เท้ง ควง ชัยธวัช ขึ้นรถแห่ บุกตลาดเชียงดาว ชวนคนเลือก พันธุ์อาจ เป็นนายกอบจ.เชียงใหม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_5006992
เท้ง ควง ชัยธวัช ขึ้นรถแห่แต่เช้า บุกตลาดเชียงดาว ชวนคนเลือก “พันธุ์อาจ” เป็นนายก อบจ.เชียงใหม่ เอาฤกษ์เอาชัยไหว้สถูป “พระนเรศวรมหาราช”
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2568 นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ลงพื้นที่แต่เช้า ช่วยนาย
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ หาเสียงตลาดเช้าเจริญเจริญเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนาย
ชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลร่วมด้วย
โดยนาย
ณัฐพงษ์ ได้ขึ้นรถแห่รอบชุมชนตลาด เชิญชวนให้ชาวเชียงใหม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในวันที่ 1 ก.พ. นี้กันให้เยอะๆ จากนั้น นาย
ณัฐพงษ์ ยังได้พานาย
พันธุ์อาจ นำพวงมาลัยดอกดาวเรืองไปสักการะพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
"ไพศาล" โพสต์ยก "มาตรา 246" โต้ "นายกสมาคมทนายความ" ปมอำนาจ "ราชทัณฑ์" ส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำ
https://siamrath.co.th/n/594992
เมื่อวันที่ 19 ม.ค.68 นาย
ไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Paisal Puechmongkol" ระบุว่า
นายกสมาคมทนายความไปไกลแล้ว ที่อ้างว่ามาตรา 55 ของพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ให้อำนาจกรมราชทัณฑ์ ส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ โดยไม่ ต้องขออนุญาตจากศาล และถือเป็นการควบคุมตัว ตามหมายศาล ตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง
ก่อนอื่นก็ขอแนะนำสมาคมทนายความก่อนว่า เป็นนิติบุคคลชนิดหนึ่งที่จดทะเบียนต่อกระทรวงมหาดไทย ลักษณะเดียวกันกับมูลนิธิ หรือเหมือนกับสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีนที่ผมเป็นเลขาธิการนี่แหละ ไม่ใช่องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ที่มีอำนาจหน้าที่ กำกับควบคุมดูแล จรรยาบรรณมารยาทและการประกอบวิชาชีพทนายความตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องของสภาทนายความ
กรณีมาตรา 55 ของกฎหมายราชทัณฑ์นั้น สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 เกี่ยวกับการส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ ในกรณีเจ็บป่วยหรือเป็นโรคระบาด ซึ่งเป็นหนึ่ง ใน 4 กรณี ตามมาตรา 246 คือ วิกลจริต จะเสียชีวิตถ้าต้องขังต่อไป หรือเป็นสตรีตั้งครรภ์เกิน 3 เดือน หรือเป็นสตรีคลอดบุตรไม่เกิน 3 ปี แต่ไม่ใช่อำนาจสิทธิ์ขาดของกรมราชทัณฑ์ ที่จะส่งตัวออกไปนอกเรือนจำได้ตามอำเภอใจ เพราะต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามหมายขังของศาล ตามคำพิพากษาจำคุก ซึ่งเป็นอำนาจเฉพาะของศาลเท่านั้น
เพราะมาตรา 246 บัญญัติวิธีการว่า กรมราชทัณฑ์ต้องขออนุญาตศาลก่อน ส่วนวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานธุรการภายในกรมราชทัณฑ์ ไม่ได้ยกเว้นหน้าที่ ในการปฏิบัติตามหมายขังของศาลตามคำพิพากษา
นั่นคือจะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน เพื่อให้ศาล ออกหมายปล่อยตัว หรือมีคำสั่งให้ควบคุมตัวในเรือนจำ อื่นหรือสถานที่ควบคุมตัวตามกฎหมาย
ข้อสำคัญคือกฎกระทรวงนั้น ไม่อาจขัดหรือแย้งกับมาตรา 246 ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 6 บัญญัติห้ามออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกา ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา
โดยสรุปคือ ถ้ามีกรณี 1 ใน 4 เกิดขึ้น แม้กรมราชทัณฑ์จะส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ก็ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน จะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้ เพราะหมายขัง ตามคำพิพากษา จำคุกของศาลนั้นใครก็เพิกถอนไม่ได้ เว้นแต่จะมีพระราชบัญญัติอภัยโทษ หรือมีพระ บรม ราชโองการอภัยโทษตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ และในการส่งตัวออกไปนอกเรือนนั้น เมื่อศาลอนุญาตแล้ว ก็อาจส่งตัวออกไปได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 ออกไปนอกเรือนจำ ไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังตามกฎหมาย ในกรณีนี้ศาลจะออกหมายปล่อย จึงจะเอาตัวออกไปได้ และเมื่อเหตุที่ออกไปหมดไปแล้ว ก็ต้องนำตัวมารายงานศาล ซึ่งศาลจะออกหมายขังตามคำพิพากษาให้จำคุกต่อไป โดยเวลาที่ออกไปในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการถูกจำคุก จะหักเวลาที่ออกไปข้างนอกจากเวลาที่ถูกจำคุกไม่ได้
กรณีที่ 2 ออกไปนอกเรือนจำไปอยู่ในสถานที่ควบคุม หรือเรือนจำชั่วคราว ในกรณีนี้ศาลไม่ต้องออกหมายปล่อย เพราะถือว่ายังถูกคุมขังอยู่ในสถานที่คุมขังตามหมายของศาล และเวลาที่ออกไปอยู่นั้น ถือว่าเป็นเวลาที่ถูกจำคุกสามารถหักออกจากโทษจำคุกได้
การที่กรมราชทัณฑ์นำตัวนักโทษออกไปนอกเรือนจำ แม้อ้างกรณีป่วยเจ็บ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 กรณี ตามมาตรา 246 จึงต้องขออนุญาตศาลก่อน และโรงพยาบาลตำรวจไม่ใช่ เรือนจำหรือ สถานที่ควบคุม ตัวนักโทษตามกฎหมาย แม้หากศาลอนุญาต ศาลก็ต้องออกหมายปล่อยตัวก่อน จึงจะออกไปได้ และเวลาที่ไปอยู่โรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ให้นับเป็นเวลาจำคุก จึงไม่ได้รับผลจากการพักโทษ ตามกฎหมายอภัยโทษปี 2567 นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกิดขึ้นอีกด้วย คือปัญหาว่านักโทษป่วยอาจจะเสียชีวิต ถ้าถูกขังต่อไปจริงหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจสอบไต่สวนแล้วว่าไม่ได้ป่วยจริง และมีการทำความผิดอาญา จึงส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไต่สวนและผลการไต่สวนก็เป็นในทางเดียวกัน ลงมติว่ามีการกระทำความผิดอาญา จึงเสนอ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ลงมติตั้งกรรมการไต่สวนแล้ว กรณีจึงไม่ใช่ที่นายกสมาคมทนายความแถลงแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02VEmr8ATvv1eBB4NZywSirMSiViJkXLJ5rDHN7eiEw56aP6eBXf3ttaPFj2RJoemyl
“ไอเอ็มเอฟ” ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ชี้ถึงความแตกต่างที่เพิ่มขึ้น
https://www.dailynews.co.th/news/4306035/
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนการระบาดใหญ่ โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ระหว่างสหรัฐกับประเทศในยุโรป
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า ไอเอ็มเอฟ ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก จะแตะ 3.3% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.1% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ในเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว และจะคงอยู่ที่ 3.3% ในปี 2569
นาย
ปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับคงที่ แต่ยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉลี่ย ในช่วง 20 ปีแรกของศตวรรษที่ 21 ซึ่งอยู่ที่ 3.7%
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะอยู่ที่ 4.2% ในปีนี้ และเหลือ 3.5% ในปี 2569 อีกทั้งราคาสินค้าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว จะลดลงเร็วกว่ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
“
ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว พัฒนาการที่น่าสนใจคือ ความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น และการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ” กูรินชาส กล่าว พร้อมกับชี้ถึงการตัดสินใจของไอเอ็มเอฟ ในการปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เป็น 2.7% ในปี 2568 และลดเหลือ 2.1% ในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงประการหนึ่งต่อการคาดการณ์ของไอเอ็มเอฟ คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายในสหรัฐ เนื่องจากกองทุนไม่ได้พิจารณาถึงข้อเสนอนโยบายของนาย
โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ แต่คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยยึดตามนโยบายที่มีอยู่ของสหรัฐแทน
อนึ่ง ภาพรวมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกลุ่มประเทศในยุโรป ซึ่งไอเอ็มเอฟคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เป็น 1% ในปีนี้ และ 1.4% ในปีหน้า โดยระบุว่า ความแตกต่างบางส่วนเกิดจากโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนเทคโนโลยี.
JJNY : เท้งควงชัยธวัช บุกตลาดเชียงดาว│"ไพศาล"โต้"นายกสมาคมทนายความ"│“ไอเอ็มเอฟ”ปรับเพิ่ม│ประณามม็อบหนุนปธน.บุกรุกศาล.
https://www.matichon.co.th/politics/news_5006992
เท้ง ควง ชัยธวัช ขึ้นรถแห่แต่เช้า บุกตลาดเชียงดาว ชวนคนเลือก “พันธุ์อาจ” เป็นนายก อบจ.เชียงใหม่ เอาฤกษ์เอาชัยไหว้สถูป “พระนเรศวรมหาราช”
เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2568 นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ลงพื้นที่แต่เช้า ช่วยนายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ หาเสียงตลาดเช้าเจริญเจริญเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายชัยธวัช ตุลาธน อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลร่วมด้วย
โดยนายณัฐพงษ์ ได้ขึ้นรถแห่รอบชุมชนตลาด เชิญชวนให้ชาวเชียงใหม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในวันที่ 1 ก.พ. นี้กันให้เยอะๆ จากนั้น นายณัฐพงษ์ ยังได้พานายพันธุ์อาจ นำพวงมาลัยดอกดาวเรืองไปสักการะพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลด้วย
"ไพศาล" โพสต์ยก "มาตรา 246" โต้ "นายกสมาคมทนายความ" ปมอำนาจ "ราชทัณฑ์" ส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำ
https://siamrath.co.th/n/594992
เมื่อวันที่ 19 ม.ค.68 นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Paisal Puechmongkol" ระบุว่า
นายกสมาคมทนายความไปไกลแล้ว ที่อ้างว่ามาตรา 55 ของพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ให้อำนาจกรมราชทัณฑ์ ส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ โดยไม่ ต้องขออนุญาตจากศาล และถือเป็นการควบคุมตัว ตามหมายศาล ตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวง
ก่อนอื่นก็ขอแนะนำสมาคมทนายความก่อนว่า เป็นนิติบุคคลชนิดหนึ่งที่จดทะเบียนต่อกระทรวงมหาดไทย ลักษณะเดียวกันกับมูลนิธิ หรือเหมือนกับสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีนที่ผมเป็นเลขาธิการนี่แหละ ไม่ใช่องค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย ที่มีอำนาจหน้าที่ กำกับควบคุมดูแล จรรยาบรรณมารยาทและการประกอบวิชาชีพทนายความตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องของสภาทนายความ
กรณีมาตรา 55 ของกฎหมายราชทัณฑ์นั้น สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 เกี่ยวกับการส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ ในกรณีเจ็บป่วยหรือเป็นโรคระบาด ซึ่งเป็นหนึ่ง ใน 4 กรณี ตามมาตรา 246 คือ วิกลจริต จะเสียชีวิตถ้าต้องขังต่อไป หรือเป็นสตรีตั้งครรภ์เกิน 3 เดือน หรือเป็นสตรีคลอดบุตรไม่เกิน 3 ปี แต่ไม่ใช่อำนาจสิทธิ์ขาดของกรมราชทัณฑ์ ที่จะส่งตัวออกไปนอกเรือนจำได้ตามอำเภอใจ เพราะต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามหมายขังของศาล ตามคำพิพากษาจำคุก ซึ่งเป็นอำนาจเฉพาะของศาลเท่านั้น
เพราะมาตรา 246 บัญญัติวิธีการว่า กรมราชทัณฑ์ต้องขออนุญาตศาลก่อน ส่วนวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานธุรการภายในกรมราชทัณฑ์ ไม่ได้ยกเว้นหน้าที่ ในการปฏิบัติตามหมายขังของศาลตามคำพิพากษา
นั่นคือจะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน เพื่อให้ศาล ออกหมายปล่อยตัว หรือมีคำสั่งให้ควบคุมตัวในเรือนจำ อื่นหรือสถานที่ควบคุมตัวตามกฎหมาย
ข้อสำคัญคือกฎกระทรวงนั้น ไม่อาจขัดหรือแย้งกับมาตรา 246 ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 6 บัญญัติห้ามออกกฎกระทรวง หรือพระราชกฤษฎีกา ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา
โดยสรุปคือ ถ้ามีกรณี 1 ใน 4 เกิดขึ้น แม้กรมราชทัณฑ์จะส่งตัวผู้ต้องขังออกไปนอกเรือนจำได้ก็ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน จะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้ เพราะหมายขัง ตามคำพิพากษา จำคุกของศาลนั้นใครก็เพิกถอนไม่ได้ เว้นแต่จะมีพระราชบัญญัติอภัยโทษ หรือมีพระ บรม ราชโองการอภัยโทษตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ และในการส่งตัวออกไปนอกเรือนนั้น เมื่อศาลอนุญาตแล้ว ก็อาจส่งตัวออกไปได้ 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1 ออกไปนอกเรือนจำ ไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ใช่เรือนจำ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังตามกฎหมาย ในกรณีนี้ศาลจะออกหมายปล่อย จึงจะเอาตัวออกไปได้ และเมื่อเหตุที่ออกไปหมดไปแล้ว ก็ต้องนำตัวมารายงานศาล ซึ่งศาลจะออกหมายขังตามคำพิพากษาให้จำคุกต่อไป โดยเวลาที่ออกไปในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการถูกจำคุก จะหักเวลาที่ออกไปข้างนอกจากเวลาที่ถูกจำคุกไม่ได้
กรณีที่ 2 ออกไปนอกเรือนจำไปอยู่ในสถานที่ควบคุม หรือเรือนจำชั่วคราว ในกรณีนี้ศาลไม่ต้องออกหมายปล่อย เพราะถือว่ายังถูกคุมขังอยู่ในสถานที่คุมขังตามหมายของศาล และเวลาที่ออกไปอยู่นั้น ถือว่าเป็นเวลาที่ถูกจำคุกสามารถหักออกจากโทษจำคุกได้
การที่กรมราชทัณฑ์นำตัวนักโทษออกไปนอกเรือนจำ แม้อ้างกรณีป่วยเจ็บ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 กรณี ตามมาตรา 246 จึงต้องขออนุญาตศาลก่อน และโรงพยาบาลตำรวจไม่ใช่ เรือนจำหรือ สถานที่ควบคุม ตัวนักโทษตามกฎหมาย แม้หากศาลอนุญาต ศาลก็ต้องออกหมายปล่อยตัวก่อน จึงจะออกไปได้ และเวลาที่ไปอยู่โรงพยาบาลตำรวจก็ไม่ให้นับเป็นเวลาจำคุก จึงไม่ได้รับผลจากการพักโทษ ตามกฎหมายอภัยโทษปี 2567 นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกิดขึ้นอีกด้วย คือปัญหาว่านักโทษป่วยอาจจะเสียชีวิต ถ้าถูกขังต่อไปจริงหรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ตรวจสอบไต่สวนแล้วว่าไม่ได้ป่วยจริง และมีการทำความผิดอาญา จึงส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไต่สวนและผลการไต่สวนก็เป็นในทางเดียวกัน ลงมติว่ามีการกระทำความผิดอาญา จึงเสนอ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ลงมติตั้งกรรมการไต่สวนแล้ว กรณีจึงไม่ใช่ที่นายกสมาคมทนายความแถลงแต่อย่างใด
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02VEmr8ATvv1eBB4NZywSirMSiViJkXLJ5rDHN7eiEw56aP6eBXf3ttaPFj2RJoemyl
“ไอเอ็มเอฟ” ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ชี้ถึงความแตกต่างที่เพิ่มขึ้น
https://www.dailynews.co.th/news/4306035/
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีนี้ แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อนการระบาดใหญ่ โดยชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น ระหว่างสหรัฐกับประเทศในยุโรป
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า ไอเอ็มเอฟ ระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก จะแตะ 3.3% ในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.1% จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ในเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว และจะคงอยู่ที่ 3.3% ในปี 2569
นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูรินชาส หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับคงที่ แต่ยังคงต่ำกว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉลี่ย ในช่วง 20 ปีแรกของศตวรรษที่ 21 ซึ่งอยู่ที่ 3.7%
ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกจะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยจะอยู่ที่ 4.2% ในปีนี้ และเหลือ 3.5% ในปี 2569 อีกทั้งราคาสินค้าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว จะลดลงเร็วกว่ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่
“ในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว พัฒนาการที่น่าสนใจคือ ความแข็งแกร่ง ความยืดหยุ่น และการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ” กูรินชาส กล่าว พร้อมกับชี้ถึงการตัดสินใจของไอเอ็มเอฟ ในการปรับเพิ่มคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐ เป็น 2.7% ในปี 2568 และลดเหลือ 2.1% ในปีหน้า
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงประการหนึ่งต่อการคาดการณ์ของไอเอ็มเอฟ คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายในสหรัฐ เนื่องจากกองทุนไม่ได้พิจารณาถึงข้อเสนอนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ แต่คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยยึดตามนโยบายที่มีอยู่ของสหรัฐแทน
อนึ่ง ภาพรวมทางเศรษฐกิจในสหรัฐ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกลุ่มประเทศในยุโรป ซึ่งไอเอ็มเอฟคาดว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เป็น 1% ในปีนี้ และ 1.4% ในปีหน้า โดยระบุว่า ความแตกต่างบางส่วนเกิดจากโครงสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนเทคโนโลยี.