ปัจจัยที่ทำให้เกิด “สัมมาทิฏฐิ”
.
…. “สัมมาทิฏฐิ” เป็นองค์ประกอบสําคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม หรือพูดตามแนวไตรสิกขา ว่า เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาแบบพุทธ และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ แจ้งชัด เป็นอิสระมากขึ้นตามลําดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง
…. มีพุทธพจน์แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ดังนี้
…. “ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ” ( องฺ. ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐ และ ม. มู. ๑๒/๔๙๗/๕๓๙ )
…. ๑. ปรโตโฆสะ = “เสียงจากผู้อื่น” คําบอกเล่า ข่าวสาร คําชี้แจง อธิบาย การแนะนําชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้เรียนรู้จากผู้อื่น ( hearing or learning from others )
…. ๒. โยนิโสมนสิการ = “การทําในใจโดยแยบคาย” การพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่างมีระเบียบ การรู้จักคิดพิจารณาด้วยอุบาย การคิดแยกแยะออกดูตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ ( analytical reflection, critical reflection, systematic attention )
…. ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน
…. สําหรับคนสามัญ ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมอาศัยการแนะนําชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคําแนะนําชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้
…. ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้นก็อาจต้องอาศัยคําแนะนําที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม
…. การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสําคัญ เมื่อนํามาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนําชักจูงสั่งสอนอบรมที่ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล
…. ดังนั้น ในระบบการศึกษาอบรม จึงจํากัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมายด้วยหลักที่เรียกว่า “กัลยาณมิตตตา” คือความมีกัลยาณมิตร
…. ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นแกนหรือองค์ประกอบหลักของการพัฒนาปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร
…. เมื่อนําปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่า
…. “กัลยาณมิตตตา” (=ปรโตโฆสะที่ดี) เป็นองค์ประกอบภายนอก และ
…. “โยนิโสมนสิการ” เป็นองค์ประกอบภายใน
…. ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทําให้ประสบปรโตโฆสะที่ผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้รับผลตรงข้าม คือ เป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้
…. มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม พร้อมทั้งความสําคัญที่ควบคู่กัน ดังนี้
๑. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด มีประโยชน์มาก เท่าความมีกัลยาณมิตรเลย
๒. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด มีประโยชน์มาก เท่าโยนิโสมนสิการเลย”
.
ความมีกัลยาณมิตร
“กัลยาณมิตร” มิได้หมายถึงเพียงแค่เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญ แต่หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนํา ชี้แจง ชักจูง ช่วยเหลือ บอกช่องทาง ให้ดําเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกศึกษาอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ยกตัวอย่างไว้ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนําเป็นที่ ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า….”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับเดิม” ภาค ๒ มัชฌิมาปฏิปทา หัวข้อเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ”
อะไรที่ทำให้เกิด สัมมาทิฏฐิ
.
…. “สัมมาทิฏฐิ” เป็นองค์ประกอบสําคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติธรรม หรือพูดตามแนวไตรสิกขา ว่า เป็นขั้นเริ่มแรกในระบบการศึกษาแบบพุทธ และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริสุทธิ์ แจ้งชัด เป็นอิสระมากขึ้นตามลําดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้นการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสําคัญยิ่ง
…. มีพุทธพจน์แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ดังนี้
…. “ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ อย่าง ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ” ( องฺ. ทุก. ๒๐/๓๗๑/๑๑๐ และ ม. มู. ๑๒/๔๙๗/๕๓๙ )
…. ๑. ปรโตโฆสะ = “เสียงจากผู้อื่น” คําบอกเล่า ข่าวสาร คําชี้แจง อธิบาย การแนะนําชักจูง การสั่งสอน การถ่ายทอด การได้เรียนรู้จากผู้อื่น ( hearing or learning from others )
…. ๒. โยนิโสมนสิการ = “การทําในใจโดยแยบคาย” การพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า การใช้ความคิดสืบสาวตลอดสาย การคิดอย่างมีระเบียบ การรู้จักคิดพิจารณาด้วยอุบาย การคิดแยกแยะออกดูตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ ( analytical reflection, critical reflection, systematic attention )
…. ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ ย่อมสนับสนุนซึ่งกันและกัน
…. สําหรับคนสามัญ ซึ่งมีปัญญาไม่แก่กล้า ย่อมอาศัยการแนะนําชักจูงจากผู้อื่น และคล้อยไปตามคําแนะนําชักจูงที่ฉลาดได้ง่าย แต่ก็จะต้องฝึกหัดให้สามารถใช้ความคิดอย่างถูกวิธีด้วยตนเองได้ด้วย จึงจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดได้
…. ส่วนคนที่มีปัญญาแก่กล้า ย่อมรู้จักใช้โยนิโสมนสิการได้ดีกว่า แต่กระนั้นก็อาจต้องอาศัยคําแนะนําที่ถูกต้องเป็นเครื่องนำทางในเบื้องต้น และเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้ก้าวหน้าไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม
…. การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ ด้วยปัจจัยอย่างที่ ๑ (ปรโตโฆสะ) ก็คือ วิธีการที่เริ่มต้นด้วยศรัทธา และอาศัยศรัทธาเป็นสําคัญ เมื่อนํามาใช้ปฏิบัติในระบบการศึกษาอบรม จึงต้องพิจารณาที่จะให้ได้รับการแนะนําชักจูงสั่งสอนอบรมที่ได้ผลดีที่สุด คือ ต้องมีผู้สั่งสอนอบรมที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติ มีความสามารถ และใช้วิธีการอบรมสั่งสอนที่ได้ผล
…. ดังนั้น ในระบบการศึกษาอบรม จึงจํากัดให้ได้ปรโตโฆสะที่มุ่งหมายด้วยหลักที่เรียกว่า “กัลยาณมิตตตา” คือความมีกัลยาณมิตร
…. ส่วนปัจจัยอย่างที่ ๒ (โยนิโสมนสิการ) เป็นแกนหรือองค์ประกอบหลักของการพัฒนาปัญญา ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าควรใช้ความคิดให้ถูกต้องอย่างไร
…. เมื่อนําปัจจัยทั้งสองมาประกอบกัน นับว่า
…. “กัลยาณมิตตตา” (=ปรโตโฆสะที่ดี) เป็นองค์ประกอบภายนอก และ
…. “โยนิโสมนสิการ” เป็นองค์ประกอบภายใน
…. ถ้าตรงข้ามจากนี้ คือ ได้ผู้ไม่เป็นกัลยาณมิตร ทําให้ประสบปรโตโฆสะที่ผิดพลาด และใช้ความคิดผิดวิธี เป็นอโยนิโสมนสิการ ก็จะได้รับผลตรงข้าม คือ เป็นมิจฉาทิฏฐิไปได้
…. มีพุทธพจน์แสดงปัจจัยทั้งสองนี้ ในภาคปฏิบัติของการฝึกอบรม พร้อมทั้งความสําคัญที่ควบคู่กัน ดังนี้
๑. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นใด มีประโยชน์มาก เท่าความมีกัลยาณมิตรเลย
๒. สําหรับภิกษุผู้ยังต้องศึกษา (เสขะ)...เรามองไม่เห็นองค์ประกอบภายในอื่นใด มีประโยชน์มาก เท่าโยนิโสมนสิการเลย”
.
ความมีกัลยาณมิตร
“กัลยาณมิตร” มิได้หมายถึงเพียงแค่เพื่อนที่ดีอย่างในความหมายสามัญ แต่หมายถึง บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติที่จะสั่งสอน แนะนํา ชี้แจง ชักจูง ช่วยเหลือ บอกช่องทาง ให้ดําเนินไปในมรรคาแห่งการฝึกศึกษาอย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ยกตัวอย่างไว้ เช่น พระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ครู อาจารย์ และท่านผู้เป็นพหูสูตทรงปัญญา สามารถสั่งสอนแนะนําเป็นที่ ปรึกษาได้ แม้จะอ่อนวัยกว่า….”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับเดิม” ภาค ๒ มัชฌิมาปฏิปทา หัวข้อเรื่อง “สัมมาทิฏฐิ”