ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค
24 มกราคม 2524
หลักทั่วไปของพุทธศาสตร์
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค
สัมมาทิฏฐินั้นเป็นหัวข้อแรกในมรรค ท่านบอกว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบแล้ว สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบก็จะมีขึ้น แล้วจะมีสัมมาวาจา พูดชอบ สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ เป็นต้น แต่ทีนี้ตัวสัมมาทิฏฐิเองเล่าจะเริ่มต้นอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ปรโตโฆษะ และโยนิโสมนสิการ
ปรโตโฆษะ แปลว่าเสียงจากอื่น เสียงจากอื่นคืออะไร เสียงจากอื่นก็คือเสียงจากคนอื่น เสียงที่มาจากที่อื่น ความรู้ที่มาจากแหล่งอื่น คนอื่น ถ้าจะใช้ภาษาสมัยปัจจุบันก็ว่า จากสภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมี ๒ ส่วน คือ ปรโตโฆษะที่ดีและที่ไม่ดี ปรโตโฆษะที่ไม่ดีท่านบอกว่านำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ ปรโตโฆษะที่ดีนำไปสู่สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจคิดเห็นเชื่อถือถูกต้อง ปรโตโฆษะนี้เป็นปัจจัยที่หนึ่ง
ปัจจัยที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ เราแปลกันมาตามประเพณีว่า การทำในใจโดยแยบคาย ซึ่งต้องไปพิจารณาความหมายกันอีก อาตมภาพเลยลองเสนอคำแปลไปว่า ความรู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี นี้เรียกว่า ‘โยนิโสมนสิการ’
สัมมาทิฏฐิจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๒ ประการนี้และท่านเน้นมากเหลือเกิน มีพุทธพจน์ที่เน้นเรื่อง ๒ อย่างนี้มากมายหลายแห่ง เช่นตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุผู้ยังศึกษาอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างใดที่จะเป็นสิ่งสำคัญเท่าปรโตโฆษะ ซึ่งปรโตโฆษะที่ดีก็ได้แก่ ความมีกัลยาณมิตร และสำหรับองค์ประกอบภายใน เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบใดสำคัญเท่าโยนิโสมนสิการเลย”
เป็นอันว่ามีองค์ประกอบ ๒ อย่าง ที่จะทำให้เกิดสัมมาทิฏฐินำไปสู่มรรค คือ องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆษะที่ดี และองค์ประกอบภายใน คือ โยนิโสมนสิการ ยังมีพุทธพจน์ทำนองนี้อีกมาก เช่น ตรัสว่า โยนิโสมนสิการก็ดี ปรโตโฆษะที่ดี คือ ความมีกัลยาณมิตรก็ดี (กัลยาณมิตรเป็นตัวอย่างเด่นชัดของปรโตโฆษะที่ดี ในส่วนที่เป็นบุคคล) นี้เป็นรุ่งอรุณของมรรคมีองค์ ๘ ประการ เมื่ออาทิตย์จะอุทัยขึ้นนั้น มีแสงอรุณนำมาก่อนฉันใด การที่มรรคจะเกิดขึ้น ก็มีแสงอรุณ คือ ความมีกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง
สิ่งสำคัญก็คือ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ช่วยกันได้ ส่วนสัมมาทิฏฐินั้นเกิดอยู่ในตัวคน เมื่อเขามีความเห็นถูกต้อง เขาก็ดำเนินตามมรรคไป แต่ก่อนที่เขาจะมีสัมมาทิฏฐิเราจะทำอย่างไร นี้เป็นเรื่องที่มนุษย์จะช่วยกันได้......
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตโต)
★มรรค8(โลกียมรรค)...การเริ่มเกิดขึ้นของ "สัมมาทิฎฐิ"ที่ยังมีอาสวะ(สาสวะสัมมาทิฎฐิ)
24 มกราคม 2524
หลักทั่วไปของพุทธศาสตร์
ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ หนทางดำเนินสู่มรรค
สัมมาทิฏฐินั้นเป็นหัวข้อแรกในมรรค ท่านบอกว่า เมื่อมีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบแล้ว สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบก็จะมีขึ้น แล้วจะมีสัมมาวาจา พูดชอบ สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ เป็นต้น แต่ทีนี้ตัวสัมมาทิฏฐิเองเล่าจะเริ่มต้นอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสไว้อีกว่า ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒ ประการ คือ ปรโตโฆษะ และโยนิโสมนสิการ
ปรโตโฆษะ แปลว่าเสียงจากอื่น เสียงจากอื่นคืออะไร เสียงจากอื่นก็คือเสียงจากคนอื่น เสียงที่มาจากที่อื่น ความรู้ที่มาจากแหล่งอื่น คนอื่น ถ้าจะใช้ภาษาสมัยปัจจุบันก็ว่า จากสภาพแวดล้อมทางสังคม สภาพแวดล้อมทางสังคมมี ๒ ส่วน คือ ปรโตโฆษะที่ดีและที่ไม่ดี ปรโตโฆษะที่ไม่ดีท่านบอกว่านำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ ปรโตโฆษะที่ดีนำไปสู่สัมมาทิฏฐิ คือความเข้าใจคิดเห็นเชื่อถือถูกต้อง ปรโตโฆษะนี้เป็นปัจจัยที่หนึ่ง
ปัจจัยที่ ๒ คือ โยนิโสมนสิการ เราแปลกันมาตามประเพณีว่า การทำในใจโดยแยบคาย ซึ่งต้องไปพิจารณาความหมายกันอีก อาตมภาพเลยลองเสนอคำแปลไปว่า ความรู้จักคิด คิดเป็น คิดถูกวิธี นี้เรียกว่า ‘โยนิโสมนสิการ’
สัมมาทิฏฐิจะเกิดได้ ต้องอาศัยองค์ประกอบ ๒ ประการนี้และท่านเน้นมากเหลือเกิน มีพุทธพจน์ที่เน้นเรื่อง ๒ อย่างนี้มากมายหลายแห่ง เช่นตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สำหรับภิกษุผู้ยังศึกษาอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างใดที่จะเป็นสิ่งสำคัญเท่าปรโตโฆษะ ซึ่งปรโตโฆษะที่ดีก็ได้แก่ ความมีกัลยาณมิตร และสำหรับองค์ประกอบภายใน เราไม่พิจารณาเห็นองค์ประกอบใดสำคัญเท่าโยนิโสมนสิการเลย”
เป็นอันว่ามีองค์ประกอบ ๒ อย่าง ที่จะทำให้เกิดสัมมาทิฏฐินำไปสู่มรรค คือ องค์ประกอบภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆษะที่ดี และองค์ประกอบภายใน คือ โยนิโสมนสิการ ยังมีพุทธพจน์ทำนองนี้อีกมาก เช่น ตรัสว่า โยนิโสมนสิการก็ดี ปรโตโฆษะที่ดี คือ ความมีกัลยาณมิตรก็ดี (กัลยาณมิตรเป็นตัวอย่างเด่นชัดของปรโตโฆษะที่ดี ในส่วนที่เป็นบุคคล) นี้เป็นรุ่งอรุณของมรรคมีองค์ ๘ ประการ เมื่ออาทิตย์จะอุทัยขึ้นนั้น มีแสงอรุณนำมาก่อนฉันใด การที่มรรคจะเกิดขึ้น ก็มีแสงอรุณ คือ ความมีกัลยาณมิตรและโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง
สิ่งสำคัญก็คือ ทั้งสองอย่างนี้เป็นเรื่องในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ช่วยกันได้ ส่วนสัมมาทิฏฐินั้นเกิดอยู่ในตัวคน เมื่อเขามีความเห็นถูกต้อง เขาก็ดำเนินตามมรรคไป แต่ก่อนที่เขาจะมีสัมมาทิฏฐิเราจะทำอย่างไร นี้เป็นเรื่องที่มนุษย์จะช่วยกันได้......
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ.ปยุตโต)