เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย พิราภรณ์ วิทูรัตน์
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1169861
ไม่ปรับตัวก็ไม่รอด! ธุรกิจร้านอาหารเสี่ยงปิดตัวเพิ่ม เหตุต้นทุนสูง-ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่ขึ้นราคาไม่ได้ ซ้ำร้ายโดนทุนใหญ่-ทุนจีน ออกมาแข่งนอกห้างฉ่ำๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะ เพิ่ม “Valued” ให้อาหาร ขายเมนูธรรมดาแต่ต้องลึกขึ้น คนกินสมัยนี้เลือกร้านตั้งแต่อยู่ที่บ้าน โลเกชันไม่สำคัญเท่าสไตล์ที่ชัดเจน
ปีที่แล้ว “LINE MAN Wongnai” เปิดเผยสถิติเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารไทยโดยระบุว่า แม้ตลาดจะคึกคัก มีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มมาเรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีร้านอาหารเจ๊ง-ปิดตัวลงตั้งแต่ปีแรกมากถึง 50% มาปีนี้ดูเหมือนว่า ธุรกิจ “เข้าง่าย-ออกง่าย” จะทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะ “ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี” หรือ “ต่อเพนกวิน” ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท เพนกวินเอ็กซ์ จำกัด ระบุว่า อัตราการปิดตัวของธุรกิจร้านอาหารในปี 2567 สูงถึง 60%
นอกจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ปัจจัยหลักที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลงมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะต้นทุนค่าเช่า จากเดิมอยู่ที่ 10% มาวันนี้เฉพาะต้นทุนค่าเช่าหน้าร้านอยู่ที่ 15-20% ของยอดขาย ยังไม่นับต้นทุนค่าวัตถุดิบอีก 35% ค่าแรง 15-20% และหากร้านไหนมีบริการเดลิเวอรีผ่านแพลตฟอร์มก็ต้องเจอกับค่า GP ที่ต้องจ่ายอีก 30% นั่นหมายความว่า เจ้าของร้านแทบจะติดลบตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำด้วยซ้ำ
ร้ายไปกว่านั้น คือแม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเสมอตัว กำลังซื้อในมือผู้บริโภคจึงลดลงจนแทบจะชนเพดานแล้ว “ธนพงศ์” บอกว่า สถานการณ์ของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือ “SMEs” ตอนนี้ไม่ได้แข่งแค่กับตัวเอง แต่ยังเจอกับร้านอาหารเชนใหญ่ที่เริ่มออกนอกห้างมาแข่งกับร้านข้างทาง รวมถึง “ทุนจีน” ที่ปีนี้และปีหน้ากำลังทยอยเข้ามาแบบ “สึนามิ” ที่เห็นๆ ในปีก่อนหน้ายังเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น
ไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องคู่แข่ง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สมัยก่อนทำเลที่ตั้งร้านมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า คนกินมีร้านอยู่ในใจก่อนขับรถออกจากบ้าน
เขายกตัวอย่าง “เผ็ดมาร์ค” กระเพราริมทางชื่อดังที่มีขนาดเล็กๆ มากๆ แต่สร้างยอดขายได้ “4 ล้านบาทต่อเดือน” หรือร้านขนมไข่ “HAAB” ที่เริ่มจากตั้งโต๊ะเล็กๆ ริมทาง แต่สามารถปิดยอดขายได้มากถึง “300 ล้านบาท” เป็นต้น
ฉะนั้น ร้านอาหารขนาดเล็กที่จะอยู่รอด ต้องมี “Economy of Style” และปล่อยให้ “Economy of Scale” เป็นเรื่องของคนตัวใหญ่ แม้ขายเมนูธรรมดาแต่ต้องมีความลุ่มลึกมากขึ้น เห็นได้จากเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มสเปเชียลตี้ที่มาแรงแซงทางโค้ง มีความพิเศษ สร้างความแตกต่าง และให้ในสิ่งที่ร้านอื่นให้ไม่ได้
อ่านต่อที่ลิ้งค์ข้างต้น
ทุกวันนี้ ร้านอาหาร เจ๊งง่าย ตายไว ถ้าไม่ตอบโจทย์ลูกค้า !
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1169861
ไม่ปรับตัวก็ไม่รอด! ธุรกิจร้านอาหารเสี่ยงปิดตัวเพิ่ม เหตุต้นทุนสูง-ค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่ขึ้นราคาไม่ได้ ซ้ำร้ายโดนทุนใหญ่-ทุนจีน ออกมาแข่งนอกห้างฉ่ำๆ ผู้เชี่ยวชาญแนะ เพิ่ม “Valued” ให้อาหาร ขายเมนูธรรมดาแต่ต้องลึกขึ้น คนกินสมัยนี้เลือกร้านตั้งแต่อยู่ที่บ้าน โลเกชันไม่สำคัญเท่าสไตล์ที่ชัดเจน
ปีที่แล้ว “LINE MAN Wongnai” เปิดเผยสถิติเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารไทยโดยระบุว่า แม้ตลาดจะคึกคัก มีผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มมาเรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันก็มีร้านอาหารเจ๊ง-ปิดตัวลงตั้งแต่ปีแรกมากถึง 50% มาปีนี้ดูเหมือนว่า ธุรกิจ “เข้าง่าย-ออกง่าย” จะทวีความรุนแรงมากกว่าเดิม เพราะ “ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี” หรือ “ต่อเพนกวิน” ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท เพนกวินเอ็กซ์ จำกัด ระบุว่า อัตราการปิดตัวของธุรกิจร้านอาหารในปี 2567 สูงถึง 60%
นอกจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ปัจจัยหลักที่ทำให้ร้านอาหารต้องปิดตัวลงมาจากต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะต้นทุนค่าเช่า จากเดิมอยู่ที่ 10% มาวันนี้เฉพาะต้นทุนค่าเช่าหน้าร้านอยู่ที่ 15-20% ของยอดขาย ยังไม่นับต้นทุนค่าวัตถุดิบอีก 35% ค่าแรง 15-20% และหากร้านไหนมีบริการเดลิเวอรีผ่านแพลตฟอร์มก็ต้องเจอกับค่า GP ที่ต้องจ่ายอีก 30% นั่นหมายความว่า เจ้าของร้านแทบจะติดลบตั้งแต่ยังไม่เริ่มลงมือทำด้วยซ้ำ
ร้ายไปกว่านั้น คือแม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการก็ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าได้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังเสมอตัว กำลังซื้อในมือผู้บริโภคจึงลดลงจนแทบจะชนเพดานแล้ว “ธนพงศ์” บอกว่า สถานการณ์ของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง หรือ “SMEs” ตอนนี้ไม่ได้แข่งแค่กับตัวเอง แต่ยังเจอกับร้านอาหารเชนใหญ่ที่เริ่มออกนอกห้างมาแข่งกับร้านข้างทาง รวมถึง “ทุนจีน” ที่ปีนี้และปีหน้ากำลังทยอยเข้ามาแบบ “สึนามิ” ที่เห็นๆ ในปีก่อนหน้ายังเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น
ไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องคู่แข่ง แต่พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สมัยก่อนทำเลที่ตั้งร้านมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่า คนกินมีร้านอยู่ในใจก่อนขับรถออกจากบ้าน
เขายกตัวอย่าง “เผ็ดมาร์ค” กระเพราริมทางชื่อดังที่มีขนาดเล็กๆ มากๆ แต่สร้างยอดขายได้ “4 ล้านบาทต่อเดือน” หรือร้านขนมไข่ “HAAB” ที่เริ่มจากตั้งโต๊ะเล็กๆ ริมทาง แต่สามารถปิดยอดขายได้มากถึง “300 ล้านบาท” เป็นต้น
ฉะนั้น ร้านอาหารขนาดเล็กที่จะอยู่รอด ต้องมี “Economy of Style” และปล่อยให้ “Economy of Scale” เป็นเรื่องของคนตัวใหญ่ แม้ขายเมนูธรรมดาแต่ต้องมีความลุ่มลึกมากขึ้น เห็นได้จากเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มสเปเชียลตี้ที่มาแรงแซงทางโค้ง มีความพิเศษ สร้างความแตกต่าง และให้ในสิ่งที่ร้านอื่นให้ไม่ได้
อ่านต่อที่ลิ้งค์ข้างต้น