ทำความรู้จัก Carbon Footprint แบบเข้าใจง่ายกัน

สวัสดีครับ วันนี้มาแบ่งปันความรู้เบื้องต้นของวงการ คาร์บอน กันครับ 
ติดตามข่าวสาร สาระความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม กดติดตามได้เลย
☁︎☁︎☁︎
>>> สรุปไว้ให้แล้ว ทุกมาตรฐานคาร์บอน <<< 

☁︎☁︎☁︎
นานาเรียน
มาเริ่มจากทำไมผู้ประกอบการต้องรู้จักมาตรฐานคาร์บอน
1. ลูกค้าองค์กรเริ่มนำปัจจัยคาร์บอนมาพิจารณาคู่ค้า
2. พรบ.อากาศสะอาด และ มาตรการของการนิคม ไกล้บังคับใช้
3. โอกาสทางธุรกิจ กลุ่มลูกค้าเจนใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
☁︎☁︎☁︎
เห็นมั้ยว่า คาร์บอนสำคัญขนาดไหน โดยเฉพาะการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ มาดูกันว่าธุรกิจ
☁︎☁︎☁︎
อมยิ้ม03
แต่รู้มั้ยว่าคาร์บอนมีหลายประเภทนะ หยอกเย้า
เรื่องที่เข้าใจผิดบ่อยๆเกี่ยวกับคาร์บอนคือ การคำนวณและรายงานคาร์บอนนั้นไม่ได้เหมือนกันไปทั้งหมด แต่ประเภทของมาตรการคาร์บอนนั้นแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

-------------------------
Carbon Credit 
-------------------------
เน้นไปที่การทำโครงการเพื่อลด เลี่ยงการปล่อยคาร์บอนและเครมสิทธิในการลดลงนั้นไว้ขายให้แก่องค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนจำนวนมากได้ เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ให้แก่คนที่สามารถลดได้นั่นเอง เช่นโครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดด ลม หรือการปลูกป่า
อ่านเพิ่มเติม : https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/t-ver.html
-------------------------
Carbon Footprint
-------------------------  
หมายถึงรายงานการปล่อยคาร์บอนอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยหลักๆจะมีรายงาน 2 รูปแบบที่ใช้กันในวงกว้าง
☁︎☁︎☁︎  ฟุตปริ้นองค์กร
☁︎☁︎☁︎  รายงานการปล่อยคาร์บอนอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ตั้งแต่การตลาด การขาย การผลิตและจัดจำหน่าย จัดทำรายงานทุกๆปี และมีมาตรฐานหลักที่ใช้ในไทยได้แก่ CFO และ ISO14064-1
อ่านเพิ่มเติม : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH...

☁︎☁︎☁︎  ฟุตปริ้นผลิตภัณฑ์
☁︎☁︎☁︎  รายงานการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากสินค้า หรือบริการ โดยดูจากวัฏจักรของสินค้าตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การแปรรูป บรรจุภัณฑ์ไปจนถึงการขนส่ง การใช้งานและการสิ้นอายุขัย เช่น รถยนต์หนึ่งคันก่อให้เกิดคาร์บอนตั้งกระบวนการถลุงเหล็ก การขึ้นรูป ไปจนถึงการที่มีคนซื้อไปขับขี่ มาตรฐานที่ใช้ในการประเมินได้แก่ CFP และ ISO14067 หรือเรียกอรกอย่างว่า Life Cycle Assessment (LCA)
อ่านเพิ่มเติม : https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH...
tripnote003 
อย่าเอามาปนกันนะ
แต่ละรูปแบบจะใช้วิธีการคำนวณ ขอบเขตข้อมูล และมาตรฐานอ้างอิงต่างกัน ผมทำสรุปมาให้แล้ว
............................

............................
แล้วเราควรศึกษาอันไหนเพิ่มดีนะ ?
tripnote006
ทั้งสามกลุ่มนี้ มีรูปแบบวิธีการและหลักการใช้งานแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนจะเริ่มศึกษาลงไปในรายละเอียด ควรกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น
☁︎☁︎☁︎
หากต้องการเพิ่มศักยภาพ เสริมภาพลักษณ์องค์กร หรือค้าขายกับบริษัท หน่วยงานต่างชาติ ควรเริ่มไปที่ >>> ฟุตปริ้นองค์กร
☁︎☁︎☁︎
หากต้องการให้สินค้าของเรามีสลากคาร์บอน ผ่านกฏเกณฑ์เงื่อนไขของประเทศนำเข้า ห้างร้านหรือกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสินค้ายั่งยืน ควรเริ่มที่ >>> ฟุตปริ้นผลิตภัณฑ์
☁︎☁︎☁︎
หากมีแผนจัดทำโครงการด้านพลังงานทดแทน โซล่ารูฟ การจัดการขยะ และต้องการหา incentive เพื่อช่วยให้โครงการคืนทุนได้เร็วยิ่งขึ้น ควรศึกษา >>> Carbon Credit
---------------------------
มาดูสรุปผลกระทบของคาร์บอนแต่ละแบบกันอีกทีนะ

หวังว่าจะเข้าใน Carbon Footprint กันมากขึ้นนะ 
---------------------------
หากต้องการติดตามข่าวสารและสรุปความรู้ใหม่ๆ กดฟอลโล่เพจได้เลย
Carbonwize Facebook Page
---------------------------
ทดลองประเมิน ฟุตปริ้นองค์กร ง่ายๆ ใช้แค่เลขนิติบุคคล
ประเมินฟุตปริ้นองค์กรได้ง่ายๆ
---------------------------
ต้องการสอบถามข้อมูล บริการที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน
Contact Carbonwize
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่