ผู้ใช้แรงงานเชียงใหม่ กระอัก โอด ป.ตรีหมื่นห้าอยู่ไหน ของจริงทำ 6 วัน เงินเดือนแค่ 9 พัน
https://www.matichon.co.th/social/news_5037813
แรงงานเชียงใหม่ กระอัก โอด ป.ตรีหมื่นห้าอยู่ไหน ของจริงทำ 6 วัน เงินเดือนแค่ 9 พัน ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 ไม่มีวันหยุด
ตามที่มติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เคาะแล้วเรียบร้อย มีผล 1 มกราคม 2568 โดยอัตราใหม่ ปรับเป็นอัตราวันละ 337- 400 บาท แม้จะยังไม่สามารถเพิ่มเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศได้ก็ตาม โดย อ.เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 380 บาท ขยับจากเดิม 350 บาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นค่าแรงในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นเมืองเศรษฐกิจอีกหนึ่งแห่งของไทย ได้กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์
หลังมี ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้รวบรวมโพสต์ประกาศรับสมัครงาน ในปี 2568 ของนายจ้างธุรกิจในเชียงใหม่ ซึ่งไปในทิศทางเดียวกันคือเงินเดือนเริ่มต้นที่ 9,000 – 10,500 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 9,100 บาท โดยส่วนมากยังให้ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ หรือที่น่าแปลกใจคือให้ทำงาน 28 วันต่อเดือน หรือหยุด 2 วันต่อเดือน
มากไปกว่านั้น มีนายจ้างที่หนึ่งรับสมัครแม่บ้านทำความสะอาด เงินเดือน 8,000 บาท แต่ให้ทำความสะอาดหอพัก 2 แห่งพร้อมซักผ้าให้ยายด้วย และลูกจ้างต้องมีมอเตอร์ไซค์เอง ขณะที่ค่าแรงรายวันเกือบทุกที่จ้างที่ 300 บาท แบบไม่มีวันหยุด
โดยเจ้าของโพสต์ระบุว่า “
เชียงใหม่เมืองมหัศจรรย์ที่กฎหมายแรงงานและค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถบังคับใช้ได้ outlaw โดยแท้ ปล.ทุกโพสคือการประกาศรับสมัครงาน ปี 2568”
ซึ่งภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ได้มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เห็นด้วยว่าค่าจ้างไม่สอดคล้องไปกับกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ และค่าครองชีพ ทำแบบนี้เหมือนกดขี่แรงงาน ขณะที่บางรายก็อ้างว่าเป็นเพราะวุฒิการศึกษา และความสามารถไม่ถึง
เช่นว่า พอพูดความจริง ก็หาว่าด้อยค่าจังหวัด 55555, ความสามารถไม่ถึงครับ ผมกล้าพูดเลยว่าทำไมเขารับคนครัว 9,000 ถ้าเป็นคนมีสกิลผมให้ 15,000-18,000 เลย สำหรับงานครัว
– พอค่าจ้างต่ำกว่าวุฒิ แรงงานที่มีทักษะและวุฒิก็ไหลออกจากเมือง เพราะ opportunity ในการเติบโต และการสร้างฐานะน้อย พอค่าจ้างต่ำ คนก็ไม่กล้าใช้จ่าย ธุรกิจก็หันหน้ากลุ่มเป้าหมายไปทางนักท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวมันก็มี low season เช่นช่วงฤดูหมอกควัน สุดท้ายกลายเป็นตัวธุรกิจเองก็อยู่ไม่ได้ เพราะนักท่องเที่ยวก็ลด คนท้องถิ่นที่มีกำลังซื้อก็ไม่มากพอ เพราะแรงงานเลือกไปเดินตลาดสด ตลาดนัด
– ในคอมเมนท์ มีแต่ wanna be นายจ้าง อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่อยู่ได้ด้วยการกดค่าแรงลูกจ้าง มันต้องทำกำไรได้จากตัวธุรกิจเองรึเปล่า ถ้าต้องจ่ายลูกจ้างเดือนละ 9,000 เพื่อให้ธุรกิจไปรอดนี่ เหมือนเกาะลูกน้องกินไปวันๆ
– ป.ตรี 15,000 ไม่มีอยู่จริงค่ะ
– จบ ป.ตรี ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานตลอดเวลายังได้เงินเดือนแค่ 10,500
– ศัพท์สากลเขาเรียกว่า การขโมยค่าจ้าง (Wage Theft) ครับ กฎหมายมี สัญญามี แต่นายจ้างขโมยเงิน พักเบรค วันหยุด ประกันสังคม ฯลฯ ไปจากลูกจ้าง
– มองเห็นมั้ยย อยากทำงาน 6 วัน / สัปดาห์กันอยู่หรอออ ไม่มีเวลาไปพัฒนาชีวิต ผ่อนคลายเลยย
– เป็นจังหวัดที่วัยรุ่นสร้างตัวเติบโตช้าที่สุด
– เจอบางงาน คุณสมบัติพูดไทย จีน อังกฤษได้จะพิจารณาเป็นพิเศษ แต่เงินเดือนเริ่มต้น 9,000++
– รับสมัครคนมีประสบการณ์แต่จ่ายเงินเหมือนคนไม่มีประสบการณ์
– บางที่ต้องการมีประสบการณ์ พูดได้ 2 ภาษา Up ฐานเงินเดือน 9,000 บาท
– โอ้โห ไม่ต้องกินข้าวกันแล้วคนเรา
คณะวารสารฯ มธ. แถลงจุดยืนหนุน พิรงรอง คุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_5037871
คณะวารสารฯ ม.ธรรมศาสตร์ แถลงจุดยืน หนุน พิรงรอง คุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
จากกรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ในคดีที่บริษัททรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
พิรงรอง รามสูต กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำเลย เรื่อง เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญานั้น
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ขอแสดงจุดยืนสนับสนุนการทำหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเจตนาสุจริตเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เล็งเห็นว่าการพิทักษ์ผลประโยชน์ของสาธารณะคือสิ่งสำคัญ และ กสทช. ในฐานะองค์กรอิสระคือผู้ที่สังคมหวังให้เป็นที่พึ่ง กสทช.พึงกำกับดูแลสื่อให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม และคุ้มครองผู้บริโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ทบทวนกลไกการกำกับดูแลให้เป็นไปอย่างอิสระและชัดเจนในบทบาทหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของนิเวศดิจิทัล
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนขอสนับสนุนให้วงการวิชาการและวิชาชีพด้านการสื่อสาร สื่อมวลชน และสาธารณชน ร่วมติดตาม สื่อสาร อภิปรายกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค โดยเฉพาะสนับสนุนสื่อมวลชนให้ความสำคัญกับการเกาะติดการรายงานข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและรอบด้าน ก่อให้เกิดพื้นที่อิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้หลักคิดของการขับเคลื่อนสังคมที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามบทบาทหน้าที่การทำงานสื่อเพื่อมวลชนอย่างแท้จริง เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่กว้างขวาง และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันทบทวนและเห็นถึงความสำคัญของผลประโยชน์สูงสุดของสาธารณะเป็นสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นบรรทัดฐานที่กระทบต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
องค์กรสื่อแถลงสนับสนุน พิรงรอง ปฏิบัติหน้าที่สุจริต-ปกป้องผลประโยชน์ ปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_5037784
องค์กรสื่อแถลงสนับสนุน พิรงรอง ปฏิบัติหน้าที่สุจริต-ปกป้องผลประโยชน์ ปชช.
จากกรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ จำคุก 2 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในความผิดมาตรา 157 ตามที่ทรูดิจิทัลฟ้อง ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันชั่วคราว วงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่ง กสทช.นั้น
เมื่อวันที่ 7 สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ส.ส.ม.ท.) ออก แถลงการณ์ส.ส.ม.ท. เรื่อง จุดยืนกรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช. ใจความดังนี้
สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ “ส.ส.ม.ท.” ซึ่งสมาชิกเป็นคณาจารย์หรือผู้บริหารคณะที่สอนด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ทั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ขอส่งกำลังใจสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และสาธารณะในฐานะผู้บริโภคสื่อ จากกรณี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาคดีบริษัท ทรู ดิจิจิทัลกรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้อง กสทช.
พิรงรอง จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ตามมาตรา 157
ส.ส.ม.ท. ในฐานะนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน ตระหนักถึงการส่งเสริมสิทธิและ เสรีภาพ การแสวงหาและรับรู้ข่าวสารของ
ประชาชน ทั้งนี้ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นความตั้งใจที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภคสื่อ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ ส.ส.ม.ท. จึงขอแสดงจุดยืนสนับสนุน บทบาทหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.
พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตตามหลักการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนแห่งชาติผู้บริโภคสื่อต่อไป
JJNY : ผู้ใช้แรงงานเชียงใหม่ กระอัก│วารสารฯมธ.แถลงจุดยืนหนุนพิรงรอง│องค์กรสื่อสนับสนุนพิรงรอง│ตร.ขอตัว สส.ปูอัดดำเนินคดี
https://www.matichon.co.th/social/news_5037813
แรงงานเชียงใหม่ กระอัก โอด ป.ตรีหมื่นห้าอยู่ไหน ของจริงทำ 6 วัน เงินเดือนแค่ 9 พัน ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 ไม่มีวันหยุด
ตามที่มติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เคาะแล้วเรียบร้อย มีผล 1 มกราคม 2568 โดยอัตราใหม่ ปรับเป็นอัตราวันละ 337- 400 บาท แม้จะยังไม่สามารถเพิ่มเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศได้ก็ตาม โดย อ.เมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 380 บาท ขยับจากเดิม 350 บาท
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประเด็นค่าแรงในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นเมืองเศรษฐกิจอีกหนึ่งแห่งของไทย ได้กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์
หลังมี ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้รวบรวมโพสต์ประกาศรับสมัครงาน ในปี 2568 ของนายจ้างธุรกิจในเชียงใหม่ ซึ่งไปในทิศทางเดียวกันคือเงินเดือนเริ่มต้นที่ 9,000 – 10,500 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 9,100 บาท โดยส่วนมากยังให้ทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ หรือที่น่าแปลกใจคือให้ทำงาน 28 วันต่อเดือน หรือหยุด 2 วันต่อเดือน
มากไปกว่านั้น มีนายจ้างที่หนึ่งรับสมัครแม่บ้านทำความสะอาด เงินเดือน 8,000 บาท แต่ให้ทำความสะอาดหอพัก 2 แห่งพร้อมซักผ้าให้ยายด้วย และลูกจ้างต้องมีมอเตอร์ไซค์เอง ขณะที่ค่าแรงรายวันเกือบทุกที่จ้างที่ 300 บาท แบบไม่มีวันหยุด
โดยเจ้าของโพสต์ระบุว่า “เชียงใหม่เมืองมหัศจรรย์ที่กฎหมายแรงงานและค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถบังคับใช้ได้ outlaw โดยแท้ ปล.ทุกโพสคือการประกาศรับสมัครงาน ปี 2568”
ซึ่งภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ได้มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เห็นด้วยว่าค่าจ้างไม่สอดคล้องไปกับกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ และค่าครองชีพ ทำแบบนี้เหมือนกดขี่แรงงาน ขณะที่บางรายก็อ้างว่าเป็นเพราะวุฒิการศึกษา และความสามารถไม่ถึง
เช่นว่า พอพูดความจริง ก็หาว่าด้อยค่าจังหวัด 55555, ความสามารถไม่ถึงครับ ผมกล้าพูดเลยว่าทำไมเขารับคนครัว 9,000 ถ้าเป็นคนมีสกิลผมให้ 15,000-18,000 เลย สำหรับงานครัว
– พอค่าจ้างต่ำกว่าวุฒิ แรงงานที่มีทักษะและวุฒิก็ไหลออกจากเมือง เพราะ opportunity ในการเติบโต และการสร้างฐานะน้อย พอค่าจ้างต่ำ คนก็ไม่กล้าใช้จ่าย ธุรกิจก็หันหน้ากลุ่มเป้าหมายไปทางนักท่องเที่ยว แต่การท่องเที่ยวมันก็มี low season เช่นช่วงฤดูหมอกควัน สุดท้ายกลายเป็นตัวธุรกิจเองก็อยู่ไม่ได้ เพราะนักท่องเที่ยวก็ลด คนท้องถิ่นที่มีกำลังซื้อก็ไม่มากพอ เพราะแรงงานเลือกไปเดินตลาดสด ตลาดนัด
– ในคอมเมนท์ มีแต่ wanna be นายจ้าง อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจ แต่อยู่ได้ด้วยการกดค่าแรงลูกจ้าง มันต้องทำกำไรได้จากตัวธุรกิจเองรึเปล่า ถ้าต้องจ่ายลูกจ้างเดือนละ 9,000 เพื่อให้ธุรกิจไปรอดนี่ เหมือนเกาะลูกน้องกินไปวันๆ
– ป.ตรี 15,000 ไม่มีอยู่จริงค่ะ
– จบ ป.ตรี ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานตลอดเวลายังได้เงินเดือนแค่ 10,500
– ศัพท์สากลเขาเรียกว่า การขโมยค่าจ้าง (Wage Theft) ครับ กฎหมายมี สัญญามี แต่นายจ้างขโมยเงิน พักเบรค วันหยุด ประกันสังคม ฯลฯ ไปจากลูกจ้าง
– มองเห็นมั้ยย อยากทำงาน 6 วัน / สัปดาห์กันอยู่หรอออ ไม่มีเวลาไปพัฒนาชีวิต ผ่อนคลายเลยย
– เป็นจังหวัดที่วัยรุ่นสร้างตัวเติบโตช้าที่สุด
– เจอบางงาน คุณสมบัติพูดไทย จีน อังกฤษได้จะพิจารณาเป็นพิเศษ แต่เงินเดือนเริ่มต้น 9,000++
– รับสมัครคนมีประสบการณ์แต่จ่ายเงินเหมือนคนไม่มีประสบการณ์
– บางที่ต้องการมีประสบการณ์ พูดได้ 2 ภาษา Up ฐานเงินเดือน 9,000 บาท
– โอ้โห ไม่ต้องกินข้าวกันแล้วคนเรา
คณะวารสารฯ มธ. แถลงจุดยืนหนุน พิรงรอง คุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_5037871
คณะวารสารฯ ม.ธรรมศาสตร์ แถลงจุดยืน หนุน พิรงรอง คุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
จากกรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ในคดีที่บริษัททรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด เป็นโจทก์ฟ้อง ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จำเลย เรื่อง เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญานั้น
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ขอแสดงจุดยืนสนับสนุนการทำหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยเจตนาสุจริตเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เล็งเห็นว่าการพิทักษ์ผลประโยชน์ของสาธารณะคือสิ่งสำคัญ และ กสทช. ในฐานะองค์กรอิสระคือผู้ที่สังคมหวังให้เป็นที่พึ่ง กสทช.พึงกำกับดูแลสื่อให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม และคุ้มครองผู้บริโภค โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ ทบทวนกลไกการกำกับดูแลให้เป็นไปอย่างอิสระและชัดเจนในบทบาทหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปของนิเวศดิจิทัล
คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนขอสนับสนุนให้วงการวิชาการและวิชาชีพด้านการสื่อสาร สื่อมวลชน และสาธารณชน ร่วมติดตาม สื่อสาร อภิปรายกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค โดยเฉพาะสนับสนุนสื่อมวลชนให้ความสำคัญกับการเกาะติดการรายงานข้อเท็จจริงและให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและรอบด้าน ก่อให้เกิดพื้นที่อิสระในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภายใต้หลักคิดของการขับเคลื่อนสังคมที่มีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามบทบาทหน้าที่การทำงานสื่อเพื่อมวลชนอย่างแท้จริง เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่กว้างขวาง และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันทบทวนและเห็นถึงความสำคัญของผลประโยชน์สูงสุดของสาธารณะเป็นสำคัญ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นบรรทัดฐานที่กระทบต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
องค์กรสื่อแถลงสนับสนุน พิรงรอง ปฏิบัติหน้าที่สุจริต-ปกป้องผลประโยชน์ ปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_5037784
องค์กรสื่อแถลงสนับสนุน พิรงรอง ปฏิบัติหน้าที่สุจริต-ปกป้องผลประโยชน์ ปชช.
จากกรณีศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ จำคุก 2 ปี ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในความผิดมาตรา 157 ตามที่ทรูดิจิทัลฟ้อง ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันชั่วคราว วงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อตำแหน่ง กสทช.นั้น
เมื่อวันที่ 7 สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (ส.ส.ม.ท.) ออก แถลงการณ์ส.ส.ม.ท. เรื่อง จุดยืนกรณีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช. ใจความดังนี้
สภาสถาบันนักวิชาการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ “ส.ส.ม.ท.” ซึ่งสมาชิกเป็นคณาจารย์หรือผู้บริหารคณะที่สอนด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ทั้งของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ขอส่งกำลังใจสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ ในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และสาธารณะในฐานะผู้บริโภคสื่อ จากกรณี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาคดีบริษัท ทรู ดิจิจิทัลกรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้อง กสทช. พิรงรอง จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ตามมาตรา 157
ส.ส.ม.ท. ในฐานะนักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน ตระหนักถึงการส่งเสริมสิทธิและ เสรีภาพ การแสวงหาและรับรู้ข่าวสารของ
ประชาชน ทั้งนี้ เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว เป็นความตั้งใจที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนในฐานะผู้บริโภคสื่อ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ ส.ส.ม.ท. จึงขอแสดงจุดยืนสนับสนุน บทบาทหน้าที่ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตตามหลักการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนแห่งชาติผู้บริโภคสื่อต่อไป