เจ๊าตื่นขึ้นมาศรีมอยไปกาด ซื้อผั้กกาดมาจอ....
วันนี้ศรีดาวภรรยาแสนรักของผม ถึงไม่ใช่ศรีมอยแต่ก็ซื้อผักกาดมาจอเหมือนกัน ผักกาดจอหรือจอผักกาด อาหารยอดนิยมของคนเมือง เป็นอาหารที่กินกันทุกหัวระแหง ทุกบ้านก็ว่าได้ กินกันจนเบื่อหรือไม่อยากจะกินแต่ก็ยังกินอยู่ จัดเป็นอาหารตามวัฒนธรรมล้านนา จริงๆแล้วเป็นอาหารที่คล้ายๆจะถูกเหยียดอยู่เล็กๆ แต่เป็นการเหยียดหรือเสียดสีในเชิงขำขัน ไม่ได้บูลี่หรือเหยียดให้จมดิน
ว่ากันว่าเด็กร้องไห้ ขู่ว่าจะจอผักกาดให้กินหนูน้อยนั่นจะรีบเงียบ
เธอซื้อผักกาดจ้อนหรือผักกวางตุ้งที่กำลังดอกจากร้านค้าแถวบ้านมาสี่มัด ยี่สิบบาท ซื้อหมูมาเท่าไหร่อย่าไปถามให้เสียดแทงใจ เดินหน้าบานกลับบ้านมาอย่างมีความสุข เธอดีใจที่จะได้ทำอะไรให้ลูกๆกิน ดีใจที่สามีของเธอจะได้รับสารอาหารในแบบที่ไม่ค่อยต้องการแต่ก็ขาดแคลน
ดูซิ ในครัวน้อยๆรกรุงรังของเธอมีอะไรหลงเหลือพอให้เอามาปรุงอาหารได้บ้าง หอม กระเทียม พริกแห้ง กะปิ น้ำปลา น้ำปลาร้า เกลือนิดหน่อย เธอเอาไม้สอยไปยักแย่ยักยันใต้ต้นมะขาม ขอแบ่งปันจากกระรอกกระแตได้มาสองสามฝัก และแน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่ทำให้จอผักกาดยังคงเป็นผักกาดจอ คือถั่วแห้งที่เรียกว่าถั่วเน่าหรือถั่วเน่าแค้บ อันนี้ดูแล้วท่าทางจะเป็นวัฒนธรรมการกินของชาวไตหรือไทยใหญ่ที่เลื่อนไหลมาสู่วัฒนธรรมล้านนา
ก่อไฟเล็กๆเข้าซักเตานึง เอาหม้อน้ำขึ้นตั้งให้เดือดใส่เกลือเม็ดนิดหน่อย ใส่กระดูกหมูส่วนที่เรียกว่าเล้งลงไปซักนิด หมูสามชั้นลงไปซักหน่อย ต้มให้น้ำหวานเป็นน้ำสต็อก เติมหอมกระเทียมที่โขลกหยาบๆ ถั่วเน่าแค้บก็ตำให้ละเอียด เติมน้ำปลาร้า กะปิ น้ำปลา ไอ้ที่ว่ามานี่ให้เติมด้วยความรัก
คือรัก ( ตัวเอง ) มากๆก็กินน้อยๆ รัก ( ตัวเอง ) น้อยก็กินมากๆ
ปิดฝาเคี่ยวไว้ซักครู่
ใส่ผักกาดจ้อนที่เด็ดด้วยมือลงไป อย่าใช้มีดหั่นนะครับ มันจะเสียอรรถรสหรือไม่เข้าแก๊บ ใส่ส้มมะขามลงไปซักสองสามฝัก เปรี้ยวๆหน่อยกินดีไม่เลี่ยนและเพิ่มวิตามิน
ระหว่างรอให้ทุกอย่างสุกดีเราก็เจียวกระเทียมขึ้นมาซักถ้วยเล็กๆ เจียวใหม่ๆสดๆหอมหวานและรสสัมผัสดีกว่า ทอดพริกแห้งมากินแต่งรสชาติ เอานิ้วหยิบพริกแห้งใส่ปาก ค่อยๆขบหรือเล็มๆไปทีละนิด ตักผักกาดจอใส่ปากตามด้วยพริกแห้งพอให้ได้ความซาบซ่าน กินหมูสามชั้นด้วยเล็มพริกแห้งไปด้วย หยิบกระดูกเล้งด้วยนิ้วมือเรียวงามค่อยๆงับหรือแทะเนื้อเปื่อยนุ่ม ริมฝีปากที่มีคราบไขมันจางๆและแดงระเรื่อด้วยรสพริกของเธอดูแล้วช่างน่าหลงไหล
กินกันไปอู้กำเมืองกันไป ข้าวหมดจานแทบไม่รู้ตัว
แล้วความหิวก็ผ่านไป
หลายท่านอาจจะเคยได้ยินเพลงนี้ ผมคิดว่าถ้าเป็นคนเหนือ คนเชียงใหม่หรือคนเมือง คนล้านนา จะรู้จักเพลงนี้ทุกคน หรือแทบจะทุกคน แต่ก็คงเป็นคนที่ผ่านวันเวลามาพอสมควรนะครับ เป็นเพลงของคุณ จรัล มโนเพ็ชร หรือที่คนเมืองสมัยก่อนเรียกขานกันว่าอ้ายจรัล สุดยอดศิลปินล้านนาผู้ยิ่งใหญ่ ตัวแทนแห่งยุคสมัย ความภาคภูมิใจของคนเมือง
บทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ส่วนใหญ่แล้วบอกเล่าวิถีชีวิตของคนเมือง เป็นยิ่งกว่าการอนุรักษ์ เป็นยิ่งกว่าการสืบสาน เป็นจิตวิญญาณที่ซ้อนอยู่ในวัฒนธรรมคนเมืองอีกที วิถีชีวิตคนเมืองหรือขนบธรรมเนียมล้านนาหลายอย่าง แม้แต่ภาษาที่ทุกวันนี้สูญหายไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านั้น ฝังรากลึกลงในเมืองเชียงใหม่อย่างยากที่จะมีใครมาทำลายได้ ผ่านทางบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร
บรรยากาศเก่าๆ ความงามแบบล้านนากลับมาเสมอเมื่อมีคนเปิดเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ซึ่งคนเมืองยังเปิดกันทุกปี ถึงจะไม่ใช่ทุกวันแต่รับรองว่าพวกคนเมืองหรือหมู่เฮาจาวเหนือจะเปิดเพลงของอ้ายจรัลฟังกันทุกปี ผมเองก็ฟังอยู่เสมอๆนะครับ ถึงผมเองจะไม่ใช่คนเมืองแท้ๆ แต่ก็อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปี ได้ภรรยาคนเมืองและลูกชายผมสองคนเป็นคนเมืองแท้ๆ เกิดและเติบโตที่นี่ โตขึ้นมาได้ฟังเพลงคำเมือง ซึมซับวัฒนธรรมที่อยากบอกว่าเป็นสิ่งสูญหายในชีวิตจริง
บทเพลงล้านนาดังแผ่วๆพอได้จับใจความ เสียงดนตรีพื้นเมืองสอดประสานกับเสียงช้อนกระทบจาน ความคิดคำนึงบางทีไม่ต้องมีรูปธรรมมารองรับ แต่บางทีก็ใช่เพราะชีวิตก็มีหลายแง่หลายมุม
แด่คุณจรัล มโนเพ็ชร
แด่ความอิ่มหนำในแบบวิถีชีวิตคนเมือง
โอยยย กลั๋วแล้วต๋ายแล้ว กลั๋วแล้วเจ้าข้า กลั่วนักกลั่วหนากลัวจอผักกาด
วันนี้ศรีดาวภรรยาแสนรักของผม ถึงไม่ใช่ศรีมอยแต่ก็ซื้อผักกาดมาจอเหมือนกัน ผักกาดจอหรือจอผักกาด อาหารยอดนิยมของคนเมือง เป็นอาหารที่กินกันทุกหัวระแหง ทุกบ้านก็ว่าได้ กินกันจนเบื่อหรือไม่อยากจะกินแต่ก็ยังกินอยู่ จัดเป็นอาหารตามวัฒนธรรมล้านนา จริงๆแล้วเป็นอาหารที่คล้ายๆจะถูกเหยียดอยู่เล็กๆ แต่เป็นการเหยียดหรือเสียดสีในเชิงขำขัน ไม่ได้บูลี่หรือเหยียดให้จมดิน
ว่ากันว่าเด็กร้องไห้ ขู่ว่าจะจอผักกาดให้กินหนูน้อยนั่นจะรีบเงียบ
เธอซื้อผักกาดจ้อนหรือผักกวางตุ้งที่กำลังดอกจากร้านค้าแถวบ้านมาสี่มัด ยี่สิบบาท ซื้อหมูมาเท่าไหร่อย่าไปถามให้เสียดแทงใจ เดินหน้าบานกลับบ้านมาอย่างมีความสุข เธอดีใจที่จะได้ทำอะไรให้ลูกๆกิน ดีใจที่สามีของเธอจะได้รับสารอาหารในแบบที่ไม่ค่อยต้องการแต่ก็ขาดแคลน
ดูซิ ในครัวน้อยๆรกรุงรังของเธอมีอะไรหลงเหลือพอให้เอามาปรุงอาหารได้บ้าง หอม กระเทียม พริกแห้ง กะปิ น้ำปลา น้ำปลาร้า เกลือนิดหน่อย เธอเอาไม้สอยไปยักแย่ยักยันใต้ต้นมะขาม ขอแบ่งปันจากกระรอกกระแตได้มาสองสามฝัก และแน่นอนสิ่งที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่ทำให้จอผักกาดยังคงเป็นผักกาดจอ คือถั่วแห้งที่เรียกว่าถั่วเน่าหรือถั่วเน่าแค้บ อันนี้ดูแล้วท่าทางจะเป็นวัฒนธรรมการกินของชาวไตหรือไทยใหญ่ที่เลื่อนไหลมาสู่วัฒนธรรมล้านนา
ก่อไฟเล็กๆเข้าซักเตานึง เอาหม้อน้ำขึ้นตั้งให้เดือดใส่เกลือเม็ดนิดหน่อย ใส่กระดูกหมูส่วนที่เรียกว่าเล้งลงไปซักนิด หมูสามชั้นลงไปซักหน่อย ต้มให้น้ำหวานเป็นน้ำสต็อก เติมหอมกระเทียมที่โขลกหยาบๆ ถั่วเน่าแค้บก็ตำให้ละเอียด เติมน้ำปลาร้า กะปิ น้ำปลา ไอ้ที่ว่ามานี่ให้เติมด้วยความรัก
คือรัก ( ตัวเอง ) มากๆก็กินน้อยๆ รัก ( ตัวเอง ) น้อยก็กินมากๆ
ปิดฝาเคี่ยวไว้ซักครู่
ใส่ผักกาดจ้อนที่เด็ดด้วยมือลงไป อย่าใช้มีดหั่นนะครับ มันจะเสียอรรถรสหรือไม่เข้าแก๊บ ใส่ส้มมะขามลงไปซักสองสามฝัก เปรี้ยวๆหน่อยกินดีไม่เลี่ยนและเพิ่มวิตามิน
ระหว่างรอให้ทุกอย่างสุกดีเราก็เจียวกระเทียมขึ้นมาซักถ้วยเล็กๆ เจียวใหม่ๆสดๆหอมหวานและรสสัมผัสดีกว่า ทอดพริกแห้งมากินแต่งรสชาติ เอานิ้วหยิบพริกแห้งใส่ปาก ค่อยๆขบหรือเล็มๆไปทีละนิด ตักผักกาดจอใส่ปากตามด้วยพริกแห้งพอให้ได้ความซาบซ่าน กินหมูสามชั้นด้วยเล็มพริกแห้งไปด้วย หยิบกระดูกเล้งด้วยนิ้วมือเรียวงามค่อยๆงับหรือแทะเนื้อเปื่อยนุ่ม ริมฝีปากที่มีคราบไขมันจางๆและแดงระเรื่อด้วยรสพริกของเธอดูแล้วช่างน่าหลงไหล
กินกันไปอู้กำเมืองกันไป ข้าวหมดจานแทบไม่รู้ตัว
แล้วความหิวก็ผ่านไป
หลายท่านอาจจะเคยได้ยินเพลงนี้ ผมคิดว่าถ้าเป็นคนเหนือ คนเชียงใหม่หรือคนเมือง คนล้านนา จะรู้จักเพลงนี้ทุกคน หรือแทบจะทุกคน แต่ก็คงเป็นคนที่ผ่านวันเวลามาพอสมควรนะครับ เป็นเพลงของคุณ จรัล มโนเพ็ชร หรือที่คนเมืองสมัยก่อนเรียกขานกันว่าอ้ายจรัล สุดยอดศิลปินล้านนาผู้ยิ่งใหญ่ ตัวแทนแห่งยุคสมัย ความภาคภูมิใจของคนเมือง
บทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ส่วนใหญ่แล้วบอกเล่าวิถีชีวิตของคนเมือง เป็นยิ่งกว่าการอนุรักษ์ เป็นยิ่งกว่าการสืบสาน เป็นจิตวิญญาณที่ซ้อนอยู่ในวัฒนธรรมคนเมืองอีกที วิถีชีวิตคนเมืองหรือขนบธรรมเนียมล้านนาหลายอย่าง แม้แต่ภาษาที่ทุกวันนี้สูญหายไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านั้น ฝังรากลึกลงในเมืองเชียงใหม่อย่างยากที่จะมีใครมาทำลายได้ ผ่านทางบทเพลงของจรัล มโนเพ็ชร
บรรยากาศเก่าๆ ความงามแบบล้านนากลับมาเสมอเมื่อมีคนเปิดเพลงของจรัล มโนเพ็ชร ซึ่งคนเมืองยังเปิดกันทุกปี ถึงจะไม่ใช่ทุกวันแต่รับรองว่าพวกคนเมืองหรือหมู่เฮาจาวเหนือจะเปิดเพลงของอ้ายจรัลฟังกันทุกปี ผมเองก็ฟังอยู่เสมอๆนะครับ ถึงผมเองจะไม่ใช่คนเมืองแท้ๆ แต่ก็อยู่ที่นี่มาสามสิบกว่าปี ได้ภรรยาคนเมืองและลูกชายผมสองคนเป็นคนเมืองแท้ๆ เกิดและเติบโตที่นี่ โตขึ้นมาได้ฟังเพลงคำเมือง ซึมซับวัฒนธรรมที่อยากบอกว่าเป็นสิ่งสูญหายในชีวิตจริง
บทเพลงล้านนาดังแผ่วๆพอได้จับใจความ เสียงดนตรีพื้นเมืองสอดประสานกับเสียงช้อนกระทบจาน ความคิดคำนึงบางทีไม่ต้องมีรูปธรรมมารองรับ แต่บางทีก็ใช่เพราะชีวิตก็มีหลายแง่หลายมุม
แด่คุณจรัล มโนเพ็ชร
แด่ความอิ่มหนำในแบบวิถีชีวิตคนเมือง