สาเหตุที่ทำให้ด้านการทหารของเวียดนามในสมัยโบราณมีประสิทธิภาพสูงกว่าอาณาจักรอื่นๆของเอเชียอาคเนย์ในยุคสมัยเดียวกัน

ประเทศเวียดนามมีความแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านในละแวกอุษาคเนย์อยู่หลายๆด้าน โดยเฉพาะเรื่องการทหาร การบริหาร และอิทธิพลทางวัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตัวที่ต่อไปนี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมด้านการทหารของเวียดนามถึงมีประสิทธิภาพมากกว่าอาณาจักรโบราณอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง :

1. กองทัพระบบราชการ เวียดนามมีการแบ่งแยกกองทัพและฝ่ายปกครองอย่างชัดเจน มีโรงเรียนทหารและระบบสอบคัดเลือกข้าราชการทหาร ซึ่งต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่กองทัพยังพึ่งพาความภักดีหรือความไว้วางใจส่วนตัวมากกว่า และระบบนี้ทำให้เวียดนามไม่ค่อยมีความจำเป็นในการพึ่งพาทหารรับจ้างต่างชาติ ถึงจะใช้อย่างมากก็เป็นเพียงที่ปรึกษาในการพัฒนากองทัพ ส่วนของสยามนี่จะมีจุดเด่นคือค่อนข้างเปิดกว้างมากกว่าในการใช้ทหารรับจ้างต่างชาติ โดยทหารต่างชาติที่มีฝีมือก็สามารถเข้ารับราชการในตำแหน่งสูงๆได้ ตัวอย่างก็จะมีพวกทหารญี่ปุ่น ทหารแขกเปอร์เซีย ทหารแขกมักกะสัน ทหารโปรตุเกศ  ฯลฯ ( ขอนอกเรื่องโยงและจับแพะชนแกะไปยังเรื่องฟุตบอลที่ผมติดตามอยู่ ผมไม่รู้ว่านี่อาจมีส่วนที่ทำให้ทีมชาติเวียดนามไม่ค่อยนิยม Import นักเตะต่างชาติ หรือเปล่า? )

2. อิทธิพลจากจีน ขณะที่ประเทศอื่นๆ มักจะได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เวียดนามรับอิทธิพลจากจีนเต็มที่ โดยเฉพาะระบบขงจื๊อที่ส่งผลต่อการบริหาร การทหาร และยุทธวิธีที่เป็นระบบมากกว่าประเทศอย่างพม่าและสยาม  

3. การใช้ปืนไฟ ทหารเวียดนามมีทักษะการใช้ปืนค่อนข้างสูงกว่ากองทัพอื่นๆ ในละแวกนี้ โดยเฉพาะในสงครามระหว่างตระกูลเหงียนกับตระกูลจิ๋ง เวียดนามยังคงฝึกทหารให้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนและค่อนข้างให้ความสำคัญในการดูแลรักษาอาวุธปืนไฟ ในขณะที่กองทัพประเทศอื่นอาจขาดความต่อเนื่องในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้  

4. ระบบสอบคัดเลือกและการฝึกทหาร เวียดนามมีการศึกษาและฝึกทหารอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 1225 โดยได้รับอิทธิพลมาจากจีน เวียดนามจะมีจุดเด่นคือเป็นอาณาจักร SEA อาณาจักรเดียวที่มีการพัฒนาทหารระดับนายทหาร (officer class) ในยุคโบราณ

5. กองทัพเรือ เวียดนามมีประวัติศาสตร์ด้านกองทัพเรือที่ชัดเจนกว่าเพื่อนบ้าน (ถ้าไม่นับพวกอาณาจักรทางทะเลอย่างศรีวิชัย หรือ มัชปาหิต) ในสมัยโบราณเวียดนามจะมีพวกช่างที่ชำนาญในการต่อเรือ ของสยามก็จะมีการต่อเรือเหมือนกัน นายช่างที่ควบคุมการต่อเรือจะเป็นนายช่างชาวจีน ส่วนลูกมือจะเป็นคนท้องถิ่น ในสมัยที่ชาติตะวันตกเข้ามา เหงียนอัญ (จักรพรรดิเจียลอง) ก็ทรงได้ลองพัฒนาเรือรบแบบยุโรป

6. ป้อมปราการ ป้อมของเวียดนามหลายแห่งสร้างด้วยหินคล้ายๆกับที่เจอได้ในยุโรป ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่นิยมใช้ดินหรืออิฐ ทำให้เวียดนามมีแนวป้องกันที่แข็งแกร่งกว่าสยาม สยามในสมัยโบราณมักจะไม่ค่อยสร้างป้อมปราการที่มันถาวร ด้วยเหตุผลที่ว่าป้อมเหล่านี้แหละจะสร้างความยากลำบาก เวลาที่ต้องเข้าไปตีคืน

7. ระบบเกณฑ์ทหาร เวียดนามมีระบบเกณฑ์ทหารที่เป็นระบบกว่า โดยกำหนดให้หมู่บ้านต้องส่งกำลังพลเข้าไปทดแทนเมื่อทหารเสียชีวิตหรือปลดประจำการ ซึ่งแตกต่างจากสยามและพม่าที่ทหารมักถูกเรียกเกณฑ์แบบฉุกเฉินและไม่ได้รับการฝึกต่อเนื่อง  

8. ทหารม้า ทหารม้าเวียดนามมีการฝึกที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายตระกูลจิ๋งทางเหนือใช้หอก ในขณะที่ฝ่ายเหงียนทางใต้ใช้วิธีขว้างหอกจากหลังม้า ส่วนของสยามเรื่องทักษะการใช้ม้าค่อนข้างน่าตำหนิทีเดียว อาจเป็นเพราะหลายๆสาเหตุ จากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่อาจไม่เหมาะสมกับม้า บ้านเมืองที่สงบสุขว่างเว้นจากการทำสงครามมานาน จากการสังเกตเห็นว่าม้ามักจะกลัวช้าง ฯลฯ มีผู้สังเกตว่า สยามไม่ได้ให้ความสำคัญในการฝึกฝนทักษะการควบม้า เช่น เวลาที่ต้องขี่ม้าพวกขุนนางมักมีบ่าวคอยอยู่รอบๆเพื่อกันไม่ใหัตกหลังม้า เรื่องการใช้ม้าจะมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในยามที่ต้องทำสงครามกอบกู้บ้านเมือง เช่นในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น

9.ปืนใหญ่ ผมจำรายละเอียดไม่ได้มาก แต่เอาเป็นว่าในสมัยโบราณด้านการผลิตปืนใหญ่เวียดนามเป็นรูปเป็นร่างกว่าเพื่อนบ้าน มีระบบการผลิตที่เป็นล่ำเป็นสันกว่า เรื่องดินปืน สันนิษฐานว่าเวียดนามน่าจะเป็นชาติแรกๆในแถบนี้ที่รู้จักการใช้ดินปืน โดยรับมาจากจีน ส่วนของสยาม มีผู้สังเกตต่างชาติสังเกตว่า ปืนใหญ่ที่สยามผลิตเอง ในขณะนั้นไม่ค่อยมีคุณภาพ สยามในตอนนั้นก็ตัองปรับตัวโดยการพึ่งพาวิทยาการปืนใหญ่ของต่างชาติ ผมจำไม่ได้แล้วว่าเป็นยุโรปชาติไหน

ข้อมูลได้มาจากหนังสือ SOUTHEAST ASIAN WARFARE, 1300-1900 โดย Michael W. Charney และผมใช้ Generative AI ช่วยในการเรียบเรียงเนื้อหา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่