ยอดติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พุ่ง พบผู้ป่วย 9 หมื่นรายในรอบ 15 วัน แนวโน้มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปี 67
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 ถึงปัจจุบัน พบมีผู้ติดเชื้อแล้วทั้งหมด 99,057 ราย โดยเสียชีวิตแล้ว 9 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับข้อมูลเดิม เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2568 มีผู้ติดเชื้อ เพียง 7,819 ราย
ภายในช่วง 15 วันที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 91,238 ราย โดยแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปี 2567 และตัวเลขผู้ป่วย สูงกว่าค่ากลางย้อนหลัง 5 ปี
จากการรายงานเผยว่า ระบาดเป็นกลุ่มก้อนพบ 15 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เกิดที่โรงเรียน ส่วนกลุ่มจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดคือ เขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ พบผู้ป่วยสะสมแล้ว 6,938 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตถึง 3 ราย นอกจากนี้ พบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ เด็กอายุ 4 ปี และอายุ 3 ปี
บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต
แม้จะมีอาการไม่มาก ก็ควรหยุดพักรักษาที่บ้าน 3-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องใกล้ชิดกับผู้อื่น ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอจาม หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
แผนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข คือ ส่งเสริมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยมีการรณรงค์ฉีดวัคซีน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ตามวงรอบการระบาดใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งมีวัคซีนจำนวน 4.5 ล้านโดส โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำลังอยู่ระหว่างวางแผนกระจายวัคซีนไปสถานพยาบาล
ที่มา : SpringNews
ยอดติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พุ่ง พบผู้ป่วย 9 หมื่นรายในรอบ 15 วัน แนวโน้มสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปี 67
ภายในช่วง 15 วันที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นถึง 91,238 ราย โดยแนวโน้มผู้ป่วยสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับปี 2567 และตัวเลขผู้ป่วย สูงกว่าค่ากลางย้อนหลัง 5 ปี
จากการรายงานเผยว่า ระบาดเป็นกลุ่มก้อนพบ 15 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่เกิดที่โรงเรียน ส่วนกลุ่มจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดคือ เขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ พบผู้ป่วยสะสมแล้ว 6,938 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิตถึง 3 ราย นอกจากนี้ พบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ เด็กอายุ 4 ปี และอายุ 3 ปี
บุคคลกลุ่มเสี่ยงโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต
แม้จะมีอาการไม่มาก ก็ควรหยุดพักรักษาที่บ้าน 3-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อต้องใกล้ชิดกับผู้อื่น ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า ปิดปากและจมูกทุกครั้งเวลาไอจาม หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
แผนการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข คือ ส่งเสริมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยมีการรณรงค์ฉีดวัคซีน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ตามวงรอบการระบาดใหญ่ของประเทศไทย ซึ่งมีวัคซีนจำนวน 4.5 ล้านโดส โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำลังอยู่ระหว่างวางแผนกระจายวัคซีนไปสถานพยาบาล
ที่มา : SpringNews