ระวัง..โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในฤดูฝน

ฤดูฝน อากาศจะชื้น อุณหภูมิจะลดลงเป็นบางช่วง การแพร่ระบาดของโรคติดต่อก็มีมากขึ้น
เพราะเชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่ออากาศเปลี่ยน
ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราอาจลดลงจนทำให้เมื่อมีการติดเชื้อจึงป่วยง่ายขึ้น
ซึ่งโรคติดเชื้อที่มักมากับหน้าฝนนั้น เกิดขึ้นได้กับหลายระบบของร่างกาย 

วันนี้พี่หมอ...จะมาให้ความรู้  idea  ระวัง...โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ในฤดูฝน idea

โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย มักเกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
ซึ่งส่วนใหญ่เชื้อจะแพร่ผ่านสารคัดหลั่ง อาทิ น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ติดต่อโดยการสัมผัส ไอ จาม 
โรคที่พบเป็นดังนี้
 
โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจจะแบ่งได้เป็น
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, คออักเสบ, หูชั้นกลางอักเสบ, ไซนัสอักเสบ
โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น โรคปวดบวม, หลอดลมอักเสบ, 
โรคทางเดินหายใจอุดตันกะทันหันจากกล่องเสียงอักเสบ (CROUP) และโรคหอบหืด



ideaโรคไข้หวัดและโรคแทรกซ้อนจากหวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กเล็กๆ เพราะยังไม่มีภูมิต้านทานที่ดีพอ 
ฤดูฝนเป็นฤดูที่มีเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ทำให้เกิดเป็นหวัดได้และสามารถติดต่อกันได้ง่ายจากอากาศที่หายใจ 
อาการส่วนใหญ่จะมีน้ำมูกไหล,คันตา,จาม,ไอ, และอาจจะมีเจ็บคอ, ไข้, ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารร่วมด้วย 
ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นใน 5 - 7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ (เจ็บหู) หรือไซนัสอักเสบ (ปวดศีรษะ) 
หรือมีการติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะสังเกตได้จากน้ำมูกที่เปลี่ยนจากสีใส ๆ เป็นเขียว ๆ เหลือง ๆ ไอมากขึ้น, ไข้สูงนานกว่า 3 วัน 
หรือหายใจลำบาก บางรายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่มาก็จะมีอาการที่รุนแรงและอยู่นานกว่าไข้หวัดธรรมดา
ในรายที่เป็นไม่มากก็สามารถดูแลอยู่ที่บ้านได้โดยให้เด็กพักผ่อน

การดูแลตัวเอง ดื่มน้ำอุ่นมากๆ รับประทานยาลดไข้ (ถ้ามีไข้) ดูแลให้สวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นถ้าอากาศเย็น
ไม่ควรอาบน้ำหรือสระผมขณะที่เป็นไข้หวัดโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
ในเด็กเล็กๆ ที่มีน้ำมูกอาจจะช่วยโดยใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำเกลือเช็ดจมูก 
หรือถ้ามีน้ำมูกมากควรหยอดน้ำเกลือในโพรงจมูกแล้วใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกซึ่งควรทำก่อนดูดนมและก่อนนอน 
ก็จะช่วยให้เด็กดูดนมและนอนหลับได้ดีขึ้น

ideaโรคปอดบวม จะเป็นได้จากการติดเชื้อไวรัสและ / หรือเเบคทีเรีย 
อาการส่วนใหญ่จะมีเหมือนไข้หวัดมาก่อนแต่จะเริ่มหายใจเร็วขึ้น มีไข้สูง และถ้าเป็นมากขึ้น 
เด็กจะเริ่มหอบ หายใจลำบากขึ้น จนมีจมูกบานหรือชายโครงบุ๋ม 
ริมฝีปากเขียวและถ้าเริ่มเห็นอาการดังกล่าวก็ควรรีบพามาพบแพทย์

มีอาการ ไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น ไอ มีเสมหะ
เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน
ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้

การป้องกัน ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากสารจากควันบุหรี่จะไปทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามธรรมชาติของปอด
หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
เมื่อเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาให้หายขาดตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน
สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด

ideaโรคหลอดลมอักเสบและหอบหืด ส่วนใหญ่จะเริ่มมีน้ำมูกใส ๆ ไข้ต่ำ ๆ ไอซึ่งอาจจะมากขึ้นเรื่อย ๆ 
จนหายใจเข้าได้ไม่เพียงพอ หรือถ้ามีอาการหอบ ก็อาจจะได้ยินเสียงวี๊ด หายใจเร็วขึ้น
ชายโครงบุ๋มและจมูกบานได้ ส่วนมากถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน 
อาการหอบครั้งแรกมักจะเป็นจากการติดเชื้อไวรัสหรือจากปวดบวม 
ส่วนเด็กที่มีอาการเรื้อรังเป็นๆหายๆอยู่เรื่อยๆ จนโตก็จะเรียกว่าเป็นโรคหอบหืด 
ซึ่งจะต้องระวังเพราะอาการหวัดธรรมดาก็สามารถทำให้เด็กพวกนี้หอบขึ้นมาได้

อาการที่พบ เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจบริเวณหลอดลม เชื้อจะแบ่งตัวและทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมและบวมมากขึ้น 
ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบ อากาศไหลผ่านหลอดลมเข้าปอดได้ไม่ดี หายใจลำบาก ในรายที่หลอดลมตีบมาก ๆ 
จะหายใจดังวี้ดได้ และจากการอักเสบทำให้การขับเสมหะของเยื่อบุหลอดลมไม่ดี ส่งผลให้เกิดอาการไอมากขึ้น 
อาจไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะ อาจมีอาการอื่น ๆ คล้ายอาการของโรคหวัด เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไข้ต่ำๆ ได้ 
อาการของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 7 – 10 วัน แต่อาการไอแห้ง ๆ 
อาจเป็นได้นานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการไอ จะไอบ่อยครั้ง ไอถี่ ๆ หรือเป็นชุด 
อาจมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกหรือชายโครงได้ ในบางรายอาจมีปัสสาวะเล็ดได้

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบ
เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ 
เช่น ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม จนอาการหายดีเอง ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียอาจพิจารณาการใช้ยาฆ่าเชื้อ
พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น
เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเมื่อสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ
งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ฝุ่น เขม่าควันต่าง ๆ หรือสารที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ

การป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย 
หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก
พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด

ideaโรคทางเดินหายใจอุดตันกะทันหัน จากการบวมอักเสบของกล่องเสียงที่ลามไปถึงหลอดลมใหญ่ 
ในฤดูฝนจะมีเชื้อไวรัสบางชนิดที่จะทำให้เกิดอาการนี้ได้ ส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ในเด็กอายุ 3 เดือน ถึง 3 ขวบ 
และจะมาด้วยอาการไข้ ไอเสียงก้อง เริ่มหายใจเสียงดัง และใช้กล้ามเนื้อส่วนคอในการหายใจเข้า
ซึ่งจะเห็นได้เมื่อหลอดลมเริ่มอุดตันจากอาการบวม


 
เราสามารถลดเสี่ยงโรคติดเชื้อได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ 
และปฏิบัติตามแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ที่สำคัญ 
หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย และได้รับการรักษาอย่างตรงจุดค่ะ

lovelovelovelovelove
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่