###องค์กรสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน?///Sustainable development///Nachhaltige Entwicklung///CSR###

ในช่วงปีที่ผ่านมา มีการพูดถึง"การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development)" เป็นอย่างมาก คำจำกัดความของการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกเหนือจากผลกำไรจากการดำเนินงานเท่านั้น แต่ละองค์กรต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆด้าน ในการวางแผนการดำเนินงานของตน เมื่อองค์กรได้ลงมือทำตามแผนที่วางไว้ ก็จะมีการทำรายงาน เพื่อเป็นการสื่อสารให้ นักลงทุน ผู้ถือหุ้น นักวิเคราะห์ NGOs และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) รับรู้ถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในรอบปี ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อว่า "รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน" (sustainability report / CSR-report / corporate report) โดยมากบริษัทจะรายงานตาม Guideline ของ GRI (Global Report Initiative) ซึ่งปัจจุบันมีถึงรุ่นที่ 4 (May 2013 GRI G4) หรือไม่ก็ตาม UN Global Compact มีทั้งหมด 10 หัวข้อด้วยกัน

เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ จึงขอยกตัวอย่างองค์กรที่นำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังต่อไปนี้

เริ่มด้วยธุรกิจในภาคการผลิต ขอยกตัวอย่าง BMW Group

การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากผู้นำขององค์กร ไม่ร่วมมือด้วย จะเห็นได้จากใน รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะเริ่มต้นด้วยกลยุทธ์ขององค์กร ที่ผนวก sustainability เข้าไปด้วย

ด้านบริหารจัดการ
แบ่งออกเป็น
Risk management และ corporate governance & compliance

ยกตัวอย่างเช่น

1. มีนโยบายต่อต้านการคอรัปชั่น
2. การบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวม
3. sustainable management
4. เครื่องมือสำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายคือการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือที่เรียกว่า stakeholder dialogue
5. การพัฒนาอย่างยั่งยืนใน supply chain คือมีการประเมินและตรวจสอบ supplier อย่างสม่ำเสมอว่ามีการบริหารจัดการอย่างไร เช่น พนักงานได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชน (human rights) หรือไม่



ด้านสิ่งแวดล้อม
แบ่งออกเป็น
Product responsibility และ corporate environmental protection

ยกตัวอย่างเช่น

Product responsibility
1. การพัฒนารถยนต์ที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อยที่สุด ได้แก่ การใช้น้ำมันให้มีประสิทธิภาพ
2. ลดมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง / Carbon footprint / ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
3. มีการรีไซเคิล โดยเริ่มตั้งแต่ออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้  
4. ลดเสียงที่เกิดจากเครื่องยนต์
5. ปรับปรุงความปลอดภัยของรถยนต์

corporate environmental protection
6. การคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพของบริเวณฐานที่ตั้งการผลิต
7. การเดินทางของพนักงาน มีการจัดรถบัสรับส่งพนักงาน สนับสนุนให้พนักงานใช้ระบบขนส่งมวลชน หรือหากพนักงานขับรถส่วนตัวมาเอง ก็มีการให้ความรู้ในการขับขี่ที่ก่อให้เกิด carbon footprint น้อยที่สุด
8. ทรัพยาการน้ำที่ใช้ น้ำเสีย และการจัดการน้ำเสีย

ด้านสังคม
แบ่งออกเป็น
responsibility for employees และ commitment to social responsibility

ยกตัวอย่างเช่น

responsibility for employees
1. สวัสดิการพนักงาน
2. มีการ training และให้ความรู้พนักงานอย่างสม่ำเสมอ  
3. ความหลากหลาย (diversity) ทางด้านเชื้อชาติ
4. ความเท่าเทียมกันของพนักงาน เช่น งานตำแหน่งเดียวกัน ผู้หญิงและผู้ชายได้เงินเดือนเท่ากัน มีการให้โอกาสคนพิการเข้าทำงาน
5. โปรแกรม work-life-balance สร้างความสมดุลให้กับชีวิตของพนักงาน
6. ความปลอดภัยของพนักงานระหว่างทำงาน

commitment to social responsibility
7. การให้ความรู้ด้านการใช้รถใช้ถนน
8. ให้การสนับสนุนโครงการที่ให้ความรู้และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
9. สนับสนุนโครงการเพื่อสุขภาพ
10. ตั้งกองทุน เพื่อนำเงินไปใช้เป็นทุนการศึกษา ฯลฯ

รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ BMW Group http://www.bmwgroup.com/d/0_0_www_bmwgroup_com/verantwortung/kennzahlen_und_fakten/sustainable_value_report_2010/einzelne_kapitel/11670_SVR_2010_engl_Online-Version.pdf
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่