เกษตรกร เตรียมตัวรวย !
เพียงแค่รู้ว่า Carbon Credit คืออะไร
#ชี้ช่องทางหาเงิน
Carbon Credit
คาร์บอนเครดิต คือใบรับรองที่สามารถซื้อขายได้ แทนสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนไดออกไซด์: CO2) หรือก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ตามปริมาณที่เทียบเท่ากัน มีวัตถุประสงค์หลักคือให้ส่งเสริมเชิงเศรษฐกิจให้กับองค์กร บริษัท หรือประเทศ ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีส่วนในการลดโลกร้อน เช่น การปลูกต้นไม้ ปลูกป่า หรือการลด เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก
.
ขอยกตัวอย่างง่ายๆนะครับมีบริษัท A และ เจ้าของสวน 1,000 ไร่ บริษัท A ผลิตไฟฟ้า ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2,000 ตันต่อปี ในขณะที่รัฐบาลจำกัดให้บริษัท A ปล่อย เพียงแค่ 1,500 ตันต่อปี คราวนี้ บริษัท A เลยจำเป็นต้องไปซื้อ Carbon Credit จากเจ้าของสวนมา 500 เครดิต (1credit=1 ตัน) ซึ่งทำให้บริษัทนั้นทดแทนก๊าซคาร์บอนที่ผลิตออกมาเกินไปได้
โดยในปัจจุบันนี้ ในไทยก็ได้มีมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเกิดขึ้นแล้ว ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ TGO เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า เครดิต TVERs สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอนได้ (Carbon Offsetting)
คุณสมบัติสำหรับผู้เข้าร่วม
โดยคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ยื่นเข้าร่วมโครงการมีดังนี้ :
1.นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
2.กลุ่มบุคคลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายเฉพาะ
3.บุคคลธรรมดา และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้มีแค่การปลูกพืชยืนต้น หรือที่ดินอย่างเดียวนะครับ ในตอนนี้ทางโครงการมีด้วยกัน 14 ประเภทด้วยกัน ผมยกมาคร่าวๆ
ประเภทของโครงการ :
-การจัดการน้ำเสียชุมชน
-การจัดการขยะมูลฝอย
-การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม
-การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร
-การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานและครัวเรือน
-การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
-การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
และโครงการประเภทอื่นๆ...
วิธีการเข้าร่วมโครงการ
โดยขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมก็ไม่ยากเลย เพียงแค่เข้าไปในเว็บไซต์
https://ghgreduction.tgo.or.th/th/t-ver.html
1.จัดทำเอกสารเพื่อสมัครขอเข้าร่วมโครงการ
2.จะได้รับการตรวจสอบความใช้ได้โดยผู้ประเมินภายนอก
3.เมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการโดย TGO
4.จากนั้นสามารถทำโครงการได้เลย พร้อมทำรายงานการติดตามประเมิน และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ประเมินภายนอก
5.สุดท้ายจะได้รับรองคาร์บอนเครดิตโดย TGO และหลังจากนั้นก็ดำเนินการตามที่โครงการกำหนดไว้ได้เลย
ณ เวลานี้เรื่อง Carbon credit เป็นเรื่องไม่ไกลตัวพวกเราแล้วใช่ไหมครับ ไม่ใช่แค่เพียงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ยังมีส่วนรวมในการส่งเสริมการลดคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
สำหรับศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม :
https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/tver-type.html http://carbonmarket.tgo.or.th/
เกษตรกรตรียมตัวรวย ! (Carbon Credit)
เพียงแค่รู้ว่า Carbon Credit คืออะไร
#ชี้ช่องทางหาเงิน
Carbon Credit
คาร์บอนเครดิต คือใบรับรองที่สามารถซื้อขายได้ แทนสิทธิ์ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (คาร์บอนไดออกไซด์: CO2) หรือก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ตามปริมาณที่เทียบเท่ากัน มีวัตถุประสงค์หลักคือให้ส่งเสริมเชิงเศรษฐกิจให้กับองค์กร บริษัท หรือประเทศ ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีส่วนในการลดโลกร้อน เช่น การปลูกต้นไม้ ปลูกป่า หรือการลด เช่น ลดการใช้ถุงพลาสติก
.
ขอยกตัวอย่างง่ายๆนะครับมีบริษัท A และ เจ้าของสวน 1,000 ไร่ บริษัท A ผลิตไฟฟ้า ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 2,000 ตันต่อปี ในขณะที่รัฐบาลจำกัดให้บริษัท A ปล่อย เพียงแค่ 1,500 ตันต่อปี คราวนี้ บริษัท A เลยจำเป็นต้องไปซื้อ Carbon Credit จากเจ้าของสวนมา 500 เครดิต (1credit=1 ตัน) ซึ่งทำให้บริษัทนั้นทดแทนก๊าซคาร์บอนที่ผลิตออกมาเกินไปได้
โดยในปัจจุบันนี้ ในไทยก็ได้มีมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่มีการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเกิดขึ้นแล้ว ภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ TGO เป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction: T-VER) ซึ่งคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจากโครงการดังกล่าว จะเรียกว่า เครดิต TVERs สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการชดเชยคาร์บอนได้ (Carbon Offsetting)
คุณสมบัติสำหรับผู้เข้าร่วม
โดยคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์ยื่นเข้าร่วมโครงการมีดังนี้ :
1.นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
2.กลุ่มบุคคลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายเฉพาะ
3.บุคคลธรรมดา และไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ซึ่งต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้มีแค่การปลูกพืชยืนต้น หรือที่ดินอย่างเดียวนะครับ ในตอนนี้ทางโครงการมีด้วยกัน 14 ประเภทด้วยกัน ผมยกมาคร่าวๆ
ประเภทของโครงการ :
-การจัดการน้ำเสียชุมชน
-การจัดการขยะมูลฝอย
-การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม
-การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร
-การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงานและครัวเรือน
-การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
-การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
และโครงการประเภทอื่นๆ...
วิธีการเข้าร่วมโครงการ
โดยขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมก็ไม่ยากเลย เพียงแค่เข้าไปในเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th/th/t-ver.html
1.จัดทำเอกสารเพื่อสมัครขอเข้าร่วมโครงการ
2.จะได้รับการตรวจสอบความใช้ได้โดยผู้ประเมินภายนอก
3.เมื่อผ่านการประเมินก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการโดย TGO
4.จากนั้นสามารถทำโครงการได้เลย พร้อมทำรายงานการติดตามประเมิน และตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ประเมินภายนอก
5.สุดท้ายจะได้รับรองคาร์บอนเครดิตโดย TGO และหลังจากนั้นก็ดำเนินการตามที่โครงการกำหนดไว้ได้เลย
ณ เวลานี้เรื่อง Carbon credit เป็นเรื่องไม่ไกลตัวพวกเราแล้วใช่ไหมครับ ไม่ใช่แค่เพียงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ยังมีส่วนรวมในการส่งเสริมการลดคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
สำหรับศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม :
https://ghgreduction.tgo.or.th/th/about-tver/tver-type.html http://carbonmarket.tgo.or.th/