“หน้ากากอนามัย” ถือเป็นอวัยวะที่ 34 กันแล้ว ที่ต้องพกก่อนออกจากบ้านทุกวันช่วงนี้ (อวัยวะที่ 33 คือมือถือที่ขาดไม่ได้ เช่นกัน) เมื่อวันก่อน ผู้เขียนได้มีธุระต้องเข้าห้างสรรพสินค้าใหญ่ ย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร คนเยอะมาก น่าจะมีเทศกาลญี่ปุ่นอะไรสักอย่าง มีการออกบู๊ทแสดงสินค้า และการแสดงบนเวทีต่าง ๆ สังเกตุได้ว่าทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ ต่างพร้อมเพรียงใส่หน้ากากอนามัยกันแทบทุกคน ! อย่างที่เราทราบกันดีว่า ช่วงนี้ปริมาณฝุ่นมลพิษในภาพรวม ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ อีกทั้งยังต้องระวังเจอเจ้าตัวไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อีกด้วย ทางที่ดีและง่ายที่สุด คือต้องระมัดระวังตัวเองอย่าไปอยู่ในที่ที่แออัด บางท่านที่มีพื้นฐานเป็นภูมิแพ้อากาศอยู่แล้ว ช่วงนี้ยิ่งหนักเลย จมูกคันหยุบยิบ น้ำมูกไหล ไอ จาม กันพัลวัน ต้องรีบหาหยูกยามารับประทาน
หลายคนคิดว่าโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ดูเหมือนจะธรรมดามาก ประเดี๋ยวก็หาย แต่จริง ๆ แล้วโรคไข้หวัดใหญ่ไม่ธรรมดาเลย ด้วยเพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่มีอัตราการกลายพันธุ์สูงมาก การที่เชื้อมันกลายพันธุ์ ก็เพื่อให้อยู่รอดพ้นจากการถูกทำลายจากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั่นเอง แล้วทราบหรือไม่ว่า…การป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มีโอกาสเสียชีวิตได้
และกลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ กลุ่มเด็ก และ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน เนื่องจากมีการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติและนี่คือสาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาวัคซีนทุก ๆ ปี เพื่อให้สามารถป้องกันและครอบคลุมสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีให้ได้มากที่สุด
ความแตกต่างระหว่างโรคภูมิแพ้อากาศกับไข้หวัดใหญ่
ถ้ากล่าวถึงไข้หวัดสามารถจำแนกได้เป็น ไข้หวัดธรรมดา (Common cold) กับไข้หวัดใหญ่ (Flu) แน่นอนทั้งสองโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่จะแตกต่างกันที่ชนิดของไวรัส อาการของไข้หวัดธรรมดา มักจะมี (หรือไม่มี) ไข้ต่ำ ๆ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ส่วนอาการไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการที่เด่นชัดคือ มีไข้ขึ้นสูง (37.8 – 39.0 องศาเซลเซียส) ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการอ่อนเพลียอย่างมาก รวมถึงอาการไอที่รุนแรง
ส่วนในโรคภูมิแพ้อากาศ จะมีอาการลักษณะใกล้เคียงกับไข้หวัดธรรมดามาก ไม่ว่าจะเป็นอาการคัดจมูก น้ำมูลไหล จาม โดยโรคภูมิแพ้อากาศจะมีระยะเวลาในการเกิดนานกว่า และจะไม่หายถ้าผู้ป่วยยังคงได้รับสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการอยู่ เช่นเลี่ยงฝุ่นละออง อากาศเย็น ฯลฯ
ทำไม ไข้หวัดใหญ่ถึงอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน
เหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเป็นไข้หวัด มีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นเพราะ “ภาวะน้ำตาลในเลือด” สูงเกินไป และเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มันจะเริ่มเข้าไปรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และเมื่อไหร่ที่เชื้อเริ่มลุกลาม ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง ปอดบวม หูอักเสบ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิตได้
ในช่วงฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวาน มีอัตราเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 5 – 15% ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของไข้หวัดใหญ่
ดูแลตัวเราเอง ให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
วิธีง่ายสุด คือเน้นการล้างมือบ่อย ๆ แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปที่แออัด พักผ่อนหลับให้สนิท และทำร่างกายให้อบอุ่นเสมอ
ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวาน
สามารถลดอัตราการป่วยและต้องเข้าโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ได้ถึง 50% ลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ประมาณ 50 – 60%
จะเห็นได้ว่าไข้หวัดใหญ่อันตรายกว่าที่คิดไว้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอย่างรอบคอบ แนะนำให้ผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
---------------------
credit :
· Eccles R. Understanding the symptoms of the commoncold and influenza, lancet infect dis.2015),
· รพ.รามคำแหง
#KINN_Holistic_Healthcare
#www.kinn.co.th
ไข้หวัดใหญ่กับเบาหวาน อันตรายที่ต้องรู้ !
“หน้ากากอนามัย” ถือเป็นอวัยวะที่ 34 กันแล้ว ที่ต้องพกก่อนออกจากบ้านทุกวันช่วงนี้ (อวัยวะที่ 33 คือมือถือที่ขาดไม่ได้ เช่นกัน) เมื่อวันก่อน ผู้เขียนได้มีธุระต้องเข้าห้างสรรพสินค้าใหญ่ ย่านใจกลางกรุงเทพมหานคร คนเยอะมาก น่าจะมีเทศกาลญี่ปุ่นอะไรสักอย่าง มีการออกบู๊ทแสดงสินค้า และการแสดงบนเวทีต่าง ๆ สังเกตุได้ว่าทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ ต่างพร้อมเพรียงใส่หน้ากากอนามัยกันแทบทุกคน ! อย่างที่เราทราบกันดีว่า ช่วงนี้ปริมาณฝุ่นมลพิษในภาพรวม ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกพื้นที่ อีกทั้งยังต้องระวังเจอเจ้าตัวไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อีกด้วย ทางที่ดีและง่ายที่สุด คือต้องระมัดระวังตัวเองอย่าไปอยู่ในที่ที่แออัด บางท่านที่มีพื้นฐานเป็นภูมิแพ้อากาศอยู่แล้ว ช่วงนี้ยิ่งหนักเลย จมูกคันหยุบยิบ น้ำมูกไหล ไอ จาม กันพัลวัน ต้องรีบหาหยูกยามารับประทาน
หลายคนคิดว่าโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ดูเหมือนจะธรรมดามาก ประเดี๋ยวก็หาย แต่จริง ๆ แล้วโรคไข้หวัดใหญ่ไม่ธรรมดาเลย ด้วยเพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่มีอัตราการกลายพันธุ์สูงมาก การที่เชื้อมันกลายพันธุ์ ก็เพื่อให้อยู่รอดพ้นจากการถูกทำลายจากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั่นเอง แล้วทราบหรือไม่ว่า…การป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่มีโอกาสเสียชีวิตได้ และกลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ กลุ่มเด็ก และ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคเบาหวาน เนื่องจากมีการทำงานของภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติและนี่คือสาเหตุที่ต้องมีการพัฒนาวัคซีนทุก ๆ ปี เพื่อให้สามารถป้องกันและครอบคลุมสายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีให้ได้มากที่สุด
ความแตกต่างระหว่างโรคภูมิแพ้อากาศกับไข้หวัดใหญ่
ถ้ากล่าวถึงไข้หวัดสามารถจำแนกได้เป็น ไข้หวัดธรรมดา (Common cold) กับไข้หวัดใหญ่ (Flu) แน่นอนทั้งสองโรคเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่จะแตกต่างกันที่ชนิดของไวรัส อาการของไข้หวัดธรรมดา มักจะมี (หรือไม่มี) ไข้ต่ำ ๆ ร่วมกับอาการทางเดินหายใจ เช่น อาการคัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ ส่วนอาการไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการที่เด่นชัดคือ มีไข้ขึ้นสูง (37.8 – 39.0 องศาเซลเซียส) ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการอ่อนเพลียอย่างมาก รวมถึงอาการไอที่รุนแรง
ส่วนในโรคภูมิแพ้อากาศ จะมีอาการลักษณะใกล้เคียงกับไข้หวัดธรรมดามาก ไม่ว่าจะเป็นอาการคัดจมูก น้ำมูลไหล จาม โดยโรคภูมิแพ้อากาศจะมีระยะเวลาในการเกิดนานกว่า และจะไม่หายถ้าผู้ป่วยยังคงได้รับสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการอยู่ เช่นเลี่ยงฝุ่นละออง อากาศเย็น ฯลฯ
ทำไม ไข้หวัดใหญ่ถึงอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน
เหตุผลที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเป็นไข้หวัด มีโอกาสเสียชีวิตสูง เป็นเพราะ “ภาวะน้ำตาลในเลือด” สูงเกินไป และเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น มันจะเริ่มเข้าไปรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ทำให้ความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และเมื่อไหร่ที่เชื้อเริ่มลุกลาม ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง ปอดบวม หูอักเสบ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิตได้
ในช่วงฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยเบาหวาน มีอัตราเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นถึง 5 – 15% ผู้ป่วยเบาหวาน มีโอกาสนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนทั่วไปถึง 6 เท่า
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก และราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงของไข้หวัดใหญ่
ดูแลตัวเราเอง ให้ห่างไกลไข้หวัดใหญ่
วิธีง่ายสุด คือเน้นการล้างมือบ่อย ๆ แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อจำเป็นต้องเดินทางไปที่แออัด พักผ่อนหลับให้สนิท และทำร่างกายให้อบอุ่นเสมอ
ประโยชน์ของวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวาน
สามารถลดอัตราการป่วยและต้องเข้าโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ได้ถึง 50% ลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 18 ปี ประมาณ 50 – 60%
จะเห็นได้ว่าไข้หวัดใหญ่อันตรายกว่าที่คิดไว้ ฉะนั้น เพื่อเป็นการป้องกันอย่างรอบคอบ แนะนำให้ผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น พบกันใหม่ ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
credit :
· Eccles R. Understanding the symptoms of the commoncold and influenza, lancet infect dis.2015),
· รพ.รามคำแหง
#KINN_Holistic_Healthcare
#www.kinn.co.th