วันนี้ นำพระสูตรสั้นๆ มาฝากกันครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลต่อกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง
-------------------------------------------------------------------------
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บาง
คราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง,
ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
แล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไปจาก
โลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่
อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่
เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
---------------------------------------------------------------
เมื่อยังไม่รู้อริยสัจ ก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน
---------------------------------------------------------------
ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์บางพวก ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้
คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมมองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้.
เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา ลมพาไปได้,
เมื่อวางอยู่บนพื้นที่อันเสมอ ลมทิศตะวันออกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันตก, ลม
ทิศตะวันตกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือก็พัดพามันไปทิศใต้,
ลมทิศใต้ก็พัดพามันไปทางทิศเหนือ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
ปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบา ;
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก
ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ;
เขาย่อม มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้
จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือ
ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมไม่มองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้.
เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาอินทขีล มีรากลึก เขาฝังไว้
ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน, แม้พายุฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศตะวันออก....
จากทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ... จากทิศใต้, ก็ไม่สั่นคลอน ไม่สั่นสะเทือน
ไม่หวั่นไหว. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะมีรากลึก เพราะฝังไว้ดี, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือ
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อม ไม่มองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่
เขาเป็นผู้เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่ด้วยดีแล้ว. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือ
แห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๔/๑๗๒๒-๑๗๒๓.
---------------------------------------
สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ
--------------------------------------
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูอยู่เพียง
รูเดียว ลงไปในมหาสมุทร. ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง ล่วงไป
ร้อยปี ๆ จะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอดตัวนั้น ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนั้นจะเป็นไปได้บ้าง ก็ต่อเมื่อล่วงกาลนานยาว
ในบางคราว”.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่ เต่าตาบอด ตัวนั้น ต่อ ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมา
สักครั้งหนึ่ง ๆ จะพึง ยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ยังจะ
เร็วเสียกว่าการที่คนพาลซึ่งเข้าถึงการเกิดเป็นวินิบาตแล้ว จักได้ความเป็น
มนุษย์สักครั้งหนึ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
ในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น ไม่มีธัมมจริยา ไม่มีสมจริยา ไม่มีกุสลกิริยา ไม่มี
บุญญกิริยา, มีแต่การเคี้ยวกินซึ่งกันและกัน. ภิกษุ ท. ! การที่ สัตว์มีกำลังมาก
กว่าเคี้ยวกินสัตว์ที่มีกำลังน้อยกว่า ย่อม เป็นไป เป็นธรรมดา ในหมู่สัตว์
จำพวกวินิบาตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่ไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?
สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๓.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลต่อกิเลส ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง
-------------------------------------------------------------------------
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บาง
คราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง,
ข้อนี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก
แล่นไปอยู่ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไปจาก
โลกนี้สู่โลกอื่น บางคราวแล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่
อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่
เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้.” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๐/๑๗๑๖.
---------------------------------------------------------------
เมื่อยังไม่รู้อริยสัจ ก็ไม่สามารถลงหลักแห่งความรู้ของตน
---------------------------------------------------------------
ภิกษุ ท. ! สมณพราหมณ์บางพวก ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้
คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมมองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้.
เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย เป็นของเบา ลมพาไปได้,
เมื่อวางอยู่บนพื้นที่อันเสมอ ลมทิศตะวันออกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันตก, ลม
ทิศตะวันตกก็พัดพามันไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือก็พัดพามันไปทิศใต้,
ลมทิศใต้ก็พัดพามันไปทางทิศเหนือ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
ปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบา ;
ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก
ไม่รู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “นี้ คือทุกข์, นี้ คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้ คือความ
ดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ;
เขาย่อม มองสีหน้าของสมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้
จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็นจริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
ภิกษุ ท. ! ส่วนสมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือ
ทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อมไม่มองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้.
เปรียบเหมือนเสาเหล็กหรือเสาอินทขีล มีรากลึก เขาฝังไว้
ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน, แม้พายุฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศตะวันออก....
จากทิศตะวันตก ... จากทิศเหนือ ... จากทิศใต้, ก็ไม่สั่นคลอน ไม่สั่นสะเทือน
ไม่หวั่นไหว. เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะมีรากลึก เพราะฝังไว้ดี, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น ที่สมณพราหมณ์บางพวก รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้
คือทุกข์, นี้คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, นี้คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้คือ
ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ ; เขาย่อม ไม่มองสีหน้าของ
สมณพราหมณ์อื่น เพื่อให้รู้ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริงหรือ, เมื่อเห็นก็เห็น
จริงหรือ” ดังนี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่
เขาเป็นผู้เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่ด้วยดีแล้ว. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือ
แห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๕๔/๑๗๒๒-๑๗๒๓.
---------------------------------------
สัตว์จำพวกวินิบาตกับการเห็นจตุราริยสัจ
--------------------------------------
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษทิ้งแอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูอยู่เพียง
รูเดียว ลงไปในมหาสมุทร. ในมหาสมุทรนั้น มีเต่าตาบอดตัวหนึ่ง ล่วงไป
ร้อยปี ๆ จะผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ. ภิกษุ ท. ! เธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :
จะเป็นไปได้ไหม ที่เต่าตาบอดตัวนั้น ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมาครั้งหนึ่ง ๆ
จะพึงยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนั้นจะเป็นไปได้บ้าง ก็ต่อเมื่อล่วงกาลนานยาว
ในบางคราว”.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่ เต่าตาบอด ตัวนั้น ต่อ ล่วงไปร้อยปี ๆ จึงผุดขึ้นมา
สักครั้งหนึ่ง ๆ จะพึง ยื่นคอเข้าไปในรูซึ่งมีอยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ยังจะ
เร็วเสียกว่าการที่คนพาลซึ่งเข้าถึงการเกิดเป็นวินิบาตแล้ว จักได้ความเป็น
มนุษย์สักครั้งหนึ่ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า
ในหมู่สัตว์จำพวกวินิบาตนั้น ไม่มีธัมมจริยา ไม่มีสมจริยา ไม่มีกุสลกิริยา ไม่มี
บุญญกิริยา, มีแต่การเคี้ยวกินซึ่งกันและกัน. ภิกษุ ท. ! การที่ สัตว์มีกำลังมาก
กว่าเคี้ยวกินสัตว์ที่มีกำลังน้อยกว่า ย่อม เป็นไป เป็นธรรมดา ในหมู่สัตว์
จำพวกวินิบาตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่ไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่. อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ?
สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอัน
เป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้,
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่ง
ทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๓.
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------