คนรุ่นใหม่ผิดหวังในที่ทำงาน หันหลังให้ตำแหน่งใหญ่ ไม่ทะเยอทะยาน สะท้อนภาวะ ‘Career Shock’ ในสังคมการทำงาน
การระบาดโควิด-19 ส่งผลให้โลกการทำงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ความรู้สึกต่อการอยากเติบโตก้าวหน้าในอาชีพของคนรุ่นใหม่ที่ลดลงอย่างมาก
ผลการวิจัยของโค้ชด้านอาชีพพบว่า วัยทำงานชาว Gen Z และมิลเลนเนียลในปัจจุบัน ไม่อยากเลื่อนตำแหน่ง ไม่อยากทะเยอทะยานไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงๆ ในองค์กรอีกต่อไป สะท้อนภาวะ ‘Career Shock’ ที่เกิดขึ้นในสังคมการทำงาน
แคโรไลน์ ฮิกกี (Caroline Hickey) โค้ชด้านอาชีพการงาน ได้ค้นพบสาเหตุเบื้องหลังความรู้สึกผิดหวังในที่ทำงานที่เพิ่มมากขึ้น ของคนทำงานกลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z เธอชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสูญเสียความทะเยอทะยานในอาชีพการงานจำนวนมาก
เธอโพสต์คำถามหนึ่งที่น่าสนใจผ่านสื่อโซเชียลไปว่า “คุณคิดว่าการที่ฉันไม่ทะเยอทะยานในอาชีพเหมือนเมื่อก่อนนั้น เป็นปัญหาหรือเปล่า ฉันเคยหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะได้งานใหญ่ๆ และการไต่เต้าขึ้นไปเป็นเจ้านาย แต่ตอนนี้ฉันไม่สนใจมันแล้ว”
คำพูดตรงไปตรงมาของเธอสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่กว้างขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจในหมู่คนทำงานรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทัศนคตินี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดโควิดทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้คนหันมาจัดลำดับความสำคัญของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานใหม่
ฮิกกีได้ศึกษาในหัวข้อนี้ระหว่างเรียนปริญญาโท สาขาโค้ชอาชีพ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน และผลวิจัยของเธอค้นพบว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับอาชีพการงานของคนทำงานรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมากหลังจากการระบาดใหญ่ โดยเธอเรียกมันว่า Career Shock (ภาวะช็อกจากอาชีพการงาน)
กลุ่มตัวอย่างจากการศึกษาทั้งหมดบอกว่า พวกเขารู้สึกไม่สนใจที่จะก้าวหน้าในโลกการทำงานเหมือนเมื่อก่อน แต่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงและการควบคุมชีวิตได้มากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม : กรุงเทพธุรกิจ
Career Shock คนรุ่นใหม่ผิดหวังในที่ทำงาน ไม่ทะเยอทะยานในอาชีพ
การระบาดโควิด-19 ส่งผลให้โลกการทำงาน เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ ความรู้สึกต่อการอยากเติบโตก้าวหน้าในอาชีพของคนรุ่นใหม่ที่ลดลงอย่างมาก
ผลการวิจัยของโค้ชด้านอาชีพพบว่า วัยทำงานชาว Gen Z และมิลเลนเนียลในปัจจุบัน ไม่อยากเลื่อนตำแหน่ง ไม่อยากทะเยอทะยานไต่เต้าสู่ตำแหน่งสูงๆ ในองค์กรอีกต่อไป สะท้อนภาวะ ‘Career Shock’ ที่เกิดขึ้นในสังคมการทำงาน
แคโรไลน์ ฮิกกี (Caroline Hickey) โค้ชด้านอาชีพการงาน ได้ค้นพบสาเหตุเบื้องหลังความรู้สึกผิดหวังในที่ทำงานที่เพิ่มมากขึ้น ของคนทำงานกลุ่มมิลเลนเนียลและ Gen Z เธอชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสูญเสียความทะเยอทะยานในอาชีพการงานจำนวนมาก
เธอโพสต์คำถามหนึ่งที่น่าสนใจผ่านสื่อโซเชียลไปว่า “คุณคิดว่าการที่ฉันไม่ทะเยอทะยานในอาชีพเหมือนเมื่อก่อนนั้น เป็นปัญหาหรือเปล่า ฉันเคยหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่จะได้งานใหญ่ๆ และการไต่เต้าขึ้นไปเป็นเจ้านาย แต่ตอนนี้ฉันไม่สนใจมันแล้ว”
คำพูดตรงไปตรงมาของเธอสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่กว้างขึ้น ซึ่งได้รับความสนใจในหมู่คนทำงานรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z อย่างมาก การเปลี่ยนแปลงทัศนคตินี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดโควิดทั่วโลก ซึ่งทำให้ผู้คนหันมาจัดลำดับความสำคัญของความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานใหม่
ฮิกกีได้ศึกษาในหัวข้อนี้ระหว่างเรียนปริญญาโท สาขาโค้ชอาชีพ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน และผลวิจัยของเธอค้นพบว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับอาชีพการงานของคนทำงานรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมากหลังจากการระบาดใหญ่ โดยเธอเรียกมันว่า Career Shock (ภาวะช็อกจากอาชีพการงาน)
กลุ่มตัวอย่างจากการศึกษาทั้งหมดบอกว่า พวกเขารู้สึกไม่สนใจที่จะก้าวหน้าในโลกการทำงานเหมือนเมื่อก่อน แต่ให้ความสำคัญกับความมั่นคงและการควบคุมชีวิตได้มากขึ้น
อ่านเพิ่มเติม : กรุงเทพธุรกิจ