เปิดเหตุผล ทำไม ‘ไทย’ ต้องเก็บ ภาษีคาร์บอน? หลัง ครม. อนุมัติการกำหนดราคาคาร์บอนในภาษีน้ำมันในอัตรา 200 บาทต่อตันคาร์บอนเทียบเท่า คลังย้ำ ไม่ดันราคาพลังงานแพงขึ้น โดยมาตรการภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 1 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
วันนี้ (21 มกราคม) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ได้มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการคลังกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แล้ว เพื่อกำหนดให้มีกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน สำหรับอัตราราคาคาร์บอนเบื้องต้นจะมีการกำหนดราคาคาร์บอนที่ 200 บาทต่อตันคาร์บอนเทียบเท่า
พิชัยกล่าวย้ำว่า มาตรการทางภาษีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่อย่างใด แต่จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่สร้างโอกาสให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ขณะที่ เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่ามาตรการภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 1 วัน หลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
น้ำมัน – ผลิตภัณฑ์น้ำมันใดที่จะมีการกำหนดราคาคาร์บอนเข้าไปบ้าง?
สินค้าที่จะมีการกำหนดกลไกราคาคาร์บอนเป็นสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเฉพาะประเภท มีดังนี้
- น้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน ซึ่งรวมถึงแก๊สโซฮอล์ประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85
- น้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน
- น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น
- น้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายกัน ซึ่งรวมถึงน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลผสมอยู่ประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซล B5, น้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันดีเซล B10
- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซโพรเพน และก๊าซที่คล้ายกัน
- น้ำมันเตาและน้ำมันที่คล้ายกัน
ทำไม ‘ไทย’ ต้องเก็บ ภาษีคาร์บอน?
1. ช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality-Net Zero
ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ใน ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ใน ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608)
โดยภาคขนส่งและน้ำมันที่เป็นต้นทางของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งทั้งสองภาคส่วนดังกล่าวมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดหรือประมาณ 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
“ดังนั้นการกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับมีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนในสังคมปรับตัวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรองรับกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” พิชัยกล่าว
2. EU จะใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ในปี 2026
สหภาพยุโรปเตรียมเก็บส่วนต่างราคาคาร์บอนจากสินค้าที่นำเข้า 6 ประเภท ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย ไฮโดรเจน ไฟฟ้า ดังนั้นหากไทยจัดเก็บภาษีคาร์บอนดังกล่าวตั้งแต่ต้นทางก็จะสามารถเจรจาหักลบกับสหภาพยุโรปได้
โดยเผ่าภูมิกล่าวว่า “ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะมีส่วนช่วยทำให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างโอกาสให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
ที่มา : thestandard
ทำไม ‘ไทย’ ต้องเก็บภาษีคาร์บอน? หลัง ครม. อนุมัติการกำหนดราคาคาร์บอนในภาษีน้ำมันแล้ว
พิชัยกล่าวย้ำว่า มาตรการทางภาษีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันแต่อย่างใด แต่จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่สร้างโอกาสให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
ขณะที่ เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่ามาตรการภาษีดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 1 วัน หลังจากกฎกระทรวงดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
น้ำมัน – ผลิตภัณฑ์น้ำมันใดที่จะมีการกำหนดราคาคาร์บอนเข้าไปบ้าง?
สินค้าที่จะมีการกำหนดกลไกราคาคาร์บอนเป็นสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตในบัญชีพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเฉพาะประเภท มีดังนี้
- น้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน ซึ่งรวมถึงแก๊สโซฮอล์ประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85
- น้ำมันก๊าดและน้ำมันที่จุดให้แสงสว่างที่คล้ายกัน
- น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น
- น้ำมันดีเซลและน้ำมันอื่นๆ ที่คล้ายกัน ซึ่งรวมถึงน้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลผสมอยู่ประเภทต่างๆ เช่น น้ำมันดีเซล B5, น้ำมันดีเซล B7 และน้ำมันดีเซล B10
- ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ก๊าซโพรเพน และก๊าซที่คล้ายกัน
- น้ำมันเตาและน้ำมันที่คล้ายกัน
ทำไม ‘ไทย’ ต้องเก็บ ภาษีคาร์บอน?
1. ช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality-Net Zero
ทั้งนี้ ประเทศไทยตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ทั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ใน ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ใน ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608)
โดยภาคขนส่งและน้ำมันที่เป็นต้นทางของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ซึ่งทั้งสองภาคส่วนดังกล่าวมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดหรือประมาณ 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย
“ดังนั้นการกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับมีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนในสังคมปรับตัวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อรองรับกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” พิชัยกล่าว
2. EU จะใช้มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ในปี 2026
สหภาพยุโรปเตรียมเก็บส่วนต่างราคาคาร์บอนจากสินค้าที่นำเข้า 6 ประเภท ได้แก่ เหล็ก อะลูมิเนียม ปูนซีเมนต์ ปุ๋ย ไฮโดรเจน ไฟฟ้า ดังนั้นหากไทยจัดเก็บภาษีคาร์บอนดังกล่าวตั้งแต่ต้นทางก็จะสามารถเจรจาหักลบกับสหภาพยุโรปได้
โดยเผ่าภูมิกล่าวว่า “ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะมีส่วนช่วยทำให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเสริมสร้างโอกาสให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”
ที่มา : thestandard