ละครอิงประวัติศาสตร์ แบบจริงเจ็ดเท็จสาม ทำได้กลมกลืนภูมิหลังสมจริง
ที่สำคัญมุมกล้อง อุปกรณ์ถ่ายภาพ และตัดต่อพัฒนาไปมาก ดูทันสมัย
ต่อยอดจากเรื่องภพรัก และเจ้าบ้านเจ้าเรือนรับอิทธิพลไปด้วย
นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้จัด คุณภาพงานระดับส่งออก
ใช้กล้องcanon eos c300 บังหน้าเลนส์และใช้ไมค์บูม แบบถ่ายหนัง
ค้ำจุนด้วยระบบไฟฟ้าขณะกล้องเคลื่อนที่ตามวัตถุ
ถ้าโทรทัศน์ที่รับชมไม่ใช่รุ่นใหม่ จะเห็นฉากกลางคืนมืดไปจนเสียรายละเอียด
เพราะการแสดงส่วนมืดส่วนสว่างในจอ ไม่ดีเท่ามอนิเตอร์ในห้องตัดต่อ
ละครเริ่มเรื่องจาก วิกฤตการณ์ ร.ศ.112(พ.ศ.2436) เหตุเกิด ณ ป้อมพระจุล ใน
ยุทธนาวีปากแม่น้ำเจ้าพระยา
สืบเนื่องจากการเข้ามาของอิทธิพลชาติตะวันตก ที่มาล่าอาณานิคมแถบเอเชีย อินโดจีน
และการเปิดประเทศญี่ปุ่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 นำโดยสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า
คนเอเชีย สู้ฝรั่งไม่ได้
แต่ไม่ได้หมายความว่า สยามจะไม่มีการป้องกัน แม้ว่าป้อมบนสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2-4 จะมีรวมกันแล้วกว่า 20 ป้อม ยังเป็นป้อมโบราณติดตั้งปืนใหญ่แบบเก่า
รวมถึงยุทธวิธีเดิมที่ใช้รบทางน้ำ มาเป็นระยะเวลายาวนานของสยาม นั่นคือ
การใช้โซ่ขึงปิดทางน้ำทำให้เรือไม่สามารถเคลื่อนไปได้ แต่กลวิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
เมื่อเรือกำปั่นของฝรั่ง หรือ เรือกลไฟ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยถ่านหิน
ไม่จำเป็นต้องใช้แรงลมเหมือนแต่ก่อน สามารถฝ่าแนวโซ่ไปได้
นอกจากนี้กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินได้ทูลฯว่า
ทางเรือ ไทยยังจะสู้รบฝรั่งเศสไม่ได้
เป็นเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญ
ให้ปรับปรุงบรรดาป้อมปราการต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความทันสมัย
ป้อมเหล่านี้ได้แก่ ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมเสือซ่อนเล็บ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทรงเห็นว่าป้อมที่มีอยู่เดิมเป็นป้อมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ลึกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา
การปรับปรุงติดตั้งอาวุธสมัยใหม่ และเสริมความแข็งแรงพอ
ที่จะต้านอาวุธรุ่นใหม่ของผู้รุกรานได้นั้น ทำได้อย่างจำกัด
ในปีพ.ศ.๒๔๒๗ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมขึ้นอีกหนึ่งแห่งที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า
ด้วยทรงเห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นชัยภูมิ สำหรับสร้างป้อมปืนสมัยใหม่
การก่อสร้างและพัฒนา ได้ดำเนินการไปเป็นลำดับ
โดยใช้เงินจากพระคลังหรือ งบประมาณแผ่นดินนั่นเอง
ป้อมได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม
ทำให้เป็นป้อมปราการของสยาม ที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ปืนที่ติดตั้งอยู่ในหลุมปืน ควบคุมการยกตัวด้วยด้วยระบบไฮโดรนิวเมติก
เวลายิงจะมีกลไกควบคุม ให้ปืนยืดสูงขึ้นพ้นหลุม และหันไปยังเป้าหมาย
เมื่อยิงแล้ว ปืนจะยุบกลับลงไปในหลุม เพื่อบรรจุกระสุนนัดใหม่
แล้วยืดขึ้นมายิงเป้าหมายต่อไปได้อีก
ซึ่งเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยแก่พลประจำปืน จากกระสุนฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก
ปืนดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า
ปืนเสือหมอบ
ป้อมปืนเสือหมอบ(BL 6 inch gun Mk V)
เป็นปืนประจำการป้อมพระจุล ๗ กระบอก และป้อมผีเสื้อสมุทร ๓ กระบอก
มีลักษณะเป็นปืนหลุม ๑๐ หลุม
ปืนแต่ละกระบอกมีขนาด ๑๕๒/๓๒ มิลลิเมตร
ความกว้างปากกระบอก ๑๕๒ มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว ๔.๘๖๔ เมตร
หนัก ๕ ตัน
สั่งมาจากบริษัท เซอร์ดับบลิวจีอาร์มสตรอง จำกัด ประเทศอังกฤษ
ถือเป็นปืนใหญ่บรรทุกท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ
และประจำการยัง อังกฤษ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
จนเมื่อ ๑๐ เม.ย.๒๔๓๖(ร.ศ.๑๑๒) รัชกาลที่๕ ได้เสด็จฯตรวจความพร้อมของป้อมที่สร้างขึ้น
ด้วยทรงเห็นว่าการรุกรานของกองทัพฝรั่งเศสในเวียดนาม และลาว มีความตรึงเครียดมากขึ้น
จนน่าจะส่งผลกระทบถึงสยามในไม่ช้า พระองค์ท่านพระราชดำเนินตรวจดูความพร้อมของสถานที่
และอาวุธอย่างละเอียด ได้ทอดพระเนตรการยิงปืนเสือหมอบ
ถึงแม้การก่อสร้างจะดำเนินไปจนถึงขั้นที่ ปืนเสือหมอบสามารถใช้ยิงได้แล้วก็ตาม
พระองค์ท่านยังทรงเห็นว่า มีเรื่องที่ต้องดำเนินการอีก
จะได้มีอานุภาพทัดเทียมกับผู้ที่จะมารุกราน การเสริมสร้างความพร้อมโดย
อาศัยงบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียว คงไม่ทันกาล
ในวันเดียวกันนั้นเองเมื่อเสด็จกลับมา บนเรือพระที่นั่งมหาจักรี
ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขา ถึงบรรดาเสนาบดี เพื่อแจ้งพระราชประสงค์
ในการมอบพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ หนึ่งหมื่นชั่ง(แปดแสนบาท)
สำหรับการเร่งสร้างป้อมส่วนที่ยังค้างอยู่ และจัดหาอาวุธส่วนที่ยังไม่ครบ มาติดตั้งให้สมบูรณ์โดยเร็ว
บรรดาเสนาบดีจึงพร้อมใจกันขอพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า
ป้อมพระจุลจอมเกล้า
กิจการป้อมพระจุลได้โอนมาสังกัด กรมทหารเรือ(กองทัพเรือในปัจจุบัน)
การอำนวยการสร้างป้อมพระจุล ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของทหารเรือโดยตรง
บุคคลที่เป็นแม่กองดูแลได้แก่
พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
เมื่อครั้งดำรงพระยศ และตำแหน่งเป็น
พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์(Andre du Plessis de Richelieu)
เมื่อครั้งมียศ และตำแหน่งเป็น
พลเรือจัตวา รองผู้บัญชาการทหารเรือ
นาวาเอก พระยาชำนิกลการ เมื่อครั้งมียศ และตำแหน่งเป็น
พันตรี สมบุญ บุณยกะลิน เจ้ากรมโรงเครื่องจักร(โรงงานการจักร)
ร้อยเอก ฟอนโฮลด์(Captain C.von Holck) เป็นครูสอนวิชาการปืนใหญ่
และผู้บังคับการป้อมพระจุลคนแรก
พลเรือโท พระยาวิจิตรนาวี เมื่อครั้งเป็น นายวิลเลียม บุณยะกลิน
เพิ่งสำเร็จการศึกษาวิชาช่างกล ประเทศอังกฤษ
เป็นผู้ควบคุมการติดตั้ง ปืนเสือหมอบ ทั้งป้อมพระจุลและป้อมผีเสื้อสมุทร
ล่วงไปเพียง ๓ เดือน หลังจากการเสด็จฯ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์
มาดำเนินการส่วนที่ค้างอยู่ในครั้งนั้น
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ เวลาค่ำ ขณะน้ำขึ้นสูงสุด
กองเรือของฝรั่งเศส นำโดยนาวาโท โบรี(Bory) ได้รุกล้ำเข้ามาในปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา คือ
กองเรือฝรั่งเศส ผ่านป้อมผีเสื้อสมุทรและวัดพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
เรือแองกองสตอง(Inconstant) และเรือปืนโกแมต(Comete)
ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายัง กรุงเทพฯ โดยมี
เรือ เจ.เบ.เซย์(Jean Baptist Say) เรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง
หมู่ปืนที่ป้อมพระจุล ได้ยิงด้วยกระสุนนัดดินเปล่า เพื่อเป็นการเตือนเรือรบฝรั่งเศส
ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามา แต่เรือฝรั่งเศสยังคงมุ่งหน้าต่อ ต่างฝ่ายระดมยิงโต้ตอบกัน
เรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือ ป้อมพระจุลจอมเกล้าต่างระดมยิง ไปยังเรือรบฝรั่งเศส
การรบได้ดำเนินไปเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเศษก็ยุติลง เพราะความมืด เป็นอุปสรรค
เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต สามารถตีฝ่าแนวป้องกันบริเวณปากน้ำเจ้าพระยา
ป้อมพระจุล ภาพถ่ายทางอากาศ
เข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส
ส่วนเรือนำร่อง ถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง
สาเหตุ การติดตั้งปืนเสือหมอบที่เหลือล่าช้ากว่ากำหนด
และพลปืน มีเวลาฝึกให้ชินกับปืนทั้งหมดได้น้อย
แต่ในละครประเด็นเรื่องนี้จะเล่าต่างกัน
ทองอินทร์ นายหมู่ปืนเสือหมอบ ประจำป้อมพระจุล ถูกปีเตอร์นายทหารฝรั่งที่จ้างมา
เป็นไส้ศึกให้ฝรั่งเศส ทำการระเบิดป้อม ปืนเสือหมอบ และสังหารทหารจนป้อมแตก
ฝรั่งเศสจึงล่องเรือเข้าพระนครได้สำเร็จ และจับทองอินทร์ไปทรมานยังคุกฝาหรั่ง
แล้วทองอินทร์สามารถแหกคุกฝาหรั่งหนีมา ได้กล้าช่วยไว้ จนพบท่านเตี่ยในที่สุด
ขอบคุณช่อง3 ผู้จัด และคณะ ที่สร้างละครอิงประวัติศาสตร์อย่างพิถีพิถันเรื่องนี้
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://topicstock.ppantip.com/wahkor/topicstock/2012/05/X12039209/X12039209.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140457
https://en.wikipedia.org/wiki/BL_6_inch_gun_Mk_V
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2#cite_note-3
http://www.thaifighterclub.org/webboard/11805/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2-%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89-%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A3-%E0%B9%95-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html
http://ppantip.com/topic/32770533/page2
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B5
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tuk-tukatkorat&month=27-05-2012&group=26&gblog=55
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000095580
http://www.sarakadee.com/2010/11/01/rs-112-who-wrong/
https://nungzababin.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%88/
http://ppantip.com/topic/31144978
http://www.bkkbase.navy.mi.th/57/h.php
http://www.sarakadee.com/knowledge/2002/07/travel_phajul.htm
http://www.thairath.co.th/content/275107
http://www.navy.mi.th/newwww/document/history/royalnavy/chap314.htm
http://www.payer.de/thailandchronik/chronik1902.htm
http://www.endofempire.asia/preludes/
http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._112
http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b23_war-chaophya_thai.htm
ชาติเสือ วิกฤตการณ์ ร.ศ.112
ที่สำคัญมุมกล้อง อุปกรณ์ถ่ายภาพ และตัดต่อพัฒนาไปมาก ดูทันสมัย
ต่อยอดจากเรื่องภพรัก และเจ้าบ้านเจ้าเรือนรับอิทธิพลไปด้วย
นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องของผู้จัด คุณภาพงานระดับส่งออก
ใช้กล้องcanon eos c300 บังหน้าเลนส์และใช้ไมค์บูม แบบถ่ายหนัง
ค้ำจุนด้วยระบบไฟฟ้าขณะกล้องเคลื่อนที่ตามวัตถุ
ถ้าโทรทัศน์ที่รับชมไม่ใช่รุ่นใหม่ จะเห็นฉากกลางคืนมืดไปจนเสียรายละเอียด
เพราะการแสดงส่วนมืดส่วนสว่างในจอ ไม่ดีเท่ามอนิเตอร์ในห้องตัดต่อ
ละครเริ่มเรื่องจาก วิกฤตการณ์ ร.ศ.112(พ.ศ.2436) เหตุเกิด ณ ป้อมพระจุล ใน
ยุทธนาวีปากแม่น้ำเจ้าพระยา
สืบเนื่องจากการเข้ามาของอิทธิพลชาติตะวันตก ที่มาล่าอาณานิคมแถบเอเชีย อินโดจีน
และการเปิดประเทศญี่ปุ่น ในสมัยรัชกาลที่ 4 นำโดยสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า
คนเอเชีย สู้ฝรั่งไม่ได้
แต่ไม่ได้หมายความว่า สยามจะไม่มีการป้องกัน แม้ว่าป้อมบนสองฟากแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2-4 จะมีรวมกันแล้วกว่า 20 ป้อม ยังเป็นป้อมโบราณติดตั้งปืนใหญ่แบบเก่า
รวมถึงยุทธวิธีเดิมที่ใช้รบทางน้ำ มาเป็นระยะเวลายาวนานของสยาม นั่นคือ
การใช้โซ่ขึงปิดทางน้ำทำให้เรือไม่สามารถเคลื่อนไปได้ แต่กลวิธีนี้ไม่สามารถใช้ได้อีกต่อไป
เมื่อเรือกำปั่นของฝรั่ง หรือ เรือกลไฟ ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยถ่านหิน
ไม่จำเป็นต้องใช้แรงลมเหมือนแต่ก่อน สามารถฝ่าแนวโซ่ไปได้
นอกจากนี้กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินได้ทูลฯว่า
ทางเรือ ไทยยังจะสู้รบฝรั่งเศสไม่ได้
เป็นเหตุผลที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญ
ให้ปรับปรุงบรรดาป้อมปราการต่างๆ ที่มีอยู่จำนวนมากตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาให้มีความทันสมัย
ป้อมเหล่านี้ได้แก่ ป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมเสือซ่อนเล็บ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทรงเห็นว่าป้อมที่มีอยู่เดิมเป็นป้อมขนาดเล็ก ตั้งอยู่ลึกเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา
การปรับปรุงติดตั้งอาวุธสมัยใหม่ และเสริมความแข็งแรงพอ
ที่จะต้านอาวุธรุ่นใหม่ของผู้รุกรานได้นั้น ทำได้อย่างจำกัด
ในปีพ.ศ.๒๔๒๗ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมขึ้นอีกหนึ่งแห่งที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า
ด้วยทรงเห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นชัยภูมิ สำหรับสร้างป้อมปืนสมัยใหม่
การก่อสร้างและพัฒนา ได้ดำเนินการไปเป็นลำดับ
โดยใช้เงินจากพระคลังหรือ งบประมาณแผ่นดินนั่นเอง
ป้อมได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม
ทำให้เป็นป้อมปราการของสยาม ที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ปืนที่ติดตั้งอยู่ในหลุมปืน ควบคุมการยกตัวด้วยด้วยระบบไฮโดรนิวเมติก
เวลายิงจะมีกลไกควบคุม ให้ปืนยืดสูงขึ้นพ้นหลุม และหันไปยังเป้าหมาย
เมื่อยิงแล้ว ปืนจะยุบกลับลงไปในหลุม เพื่อบรรจุกระสุนนัดใหม่
แล้วยืดขึ้นมายิงเป้าหมายต่อไปได้อีก
ซึ่งเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยแก่พลประจำปืน จากกระสุนฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมาก
ปืนดังกล่าวจึงได้รับการขนานนามว่า
ปืนเสือหมอบ
ป้อมปืนเสือหมอบ(BL 6 inch gun Mk V)
เป็นปืนประจำการป้อมพระจุล ๗ กระบอก และป้อมผีเสื้อสมุทร ๓ กระบอก
มีลักษณะเป็นปืนหลุม ๑๐ หลุม
ปืนแต่ละกระบอกมีขนาด ๑๕๒/๓๒ มิลลิเมตร
ความกว้างปากกระบอก ๑๕๒ มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว ๔.๘๖๔ เมตร
หนัก ๕ ตัน
สั่งมาจากบริษัท เซอร์ดับบลิวจีอาร์มสตรอง จำกัด ประเทศอังกฤษ
ถือเป็นปืนใหญ่บรรทุกท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือ
และประจำการยัง อังกฤษ ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
จนเมื่อ ๑๐ เม.ย.๒๔๓๖(ร.ศ.๑๑๒) รัชกาลที่๕ ได้เสด็จฯตรวจความพร้อมของป้อมที่สร้างขึ้น
ด้วยทรงเห็นว่าการรุกรานของกองทัพฝรั่งเศสในเวียดนาม และลาว มีความตรึงเครียดมากขึ้น
จนน่าจะส่งผลกระทบถึงสยามในไม่ช้า พระองค์ท่านพระราชดำเนินตรวจดูความพร้อมของสถานที่
และอาวุธอย่างละเอียด ได้ทอดพระเนตรการยิงปืนเสือหมอบ
ถึงแม้การก่อสร้างจะดำเนินไปจนถึงขั้นที่ ปืนเสือหมอบสามารถใช้ยิงได้แล้วก็ตาม
พระองค์ท่านยังทรงเห็นว่า มีเรื่องที่ต้องดำเนินการอีก
จะได้มีอานุภาพทัดเทียมกับผู้ที่จะมารุกราน การเสริมสร้างความพร้อมโดย
อาศัยงบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียว คงไม่ทันกาล
ในวันเดียวกันนั้นเองเมื่อเสด็จกลับมา บนเรือพระที่นั่งมหาจักรี
ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขา ถึงบรรดาเสนาบดี เพื่อแจ้งพระราชประสงค์
ในการมอบพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ หนึ่งหมื่นชั่ง(แปดแสนบาท)
สำหรับการเร่งสร้างป้อมส่วนที่ยังค้างอยู่ และจัดหาอาวุธส่วนที่ยังไม่ครบ มาติดตั้งให้สมบูรณ์โดยเร็ว
บรรดาเสนาบดีจึงพร้อมใจกันขอพระราชทานชื่อป้อมแห่งนี้ว่า ป้อมพระจุลจอมเกล้า
กิจการป้อมพระจุลได้โอนมาสังกัด กรมทหารเรือ(กองทัพเรือในปัจจุบัน)
การอำนวยการสร้างป้อมพระจุล ส่วนที่เหลือเป็นหน้าที่ของทหารเรือโดยตรง
บุคคลที่เป็นแม่กองดูแลได้แก่
พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์
เมื่อครั้งดำรงพระยศ และตำแหน่งเป็น
พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์(Andre du Plessis de Richelieu)
เมื่อครั้งมียศ และตำแหน่งเป็น
พลเรือจัตวา รองผู้บัญชาการทหารเรือ
นาวาเอก พระยาชำนิกลการ เมื่อครั้งมียศ และตำแหน่งเป็น
พันตรี สมบุญ บุณยกะลิน เจ้ากรมโรงเครื่องจักร(โรงงานการจักร)
ร้อยเอก ฟอนโฮลด์(Captain C.von Holck) เป็นครูสอนวิชาการปืนใหญ่
และผู้บังคับการป้อมพระจุลคนแรก
พลเรือโท พระยาวิจิตรนาวี เมื่อครั้งเป็น นายวิลเลียม บุณยะกลิน
เพิ่งสำเร็จการศึกษาวิชาช่างกล ประเทศอังกฤษ
เป็นผู้ควบคุมการติดตั้ง ปืนเสือหมอบ ทั้งป้อมพระจุลและป้อมผีเสื้อสมุทร
ล่วงไปเพียง ๓ เดือน หลังจากการเสด็จฯ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์
มาดำเนินการส่วนที่ค้างอยู่ในครั้งนั้น
ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ร.ศ.๑๑๒ เวลาค่ำ ขณะน้ำขึ้นสูงสุด
กองเรือของฝรั่งเศส นำโดยนาวาโท โบรี(Bory) ได้รุกล้ำเข้ามาในปากน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา คือ
กองเรือฝรั่งเศส ผ่านป้อมผีเสื้อสมุทรและวัดพระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
เรือแองกองสตอง(Inconstant) และเรือปืนโกแมต(Comete)
ได้รุกล้ำสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามายัง กรุงเทพฯ โดยมี
เรือ เจ.เบ.เซย์(Jean Baptist Say) เรือสินค้าเป็นเรือนำร่อง
หมู่ปืนที่ป้อมพระจุล ได้ยิงด้วยกระสุนนัดดินเปล่า เพื่อเป็นการเตือนเรือรบฝรั่งเศส
ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามา แต่เรือฝรั่งเศสยังคงมุ่งหน้าต่อ ต่างฝ่ายระดมยิงโต้ตอบกัน
เรือรบไทยที่จอดอยู่เหนือ ป้อมพระจุลจอมเกล้าต่างระดมยิง ไปยังเรือรบฝรั่งเศส
การรบได้ดำเนินไปเป็นเวลาครึ่งชั่วโมงเศษก็ยุติลง เพราะความมืด เป็นอุปสรรค
เรือแองคองสตังต์ และเรือโคแมต สามารถตีฝ่าแนวป้องกันบริเวณปากน้ำเจ้าพระยา
ป้อมพระจุล ภาพถ่ายทางอากาศ
เข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และเทียบท่าอยู่ที่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส
ส่วนเรือนำร่อง ถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่ง
สาเหตุ การติดตั้งปืนเสือหมอบที่เหลือล่าช้ากว่ากำหนด
และพลปืน มีเวลาฝึกให้ชินกับปืนทั้งหมดได้น้อย
แต่ในละครประเด็นเรื่องนี้จะเล่าต่างกัน
ทองอินทร์ นายหมู่ปืนเสือหมอบ ประจำป้อมพระจุล ถูกปีเตอร์นายทหารฝรั่งที่จ้างมา
เป็นไส้ศึกให้ฝรั่งเศส ทำการระเบิดป้อม ปืนเสือหมอบ และสังหารทหารจนป้อมแตก
ฝรั่งเศสจึงล่องเรือเข้าพระนครได้สำเร็จ และจับทองอินทร์ไปทรมานยังคุกฝาหรั่ง
แล้วทองอินทร์สามารถแหกคุกฝาหรั่งหนีมา ได้กล้าช่วยไว้ จนพบท่านเตี่ยในที่สุด
ขอบคุณช่อง3 ผู้จัด และคณะ ที่สร้างละครอิงประวัติศาสตร์อย่างพิถีพิถันเรื่องนี้
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้