-เมื่อใด...
จิต ไม่รับอารมณ์ มีลักษณะเหมือนตบมือ
ข้างเดียว เสียงแห่ง...ความสงบดังก้องทั่วไป
ทั้งจักรวาล
"ธรรมดาคนตบมือสองข้างมีเสียงดัง
นี้หมายความถึงจิตรับอารมณ์มาปรุงแต่ง มาเกิดความยึดมั่นถือมั่นนี้ มันก็ดังไปตามแบบของวัฏฏสงสาร คือ...ดังไปในแบบของความทุกข์
แต่เมื่อใดจิตไม่รับอารมณ์ มีลักษณะเหมือนตบมือข้างเดียว เสียงดังนั้น...ก็เป็นเสียงอีกเสียงหนึ่ง
•เป็นเสียงของ...นิพพาน
•เป็นเสียงแห่ง...ความเงียบ
•เป็นเสียงแห่ง...ความเย็น
•เป็นเสียงแห่ง...ความสงบ ดังก้องทั่วไปทั้งจักรวาล คือ...เสียงแห่งการตบมือข้างเดียว
ตบมือสองข้างเปาะแปะดังอยู่ที่ตรงนี้...
แล้วก็เต็มไปด้วยความเดือดร้อน ตบมือข้างเดียว
ดังได้ยินทั่วจักรวาล มีแต่ความเย็น มีแต่ความเงียบ นี้เป็นอุปมาที่ควรจะจำไว้ เพื่อ...สะดวก หรือง่ายแก่การคิด และการนึก
การที่ตัดอวิชชา หรือตัดโอกาสของอวิชชา หรือตัดความชินความเคยชินของอวิชชาเสียได้นั้น
เป็นนิพพาน สิ่งนี้ไม่เปลี่ยนแปลง จึงเรียกว่า...
•เป็นนิรันดร
•เป็นอนันตะ
สิ่งนี้ไม่มีความตายอีกต่อไปจึงเรียกว่า...อมตะ
คนเข้าใจผิดเอาไปไว้ที่อื่น ที่จริงนั้นมันก็อยู่ที่นี่
หาพบได้ ในนิพพาน
ที่ใดมีความร้อนมาก ที่นั่นจะหาพบความเย็นมาก
ที่ใดมีความร้อนน้อย ที่นั่นจะหาพบความเย็นน้อย ลองคิดดูให้ดี ความร้อนน้อยดับลงไป มัน
ก็มีความเย็นน้อย ความร้อนมากดับลงไป มันก็มีความเย็นมาก
เพราะฉะนั้น...
ความเย็นที่มากที่สุดนั้น จะต้องหาพบท่ามกลางความร้อนที่มากที่สุด จึงเกิดคำอุปมาขึ้นมาอีกว่า..จงพยายามหาจุดเย็นที่สุดในกลางเตาหลอม
คำว่า...
เตาหลอมนี้ ตามธรรมดาเราก็พอจะเข้าใจ
กันได้ว่า มันมีความร้อนมาก เพราะต้องการหลอมโลหะ เย็นที่สุดอยู่ตรงใจกลางเตาหลอม
หมายความว่า...ดับความร้อนสูงสุดลงได้เท่าใด
ก็มีความเย็นสูงสุดที่นั่น
เพราะฉะนั้น...
สังสารวัฏฏ์เท่าไร นิพพานก็เท่านั้น
สังสารวัฏฏ์ร้อนเท่าใด นิพพานก็เย็นเท่านั้น สังสารวัฏฏ์ร้อนถึงที่สุด...
นิพพาน ก็เย็นถึงที่สุดเหมือนกันนั่นแหละ
เราจะต้องหาให้พบว่า เย็นที่สุดนั้น...จะอยู่ท่ามกลางร้อนที่สุด จนมีคำเปรียบว่า...
จงหาจุดเย็นที่สุดในกลางเตาหลอม ซึ่งในที่นี้
เราจะพูดว่า...จงหานิพพานที่ใจกลางแห่งสังสารวัฏฏ์
คนโง่ ก็หาไม่พบ
คนมีปัญญา ก็หาพบ
คนฉลาด ก็ค้าใกล้ๆ คนบ้าคนใบ้ก็ค้าไกลๆ
คนโบราณก็พูดไว้ถูกดีแล้ว
แต่คนเดี๋ยวนี้ไม่เข้าใจ ดังนั้น อาตมาจึงว่า...
เมื่อใดมีตัวกูของกู เมื่อนั้น...มีวัฏฏสงสาร
เมื่อใดไม่มีตัวกูของกู เมื่อนั้น...มีนิพพาน
แล้วก็ในจิตดวงเดียวกันนั่นเอง ในร่างกายอันเดียวกันนั่นเอง ในนามรูปอันเดียวกันนั่นเอง
เมื่อใดมีตัวกูของกู
โผล่หัว โผล่หูขึ้นมามันก็มีวัฏฏสงสาร
ขณะใด...ไม่มีตัวกูของกูโผล่หัวโผล่หูขึ้นมา
มันก็...มีนิพพาน.”
----------------------------------------------------------------------
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “ในวัฏฏสงสารมีนิพพาน” บรรยายเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๑๑ ที่สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา เอกสารธรรมะชุดมองด้านใน อันดับที่ ๑๗ พิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี พุทธทาส งานบรรลือธรรม เล่มที่ ๒ ชื่อหนังสือ “วิธีชนะความตาย” หน้า ๓๔๓ - ๓๔๕
การฝึกจิต แบบตบมือข้างเดียว แบบพระพุทธทาส
จิต ไม่รับอารมณ์ มีลักษณะเหมือนตบมือ
ข้างเดียว เสียงแห่ง...ความสงบดังก้องทั่วไป
ทั้งจักรวาล
"ธรรมดาคนตบมือสองข้างมีเสียงดัง
นี้หมายความถึงจิตรับอารมณ์มาปรุงแต่ง มาเกิดความยึดมั่นถือมั่นนี้ มันก็ดังไปตามแบบของวัฏฏสงสาร คือ...ดังไปในแบบของความทุกข์
แต่เมื่อใดจิตไม่รับอารมณ์ มีลักษณะเหมือนตบมือข้างเดียว เสียงดังนั้น...ก็เป็นเสียงอีกเสียงหนึ่ง
•เป็นเสียงของ...นิพพาน
•เป็นเสียงแห่ง...ความเงียบ
•เป็นเสียงแห่ง...ความเย็น
•เป็นเสียงแห่ง...ความสงบ ดังก้องทั่วไปทั้งจักรวาล คือ...เสียงแห่งการตบมือข้างเดียว
ตบมือสองข้างเปาะแปะดังอยู่ที่ตรงนี้...
แล้วก็เต็มไปด้วยความเดือดร้อน ตบมือข้างเดียว
ดังได้ยินทั่วจักรวาล มีแต่ความเย็น มีแต่ความเงียบ นี้เป็นอุปมาที่ควรจะจำไว้ เพื่อ...สะดวก หรือง่ายแก่การคิด และการนึก
การที่ตัดอวิชชา หรือตัดโอกาสของอวิชชา หรือตัดความชินความเคยชินของอวิชชาเสียได้นั้น
เป็นนิพพาน สิ่งนี้ไม่เปลี่ยนแปลง จึงเรียกว่า...
•เป็นนิรันดร
•เป็นอนันตะ
สิ่งนี้ไม่มีความตายอีกต่อไปจึงเรียกว่า...อมตะ
คนเข้าใจผิดเอาไปไว้ที่อื่น ที่จริงนั้นมันก็อยู่ที่นี่
หาพบได้ ในนิพพาน
ที่ใดมีความร้อนมาก ที่นั่นจะหาพบความเย็นมาก
ที่ใดมีความร้อนน้อย ที่นั่นจะหาพบความเย็นน้อย ลองคิดดูให้ดี ความร้อนน้อยดับลงไป มัน
ก็มีความเย็นน้อย ความร้อนมากดับลงไป มันก็มีความเย็นมาก
เพราะฉะนั้น...
ความเย็นที่มากที่สุดนั้น จะต้องหาพบท่ามกลางความร้อนที่มากที่สุด จึงเกิดคำอุปมาขึ้นมาอีกว่า..จงพยายามหาจุดเย็นที่สุดในกลางเตาหลอม
คำว่า...
เตาหลอมนี้ ตามธรรมดาเราก็พอจะเข้าใจ
กันได้ว่า มันมีความร้อนมาก เพราะต้องการหลอมโลหะ เย็นที่สุดอยู่ตรงใจกลางเตาหลอม
หมายความว่า...ดับความร้อนสูงสุดลงได้เท่าใด
ก็มีความเย็นสูงสุดที่นั่น
เพราะฉะนั้น...
สังสารวัฏฏ์เท่าไร นิพพานก็เท่านั้น
สังสารวัฏฏ์ร้อนเท่าใด นิพพานก็เย็นเท่านั้น สังสารวัฏฏ์ร้อนถึงที่สุด...
นิพพาน ก็เย็นถึงที่สุดเหมือนกันนั่นแหละ
เราจะต้องหาให้พบว่า เย็นที่สุดนั้น...จะอยู่ท่ามกลางร้อนที่สุด จนมีคำเปรียบว่า...
จงหาจุดเย็นที่สุดในกลางเตาหลอม ซึ่งในที่นี้
เราจะพูดว่า...จงหานิพพานที่ใจกลางแห่งสังสารวัฏฏ์
คนโง่ ก็หาไม่พบ
คนมีปัญญา ก็หาพบ
คนฉลาด ก็ค้าใกล้ๆ คนบ้าคนใบ้ก็ค้าไกลๆ
คนโบราณก็พูดไว้ถูกดีแล้ว
แต่คนเดี๋ยวนี้ไม่เข้าใจ ดังนั้น อาตมาจึงว่า...
เมื่อใดมีตัวกูของกู เมื่อนั้น...มีวัฏฏสงสาร
เมื่อใดไม่มีตัวกูของกู เมื่อนั้น...มีนิพพาน
แล้วก็ในจิตดวงเดียวกันนั่นเอง ในร่างกายอันเดียวกันนั่นเอง ในนามรูปอันเดียวกันนั่นเอง
เมื่อใดมีตัวกูของกู
โผล่หัว โผล่หูขึ้นมามันก็มีวัฏฏสงสาร
ขณะใด...ไม่มีตัวกูของกูโผล่หัวโผล่หูขึ้นมา
มันก็...มีนิพพาน.”
----------------------------------------------------------------------
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “ในวัฏฏสงสารมีนิพพาน” บรรยายเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๑๑ ที่สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา เอกสารธรรมะชุดมองด้านใน อันดับที่ ๑๗ พิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี พุทธทาส งานบรรลือธรรม เล่มที่ ๒ ชื่อหนังสือ “วิธีชนะความตาย” หน้า ๓๔๓ - ๓๔๕