สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง
บางคราวตกเอาปลายลง,
ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกแล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทำนองเดียวกัน
บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ?
สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจ
คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้
อะไรเอ่ยที่เวียนว่ายในวัฏฏสงสาร ถ้าไม่ใช่จิต เพราะจิตเป็นผู้รู้อริยสัจ เป็นโลกุตรจิต
ภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง
บางคราวตกเอาปลายลง,
ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องผูกแล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทำนองเดียวกัน
บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ?
สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์
อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจ
คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย !
เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้
เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า
“ทุกข์ เป็นอย่างนี้,
เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้