีวิตหน้าคอนโดมิเนียม ใกล้สถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ สถานีราชปรารภ เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553
วันที่ 17 กันยายน 2555 ศาลอาญา รัชดาฯ มีคำสั่งว่าตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
ถัดมาเป็นราย นายชาญณรงค์ พลศรีลา หรือผู้ก่อการร้ายหนังสติ๊ก ที่อาวุธในมือมีเพียงหนังสติ๊กแต่ถูกกระสุนจริงยิงใส่บริเวณหน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553
พยานปากสำคัญคือนายนิก นอสติทซ์ ช่างภาพชาวเยอรมันที่บันทึกเหตุการณ์ตั้งแต่นายชาญณรงค์ยังมีชีวิตและให้สัมภาษณ์ ก่อนเห็นนายชาญณรงค์ถูกยิงและถูกทหารลากออกไปต่อหน้าต่อตา ก่อนกลายเป็นศพในเวลาต่อมา
ศาลอาญามีคำสั่งคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2555 ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
รายที่ 3 นายชาติชาย ชาเหลา อาชีพรับจ้างและขับแท็กซี่ ถูกยิงตายขณะบันทึกเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณ ถ.พระราม 4
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ตายจากกระสุนฝั่งเจ้าหน้าที่
ถัดมาศพที่ 4 ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรืออีซา อายุ 14 ปี ซึ่งออกมาดูเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณสถานีแอร์พอร์ตลิงก์ ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์โอเอ ถ.ราชปรารภ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 เจ้าหน้าที่ตั้งด่านอยู่สาดกระสุนยิงใส่รถตู้ที่แล่นเข้ามาใกล้
กระสุนนัดหนึ่งเจาะเข้าร่างด.ช.คุณากร ที่ไม่เกี่ยวข้องด้วย
ศาลอาญา มีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2555 ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
เหยื่อกระสุนรายที่ 5 คือ พลทหารณรงค์ฤทธิ์ สาละ หน่วยเคลื่อนที่เร็วของฝ่ายศอฉ. ถูกยิงตายคาถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2553 ขณะขี่รถจักรยานยนต์กับพวกมาเสริมกำลังแนวทหารที่ขวางถนนวิภาวดี ช่วงหน้าอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ไม่ให้ม็อบนปช.เคลื่อนผ่าน
ถูกยิงเพราะเข้าใจผิด เพราะทหารที่ตั้งด่านขวางอยู่คิดว่าเป็นม็อบจะขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าเข้ามา
ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก มีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 เมษายน ที่ผ่านมา ตายเพราะเจ้าหน้าที่รัฐ
และรายที่ 6 คือ นายฟาบิโอ โปเลงกี ช่างภาพชาวอิตาลี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 บริเวณถนนราชดำริ
นายฟาบิโอถูกกระสุนจากแนวทหารยิงใส่ขณะเข้าไปทำข่าวเหตุการณ์ชุมนุมนปช. โดยทหารเคลื่อนกำลังเข้ากระชับพื้นที่ และใช้ความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ชุมนุมและผู้สื่อข่าววิ่งหลบหนี
นายฟาบิโอวิ่งหลบหนีจากแยกราชดำริไปยังแยกราชประสงค์ ก่อนถูกยิงบริเวณเกาะกลางถนนหน้าบริษัท สายไฟฟ้าบางกอกเคเบิ้ล จำกัด ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้สั่งคดี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา ว่าเสียชีวิตจากกระสุนฝั่งเจ้าหน้าที่
คำสั่งคดี 6 ศพวัดปทุม
ล่วงเข้าวันที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้อ่านคำสั่งไต่สวนชันสูตรคดี 6 ศพวัดปทุมวนาราม ประกอบด้วย 1.นายสุวัน ศรีรักษา 2.นายอัฐชัย ชุมจันทร์ 3.นายมงคล เข็มทอง 4.นายรพ สุขสถิต 5.น.ส. กมนเกด อัคฮาด และ 6.นายอัครเดช ขันแก้ว
ทั้ง 6 ถูกยิงเสียชีวิตในวัดปทุมวนารามเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553
ในคำสั่งศาลระบุว่า พยานหลายปากและ ผู้เชี่ยวชาญเบิกความสอดคล้องกันว่าได้ยินเสียงปืนดังมาจากทิศทางบนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส
จากการตรวจสถานที่พบรอยกระสุนมีทิศทางยิงจากหน้าวัดเข้าไปด้านใน บนถนนหน้าวัด ประตูทางเข้า-ทางออกวัด
ด้านหลังรางรถไฟฟ้ามีอาคารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ห่างประมาณ 100 เมตร จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีผู้ยิงผ่านรางรถไฟฟ้าเข้าไปในวัด
จากการไต่สวนพยานซึ่งเป็นตำรวจ 3 นาย เบิกความว่า พยานอยู่บนอาคารสำนักงานตำรวจฯ เห็นไฟไหม้ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และได้ยินเสียงปืนมาจากหน้าวัด ทั้ง 3 คนใช้กล้องวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ เห็นเจ้าพนักงานทหารเล็งปืนเข้าไปในวัด
แต่ไม่มีท่าทีหลบกระสุนจากการยิงต่อสู้!??
จากการไต่สวนพยานผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจเศษกระสุนที่พบในศพผู้ตายพบเป็น กระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. ที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 ทุกรูปแบบ ซึ่งใช้ในราชการสงคราม ผู้ที่สามารถใช้ได้คือเจ้าพนักงานทหารและตำรวจ
จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายที่ 1 และที่ 3-6 ถึงแก่ความตายด้วยอาวุธปืนความเร็วสูงขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
จากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการอยู่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนาราม
ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการตายของผู้ตายที่ 2 ไต่สวนพยานได้ยินเสียงปืนดังมาจากทางแยกเฉลิมเผ่า
ขณะนั้นมีทหารสังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ นำโดยพ.ท.ยอดอาวุธ พึ่งพักตร์ และร.ท.พิษณุ ทัศแก้ว
เคลื่อนกำลังพล 500 นายจากแยกปทุมวัน โดยมีปืนเล็กยาวทาโวร์ บรรจุกระสุนขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม. เป็นอาวุธประจำกาย
ในช่วงเกิดเหตุบริเวณ ถ.พระราม 1 ทั้งสองฝั่งถนน เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพื้นที่ไว้หมดแล้ว สอดคล้องกับคำเบิกความของผู้ชุมนุมที่ระบุว่าหลังแกนนำนปช.ประกาศยุติชุมนุมเวลา 13.00 น. ระหว่างพยานอยู่บริเวณแยกราชประสงค์จนถึงเวลาประมาณ 15.00 น. เห็นทหารเข้าล้อมพื้นที่การชุมนุมไว้หมดแล้ว
จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยอาวุธปืนความเร็วสูงขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
จากเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติการอยู่บริเวณ ถ.พระราม 1
ไม่พบเขม่าดินปืนบนมือศพ
สำหรับการตรวจพิสูจน์เขม่าดินปืนนั้น สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ไปยังวัดปทุมวนารามเวลา 08.00 น. เพื่อตรวจหาอนุภาคที่มาจากการยิงปืน ผลตรวจไม่พบผู้ตายทั้ง 6 มีอนุภาคที่มาจากการยิงปืน
ส่วนอาวุธที่ตรวจยึดได้หลังเหตุการณ์ (หลังเกิดเหตุสลายม็อบ ศอฉ.อ้างว่าพบอาวุธปืนและระเบิดจำนวนมากซุกซ่อนในวัดปทุมฯ) ไม่มีการนำไปตรวจพิสูจน์ว่ามีการนำไปใช้หรือไม่ และไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับอาวุธที่ตรวจพบ
ประกอบกับคำเบิกความของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ระบุว่า เมื่อ 26 เมษายน 2553 ศอฉ.มีคำสั่งให้ตั้งจุดตรวจสกัดแข็งแรง 6 จุด เป็นถนนรอบพื้นที่ราชประสงค์
ต่อมา 9 พฤษภาคม มีคำสั่งตั้งด่านตรวจแข็งแรงอีก 4 จุด จุดสกัดอีก 13 จุด ปิดการสัญจรทางรถไฟฟ้า 4 สถานี ได้แก่ ราชดำริ สยาม ชิดลม และเพลินจิต
13 พฤษภาคม ประกาศห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหลายแห่ง พร้อมปิดการสัญจรทางน้ำ
จึงเชื่อได้ว่าไม่มีผู้ใดนำอาวุธเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมได้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเข้าไปต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทหารก่อน
ในวันเกิดเหตุ 19 พฤษภาคม 2553 ขณะนั้นเป็นเวลากลางวัน มี ผู้สื่อข่าวชาวไทยและต่างประเทศจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏหลักฐานภาพถ่าย และจากคำเบิกความ
ไม่มีผู้ใดพบเห็นชายชุดดำ
จึงมีคำสั่งว่า ผู้ตายทั้ง 6 ถึงแก่ความตายในวัดปทุมวนาราม เมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เวลากลางวัน
เหตุและพฤติการณ์ที่ตายสืบเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนขนาด .223 หรือ 5.56 ม.ม.
วิถีกระสุนยิงมาจากเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้าวัดปทุมวนาราม และบริเวณ ถ.พระราม 1 ซึ่งเข้าควบคุมพื้นที่ตามคำสั่ง ศอฉ.
หน้า 2
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERTJNVEV4TURnMU5nPT0%3D§ionid=TURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdPQzB4TVE9PQ%3D%3D