ผิวไฟเดิมๆ
สวัสดีวันจันทร์ครับผมครับผมพี่น้องนักนิยมความคมทุกท่าน วันนี้วันดีมาคุยเรื่องอบอุ่นผสมร้อนแรงพอให้คลายความหนาวเย็น เราจะมาพูดถึงเรื่องผิวไฟ หรือรอยค้อน
มีดที่มีผิวไฟ คือมีดที่มักจะไม่ได้ถูกขัดแต่งหลังการอบชุบ ซึ่งมันมีได้ทั้งมีดงานเย็นคือเจียรเอาหรือมีดงานร้อนคือขึ้นรูปด้วยการตี มันแยกย่อยรายละเอียดไปได้หลายแบบนะครับ ผิวไฟงานเย็นก็อย่างเช่นเราทำใบมีดมาหนึ่งใบจะด้วยเหล็ก SKD11 หรือว่า SUP9 ก็ได้ ขึ้นรูปเสร็จปาดเจียรขัดกระดาษทรายให้เรียบร้อยแล้วก็ชุบแข็ง อบคลายตัวให้เรียบร้อย เหลือสีไหนอยู่บนผิวก็เอาแบบนั้นแหละ นั่นแหละผิวไฟ
แต่ผิวไฟที่เราพบเห็นโดยทั่วไปหรือเข้าใจกันว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น ก็คือผิวไฟของมีดงานร้อน ผิวไฟที่เกิดจากการทับถมกันของสเกลหรือเปลือกเหล็กที่หลุดออกมาเป็นแผ่นๆเวลาตี เมื่อถูกกระแทกด้วยค้อนและทั่ง ส่วนของเปลือกเหล็กพวกนี้ก็จะประทับลงไปในผิวของเหล็กที่กำลังร้อนแดง กลายเป็นลวดลายตามธรรมชาติของใบมีด ส่วนใหญ่ผิวไปแบบนี้จะปรากฏอยู่บนส่วนของด้านข้างหรือส่วนที่อยู่ใกล้สันมีดที่ไม่ถูกปาดออกจากการแต่งแนวคมหรือบีเวล คือในส่วนนี้จะมีทั้ง" ผิวไฟ " และ " รอยค้อน "
มีดบางเล่มถ้าชุบแข็งแล้วเหลือผิวไฟในส่วนของรอยค้อน ก็ยังดำๆด่างๆสวยงาม ถึงจะขัดขาวในส่วนของแนวคม ใบมีดใบนี้ก็ยังมีผิวไฟอยู่ดี คือผิวไฟและรอยค้อน ในส่วนใหญ่มีดที่มีผิวไฟมักจะเป็นในลักษณะนี้ คือมีส่วนบนเดิมๆและส่วนล่างหรือใกล้ๆแนวคมจะถูกขัดออก
บางเล่มในส่วนของแนวคมถึงถูกปาดให้เป็นสีขาวแต่หลังการอบชุบยังทิ้งผิวไฟจากการอบชุบไว้ก็นับว่าเป็นผิวไฟเดิมๆครับ ซึ่งใบมีดแบบนี้ทำยากที่สุด เพราะแนวคมจะต้องถูกปาดให้บาง มีความหนาไม่เกิน 0.5 มิลล์ เพื่อที่ว่ามันจะได้เฉือนอะไรๆเข้าหลังจากชุบแข็งแล้วก็แค่ตั้งคมตัดหรือคัตติ้งเอจก์ที่ส่วนหน้า แต่ใบมีดแบบนี้ก็ทำได้ยากที่สุด เพราะต้องแบกรับความเสี่ยงสูงสุดในกระบวนการอบชุบ พูดให้ฟังง่ายๆคือถ้าเว้นแนวคมไว้บางมันจะบิดเบี้ยวหรือแตกร้าวในขั้นตอนการชุบแข็งได้ง่าย
ถ้าเป็นเหล็กชุบแข็งด้วยอากาศหรือแอร์เคว้นช์ไม่ค่อยมีปัญหา แต่เหล็กชุบแข็งในน้ำมันและชุบแข็งด้วยน้ำทำได้ยากมากถึงยากที่สุด กระบวนการทั้งหมดต้องแม่นยำพอดีจริงๆ
มีมีดบางประเภทคือมีดครัวญี่ปุ่นที่ทำผิวในแบบคุโรอูชิ 黒打 คือเว้นผิวดำที่มีรอยค้อนไว้บางส่วน มันมีทั้งรอยค้อนแท้ๆและรอยค้อนเทียมๆ โดยเฉพาะในแบบที่เราเรียกกันว่ามีดหมื่นค้อน เกือบทั้งหมดเป็นรอยค้อนจัดตั้งที่สร้างขึ้นมาหลังการขึ้นรูป คือผสมเหล็กและตีขึ้นรูปให้เรียบร้อย พอใจแล้วก็เอาไปทำลายด้วยแม่พิมพ์หรือตอกด้วยค้อนจักรกลเพื่อให้เป็นหลุมๆ มีดในแบบนี้โดยแท้แล้วไม่ใช่ผิวไฟหรือหลุมที่มาจากรอยค้อนแต่เป็นรูปแบบที่ถูกจัดแต่งขึ้นมา
ใบมีดที่ถูกตีขึ้นรูป พอออกจากเตามาใหม่ๆมันเหมือนจะมีเปลือกหุ้มอยู่ นั่นคือสเกลนะครับ เป็นเหมือนเหล็กผงๆที่ผนึกติดกันจนแน่นเป็นแผ่นและแข็งมากแต่เปราะๆคล้ายๆเซรามิก ผิวไฟหรือเปลือกเหล็กแบบนี้จะติดแน่นอยู่กับใบมีดไปจนถึงขั้นตอนการชุบแข็ง ถ้าตอนชุบแข็งไม่ได้เผาตรงนี้ให้ร้อนซึ่งเป็นวิธีการชุบแข็งบางส่วนคือให้เหล็กเป็นออสเต็นไนต์บางส่วนแล้วเอามาลดอุณหภูมิ ไอ้คราบแข็งๆหรือเปลือกนี้ก็จะยังติดอยู่ไม่หลุดออกไป หรือบางทีชุบแข็งด้วยวิธีทำให้ใบมีดเป็นออสเต็นไนต์ทั้งใบแต่จุ่มใบมีดเฉพาะบางส่วน ไอ้คราบนี่ก็ยังติดอยู่เหมือนกัน
มันจะหลุดออกก็ต่อเมื่อเผาให้ร้อนและจุ่มลดอุณหภูมิทั้งใบ
คือเปลือกที่ดูเรียบๆจะหลุดออกตอนชุบและจะเหลือผิวไฟผสมรอยค้อนเอาไว้ เป็นเนื้อเหล็กแท้ๆ ดูได้ตามใบมีดที่ลงให้ชมในวันนี้ครับผม 5 ใบชุบแข็งเรียบร้อยและทิ้งผิวไฟเดิมๆ
ใบมีดที่เห็นนี่อาจจะดูเรียบๆแต่นี่แหละครับคือรอยค้อน รอยค้อนที่ตีจนเรียบ
แล้วไอ้ผิวไฟที่ว่านี่มีประโยชน์อะไรบ้างรึเปล่า ? ถ้าสำหรับเหล็กไฮคาร์บอนเช่นตระกูล 10XX เหล็กญี่ปุ่นแบบนิฮองกาเนะ เหล็ก5160หรือSUP9 ที่มีส่วนผสมน้อยๆมีความเป็นอัลลอยด์ต่ำๆ ผิวไฟนี่ช่วยลดการขึ้นสนิมหรือทำปฎิกิริยากับความชื้น อากาศและกรดด่างได้ส่วนนึง มีดบางเล่มที่ทำผิวแบบนี้ใช้งานหลายปีมันจะขึ้นสนิมตรงส่วนที่ลับหรือเปิดผิวให้ขาวครับ ในส่วนผิวดำจะเปลี่ยนสีแต่ไม่ลุกลามเป็นสนิม
และอีกอย่างคือแสดงให้ผู้คนได้เห็นว่ามันถูกสร้างขึ้นมาด้วยกระบวนการไหนหรือช่างฝีมือระดับไหนเป็นคนทำมันขึ้นมา
















ใบมีดที่มีผิวไฟเดิมๆ
สวัสดีวันจันทร์ครับผมครับผมพี่น้องนักนิยมความคมทุกท่าน วันนี้วันดีมาคุยเรื่องอบอุ่นผสมร้อนแรงพอให้คลายความหนาวเย็น เราจะมาพูดถึงเรื่องผิวไฟ หรือรอยค้อน
มีดที่มีผิวไฟ คือมีดที่มักจะไม่ได้ถูกขัดแต่งหลังการอบชุบ ซึ่งมันมีได้ทั้งมีดงานเย็นคือเจียรเอาหรือมีดงานร้อนคือขึ้นรูปด้วยการตี มันแยกย่อยรายละเอียดไปได้หลายแบบนะครับ ผิวไฟงานเย็นก็อย่างเช่นเราทำใบมีดมาหนึ่งใบจะด้วยเหล็ก SKD11 หรือว่า SUP9 ก็ได้ ขึ้นรูปเสร็จปาดเจียรขัดกระดาษทรายให้เรียบร้อยแล้วก็ชุบแข็ง อบคลายตัวให้เรียบร้อย เหลือสีไหนอยู่บนผิวก็เอาแบบนั้นแหละ นั่นแหละผิวไฟ
แต่ผิวไฟที่เราพบเห็นโดยทั่วไปหรือเข้าใจกันว่ามันน่าจะเป็นอย่างนั้น ก็คือผิวไฟของมีดงานร้อน ผิวไฟที่เกิดจากการทับถมกันของสเกลหรือเปลือกเหล็กที่หลุดออกมาเป็นแผ่นๆเวลาตี เมื่อถูกกระแทกด้วยค้อนและทั่ง ส่วนของเปลือกเหล็กพวกนี้ก็จะประทับลงไปในผิวของเหล็กที่กำลังร้อนแดง กลายเป็นลวดลายตามธรรมชาติของใบมีด ส่วนใหญ่ผิวไปแบบนี้จะปรากฏอยู่บนส่วนของด้านข้างหรือส่วนที่อยู่ใกล้สันมีดที่ไม่ถูกปาดออกจากการแต่งแนวคมหรือบีเวล คือในส่วนนี้จะมีทั้ง" ผิวไฟ " และ " รอยค้อน "
มีดบางเล่มถ้าชุบแข็งแล้วเหลือผิวไฟในส่วนของรอยค้อน ก็ยังดำๆด่างๆสวยงาม ถึงจะขัดขาวในส่วนของแนวคม ใบมีดใบนี้ก็ยังมีผิวไฟอยู่ดี คือผิวไฟและรอยค้อน ในส่วนใหญ่มีดที่มีผิวไฟมักจะเป็นในลักษณะนี้ คือมีส่วนบนเดิมๆและส่วนล่างหรือใกล้ๆแนวคมจะถูกขัดออก
บางเล่มในส่วนของแนวคมถึงถูกปาดให้เป็นสีขาวแต่หลังการอบชุบยังทิ้งผิวไฟจากการอบชุบไว้ก็นับว่าเป็นผิวไฟเดิมๆครับ ซึ่งใบมีดแบบนี้ทำยากที่สุด เพราะแนวคมจะต้องถูกปาดให้บาง มีความหนาไม่เกิน 0.5 มิลล์ เพื่อที่ว่ามันจะได้เฉือนอะไรๆเข้าหลังจากชุบแข็งแล้วก็แค่ตั้งคมตัดหรือคัตติ้งเอจก์ที่ส่วนหน้า แต่ใบมีดแบบนี้ก็ทำได้ยากที่สุด เพราะต้องแบกรับความเสี่ยงสูงสุดในกระบวนการอบชุบ พูดให้ฟังง่ายๆคือถ้าเว้นแนวคมไว้บางมันจะบิดเบี้ยวหรือแตกร้าวในขั้นตอนการชุบแข็งได้ง่าย
ถ้าเป็นเหล็กชุบแข็งด้วยอากาศหรือแอร์เคว้นช์ไม่ค่อยมีปัญหา แต่เหล็กชุบแข็งในน้ำมันและชุบแข็งด้วยน้ำทำได้ยากมากถึงยากที่สุด กระบวนการทั้งหมดต้องแม่นยำพอดีจริงๆ
มีมีดบางประเภทคือมีดครัวญี่ปุ่นที่ทำผิวในแบบคุโรอูชิ 黒打 คือเว้นผิวดำที่มีรอยค้อนไว้บางส่วน มันมีทั้งรอยค้อนแท้ๆและรอยค้อนเทียมๆ โดยเฉพาะในแบบที่เราเรียกกันว่ามีดหมื่นค้อน เกือบทั้งหมดเป็นรอยค้อนจัดตั้งที่สร้างขึ้นมาหลังการขึ้นรูป คือผสมเหล็กและตีขึ้นรูปให้เรียบร้อย พอใจแล้วก็เอาไปทำลายด้วยแม่พิมพ์หรือตอกด้วยค้อนจักรกลเพื่อให้เป็นหลุมๆ มีดในแบบนี้โดยแท้แล้วไม่ใช่ผิวไฟหรือหลุมที่มาจากรอยค้อนแต่เป็นรูปแบบที่ถูกจัดแต่งขึ้นมา
ใบมีดที่ถูกตีขึ้นรูป พอออกจากเตามาใหม่ๆมันเหมือนจะมีเปลือกหุ้มอยู่ นั่นคือสเกลนะครับ เป็นเหมือนเหล็กผงๆที่ผนึกติดกันจนแน่นเป็นแผ่นและแข็งมากแต่เปราะๆคล้ายๆเซรามิก ผิวไฟหรือเปลือกเหล็กแบบนี้จะติดแน่นอยู่กับใบมีดไปจนถึงขั้นตอนการชุบแข็ง ถ้าตอนชุบแข็งไม่ได้เผาตรงนี้ให้ร้อนซึ่งเป็นวิธีการชุบแข็งบางส่วนคือให้เหล็กเป็นออสเต็นไนต์บางส่วนแล้วเอามาลดอุณหภูมิ ไอ้คราบแข็งๆหรือเปลือกนี้ก็จะยังติดอยู่ไม่หลุดออกไป หรือบางทีชุบแข็งด้วยวิธีทำให้ใบมีดเป็นออสเต็นไนต์ทั้งใบแต่จุ่มใบมีดเฉพาะบางส่วน ไอ้คราบนี่ก็ยังติดอยู่เหมือนกัน
มันจะหลุดออกก็ต่อเมื่อเผาให้ร้อนและจุ่มลดอุณหภูมิทั้งใบ
คือเปลือกที่ดูเรียบๆจะหลุดออกตอนชุบและจะเหลือผิวไฟผสมรอยค้อนเอาไว้ เป็นเนื้อเหล็กแท้ๆ ดูได้ตามใบมีดที่ลงให้ชมในวันนี้ครับผม 5 ใบชุบแข็งเรียบร้อยและทิ้งผิวไฟเดิมๆ
ใบมีดที่เห็นนี่อาจจะดูเรียบๆแต่นี่แหละครับคือรอยค้อน รอยค้อนที่ตีจนเรียบ
แล้วไอ้ผิวไฟที่ว่านี่มีประโยชน์อะไรบ้างรึเปล่า ? ถ้าสำหรับเหล็กไฮคาร์บอนเช่นตระกูล 10XX เหล็กญี่ปุ่นแบบนิฮองกาเนะ เหล็ก5160หรือSUP9 ที่มีส่วนผสมน้อยๆมีความเป็นอัลลอยด์ต่ำๆ ผิวไฟนี่ช่วยลดการขึ้นสนิมหรือทำปฎิกิริยากับความชื้น อากาศและกรดด่างได้ส่วนนึง มีดบางเล่มที่ทำผิวแบบนี้ใช้งานหลายปีมันจะขึ้นสนิมตรงส่วนที่ลับหรือเปิดผิวให้ขาวครับ ในส่วนผิวดำจะเปลี่ยนสีแต่ไม่ลุกลามเป็นสนิม
และอีกอย่างคือแสดงให้ผู้คนได้เห็นว่ามันถูกสร้างขึ้นมาด้วยกระบวนการไหนหรือช่างฝีมือระดับไหนเป็นคนทำมันขึ้นมา