ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 1
ผมเป็นช่างตีเหล็ก คือนิยมการขึ้นรูปใบมีดด้วยการเผาให้ร้อนแล้วก็ตี เผาให้ร้อนแล้วก็ตี คือชอบทำมีดงานร้อน ผมไม่ถนัดการเจียรใบมีดเท่าไหร่นัก จริงๆคือไม่ถนัดเลยครับถึงจะทำมีดด้วยการขึ้นรูปเย็นในบ้างครั้ง
ผมไม่ค่อยเจียรใบมีด โดยเฉพาะช่วงแนวคม บางเล่มผมก็ปาดตะไบเอาครับคือปาดกันดื้อๆแบบนั้นเลย
ผมต้องตีใบมีดให้ใกล้เคียงสภาพสำเร็จรูปให้มากที่สุดจะได้ไม่ต้องไปลำบากตอนแทงตะไบ คือแทงออกน้อยมาก บางเล่มก็แทบไม่ต้องตะไบเลย เคาะๆเล็งๆก็ชุบแข็งได้เลย
ลองค่อยๆดูจะเห็นว่าหน้าตาหรือขอบนอกของใบมีดตอนเสร็จออกมาจากเตาและตอนที่ออกมาจากตู้อบหลังการเทมเปอริ่งมันแทบจะไม่มีอะไรผิดเพี้ยนกันหรือเปลี่ยนสภาพไปน้อยมาก
นี่เป็นวิธีตีเหล็กหรือการทำใบมีดแบบฟรอจก์ทูเชพ คือตีให้ได้รูปทรงที่สุดเลย ผมชอบทำมีดด้วยวิธีนี้ครับ มันมีข้อดีหลายอย่างตั้งแต่สามารถใช้เหล็กเริ่มต้นที่หน้าตาเป็นยังไงก็ได้ ถ้ามันมีความหนาพอมันก็ใช้ทำมีดได้ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหนาจะงอหรือจะเล็กแคบขนาดเป็นลูกเหล็กกลมๆมันก็สามารถทำเป็นใบมีดได้
และทำใบมีดได้หลากหลายรูปทรงกว่า ไม่ต้องมีขีดจำกัดอยู่ในความกว้างยาวหนาของเหล็กเริ่มต้น
ทำแนวคมได้เหนียวกว่า ปลายมีดก็เหนียวกว่า รวมไปถึงช่วงคอด้ามคือรอยต่อระหว่างใบมีดกับกั่นได้เหนียวกว่าการทำใบมีดด้วยการเจียร
ใบมีดแบบนี้บ่งบอกอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวของตัวเองได้ชัดเจนที่สุด ใบมีดใบนึงจะไม่เหมือนกับอีกใบนึงถึงแม้ว่าเส้นขอบนอกของมันจะพอดีจนวางซ้อนกันได้ก็ตาม
ผมทำใบมีดด้วยวิธีนี้มาตลอด จากวันนึง เดือนนึง ปีนึงของการเป็นช่างทำมีด สิบปีผ่านไป สิบห้าปีผ่านไป ยี่สิบปีก็ผ่านไป ผมศึกษาค้นคว้าหาความรู้มาโดยตลอด แต่ก็ยังลงความเห็นว่าวิธีนี้เป็นการทำใบมีดงานร้อนที่ดีที่สุด อีกไม่ถึงวันก็จะผ่านไปอีกปี ปีหน้าผมก็คงทำใบมีดด้วยวิธีนี้ ถึงมันจะเป็นวิธีที่มีคนทำน้อยลงเรื่อยๆหรือไม่ได้รับความนิยม แต่ผมชอบและคิดว่ามันเข้ากับแนวคิดในการทำมีดของผมได้ดีที่สุด















ผมไม่ค่อยเจียรใบมีด โดยเฉพาะช่วงแนวคม บางเล่มผมก็ปาดตะไบเอาครับคือปาดกันดื้อๆแบบนั้นเลย
ผมต้องตีใบมีดให้ใกล้เคียงสภาพสำเร็จรูปให้มากที่สุดจะได้ไม่ต้องไปลำบากตอนแทงตะไบ คือแทงออกน้อยมาก บางเล่มก็แทบไม่ต้องตะไบเลย เคาะๆเล็งๆก็ชุบแข็งได้เลย
ลองค่อยๆดูจะเห็นว่าหน้าตาหรือขอบนอกของใบมีดตอนเสร็จออกมาจากเตาและตอนที่ออกมาจากตู้อบหลังการเทมเปอริ่งมันแทบจะไม่มีอะไรผิดเพี้ยนกันหรือเปลี่ยนสภาพไปน้อยมาก
นี่เป็นวิธีตีเหล็กหรือการทำใบมีดแบบฟรอจก์ทูเชพ คือตีให้ได้รูปทรงที่สุดเลย ผมชอบทำมีดด้วยวิธีนี้ครับ มันมีข้อดีหลายอย่างตั้งแต่สามารถใช้เหล็กเริ่มต้นที่หน้าตาเป็นยังไงก็ได้ ถ้ามันมีความหนาพอมันก็ใช้ทำมีดได้ ไม่ต้องกลัวว่ามันจะหนาจะงอหรือจะเล็กแคบขนาดเป็นลูกเหล็กกลมๆมันก็สามารถทำเป็นใบมีดได้
และทำใบมีดได้หลากหลายรูปทรงกว่า ไม่ต้องมีขีดจำกัดอยู่ในความกว้างยาวหนาของเหล็กเริ่มต้น
ทำแนวคมได้เหนียวกว่า ปลายมีดก็เหนียวกว่า รวมไปถึงช่วงคอด้ามคือรอยต่อระหว่างใบมีดกับกั่นได้เหนียวกว่าการทำใบมีดด้วยการเจียร
ใบมีดแบบนี้บ่งบอกอัตลักษณ์หรือความเป็นตัวของตัวเองได้ชัดเจนที่สุด ใบมีดใบนึงจะไม่เหมือนกับอีกใบนึงถึงแม้ว่าเส้นขอบนอกของมันจะพอดีจนวางซ้อนกันได้ก็ตาม
ผมทำใบมีดด้วยวิธีนี้มาตลอด จากวันนึง เดือนนึง ปีนึงของการเป็นช่างทำมีด สิบปีผ่านไป สิบห้าปีผ่านไป ยี่สิบปีก็ผ่านไป ผมศึกษาค้นคว้าหาความรู้มาโดยตลอด แต่ก็ยังลงความเห็นว่าวิธีนี้เป็นการทำใบมีดงานร้อนที่ดีที่สุด อีกไม่ถึงวันก็จะผ่านไปอีกปี ปีหน้าผมก็คงทำใบมีดด้วยวิธีนี้ ถึงมันจะเป็นวิธีที่มีคนทำน้อยลงเรื่อยๆหรือไม่ได้รับความนิยม แต่ผมชอบและคิดว่ามันเข้ากับแนวคิดในการทำมีดของผมได้ดีที่สุด
















แสดงความคิดเห็น
การตีขึ้นรูปแบบบรูตเดอฟอร์จ Brute de Forge
บรูตเดอฟอร์จคืออะไร? หลายท่านอาจจะไม่เคยได้ยิน หรือเคยเห็นอยู่บ้างแต่ยังไม่เข้าใจหรือทำความรู้จักมันอย่างจริงๆจังๆ ถ้าตามคำศัพท์แล้วมันหมายถึง " การตีแบบหยาบ" แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันค่อนข้างจะตรงกันข้าม บรูตเดอฟอร์จจริงๆคือการตีเหล็กที่ละเอียดละออมากๆอย่างนึง อาจจะเรียกได้ว่าเป็นแนวคิดการทำงานหรือลัทธิทางศิลปะที่ละเอียดที่สุดของช่างตีเหล็ก
บรูตเดอฟอร์จคือการตีเหล็กหรือขึ้นรูปใบมีดงานร้อนให้ใกล้เคียงกับสภาพของใบมีดจริงๆหลังประกอบด้ามหรือใบมีดที่พร้อมใช้งานที่สุด หลักๆของมันเลยคือการตีมุมเอียงหรือแนวคม ซึ่งตามลักษณะของการทำงานแล้วมันสืบเนื่องมาจากวิธีการทำงานที่เรียกว่าฟอร์จทูเชป คือการตีเหล็กให้ใกล้เคียงใบมีดที่สุด ตีมาก ปาดเจียรน้อย ช่างตีเหล็กที่เป็นช่างตีเหล็กจริงๆ จะจัดแต่งรูปทรงของใบมีดด้วยการตี เกือบทุกส่วน ปลายมีดต่อให้แหลมยังไงก็สร้างด้วยการตีรวมหัวเหล็กเหลี่ยมๆให้บีบเข้าไปหากันจนปลายแหลม จะไม่นิยมการสร้างปลายด้วยการตัด ไม่ว่าจะตัดร้อนหรือตัดเย็นก็ตาม
เป็นวิธีทำงานที่เห็นได้ทั่วๆไปสำหรับช่างทำมีดที่ชอบตีเหล็ก ช่างแต่ละคนตีเหล็กไม่เท่ากันหรือไม่เหมือนกันนะครับ บางคนตีมาก บางคนตีน้อยถึงจะได้ชื่อว่าช่างตีเหล็กเหมือนกัน ไม่มีใครผิดไม่มีใครถูก ถ้าเค้าพิจารณาแล้วว่าให้สิ่งที่ดีที่สุดกับมีดเล่มนั้นๆแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้
บรูตเดอฟอร์จมันก็เป็นแบบนั้นแหละ แต่เข้มข้นกว่า คือตีขึ้นรูปแล้วยังต้องการผิวสำเร็จที่สวยงามและดั้งเดิม ต้องการแนวคมที่ตีรีดไปจนสุดก่อนการปาดตกแต่ง คือปาดออกเพียงแผ่วเบา ในสมัยก่อนมีดที่จะเรียกว่าบรูตเดอฟอร์จแทบจะเป็นมีดพรีมิตีฟ ถึงเป็นมีดสมัยใหม่หรือมีดในแบบเอบีเอสแต่ก็ยังได้อารมณ์พรีมิตีฟ บางเล่มหรือส่วนมากจะเห็นรอยหยาบๆที่ผิวหรือรูพรุนเล็กๆตามแนวคม มันไม่ใช่ว่าทำงานไม่ละเอียดนะครับ ถึงผิวมันจะหยาบๆหรือลักษณะงานออกไปทางดิบๆเถื่อนๆ แต่นั่นเป็นความปราณีตขั้นสุด
ในสมัยนี้พอจะอนุโลมเรื่องบรูตเดอฟอร์จ คือผ่อนปรนระดับการทำงานลงมา หลักๆเลยก็จะเน้นว่าใบมีดที่มีผิวไฟผิวหยาบดั้งเดิมตามแนวสันหรือด้านหลัง ส่วนแนวคมจะปาดขาวไปเลยก็ได้ ซึ่งวิธีการทำงานแบบนี้มันอาจจะได้มาจากการตีเหล็กเพียงเล็กน้อยก็ได้ แต่ช่างตีเหล็กที่เป็นช่างตีเหล็กชอบตีเหล็กจริงๆเค้าก็ยังตีแน่นหรือตีขึ้นรูปใกล้เคียงงานสำเร็จ ตีแนวคมให้แบนและบาง เพราะการตีแบบนี้นอกจากเป็นงานที่เห็นได้ตามรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว เนื้อเหล็กภายในหรือโลหะวิทยาของเหล็กใบนั้นๆการตีมากๆหรือตีแนวคมให้เนื้อเหล็กที่แน่นตัวและเกรนเหล็กที่เล็กละเอียดกว่ากัน
ผมเองก็ตีเหล็กแบบนี้มาตลอด พี่ๆน้องๆที่มีโอกาสได้ติดตามชมกันมานานจะเห็นได้ว่าผมก็ตีเหล็กแบบนี้แหละ เป็นบรูตเดอฟอร์จตามธรรมชาติไม่ได้ตั้งใจให้เป็น ทุกวันนี้ก็ยังตีแบบนี้อยู่ถึงจะไม่ได้ตีเองทั้งหมด หรือบางใบไม่ได้ตีเลยก็มี เป็นคนเคาะดัดให้ตรงเท่านั้น แต่ใบมีดของมีดแมวโหลยังคงเป็นบรูตเดอฟอร์จ มันยังคงเป็นเช่นที่มันเคยเป็น
โรงตีเหล็กจริงๆแล้วเป็นสถานที่ที่ร้อนมากๆสำหรับผู้ไม่คุ้นเคย แต่สำหรับช่างตีเหล็กแล้วมันอบอุ่นเสมอไม่ว่าอากาศด้านนอกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
เสียงเปลวไฟ เสียงเหล็กกระทบกัน เสียงเครื่องมือขยับทำตามหน้าที่ เสียงเสื้อผ้าเสียดสี เสียงหอบหายใจบางครั้งได้ยินกระทั่งเสียงเหงื่อหยดลงพื้น หรือเสียงน้ำเดือดกลายเป็นไอเมื่อเหงื่อหยดลงกระทบคีมจับงานหรือก้อนเหล็กที่กำลังร้อนแดง และสำคัญที่สุดคือเสียงหัวใจเต้น ถึงมันจะเต้นแรงกว่าปรกติอยู่บ้างแต่ก็เป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่าเรายังไม่ตาย ช่างตีเหล็กยังไม่ตาย โรงตีเหล็กก็ยังมีชีวิตอยู่ มีดแมวโหลยังอยู่รอดและดำเนินตามครรลองของมันต่อไป
เสียงสายลมหวีดหวิวล้อกิ่งไผ่ผสมเสียงนกตัวเล็กตัวน้อย มีให้ฟังตลอดทั้งปี มีเสียงจั๊กจั่นกรีดปีกดังระงมเซ็งแซ่ เสียงค้อนกระแทกเหล็กแดงๆบนทั่งเก่าสนิมเกรอะ ผมเองได้ยินอยู่เสมอๆ เงี่ยหูฟัง รอการได้ยิน ถ้าไม่ได้ยินเสียงอะไรผมจะฟังเสียงความเงียบ บางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ส่งเสียงร่ำร้องอยู่ในจิตวิญญาณ มันอยู่ที่นั่นเสมอ แต่มีเพียงบางช่วงเวลาที่เราจะได้ยิน ช่วงเวลาที่หัวใจเงียบสงัดเย็นยะเยือก หรือพลังสร้างสรรค์ต้องการหนทาง นั่งเงียบๆหลับตาคอยฟังเสียงจากใจของตัวเอง มันดังแผ่วๆแต่ชัดเจนในการรับรู้
จักรวาลและเราล้วนเป็นหนึ่งเดียวกัน เสียงหัวใจยังเต้น เสียงค้อนดังขึ้นอีกครั้ง บทเพลงแห่งช่างตีเหล็กเริ่มบรรเลง ชีวิตและสิ่งต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิต เริ่มมีชีวิตชีวา ก้าวไปข้างหน้าได้อีกครั้งนึง