เปิดรายได้ 'โรงเรียนกวดวิชา' ยุคเด็กเกิดน้อย-ออนไลน์เฟื่องฟู
จะรอดตายได้ต้องปรับตัวครั้งใหญ่! โรงเรียนกวดวิชาเจอศึกหนัก ซบเซาต่อเนื่องหลังโควิด-19 ยอดคนเรียนหายสูงสุด 50% ระบบสอบเปลี่ยน-เด็กเหนื่อยอ่านหนังสือ หนีตายยื่นพอร์ตโฟลิโอแทน ติวเตอร์ดังชี้ ตลาดบนยังโตต่อ เด็กเกิดใหม่น้อยลง แต่เด็กอินเตอร์ฯ-เรียนต่อนอกเยอะขึ้นเรื่อยๆ
จากยุคเฟื่องฟูของโรงเรียนกวดวิชา มาวันนี้ธุรกิจติวเตอร์หรือโรงเรียนกวดวิชากลับร่วงโรยไปตามยุคสมัย เหตุการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนออนไลน์จากที่บ้านเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ประกอบกับความเหนื่อยล้าจากการเรียนผ่านจอทั้งในและนอกเวลา ทำให้เด็กๆ ถอยห่างจากติวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีการปิดสาขาโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังหลายแห่ง ส่งผลให้ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ซบเซามากกว่าที่เคย
ความรุนแรงของสถานการณ์แพร่ระบาดใหญ่กระทบกับธุรกิจกวดวิชาเข้าอย่างจัง การปิดสาขาลงชั่วคราวพร้อมปรับใหญ่สู่ออนไลน์ ทำให้หลายเจ้าที่ไม่เคยวางระบบมาก่อนเจอแรงเสียดทานอย่างหนัก “สุธี อัศววิมล” ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พี่โหน่ง ออนดีมานด์” ฉายภาพให้เห็นว่า ช่วงระหว่างเกิดโรคระบาดธุรกิจกวดวิชาล้มไปเยอะ แต่มาหนักสุดๆ คือหลังจากการระบาดใหญ่จบลงแล้ว
ทวีคูณมากขึ้นไปอีกเมื่อความสงบของโรคร้ายมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากเดิมที่เน้นสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันเด็กๆ สามารถยื่นพอร์ตโฟลิโอเพื่อให้มหาวิทยาลัยพิจารณาได้โดยตรง สำหรับเส้นทางการเข้ามหาวิทยาลัยไทยตอนนี้มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ยื่นพอร์ตโฟลิโอหรือผลงาน หากเป็นหลักสูตรอินเตอร์จะใช้คะแนนสอบ IELTS หรือ SAT ยื่นเข้า 2. รอบโควตา 3. รอบแอดมิดชัน และ 4. รอบรับตรงอิสระ หรือ “Direct Admission”
ส่วนที่กระทบกับธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา คือรูปแบบการยื่นพอร์ตโฟลิโอที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา มีเด็กๆ เบนเข็มจากระบบสอบสู่การยื่นพอร์ตราวๆ 30% หากถามว่า เพราะเหตุใดวิธียื่นพอร์ตโฟลิโอจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น “สุธี” บอกว่า เด็กๆ รุ่นนี้เหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์อย่างหนัก ยิ่งช่วงล็อกดาวน์ที่ต้องเรียนจากบ้าน ประกอบกับรูปแบบการวัดผลของโรงเรียนก็เปลี่ยนไปด้วย จากเก็บคะแนนด้วยการสอบเปลี่ยนเป็นการบ้านหรือให้ทำงานส่งแทน
หลังโควิด-19 จบลง ทั้งครูและนักเรียนผ่านการปรับตัวกันมาเยอะ รูปแบบการเรียนการสอบจึงเปลี่ยนไป เด็กที่เคร่งครัดกับการทำเกรด คือเด็กที่วางเป้ายื่นเข้าคณะ-มหาวิทยาลัยที่มีการกำหนดเกรดเฉลี่ยไว้ค่อนข้างสูงซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเรียนดี ส่วนเด็กระดับกลางๆ ถึงอ่อนจะไม่เน้นเรื่องเกรดเท่าแต่ก่อน เมื่อไม่ต้องสอบแข่งขัน อัตราการมาเรียนกวดวิชาก็น้อยลงไปตามธรรมชาติ
ผลสะเทือนต่อมา คือความท้าทายของธุรกิจกวดวิชาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มตลาดกลางและกลางค่อนบนที่เริ่มจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ส่วนที่ต้องจับตา คือกลุ่มตลาดบน กลุ่มนี้ไม่มีลดมีแต่เพิ่ม เชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ “สุธี” ระบุว่า แม้แต่โปรแกรมการเรียนการสอนสองภาษา หรือ “English Program” ในโรงเรียนเบอร์ต้นระดับประเทศก็ยังคึกคัก พ่อแม่ผู้ปกครองที่เห็นแววว่า ลูกๆ พูดภาษาอังกฤษพอได้ก็หันมาส่งเสริมมากขึ้นเพื่อปูทางสู่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
“ภาพของโรงเรียนกวดวิชาแบบสมัยเดิมที่เด็กเรียนในโรงเรียนไม่รู้เรื่อง กลัวเกรดเสีย เลยต้องมาติวเพื่อให้ได้คะแนนหรือให้ทันเพื่อนที่โรงเรียน ภาพนี้ไม่ได้เป็นภาพหลักของการเรียนเสริมหรือติวเตอร์แล้ว ภาพตอนนี้ที่เปลี่ยนไป คือผู้ปกครองต้องการมีชีวิตที่ดี สิ่งสำคัญคือการรู้ตัวเองว่า มีตัวตนอย่างไร ต้องการทำอาชีพไหน รู้อาชีพ รู้คณะ รู้แผนที่ต้องเดินไป แล้วใช้กวดวิชาให้ได้ผล ทิศทางจะเป็นแบบนี้มากกว่า จากการเรียนเพื่อทำเกรด ติวเข้ามหาวิทยาลัย โลกก็กว้างขึ้น ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยไทย แต่เป็นมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยหรือไปเรียนต่อต่างประเทศ กระแสตรงนี้ชัดขึ้น”
มุมมองของผู้ปกครองเองก็เปลี่ยนไป ไม่ได้โฟกัสแค่ลูกฉันต้องได้เกรดสี่ แต่มองเส้นทางอาชีพในอนาคตให้ลูกๆ ด้วย ส่วนฝั่งที่ไม่ได้เน้นเรื่องเรียนมากก็จะหันไปให้ความสำคัญเรื่องความสามารถพิเศษ มีการเรียนดนตรี กีฬา หรือการแสดงอย่างเอาจริงเอาจัง
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1167050?anm=
เปิดรายได้ 'โรงเรียนกวดวิชา' ยุคเด็กเกิดน้อย-ออนไลน์เฟื่องฟู
จะรอดตายได้ต้องปรับตัวครั้งใหญ่! โรงเรียนกวดวิชาเจอศึกหนัก ซบเซาต่อเนื่องหลังโควิด-19 ยอดคนเรียนหายสูงสุด 50% ระบบสอบเปลี่ยน-เด็กเหนื่อยอ่านหนังสือ หนีตายยื่นพอร์ตโฟลิโอแทน ติวเตอร์ดังชี้ ตลาดบนยังโตต่อ เด็กเกิดใหม่น้อยลง แต่เด็กอินเตอร์ฯ-เรียนต่อนอกเยอะขึ้นเรื่อยๆ
จากยุคเฟื่องฟูของโรงเรียนกวดวิชา มาวันนี้ธุรกิจติวเตอร์หรือโรงเรียนกวดวิชากลับร่วงโรยไปตามยุคสมัย เหตุการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียนออนไลน์จากที่บ้านเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ประกอบกับความเหนื่อยล้าจากการเรียนผ่านจอทั้งในและนอกเวลา ทำให้เด็กๆ ถอยห่างจากติวเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งมีการปิดสาขาโรงเรียนกวดวิชาชื่อดังหลายแห่ง ส่งผลให้ภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ซบเซามากกว่าที่เคย
ความรุนแรงของสถานการณ์แพร่ระบาดใหญ่กระทบกับธุรกิจกวดวิชาเข้าอย่างจัง การปิดสาขาลงชั่วคราวพร้อมปรับใหญ่สู่ออนไลน์ ทำให้หลายเจ้าที่ไม่เคยวางระบบมาก่อนเจอแรงเสียดทานอย่างหนัก “สุธี อัศววิมล” ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการบริหาร บริษัท เลิร์น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “พี่โหน่ง ออนดีมานด์” ฉายภาพให้เห็นว่า ช่วงระหว่างเกิดโรคระบาดธุรกิจกวดวิชาล้มไปเยอะ แต่มาหนักสุดๆ คือหลังจากการระบาดใหญ่จบลงแล้ว
ทวีคูณมากขึ้นไปอีกเมื่อความสงบของโรคร้ายมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากเดิมที่เน้นสอบแข่งขันเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันเด็กๆ สามารถยื่นพอร์ตโฟลิโอเพื่อให้มหาวิทยาลัยพิจารณาได้โดยตรง สำหรับเส้นทางการเข้ามหาวิทยาลัยไทยตอนนี้มีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ยื่นพอร์ตโฟลิโอหรือผลงาน หากเป็นหลักสูตรอินเตอร์จะใช้คะแนนสอบ IELTS หรือ SAT ยื่นเข้า 2. รอบโควตา 3. รอบแอดมิดชัน และ 4. รอบรับตรงอิสระ หรือ “Direct Admission”
ส่วนที่กระทบกับธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา คือรูปแบบการยื่นพอร์ตโฟลิโอที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา มีเด็กๆ เบนเข็มจากระบบสอบสู่การยื่นพอร์ตราวๆ 30% หากถามว่า เพราะเหตุใดวิธียื่นพอร์ตโฟลิโอจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น “สุธี” บอกว่า เด็กๆ รุ่นนี้เหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์อย่างหนัก ยิ่งช่วงล็อกดาวน์ที่ต้องเรียนจากบ้าน ประกอบกับรูปแบบการวัดผลของโรงเรียนก็เปลี่ยนไปด้วย จากเก็บคะแนนด้วยการสอบเปลี่ยนเป็นการบ้านหรือให้ทำงานส่งแทน
หลังโควิด-19 จบลง ทั้งครูและนักเรียนผ่านการปรับตัวกันมาเยอะ รูปแบบการเรียนการสอบจึงเปลี่ยนไป เด็กที่เคร่งครัดกับการทำเกรด คือเด็กที่วางเป้ายื่นเข้าคณะ-มหาวิทยาลัยที่มีการกำหนดเกรดเฉลี่ยไว้ค่อนข้างสูงซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเรียนดี ส่วนเด็กระดับกลางๆ ถึงอ่อนจะไม่เน้นเรื่องเกรดเท่าแต่ก่อน เมื่อไม่ต้องสอบแข่งขัน อัตราการมาเรียนกวดวิชาก็น้อยลงไปตามธรรมชาติ
ผลสะเทือนต่อมา คือความท้าทายของธุรกิจกวดวิชาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มตลาดกลางและกลางค่อนบนที่เริ่มจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ส่วนที่ต้องจับตา คือกลุ่มตลาดบน กลุ่มนี้ไม่มีลดมีแต่เพิ่ม เชื่อมโยงกับการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ “สุธี” ระบุว่า แม้แต่โปรแกรมการเรียนการสอนสองภาษา หรือ “English Program” ในโรงเรียนเบอร์ต้นระดับประเทศก็ยังคึกคัก พ่อแม่ผู้ปกครองที่เห็นแววว่า ลูกๆ พูดภาษาอังกฤษพอได้ก็หันมาส่งเสริมมากขึ้นเพื่อปูทางสู่การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป
“ภาพของโรงเรียนกวดวิชาแบบสมัยเดิมที่เด็กเรียนในโรงเรียนไม่รู้เรื่อง กลัวเกรดเสีย เลยต้องมาติวเพื่อให้ได้คะแนนหรือให้ทันเพื่อนที่โรงเรียน ภาพนี้ไม่ได้เป็นภาพหลักของการเรียนเสริมหรือติวเตอร์แล้ว ภาพตอนนี้ที่เปลี่ยนไป คือผู้ปกครองต้องการมีชีวิตที่ดี สิ่งสำคัญคือการรู้ตัวเองว่า มีตัวตนอย่างไร ต้องการทำอาชีพไหน รู้อาชีพ รู้คณะ รู้แผนที่ต้องเดินไป แล้วใช้กวดวิชาให้ได้ผล ทิศทางจะเป็นแบบนี้มากกว่า จากการเรียนเพื่อทำเกรด ติวเข้ามหาวิทยาลัย โลกก็กว้างขึ้น ไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัยไทย แต่เป็นมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยหรือไปเรียนต่อต่างประเทศ กระแสตรงนี้ชัดขึ้น”
มุมมองของผู้ปกครองเองก็เปลี่ยนไป ไม่ได้โฟกัสแค่ลูกฉันต้องได้เกรดสี่ แต่มองเส้นทางอาชีพในอนาคตให้ลูกๆ ด้วย ส่วนฝั่งที่ไม่ได้เน้นเรื่องเรียนมากก็จะหันไปให้ความสำคัญเรื่องความสามารถพิเศษ มีการเรียนดนตรี กีฬา หรือการแสดงอย่างเอาจริงเอาจัง
อ่านต่อ: https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1167050?anm=