เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ติดต่อได้ง่ายจากมือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ไอ จาม
แล้วนำมือมาสัมผัสบริเวณจมูก ปาก หรือตา คนที่เป็นโรคนี้หากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุจะมีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนมาก
แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น
อาการที่พบได้บ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่
1. ไข้สูง บางครั้งหนาวสั่น
2. ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
3. เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล
4. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกแน่นท้อง
5. อาเจียน ท้องร่วงมาก
การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
• รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพรินในคนที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี เพราะทำให้เกิด Reye’ Syndrome ได้)
และยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
• เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ เช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขาและ
ใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกไว้เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที
• ให้ใช้ยา Relenza หรือรับประทานยา Tamiflu ครบตามแพทย์สั่ง
• รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้ง ไข่ นม ผัก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
• ทำจิตใจให้สบาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (คืนละ 6-8 ชั่วโมง) ไม่นอนดึก นอนในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไปและอากาศถ่ายเทสะดวก
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่
• อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ และควรใช้ช้อนกลาง
• เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ที่มีคนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาด)
• ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่รวมกับผู้อื่น
• ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
• ทิ้งกระดาษทิชชู่ที่เปื้อนเสมหะในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด จากนั้นล้างมือให้สะอาด
• ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์ถูมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังสัมผัสจมูก ปากหรือตา
• หยุดพักที่บ้านจนหายป่วย ประมาณ 3-7 วัน
• ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ซึ่งควรฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสจะเปลี่ยนสายพันธุ์ที่ระบาดแต่ละปีไม่เหมือนกัน เพื่อครอบคลุมเชื้อที่เป็น
สาเหตุ ภูมิคุ้มกันที่เกิดหลังฉีดวัคซีนจะมีความเฉพาะเจาะจงต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น ถ้าไม่ได้รับวัคซีนหลังจากระยะเวลา 1 ปี
ถึงแม้เป็นเชื้อตัวเดิมก็จะป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้
ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ
แล้วนำมือมาสัมผัสบริเวณจมูก ปาก หรือตา คนที่เป็นโรคนี้หากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุจะมีความรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนมาก
แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น
อาการที่พบได้บ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่
1. ไข้สูง บางครั้งหนาวสั่น
2. ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
3. เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล
4. อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกแน่นท้อง
5. อาเจียน ท้องร่วงมาก
การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่
• รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพรินในคนที่มีอายุน้อยกว่า 16 ปี เพราะทำให้เกิด Reye’ Syndrome ได้)
และยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
• เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ เช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขาและ
ใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกไว้เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที
• ให้ใช้ยา Relenza หรือรับประทานยา Tamiflu ครบตามแพทย์สั่ง
• รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้ง ไข่ นม ผัก และผลไม้ เช่น ฝรั่ง ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี
ดื่มน้ำสะอาดมากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด
• ทำจิตใจให้สบาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (คืนละ 6-8 ชั่วโมง) ไม่นอนดึก นอนในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไปและอากาศถ่ายเทสะดวก
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่
• อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ และควรใช้ช้อนกลาง
• เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ที่มีคนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาด)
• ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่รวมกับผู้อื่น
• ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม
• ทิ้งกระดาษทิชชู่ที่เปื้อนเสมหะในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด จากนั้นล้างมือให้สะอาด
• ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์ถูมือบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังสัมผัสจมูก ปากหรือตา
• หยุดพักที่บ้านจนหายป่วย ประมาณ 3-7 วัน
• ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ซึ่งควรฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสจะเปลี่ยนสายพันธุ์ที่ระบาดแต่ละปีไม่เหมือนกัน เพื่อครอบคลุมเชื้อที่เป็น
สาเหตุ ภูมิคุ้มกันที่เกิดหลังฉีดวัคซีนจะมีความเฉพาะเจาะจงต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น ถ้าไม่ได้รับวัคซีนหลังจากระยะเวลา 1 ปี
ถึงแม้เป็นเชื้อตัวเดิมก็จะป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้